Skip to main content

สมยศ  พฤกษาเกษมสุข
21 กันยายน 2556

 

 

เมื่อต้นเดือนกันยายน 2556 อั้ม เนโกะ นักศึกษาสาวข้ามเพศ ชั้นปีที่ 2 คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จุดพลุเรียกร้องเสรีภาพการแต่งกายมาเรียนหนังสือ ด้วยการออกโปสเตอร์สยิวลักษณะภาพนักศึกษาชาย – หญิง แสดงท่าร่วมเพศ พร้อมข้อความ “ปลดแอกความเป็นมนุษย์ของคุณออกมา” สร้างความฮือฮา และการถกเถียงในประเด็นการบังคับการแต่งกายเครื่องแบบนักศึกษากันอย่างกว้างขวางมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยที่จะให้นักศึกษามีเสรีภาพการแต่งกายมาเรียนหนังสือ และที่คัดค้านเสรีภาพดังกล่าว

เช่นเดียวกันกับการเรียกร้องเสรีภาพทรงผมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเมื่อต้นปี 2556 ตามมาด้วยการเรียกร้องให้สาวประเภทสอง หรือกระเทยแต่งเครื่องแบบรับปริญญาของสตรีได้

ในอดีตนักศึกษามีบทบาททางสังคมการเมืองด้วยการเป็นกองหน้าของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อความเป็นธรรมในสังคม และสิทธิเสรีภาพของประชาชน นับตั้งแต่การลุกขึ้นสู้ของประชาชนเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 แต่กระแสการต่อสู้เพื่อเสรีภาพเหล่านี้เจือจางลงไปจนแทบไม่ปรากฏขึ้นอีกเลยในปัจจุบันนี้  นักศึกปัจจุบันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระแสบริโภคนิยมในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่ ส่วนใหญ่จึงเพิกเฉยต่อปัญหาเศรษฐกิจ สังคมการเมืองในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง การต่อสู้ในเรื่องเสรีภาพจึงเป็นประเด็นของเสรีภาพในระดับปัจเจกชนมากกว่าเป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพของสังคมส่วนรวม

การบังคับการแต่งกายด้วยเครื่องแบบเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงอำนาจการควบคุมและการครอบงำของชนขั้นนำในสังคมไทยที่ต้องการแบ่งแยกสถานะภาพทางชนชั้นให้แตกต่างกัน เครื่องแบบจึงแสดงถึงอำนายในสังคมที่แตกต่างกัน สะท้อนยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ดังตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนรูปภาพผู้สมัครรับเลือกตั้งมักจะแต่งกายเครื่องแบบราชปะแตนแสดงถึงความเป็นเจ้าคน นายคน ในระบบราชการ แต่มาปัจจุบันผู้สมัครรับเลือกตั้งส่วนใหญ่แต่งกายในชุดสูทสากลแสดงถึงสถานภาพความเป็นนักธุรกิจสมัยใหม่

เครื่องแบบยังแสดงถึงอำนาจการควบคุมอย่างเช่นการใช้หุ่นในเครื่องแบบตำรวจที่เรียกว่า “จ่าเฉย” วางไว้ตามสัญญาณไฟจราจรยังมีพลานุภาพให้คนขับรถไม่กล้าฝ่าฝืนกฎจราจรได้อีกด้วย

เครื่องแบบยังถูกออกแบบเพื่อกำหนดความแตกต่างทางเพศแสดงถึงบทบาทความเป็นหญิง – ชาย ในสังคมที่แตกต่างกัน (Gender) เช่น ผู้หญิงใส่กระโปรง เป็นการควบคุมการเคลื่อนไหวทางร่างกายของผู้หญิงให้เชื่องช้า สงบเสงี่ยม สยบยอมให้ง่ายต่อการถูกกระทำทางเพศ ตามความต้องการของผู้ชายเพราะใส่กระโปรงย่อมง่ายต่อการถูกถอดออก และถูกรุกล้ำมากกว่าการใส่กางเกง ส่วนเพศชายสวมใส่กางเกงย่อมมีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวทางร่างกายสะดวก รวดเร็ว เครื่องแบบการแต่งกายจึงสะท้อนอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย

ในโรงงานอุตสาหกรรมยังมีระเบียบข้อบังคับให้พนักงานใส่เครื่องแบบ หากเป็นพนักงานออฟฟิตจะใส่เครื่องแบบที่เรียกว่า “พนักงานคอปกขาว” (White collar workers) ส่วนพนักงานในกระบวนการผลิตจะใส่เครื่องแบบที่เรียกว่า “พนักงานคอปกน้ำเงิน” (Blue collar workers) ซึ่งคนกลุ่มหลังนี้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าคนกลุ่มแรก

ส่วนเครื่องแบบนักศึกษามักถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความแตกต่างไปจากสังคม อันแสดงถึงความเป็นอภิสิทธิ์ชนสร้างอัตลักษณ์ห่างไกลจากชุมชน และสังคมส่วนรวม การเรียกร้องเสรีภาพการแต่งกายของนักศึกษาด้านหนึ่งสะท้อนถึงเสรีภาพการบริโภคที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นในสังคมทุนนิยม  ในอีกด้านหึ่งก็เป็นการปลดปล่อยอำนาจการควบคุมของมหาวิทยาลัย ซึ่งถูกครอบงำด้วยข้าราชการชั้นสูงหัวโบราณ

เครื่องแบบการแต่งกายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยถูกสร้างขึ้นมาโดยชนชั้นสูงนำมาบังคับสวมใส่ให้กับชนชั้นล่าง เป็นการกล่อมเกลา บังคับให้ยอมจำนนต่อความไม่เท่าเทียมตามโครงสร้างอำนาจที่ดำรงอยู่ ผู้ฝ่าฝืนย่อมถูกตำหนิหรือถูกลงโทษได้ มาตรการทางกฎระเบียบ จึงอยู่เหนือหัวประชาชน และละเลยสิทธิเสรีภาพของมนุษย์อยู่เสมอ

ความคิด ความอ่าน และการท้าทายของคนรุ่นใหม่อย่างอั้ม โนโกะ จึงไม่ธรรมดา การเรียกร้องเสรีภาพการแต่งกาย และกากบฏต่อจารีตนิยม จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพ ปลดปล่อยตนเองออกจากพันธนาการทางสังคม  หวังเป้นอย่างยิ่งว่าการต่อสู้เพื่อเสรีภาพจะขยายตัวไปทุกปริมณฑลของสังคม
 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข แปลบทความในThe  Economist  เรื่องของ ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ที่ได้ มรณกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  "บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น"
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บทกวีที่หลุดรอดจากลูกกรงแดนตารางถึงเหยื่อมาตรา112ผู้จากไป
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บี.เจ.ลี (B.J.LEE) ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012   
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข    
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เมื่อแกนนำคนเสื้อแดง บรรณาธิการนิตยสาร Red Powerและนักโทษการเมือง ม.112 มองทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทยผ่านลูกกรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ  แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง