Skip to main content

สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู่ในตลาด ทำให้ผู้ผลิตเหล่านั้นรอดอยู่ในตลาดและได้โอกาสจัดการทรัพยากรต่อไป   แต่ผู้อยู่รอดในตลาด คือ ผู้ที่จัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือ ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่เกิดจากการผลิตที่ดีหรือไม่? คือ สิ่งที่ต้องค้นหาคำตอบ

ปัจจุบันเจ้าของสินค้า พยายามสร้าง “แบรนด์” ของตนให้มีลักษณะน่าเชื่อถือ เป็นที่ไว้วางใจต่อผู้บริโภคจนผู้บริโภคอาจจะมองข้ามรายละเอียดปลีกย่อย แล้วเลือกซื้อหาสินค้าที่มีปัญหาการขูดรีดแรงงาน ทำลายสภาพแวดล้อม หรือละเมิดสิทธิมนุษยชน พูดง่ายๆ คนไม่ได้ซื้อสินค้าด้วย “ราคา” อย่างเดียว แต่เลือกเพราะความรู้สึกดีๆต่อ “แบรนด์” เหล่านั้นด้วย

            สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้าง “แบรนด์” คือ ความเป็นธรรมในระบบการผลิต การแลกเปลี่ยน สินค้า เพราะมีผู้ผลิตจำนวนมากสามารถสินค้าและให้บริการได้เหนือจากผู้ผลิตรายอื่น เนื่องจากได้ปิดบัง ซ่อนความฉ้อฉลไว้ใต้หน้ากากของผู้ผลิตที่ห่วงใยสังคม และรักษ์สิ่งแวดล้อม   ปัญหาการขูดรีดผู้ผลิตรายย่อย การใช้แรงงานทาส และทำลายสภาพแวดล้อม เรื่อยไปจนถึงการผลิตที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคจึงเป็นข้อมูลที่ถูกเก็บงำไว้   เพราะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค

            การควบคุมทิศทางข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ “แบรนด์” ของบรรษัทจึงมีความสำคัญยิ่งยวดจนต้องมีการลงทุนในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์มหาศาล   จนเป็นที่ทราบกันว่าการสร้างเครือข่ายระหว่างบรรษัทกับสื่อมวลชนกระแสหลัก นักวิชาการ และนักคิดนักเขียน เรื่อยไปจนถึงควบคุมทิศทางความเห็นของประชาชนในวงกว้างจึงกลายเป็นภารกิจสำคัญของบรรษัท  

อุปสรรคในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน คือ   เมื่อมีผู้ให้ข้อมูลด้านลบเกี่ยวกับบรรษัท หรือการแสดงความรู้สึกไม่พอใจต่อแบรนด์ ทีมงานประชาสัมพันธ์จะพยายามติดต่อ กดดันเพื่อให้มีการลบความเห็นเหล่านั้น ในลักษณะคุกคามความเป็นส่วนตัวของบุคคลเพื่อให้มีการเซ็นเซอร์ตัวเองหรือลบความเห็น   ไปจนถึงการกดดันเจ้าของพื้นที่สื่อ ให้ควบคุมเนื้อหา และรับข้อมูลของฝ่ายบรรษัทไปเผยแพร่กลบข้อมูลด้านลบของบรรษัท   ซึ่งนี่คือ ปัญหาใหญ่ของสังคมที่ไร้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน  โดยความสัมพันธ์ “หลังฉาก”

กลยุทธ์ที่บรรษัทใช้มีหลากหลาย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้มาตรการทางกฎหมายในการกดดันบุคคลที่นำเสนอข้อมูลด้านลบต่อบรรษัท   การฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทถูกหยิบมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ จนบรรษัทต่างๆทั่วโลกหยิบมาใช้ตามๆกัน   เพราะการฟ้องร้องคดีเหล่านี้เป็นวิธีปิดปากที่ได้ผลเร็ว เนื่องจากเมื่อมีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือฟ้องต่อศาลแล้ว   ผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหามักจะยุติการเผยแพร่ข้อมูล ทั้งที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาล  และบรรษัทก็นำการยุติบทบาทผู้เผยแพร่ข้อมูลนี้ไปขยายผลว่า ข้อมูลที่เผยแพร่เป็นเท็จ จึงได้มีการระงับเผยแพร่

การฟ้องคดีหมิ่นประมาทในประเทศไทยมีอยู่สองลักษณะใหญ่ๆ คือ การเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งฯ และความรับผิดทางอาญา   ซึ่งมีขั้นตอนต่างกัน และผลสุดท้ายของคดีก็ไม่เหมือนกัน   แต่ในบางกรณีอาจมีการฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา   คือ การฟ้องว่าบุคคลนั้นให้ข้อมูลที่ละเมิดเกียรติยศชื่อเสียงตนเป็นความผิดทางอาญา และต้องชดเชยค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งด้วย    ในหลายกรณีมีการเรียกค่าเสียหายนับพันล้าน เพื่อข่มขู่สื่อมวลชน หรือนักวิชาการ   จนทำให้ผู้ที่พูดความจริงเครียดและยุติการเผยแพร่ข้อมูล   จนผู้บริโภคสูญเสียโอกาสในการรับรู้ “ความจริง”

ในกรณีเหล่านี้ สิ่งที่ปกป้องผู้เสนอความจริงก็คือ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นตามกติกาสากลสิทธิพลเมืองและการเมือง รวมไปถึงข้อยกเว้นความผิดทางอาญาและแพ่งฯ  กล่าวคือ หากสิ่งที่นำเสนอนั้นเป็น “ความจริง” และเป็น “ประโยชน์ต่อสาธารณะ” ก็จะได้รับการคุ้มครองเพื่อประโยชน์ของสังคมในการได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจ       ตราบใดที่เรื่องนั้นมิใช่ข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่นโดยแท้ หรือไม่ใช่ข้อมูลที่มีกฎหมายห้ามเผยแพร่   “ความจริงที่พูดไม่ทำให้ผู้พูดผิด”

เช่นเดียวกับ การเปิดเผยข้อมูล หากมีการถกเถียงว่า “ข้อมูล” นั้นเป็นความลับที่ต้องได้รับการคุ้มครองหรือไม่ กฎหมายก็ให้การคุ้มครองการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของรัฐหรือเอกชน หากเป็นประโยชน์กับประชาชนในวงกว้าง  

พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ ได้ให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในการดูแลของรัฐไว้อย่างกว้างขวาง   แต่ก็ยังมีกลุ่มข้อมูลที่เผยแพร่ไม่ได้  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1)      ข้อมูลสาธารณะที่ห้ามเปิดเผย เช่น ความลับของชาติที่กระทบต่อความมั่นคงฯทางราชการ การทหาร หรือเศรษฐกิจ ซึ่งก็มีข้อถกเถียงอยู่เสมอว่า คลุมเครือ และรัฐอาจตีความเป็นเรื่องความมั่นคงไปเสียหมดเพื่อปิดโอกาสประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล และ

2)      ข้อมูลส่วนบุคคลที่ห้ามเปิดเผย เนื่องจากหน่วยงานรัฐได้จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของปัจเจกชนโดยแท้ เช่น ประวัติสุขภาพ ที่อยู่ หากเปิดเผยจะสร้างความเสียหายและกระทบต่อการใช้ชีวิตส่วนตัว ข้อมูลกลุ่มนี้จึงเปิดเผยไม่ได้   

 

บรรษัทที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน นักกิจกรรม สื่อมวลชน และนักวิชาการ ทั้งเรื่อง ที่อยู่ การเดินทาง สถานที่ทำงาน และข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตส่วนตัว จึงเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเป็นอันมาก และสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย เพราะคุกคามชีวิตของบุคคลชัดเจนแต่เรากลับพบว่า หน่วยงานเอกชนได้ใช้ความพยายามในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ นักกิจกรรมทางสังคม สื่อมวลชน นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่รัฐ จึงเป็นที่น่ากังวลว่าบรรษัทได้ข้อมูลมาอย่างไร   หากเป็นการลักลอบขโมยข้อมูล หรือตามสืบ ย่อมเป็นการคุกคามสิทธิของบุคคลเหล่านั้น   ยิ่งไปกว่านั้นถ้าบรรษัทร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐบางคนในการแสวงหาข้อมูลเหล่านั้น ก็เป็นความผิดของบรรษัท และเจ้าพนักงานอย่างชัดเจน

แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะ แต่ก็มีกฎหมายอาญากำหนดความรับผิดต่อผู้ที่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นไว้อย่างชัดเจน   ซึ่งผู้ที่ต้องรับผิดก็มีทั้งผู้ที่มีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูล เช่นหน่วยงานรัฐเจ้าของฐานข้อมูลต่างๆ รวมไปถึงผู้ให้บริการเอกชนที่มีข้อมูลเหล่านั้นอยู่ในระบบข้อมูลสารสนเทศของตน   เช่นเดียวกับผู้ที่นำข้อมูลส่วนตัวเหล่านั้นไปโดยไม่มีอำนาจ และการนำข้อมูลเหล่านั้นไปเผยแพร่

ในทางกลับกัน การเปิดเผยข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนและทำลายสิ่งแวดล้อมของบรรษัทจึงเผยแพร่ได้เพราะเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของสาธารณะอย่างชัดเจน และมิได้เป็นความลับของชาติ หรือข้อมูลส่วนตัวโดยแท้ของบุคคลใด    เนื่องจากการกระทำของบรรษัทกระทบต่อชีวิตของคนในสังคมเป็นจำนวนมาก

แต่อีกสิ่งที่หลบซ่อนอยู่ คือ การร่วมมือกันระหว่างบรรษัทผู้ผลิตสินค้า กับ บรรษัทผู้เป็นเจ้าของพื้นที่สื่อ  โดยสื่อที่มาแรงมาก คือ สื่อใหม่อย่างอินเตอร์เน็ต อันได้แก่ เว็บบอร์ด โซเชียลเน็ตเวิร์ค และเสิร์ชเอ็นจิ้น ที่เป็นเหมือนหน้าด่านแรงในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนทั่วไป   การร่วมมือกันของบรรษัทเหล่านี้ ในการลบ ระงับ การเผยแพร่ข้อมูล หรือคอยสอดส่องข้อมูลแล้วแจ้งให้บรรษัทรับทราบ จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคในสังคมเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารต้องตื่นตัว   เพราะผู้บริโภคจะไม่มีวันรับรู้ “ความจริง” เลย  หากผู้ให้บริการทั้งหลายคัดกรองข้อมูลออกไปแล้ว ดังปรากฏการลบข้อความของเจ้าของเว็บบอร์ดดัง หรือการลบลิ้งค์เชื่อมไปยังข้อมูลด้านลบ อย่างต่อเนื่อง

ในสังคมแบบตลาดเสรี พลังของผู้บริโภคคือสิ่งสำคัญ   การตัดสินใจของผู้บริโภคบนพื้นฐานของความจริง สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้   เพราะผู้บริโภคคือกำลังซื้อ หากเลิกอุดหนุนสินค้าแบรนด์หนึ่ง แล้วเลือกสนับสนุนบรรษัทที่รักษ์สิ่งแวดล้อม ดูแลแรงงาน ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแทน

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2