Skip to main content
 

วัชระ สุขปาน


เรื่องต่อไปนี้แต่งขึ้น ไม่ใช่เป็นเรื่องหาอ่านได้ทั่วไป โดยอิงสถานการณ์จริง ผู้แต่งได้พยายามควบคุม สั่งการ อาจมีการละเมิดเสรีภาพของตัวละครทุกท่าน แต่เหมาะสำหรับผู้อ่านทุกวัย

 

 

 

คีทอ ผู้มีมุมมองทางสุนทรียะภาพลดลงอย่างน่าเป็นห่วง เขานั่งจิบเบียร์เย็นๆ ทอดอารมณ์นิ่งๆ
ภูเขาเบื้องหน้า คือดอยประจำเมือง ที่มีไฟป่าเป็นจุดๆ ผสมผสานกัน จนเป็นส่วนหนึ่งของแสงเมือง


เขาเลือกนั่งที่ร้านนี้ ริมถนนสายวงแหวนรอบกลาง ร้านผุดขึ้นมา ประดับ ประดารวดเร็วกันเกินไป จนนักกินดื่มเลือกแทบไม่ทัน

 

คีทอ มองไต่ระดับภูเขาขึ้นไป พร้อมไกล่เกลี่ยกับตัวเอง มีพริตตี้ สาวเชียร์เบียร์สวยๆ เข้ามารินเบียร์ให้กับเขา และถามว่า "พี่มาจากไหน?คะ" ไปตามเรื่อง


ความจริง คีทอไม่ค่อยพร้อม ที่จะสนทนาโดยใช้ภาษาเมืองแบบฉับพลัน เพราะเขาเพิ่งซัดซาวนด์แทร็ก ภาษา ปกาเกอญอ มาจากหมู่บ้านอย่างหนัก เขาต้องใช้เวลาปรับตัวสักพักหนึ่ง เขาส่ายมือบ๊ายบายแบบไม่ค่อยมั่นใจ ซึ่งบริกรสาวเหมือนจะเข้าใจความเป็นมาเป็นไป


"เดี๋ยว...ขออภัย...สักครู่" คีทอว่า

"อ๋อ...ได้ค่ะ" เธอรับคำแล้วหันไปบริการโต๊ะอื่น

 

หลายปีมาแล้วที่ คีทอลงพื้นที่ ทำงานพัฒนาชุมชน และขณะนี้ อยู่ในช่วงคิดหากระบวนการพัฒนา รูปแบบใหม่ โดยมีแกนนำเยาวชน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ในการเคลื่อนงานกิจกรรม ปัญหาหลักที่สุมอยู่ตอนนี้ คือเงินงบประมาณไม่พอ ก็ไม่รู้ว่าจะไปขอแหล่งทุนจากที่ไหน


เขาขึ้น ลง ระหว่างบนดอยกับพื้นราบ บ่อยที่สุด ในแต่ละเดือน บิลค่าน้ำมันพุ่งสูงขึ้นกว่าปีก่อนนี้มาก

 

ด้วยความเครียด ที่สุมรุมในอยู่หัว เขาจึงอยากปลดปล่อยมันออกไปบ้าง อาจเป็นครั้งแรกของการเปิดหูเปิดตา แล้วก็นัดกับดิปุ๊หลุไว้หลวมๆด้วย

"มาได้ก็มา มาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร" เขาบอกกับดิปุ๊หลุ ก่อนวางสาย

"เอ้ามาแล้ว สวัสดี" คีทอทักทาย เมื่อดิปุ๊หลุมาถึง

"สวัสดี สบายดีมั้ย ...อะไร... ที่ไหน...อย่างไร...ทำไม?"

ดิปุ๊หลุ...ตั้งใจถามรัวไปเลย เลียนแบบคนในเมือง เวลาเจอกัน ส่วนใหญ่เขาจะถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันด้วยประโยคเหล่านี้


"สบายดี เดี๋ยวเบิ้ดกะโหลกเลย" คีทอหยิกรุ่นน้องเล่น

"ไปมายังไงเจอร้านนี้ได้ หาตั้งนาน" ดิปุ๊หลุบ่น

"ไหนบอกว่า จะไปกินหมูกะทะเหรอ? คีทอ"

"ไม่ไม่...ไว้ค่อยคราวหน้า  วันนี้... กินเบียร์กัน"

"หิวข้าวนะลุง" ดิปุ๊หลุบอกความจริง พร้อมยกฐานะให้คีทอ แบบข้ามรุ่น หวังผลจะให้เขาเลี้ยง

"ได้สิ...กินข้าวก่อน...ร้านนี้น่าอร่อยนะ"

"ลุงนั่นแหละ จะกินอะไร สั่งเป็นป่าว?"

"ปีก่อน ลองไปกิน KFC  พอเค้ายกมาเสริฟ เห็นไม่มีข้าวเหนียว ก็เลยสั่งตามหลังไปว่า น้องๆข้าวเหนียวห้าบาทด้วย เพื่อนๆหัวเราะกันใหญ่ โต๊ะข้างๆก็เหมือนกัน"
"อายเขาจริงๆ เลย ลุงเอ๋ย อย่าทำแบบนั้นอีกเป็นอันขาดนะ " ดิปุ๊หลุคุ้ยเขี่ยเรื่องชวนหน้าแตกออกมาเผา

"อย่าว่าไป...บ้าแล้ว แล้ววันนี้ คุณไปไหนมาล่ะ" คีทอรู้ทันและตัดบทไป


"ผมพาเด็กๆ และตัวแทนเยาวชน หกสิบคน จากอำเภอหมื่อเจ๊ปู มาทัศนศึกษาเมือง ช่วงเช้า พาไปสวนสัตว์ เด็กๆเสนอกันมา ตั้งปีก่อนโน้นแล้วว่า "ครูๆ เมื่อไหร่? ครูจะพาหนูไปดูหมาแพนดี้ล่ะคะ เขามาอยู่เชียงใหม่ตั้งนานแล้วนะ แรกใช้โทรศัพท์ของออเร้นจ์ ทรูมูฟ คุยจนไม่หลับไม่นอน ขอบตาดำปี๋เลยค่ะ"" อัพเดตล่าสุดได้ข่าวว่าลูกอ่อน ส่วนพ่อของมัน กระแสเงียบไปเลย

 

คีทอเข้าใจว่า เป็นมุขของเด็กๆที่เพิ่งติดทีวีและรู้วิธีเอามาประจบครูดอยอย่างดิปุ๊หลุ อย่างไรก็ดี ทั้งสองก็ได้ยิ้มหัวต่อไป


คีทอจิบเบียร์ ขนาดเท่ากับนกร่อนจิบน้ำในลำธาร พับท่อนแขน หนุนหัวด้วยฝ่ามือ นัยน์ตาเศร้าๆของเขา มองไต่ดอยขึ้นไป

ดิปุ๊หลุคลึงนิ้วเล่นที่แก้วเบียร์ มองไต่ยอดดอยไป ในจุดที่ใกล้เคียงกับคีทอเช่นกัน

 

"แล้วเด็กๆพักที่ไหนล่ะ ดิปุ๊หลุ " คีทอถามถึงการจัดการ

"วัดศรีโสดา ท่านมหาช่วยจัดแจงให้ เรียบร้อยดี ช่วงนี้ดูคุณแนวขึ้น" ดิปุ๊หลุหาเรื่องคุย

"ยังไง"

"แต่งตัวเป็นเด็กแนว"

"แนวไหนอ่ะ" คีทอ ยูเทินคำถาม

"ก็คงเป็นแนวกันไฟมั้ง" ดิปุ๊หลุยิงประเด็น

คีทอกลั้วหัวเราะ หลังพิงพนักเก้าอี้แทบไม่ทัน

 

แสงไฟป่ายังลามเลีย ปะทุ กรุกรัง อยู่บนภูเขาประจำเมือง เขามองผ่านเหยือกเบียร์สีทอง แต่พริตตี้สาวสวยก็ดึงแก้วไปเติมให้อีกวันมอร์ มอร์เดิมยังไม่ทันพร่อง

 

มันเป็นไฟป่าตัวอย่าง ที่อาจเตือนผู้คน หรือเป็นคำประกาศ ขอขึ้นค่าตอบแทน ของลูกจ้างรายวันในการดับไฟป่า หรือเป็นต้นเหตุจากก้นบุหรี่ ของนักท่องเที่ยวนิรนาม คิดกันไปได้ทั้งนั้นแหละ

 

คนหาผักหวานป่า คงไม่ทำอะไรบ้าๆ แบบนั้น นี่อาจเป็นการฉวยโอกาส ชิงเผาก่อนใบไม้แห้งจะซ้อนกันหลายชั้น ต้อนรับการมาของไฟป่าขนาดใหญ่

 

"พอดีวันนี้ ไปทำแนวกันไฟมา" คีทอยืดนิดหน่อย

"ที่ไหนอ่ะลุง"

"เริ่มจากหมู่บ้านแม่มาลอ ในเขตอำเภอหมื่อเจ๊ปู เข้ามาอำเภอแม่วาง จากแม่วาง พี่น้องสะเมิงกับอำเภอเจอะโตปู รับช่วงต่อ ช่วยกันกวาดใบไม้บนสันดอย รวมระยะทางแล้วก็หลายร้อยกิโลนะคุณ พรุ่งนี้ต้องหางบซื้อปลากระป๋องเพิ่ม คุณช่วยได้บ้างมั้ยล่ะ" คีทอเสนอ

"อ๋อ...อย่างนั้น...ได้สิ พรุ่งนี้ ผมจะประสานกับท่านมหาให้นะ ที่นั่น ท่านมีคลังปลากระป๋อง ได้เท่าไหร่ไม่รู้นะ จะลองดู" ดิปุ๊หลุรับปาก

"พรุ่งนี้ ผมจะพาเด็กๆไปเที่ยวเซ็นทรัลก่อน อยากไปดูสารอาหารในพิซซ่าถาดใหญ่ เอ็มเค พวกสุกี้ต่างๆ ว่ามีสารอาหารจากไร่หมุนเวียนของเรารวมอยู่ในนั้นกี่ชนิด"

"คุณจะพาเด็กๆ มาท่องโลกบริโภคนิยมเหรอ" คีทอเหน็บ

"เขาควรรู้จักมันบ้างนะวิธีการทางการตลาดต่างๆ ดูผู้คนเขาบ้างสิว่าเขาเสพ เขานิยมอะไรกันไปถึงไหน"

"ดี ดี ผมเห็นด้วย แล้วคุณมีงบพอเหรอ เด็กตั้ง 60 คน"

"น่า... ไม่มีปัญหา ทำตามใจเด็กบ้าง ไปดูแผ่นโบชัวร์เฉยๆ ไม่ได้เข้าไปกิน ผมถามเขาแล้วว่ามาในเมือง อยากกินอะไร? อยากกินหมูกะทะ เป็นเสียงเดียวกันเลย พรุ่งนี้เย็นๆ เจอกันที่ร้านเดิม"

"เอ๊ะ ประชุมเมื่อเดือนที่แล้วเกี่ยวกับวิกฤติหมอกควัน เค้าบอกว่าสาเหตุหลักมาจากร้านหมูกระทะ กับชาวเขาเผาไร่ เราทำแนวกันไฟ เผาไร่เสร็จก็ลงมากินหมูกระทะ เข้าทั้งสองประเด็นเลยนะ"

คีทอ "โอเค"

"โอเคนี่ แปลว่าตกลง ใช่ไหม" ดิปุหลุย้ำ

"โอเคนี่...ก็...ตกลงนั่นแหละ" คีทอยืนยัน

 

กลุ่มโต๊ะหน้าเวที เริ่มขยับส่าย บางคนโยกย้ายไหล่ขณะนั่ง เหมือนเสียงเพลงจูงไปมา บางช่วง เสียงสาวๆ ร้องคลอตามโดดขึ้นมา


นักดนตรีบรรเลงสลับกัน สองวงผ่านไปแล้ว เพลงก็เริ่มมีจังหวะหนักแน่นขึ้น บวกกับบรรยากาศของร้านใกล้เคียง ก็เริ่มได้ที่ขึ้นมา กลบเสียงสนทนาระหว่าง คีทอกับดิปุ๊หลุ

"เมื่อกี้คุณพูดว่าอะไรนะ"

"หา... อะไร"

"ไม่ได้พูด"

"นั่นแล้วไป.... ไม่มีอะไร"

 

ขณะดวงไฟป่าเริ่มขยายวง กินป่าเป็นแนว ไต่ดอยขึ้นไป บางคนชี้ไม้ชี้มือบอก เพื่อนร่วมโต๊ะให้มองไปยังภูเขา หลายคนเริ่มลุกจากโต๊ะ ออกมายืนดูที่ระเบียงด้วยสีหน้ากลับกลายเป็นตึงเครียด


กลุ่มควันเข้าปกคลุมเพดานเมือง ไม่มีเสียงพึมพึมของแมลงปอดับไฟป่า เหมือนตอนกลางวัน อย่างที่หลายคนคาดการณ์


สาวเชียร์เบียร์ พริตตี้ พวกเธอยังคงเดินลากกลิ่นหอมจากปลีน่อง วงแขน ขวักไขว่ เนื่องจากเธอได้รับการสั่งเบียร์ พร้อมๆ กันจากทุกโต๊ะ หลากหลายยี่ห้อ ทั้งเหยือกเล็ก เหยือกขนาดกลาง เหยือกขนาดทาวเวอร์ บางโต๊ะ สั่งเปิดเหล้าขวดใหม่ พร้อมมิกเซอร์ครบชุด


โต๊ะกลางสุด พวกเขาสังสรรค์กันเป็นหมู่คณะ ทุกคนแต่งตัวเนี๊ยบ พวกเขาสั่งเบียร์ยกถัง พร้อมติดตั้งหัวก๊อก แล้วเปล่งเสียง สั่งเด็กในร้านสองสามคนให้ช่วยกันยกถังเบียร์ขึ้นหลังรถกระบะของเขา


ไม่กี่อึดใจต่อมา เบียร์สองเหยือกถูกวางบนโต๊ะของคีทอ และดิปุ๊หลุ

"ลุงสั่งเบียร์เพิ่มหรือ?" ดิปุ๊หลุถาม
"อึอือ" คีทอปฎิเสธ

เบียร์เรายังมีเยอะอยู่เลย

"ไอ้หนุ่ม ไปช่วยกันนะ มันเป็นเรื่องที่เราต้องร่วมกันรับผิดชอบ"


ขณะแขกเหรื่อเอ่อออกมา จอแจกันไปยังลานจอดรถ เบียร์หลายร้อยเหยือก พร้อมเหล้าและโซดา ติดไม้ติดมือมา ดูละลานตาไปหมด ควันบุหรี่เลื้อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำทะเล สีชมพู และเขียวตามคำสั่งของแสงสีหน้าร้าน ทุกคนต่างก็สตาร์ทรถของตัวเอง มุ่งหน้าไป

 

 

 

บล็อกของ ที่ว่างและเวลา

ที่ว่างและเวลา
ดอกเสี้ยวขาว เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนพี่น้องลาหู่บ้านนาน้อย ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และได้กำลังใจอย่างเต็มเปี่ยมอีกครั้ง เมื่อได้ร่วมพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ นั่นคือพิธีมอเลเว ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเคารพธรรมชาติ อย่างนอบน้อม ไก่ หมู ข้าว อาหาร ผลไม้ ของเซ่นไหว้ที่พี่น้องชาวบ้านร่วมกันนำมาบูชา ถูกจัดเตรียมไว้ พร้อมที่จะทำพิธีกรรม บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ กลิ่นธูปได้ลอยคละคลุ้งไปทั่วบริเวณงาน ท่ามกลางความเชื่อที่มีต่อผืนป่า ผีป่า ที่คอยปกปักรักษาดงดอยแห่งนี้   อะโหล ปุแส ผู้นำบ้านนาน้อย ได้อธิบายคำว่า มอ เลเว คำว่า มอ…
ที่ว่างและเวลา
อาภัสสร สมบุลย์วัฒนากุล  เสียงเพลงเดือนเพ็ญจากการขับร้องของฉันจบลง ท่ามกลางเสียงปรบมือของผู้เข้าร่วมงานสามร้อยกว่าคน ที่หอประชุมในมหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา งานนี้ร่วมจัดโดยเพื่อนพ้องจากพม่าที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และเพื่อนพ้องคนไทย เพื่อช่วยระดมทุนไปให้พี่น้องชาวพม่าผู้ประสบภัยจากพายุไซโคลนนาร์กิส ฉันบอกพวกเขาว่าฉันไม่ใช่นักร้อง แต่อยากมาร้องเพลง...เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ประสบภัย และเพื่อนชาวพม่าที่อยู่ในไทย ให้สู้ต่อไปอย่างมีความหวัง คืนนั้น ฉันได้เพื่อนใหม่อีกมากมาย…
ที่ว่างและเวลา
อัจฉรียา เนตรเชยต่อจากตอนที่แล้วผู้เขียนกับเพื่อนชาวเวียดนามถกเถียงกันว่า ความจริงแล้วชาวม้งดำที่นี่ “เวรี่แอ็กทีฟ” ในระบบตลาด แต่ทำไมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น ที่โรงแรม ร้านอาหาร หรือมัคคุเทศน์ (ซึ่งก็เป็นธุรกิจหนึ่งในระบบตลาด) แทบจะไม่มีชาวม้งดำเข้าไปเป็นลูกจ้างเลย เพื่อนเวียดนามบอกว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าเพราะพวกเขามีการศึกษาต่ำ
ที่ว่างและเวลา
อัจฉริยา  เนตรเชยเมื่อสัปดาห์ก่อนผู้เขียนซึ่งเป็นนักเรียนเรียนภาษาเวียดนามที่ฮานอยได้ใช้เวลา 3 วันไปเป็นนักท่องเที่ยวที่ซาปา (Sa Pa) เมืองในหมอกบนพื้นที่สูงของภาคเหนือของเวียดนาม ภูเขาที่นี่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนกันหลายลูกจริงๆ จนภูเขาบ้านเราสมควรถูกเรียกว่า “ฮิล” มากกว่า “เม้าเท่นท์” นาขั้นบันไดก็มีให้เห็นกันอย่างดาษดื่นจนกลายเป็นโลโก้ของเมืองนี้ หมู่บ้านม้งดำ และเย้าแดงกลางหุบเขา น้ำตกและลำธารใสๆที่ไหลผ่านกลางหมู่บ้านมีให้เห็นตลอดสองข้างทาง ทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนอันสุดแสนจะโรแมนติกของคู่รัก เมื่อต้นปีใครๆ ก็บอกว่าหิมะตกที่ซาปาสวยงามมาก...อยากเห็น (…
ที่ว่างและเวลา
สัมภาษณ์-เรียบเรียง : บัณฑิต เอื้อวัฒนานุกูลรศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมณ์ เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเชี่ยวชาญภาษาทิเบต ทำวิจัยเรื่องทิเบตมานานนับ 10 ปี เคยเดินกราบอัษฎางคประดิษฐ์ (เดิน 3 ก้าว ก้มกราบ 1 ครั้ง) บนเส้นทางของนักแสวงบุญอันเก่าแก่ทุรกันดาร ณ เขาไกรลาสเป็นระยะทางกว่า 80 กม. ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิพันดารา (Thousand Stars) ซึ่งเป็นองค์กรสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องพุทธศาสนาแบบวัชรยานในสังคมไทย และยังคงเดินทางไปทิเบตอยู่เสมอมิว เยินเต็น บวชเรียนใต้ร่มกาสาวพัตร์ของพุทธศาสนาวัชรยานในบ้านเกิดที่ทิเบตมานาน 27 ปี เป็นผู้ติดตาม อ.กฤษดาวรรณ…
ที่ว่างและเวลา
ภู เชียงดาวพะโด๊ะ มาน ซาห์อดีตเลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กี่ชีวิต…ที่เคว้งคว้างกลางป่ากี่ร่างที่ผวาลอยละลิ่วลับดับสูญนี่คือผลพวงของสงครามนี่คือการกระทำของศัตรูผู้โหดเหี้ยม ผู้บาปหนาและน่าละอายที่คอยกดขี่ข่มเหง เข่นฆ่า ผู้คนหญิงชาย, บริสุทธิ์ผู้รักสันติและความเป็นธรรมเถิดไม่เป็นไร...เราจะไม่ทุกข์ ไม่ท้อใบไม้ใบหนึ่งถูกปลิดปลิวร่วงหากบนก้านกิ่งนั้นยังคงมีใบอ่อนแตกใบให้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันยังคงมุ่งมั่นกันอยู่ใช่ไหม นักรบผู้กล้ากับความฝัน ความกล้าในแผ่นดิน ‘ก่อซูเล’ปลุกเร้าจิตวิญญาณเพื่อสืบสานตำนานการต่อสู้เพื่อรอวันทวงคืนผืนแผ่นดินเกิดยังจำกันได้ไหม...…
ที่ว่างและเวลา
‘ดอกเสี้ยวขาว’   การที่ต้องลำบากเดินลัดเลาะไปตามร่องเขา ไต่ขึ้นไปบนความสูงชัน นานหลายชั่วโมง เพียงเพื่อไปกวาดใบไม้บนสันดอยสูงนั้น หลายคนอาจมองเป็นเรื่องธรรมดาไม่สำคัญ แต่สำหรับผมกลับมองว่า นี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่และไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ที่นั่น, บนสันดอยสูง...พวกเขาช่วยกันกวาดใบไม้ ก่อนที่จะจุดไฟเผา ซึ่งไม่ได้ไปคนเดียว แต่ไปร่วมกันหมดทุกหลังคาบ้าน มีทั้งผู้เฒ่า เด็กเยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้นำทางศาสนา ฯลฯ “ตอนนี้ถ้าทางการเขาสั่งห้ามเผาป่า จะทำได้มั้ย?...” ผมลองแหย่ถามชาวบ้าน “แล้วถ้าเขาสั่งห้ามกินข้าว เราจะทำได้มั้ย...ถ้าเชื่อ เราก็ไม่ได้กินข้าว ไม่ได้กินอะไรเลย...”…
ที่ว่างและเวลา
เรื่อง/ภาพโดย วัชระ สุขปาน ลำธารสีเทา ขัดเงา จนเกิดริ้วสีเงิน ฝูงปลาพลิกพลิ้วตัว สะท้อนแสงกลับไปบอกเวลากับดวงอาทิตย์
ผักกูดอ่อน ยอดใบบอน ยอดผักหนาม ฟ้อนอรชรอยู่ริมคุ้งน้ำ ถ้ายังไม่มีใครไปเก็บ ก็จะเป็นสุมทุม ที่วัวควายชอบซุ่มตัวต้นไม้ล้มขวางลำธารโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นเพราะธรรมชาติ ก็พอเป็นสะพานใช้ข้ามไปถึงเขียงนา ก็ยังมีขนุน มะม่วง ส้มโอ ถั่ว ข้าวโพดสาลี พริก มะเขือ และพืชผักๆ ฯลฯ ให้ได้เห็น และเก็บกินก่อไฟ ต้มน้ำชา นั่งสนทนา และ บ้างเคี้ยวเมี่ยง สูบยาขี้โย
ที่ว่างและเวลา
ธีรเชนทร์  เดชานักสังคมสงเคราะห์1“หนูมีแม่อยู่สองคนค่ะ” เสียงของเด็กหญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งบอกเล่าให้ฟัง “วันนี้หนูมาหาแม่อีกคนหนึ่งของหนู…”“แล้วหนูจำได้ไหมว่าแม่หนูรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง” ผมลองเอ่ยถามเธอดู ภายหลังคำถาม เด็กหญิงทำท่าทางเหมือนครุ่นคิดอะไรบางอย่าง....เธอนิ่งนานในความเงียบงัน.....แต่ในแววตาที่ไร้เดียงสานั้น เหมือนจะบอกกับผมอยู่อย่างนั้นว่าเธอจำแม่ของเธอได้ดี...เธอจำได้นะ...ผมไม่แปลกใจว่าทำไมเธอถึงให้คำตอบในสิ่งที่ผมถามเธอก่อนหน้านี้ไม่ได้  แม่...ที่เธอกำลังมาหาในวันนี้นั้น คือแม่แท้ๆ ที่อุ้มท้องเธอมา เป็นแม่ผู้ให้กำเนิด แต่ด้วยเหตุผลและความจำเป็นบางอย่าง…
ที่ว่างและเวลา
‘ลีนาร์’ “ยามเมื่อเราต่างพูดถึงความสุข จะเกิดพลังขึ้นและสร้างคุณค่าขึ้นมาได้”คำกล่าวจากใบหน้ายิ้มแย้มของ ลิซ่า คาเมน เจ้าของภาพยนตร์สารคดีเรื่อง H-FACTOR: where is your heart? ที่เธอและลูกสาวสำรวจธรรมชาติของความสุขของผู้คนข้ามทวีปผ่านคำถามง่าย ๆ ‘ความสุขของคุณคืออะไร’ย้อนไปในวันหนึ่ง ขณะที่ลิซ่าปั่นจักรยานผ่านตอนเหนือของประเทศอินเดีย เธอฉุกคิดขึ้นมาว่าจะทำอย่างไรให้ชาวอินเดียจะแสดงออกถึงความสนุกและความสุขอย่างแท้จริงท่ามกลางความอัตคัดขัดสนที่ยังคงดำเนินอยู่ในเวลานั้น นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของหัวข้อหลักของสารคดีซึ่งเธอและเคย์ล่า ลูกสาววัย 9 ขวบของเธอ…
ที่ว่างและเวลา
‘โถ่เรบอ’หนังสือนวนิยายขนาดสั้น เรื่อง  “เพลงรักช่อดอกไม้” ของ ‘พิบูลศักดิ์ ละครพล’ ที่เคยตีพิมพ์เป็นตอนๆ ใน ‘สกุลไทย’ เมื่อปี 2520 ก่อนสำนักพิมพ์จันทร์ฉายจะนำมารวมเล่มครั้งแรก ในปี 2521 นั้นเปิดฉากด้วยเนื้อเพลงปกาเก่อญอ ที่ชื่อ “แพลาเก่อปอ”“แพลาเก่อปอ ในคืนพระจันทร์ส่องแสง ฉันนั่งเหม่อมอง คอยจ้องแทะนาเต่อกาฉันคอยแสนคอย บะฉ่าเตอถี่บะนา เส่ นอ ถ่อแย เมื่อฉันเคียงคู่กับเธอแมแหม่แคอี ฉันต้องอยู่เดียวเปลี่ยวดายมองหาคู่เคียง บะฉ่าเตอถี่เลอบาโอ้ยอดดวงใจ  แคอีเนอโอะแพแลโปรดจงเห็นใจ เกอหน่าเยอพอคีลา”เพลงนี้ติดหูชาวปกาเก่อญอยาวนานมากว่าสามสิบปี ถือได้ว่าเป็นเพลงยุคแรกๆ…
ที่ว่างและเวลา
‘ฐาปนา’ ผมพบเขาในวันที่เชียงใหม่ยังเปียกปอนจากสายฝน เขาแต่งกายเรียบง่าย บุคลิกคล้ายนักบวช ดูแข็งแรงเหมือนคนอายุสามสิบกว่าๆ  เมื่อได้สนทนา แม้น้ำเสียงเป็นกันเอง แต่ก็แฝงความเคร่งครัดไม่น้อย เขาคือผู้ริเริ่มการเขียน “แคนโต้” บทกวีสามบรรทัดจำนวนสี่ร้อยบทเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ,เป็นผู้ก่อตั้งเวบไซต์ ไทยแคนโต้ (www.thaicanto.com) เมื่อสองปีที่แล้ว และกลายเป็นเวทีที่ใหญ่ที่สุดของบทกวีสามบรรทัด มีแคนโต้นับพันนับหมื่นบท ปรากฎอยู่ในเวบไซต์แห่งนี้ล่าสุด เขามีผลงานวรรณกรรมขนาดยาวแปดร้อยหน้า ที่ชื่อ “โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก”โดดเดี่ยว และ เด็ดเดี่ยว น่าจะเป็นคำจำกัดความที่ชัดเจนที่สุดสำหรับตัวเขา…