Skip to main content

คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น   ถ้ามีข้อพิพาทว่าที่ดินผืนนี้จะตกเป็นของใครระหว่างคู่พิพาทสองฝ่าย กฎหมายต้องตอบว่าใครมีสิทธิดีกว่า และศาลต้องพิพากษาออกมาว่า ใครจะได้ครอบครองที่ดินผืนนั้น    

การมี “คำตอบที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว”   ทำให้เกิดการคาดเดาได้ล่วงหน้าว่า ถ้ามีปัญหาทางกฎหมายในประเด็นเดียวกัน ใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน   ประชาชนจะล่วงรู้ได้ทันที่และแพร่หลายว่าในเรื่องนี้จะต้องวางแผนป้องกันปัญหาอย่างไร หรือแก้ไขปัญหาอย่างไร   เช่น   เตรียมทำสัญญากันให้ชัดเจน ตรวจสอบวิธีการได้ที่ดินมา หรือการตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน   ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะสูญเสียสิทธิได้ แม้จะเสียเงินทองไปมากแล้วก็มิอาจช่วยอะไรได้

อย่างไรก็ดี ยังมีปัญหาในโลกแห่งความจริงที่มีลักษณะเป็น “หนึ่งคำถามล้านคำตอบ”   โดยมีอยู่หลายครั้งที่เกิดข้อถกเถียงว่าปัญหาในเรื่องนั้นต้องตอบอย่างไร หรือมีทางออกอย่างไร   โดยมีคนให้ความเห็นแตกต่างกันไปคนละทิศคนละทาง เช่น ชุมนุมได้ไหม รัฐธรรมนูญแก้ได้ไหม คำสั่งคณะรัฐประหารมีผลบังคับทางกฎหมายรึเปล่า ฯลฯ  โดยสารพัดนักต่างๆ มักให้เหตุผลสนับสนุนคำตอบ แม้กระทั่งนักกฎหมายก็ยังให้ความเห็นขัดแย้งกันเองก็มี

ปัญหาในลักษณะเช่นว่านี้ หากดูทิศทางของคำตอบและเหตุผลจากหลายสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ จะพบว่า   แต่ละคำถามมักมี “หลายคำตอบ” แต่ก็อาจจะมีบางคำตอบที่ได้รับความนิยม ชื่นชอบ หรือมีอิทธิพลในการครอบงำความคิดหรือชี้นำสังคมนั้น ณ ช่วงเวลานั้นอยู่ มากกว่า คำตอบอื่นๆ   หรือที่เราคงเคยได้ยินคำว่า “วาทกรรม”   ซึ่งคำนี้เอง หมายถึง การให้คำตอบและเหตุผลกับคำถามหนึ่งโดยมีอำนาจครอบงำเหนือสังคมอยู่   

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ หาก ณ เวลาต่างๆในประวัติศาสตร์ สังคมจะยึดถือบางคำตอบ แต่เมื่อเวลาผ่านไป คำตอบนั้นอาจมิใช่ “ความจริง” อันเป็นนิรันดรที่สังคมจะยึดถืออีกต่อไป   เช่น   ในยุคที่รัฐปกครองโดยเผด็จการทหาร คำถามที่ว่า คำสั่งคณะรัฐประหารมีผลทางกฎหมายหรือไม่ ก็ย่อมได้คำตอบว่ามีผล และศาลรวมถึงนักกฎหมายจำนวนมากก็ขานรับ และหาเหตุผลมาสนับสนุนกันอย่างเอิกเหริก

ต่อเมื่อเวลาผ่านพ้นไป สังคมค่อยพัฒนาความคิดเกี่ยวกับสังคมที่อยู่ร่วมกันโดยไม่จำเป็นต้องยกอำนาจทั้งหมดไปให้กับคณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งครองอำนาจชี้นำสังคมทั้งหมด แต่เชื่อว่าสิ่งใดที่จะเป็นกฎหมายต้องมาจากมติของประชาชนเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ   การยึดครองอำนาจของคณะรัฐประหารในการประกาศใช้กฎหมายบังคับกับประชาชน หรือลิดรอนเสรีภาพ ก็ย่อมเสื่อมลงไป   ทำให้คำถามที่ว่า คำสั่งคณะรัฐประหารมีผลทางกฎหมายหรือไม่ ต้องได้คำตอบใหม่ว่า ไม่มี และไม่มีเหตุผลอันชอบธรรมใดจะมาสนับสนุนการขโมยอำนาจของประชาชนอีกต่อไป

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า คำถามทางสังคมนั้น มีคำตอบที่หลากหลายไปตามความคิดที่แตกต่าง และผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียขัดกัน   แต่มักมีผู้ใช้อำนาจที่เหนือกว่า เช่น กำลังอาวุธ ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือภาพลักษณ์ที่ขึงขัง สุขุมคัมภีรภาพ หรือดูดีมีสกุล  ชี้นำสังคมว่าต้องตอบคำถามเหล่านั้นอย่างไร โดยกดทับคำตอบอื่นๆไว้ภายใต้อำนาจของฝ่ายที่กดขี่สังคมไว้ใต้อำนาจตน   คำถามและคำตอบทางกฎหมายจึงผ่านการต่อสู้ทางการเมืองและการใช้อำนาจกำหนดคำตอบให้คำถามต่างๆมาหลายยุคหลายสมัย   จนถึงขนาดว่าบางคำถามยังถูกสั่งห้ามเอ่ยถามขึ้นเพราะเป็นความผิดทางกฎหมาย เช่น การตั้งคำถามต่อความชอบธรรมของคณะผู้ปกครอง หรือนักบวช เป็นต้น

เมื่อลองเทียบเคียง กับ การทดลองเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่ต้องควบคุมปัจจัยการทดลองให้ "คงที่"  ก็จะพบว่า วิทยาศาสตร์ที่มักเอ่ยอ้างว่าเป็นศาสตร์สากลที่ให้จริงแท้แน่นอน ก็ต้องแสดงรายละเอียดของการทดลองว่า มีข้อจำกัดอย่างไร ผลที่ได้จากการทดลองจะเป็นจริงเฉพาะ “สภาวะ” ที่ควบคุมปัจจัยและตัวแปรทั้งหลายให้คงที่ ดังเช่นการทดลองในห้องแล็ปทดลอง หรือแปลงทดลอง   สิ่งที่เกิดขึ้นนอกห้องทดลอง จึงมีความผันผวนแปรปรวนไปตามปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น อุณหภูมิ ความชื้น หรือแม้กระทั่งความไม่เที่ยงของมนุษย์/ประชากร เป็นต้น

ในทางสังคมที่เป็นโลกความจริง พื้นที่แห่งการทดลอง คือ สังคมขนาดใหญ่ที่มีมนุษย์จำนวนมากปะปนกันไปและยังมีเงื่อนไขในชีวิตและสังคมแตกต่างหลากหลาย   หาความคงที่แน่นอนได้ยากยิ่ง   สิ่งที่เกิดขึ้นเสมอ คือ ความไม่แน่นอน ดุจดังคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องความจริงของสรรพสิ่งที่ล้วนเป็น “อนิจจัง”  ดังนั้น การพยายามหาคำตอบที่ “คงที่” เอากับมนุษย์ที่มีรัก โลภ โกรธ หลง จึงไม่ง่ายเลย   ดังนั้นจึงต้องพยายามหาความแน่นอนบางอย่างเพื่อให้คนทั้งสังคมยึดถือเอาไว้เสียบ้าง เพื่อจะได้คาดเดาได้ว่า หากเกิดปัญหาขึ้นมา จะทำอย่างไรกันต่อไป จะหาทางออกอย่างไร และเดินต่อไปอย่างไร

กฎหมายจึงเป็นการกำหนด “ค่าคงที่ทางสังคม” ท่ามกลางแปรปรวนของเงื่อนไขที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของมนุษย์   ศาสตร์แห่งกฎหมายจึงมิใช่เพียงการเขียนกฎ กติกา แต่ยังบอกด้วยว่าต้องตีความกฎ กติกา อย่างไร   ปรับใช้กฎกับข้อเท็จจริงอย่างไร   ทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างแน่นอนมั่นคงสืบต่อไป   หรือที่เรียกว่า   “บรรทัดฐาน”   ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการยึดถือปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน

ดังนั้น การใช้การเมืองนำกฎหมายจึงเป็นการสร้าง "ความไม่แน่นอน" โดยยึดเอาอำนาจเป็นที่ตั้ง เป็นการยอมรับกลายๆว่า “ใครมีอำนาจ” ก็สามารถตีความกฎหมายได้ตามอำเภอใจ  ซึ่งเป็นการสร้างปมความไม่พอใจให้กับฝ่ายที่เสียประโยชน์   อันเป็นการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งให้เกิดขึ้นใจคนจำนวนมาก รอวันประทุออกมา   เพราะว่า การตีความตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจได้ “ชี้นำ” ให้คนในสังคมเห็นว่า ถ้าอยากได้ “ผลทางกฎหมาย” ก็ต้องใช้กำลัง/พลังยึดเอาอำนาจมาเสียก่อน แล้วจะสามารถตีความไปในทางที่เป็นประโยชน์กับตนได้

เช่นเดียวกับ การตีความกฎหมายแบบ “มีธงล่วงหน้า”   ก็เป็นการเอา “เป้าหมายนำวิธีการ”   ก็เป็นการสร้างปัญหาให้กับการใช้ชีวิตและการจัดการความขัดแย้งเช่นกัน   เนื่องจากปล่อยให้ทำลายกติกาที่ตกลงกันไว้ว่า เมื่อมีปัญหาขึ้นมาจะยึด “กฎหมาย” ใด หรือใช้วิธีการ “ตีความ” อย่างไร   เพราะต้องไม่ลืมว่าหลักสำคัญของกฎหมายสมัยใหม่คือ การประกันความเสมอภาคของบุคคลต่อหน้ากฎหมาย   นั่นคือให้สิทธิทุกคนในการต่อสู้คดีอย่างเท่าเทียมกัน แล้วนำกติกาที่ตกลงกันล่วงหน้ามาใช้บังคับกับคดี โดยไม่มีอคติกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง   ซึ่งผลของคดีก็จะออกมาตามที่ว่ากันไว้ในกติกา มิใช่ว่าพยายาม “บิดกติกา” ให้มารับใช้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  

ทั้งนี้ อคติที่สร้างความ “ไม่คงที่” ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ  ที่น่ากลัวที่สุด คือ อคติจากความรัก โดยเฉพาะ “ความรักชาติ” แบบบ้าคลั่ง ที่ได้สังหารผู้ที่คัดค้านทัดทานเสมอ และยังได้ชักนำชาติให้เข้าสู่สงครามมานับครั้งไม่ถ้วน   กฎหมายสมัยใหม่จึงห้ามรักชาติ เหนือ สิทธิเสรีภาพที่รับรองไว้โดยกฎหมาย

เมื่อเทียบกับวิทยาศาสตร์ การละทิ้งกระบวนการ จึงเปรียบเสมือน การทดลองที่ได้ผลลัพธ์แบบ “ฟลุค”  ซึ่งไม่อาจทำซ้ำหรือถอดบทเรียนได้   เท่ากับไม่เกิดองค์ความรู้ใดๆ ที่จะนำมาใช้ซ้ำ หรือถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังใช้ต่อไป   เหมือนเช่น คนที่ลองแก้ปัญหารถเสียโดยตบๆเตะๆ จนรถสตาร์ทติดแบบฟลุคๆ แต่เมื่อเกิดรถเสียครั้งถัดไป เตะๆตบๆ อาจสตาร์ทไม่ได้ ถ้าไม่เข้ากับจังหวะที่ถูกต้องเหมาะสมจนทำระบบลงล็อคอีกครั้ง

การพยายามหาคำตอบโดยไม่คำนึงถึงวิธีการจึงเป็น "ความมั่ว" ที่ไม่อาจหาทางออกได้ในภาวะ "ฝุ่นตลบของความขัดแย้ง" เพราะภาวะนี้มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเยอะมาก แถมยังพยายามใช้สรรพกำลังเข้าห้ำหั่นกันทั้งในทางมืดและทางสว่าง   การแก้ปัญหาแบบขอไปทีไม่มีวิธีการที่แน่ชัด ไม่มีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ และไม่ได้ยึดหลักกฎหมายที่ตกลงกันไว้ลวงหน้า ย่อมเป็นการสร้าง “ข้อยกเว้น” ที่ไม่สอดคล้องกับ “หลักการ” ที่สร้างไว้เพื่อรักษา “บรรทัดฐาน” ในการตีความกฎหมายต่อไปในอนาคต

สังคมนั้นจึงต้องกลับมาตอบคำถามเดิมๆ ซ้ำๆ เพราะไม่มีเส้นทางในการจัดการความขัดแย้งที่ชัดเจนแน่นอน เพราะได้ใช้กระบวนการนอกกฎหมาย หรือยุทธวิธีที่ไม่เป็นทางการ มาล้มล้างกติกา และกระบวนการ ที่กฎหมายกำหนดไว้ล่วงหน้า   หรือที่นักกฎหมายเรียกว่า การทำลายตรรกะทางกฎหมาย  อันเป็นสภาวะไร้กฎหมาย ซึ่งนำไปสู่ภาวะ “ไร้รัฐ” หรือเงื่อนไขสำคัญของการเกิด “รัฐล้มเหลว” นั่นเอง

ความล้าหลังติดหล่มนี้เป็น การเสียโอกาสต่อยอดความรู้ ความคิดไปสู่เรื่องใหม่อื่นๆ ที่รอการแก้ไขอยู่อีกจำนวนมาก  เพราะต้องกลับมาแก้ไขปัญหาเดิมๆซ้ำซาก เนื่องจากยัง “ไม่ลงตัว” เพราะมี “ข้อยกเว้นของข้อยกเว้น” อยู่ตลอดเวลา ไม่จบไม่สิ้น

สังคมที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน "ไร้เสถียรภาพ" จึง "สูญเสียโอกาสในการพัฒนา" ไปกับการเสียเวลาตอบโจทย์เดิม   เมื่อมีคนถามว่า “สังคมจะเป็นอย่างไร” หรือ “เรื่องนี้จะจบอย่างไร”   นักกฎหมายจำนวนมากจึงเป็นใบ้ เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าเพราะว่าไม่ได้ใช้หลักกฎหมายกันอีกต่อไปแล้วนั่นเอง   จึงไม่แปลกที่สังคมจะฟังคำพยากรณ์จากหมอดู หรือนักคาดเดาแทน   แต่จริงๆแล้วก็มีคนที่รู้ผลล่วงหน้า นั่นคือ ฝ่ายที่กุมอำนาจในการตีความ และคนที่ล่วงรู้ข้อมูลวงในล่วงหน้า (Insiders) ซึ่งคนเหล่านี้ก็จะหาประโยชน์ต่างๆ ได้เหนือกว่าคนอื่นๆ อย่างไม่เป็นธรรมต่อสังคมเอาเสียเลย

ตัวอย่างกฎหมายที่ทำให้เห็นเรื่องนี้คือ  กฎหมายครอบครัว เทียบกับ กฎหมายธุรกิจแบบสัญญา   ครอบครัวเป็นเรื่องความสัมพันธ์ภายในสมาชิกกลุ่มเล็กๆ ไม่ได้กระเทือนซางถึงสังคมในวงกว้าง และแต่ละครอบครัวก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไป กฎหมายจึงให้โอกาสครอบครัวนั้นๆ แสวงหาคำตอบกันด้วย ทางออกต่อปัญหาครอบครัวจึงมีได้หลากหลาย   แต่สัญญาทางธุรกิจนั้นมีผลต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้าง การทำสัญญาของธุรกิจกลุ่มเดียวกัน เช่น สัญญาซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ย่อมมีผลต่อธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ในภาพรวม  ดังนั้นกฎหมายจึงต้องกำหนดรูปแบบสัญญา และวิธีการที่แน่นอน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนว่า ถ้าทำตามรูปแบบจะได้รับการคุ้มครองผลประโยชน์แน่ๆ ทำให้นักลงทุนกล้าซื้อขายกันอย่างเสรี

กฎหมายที่ให้คำตอบที่ชัดเจน จึงมีผลต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน ความแน่นอนของกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองก็เช่นเดียวกัน ต้องให้ความชัดเจนว่าวิธีการในทางการเมืองเป็นอย่างไร หากมีข้อพิพาทขึ้นมาเช่นว่า จะเลือกตั้งกันอย่างไรให้มีผล หรือจะถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยเรื่องอะไรบ้าง ด้วยวิธีการใดบ้าง จึงต้องกำหนดไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน และมีวิธีการตีความกฎหมายที่มั่นคง เพื่อให้ผู้เล่นทางการเมืองคาดเดาจุดจบความขัดแย้งได้ล่วงหน้า  จึงจะสามารถวางแผนทางการเมืองได้

มิใช่การ “ล็อกผลไว้ล่วงหน้า” แล้วไม่สนใจกฎ กติกา กระบวนการใดๆ เพราะจะทำให้เกิดความไม่พอใจในฝ่ายที่เสียประโยชน์  ยิ่งหากเกิดปัญหาซ้ำซาก ความไม่พอใจจะยิ่งแผ่ขยายไปในหมู่ประชาชนผู้สนับสนุนกลุ่มการเมืองนั้น หรือแม้กระทั่งชักนำให้ผู้ที่รักกติกาทั้งหลายออกมาต่อต้านการทำลายกฎหมายด้วย

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี