Skip to main content

เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การบังคับด้วยวิธีการตามกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่งเป็นหลัก

หมาถือเป็นเพื่อนคู่ใจคนไทยจำนวนมาก แต่หากปล่อยปละละเลยไม่ดูแลควบคุมให้ดีก็อาจมีปัญหาตามมา เหมือนเรื่องนี้ที่เกิดจาก สุนัขพันธุ์ไทยตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยขี้เล่นอารมณ์ดี เพราะเจ้าของสัตว์ไม่เคยที่จะขังสุนัขไว้เลย ปล่อยให้วิ่งเล่นได้ อยู่มาวันหนึ่งมีเด็กข้างบ้านมาแหย่สุนัขตัวดังกล่าว จึงถูกสุนัขกัด เจ้าของสุนัขแสดงความรับผิดชอบด้วยการนำไปรักษาพยาบาลและได้ให้เงินค่าทำขวัญแก่ครอบครัวเด็ก

วันต่อมาเด็กไปโรงเรียนเด็กกลับร้องไห้กลัวสุนัขที่โรงเรียน ครอบครัวเด็กกลัวสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่เจ้าของได้ยืนยันว่าสุนัขดังกล่าวได้รับวัคซีนแล้วไม่เป็นโรคแน่นอน แต่ครอบครัวของเด็กคนดังกล่าวไม่ยอม ต้องการที่จะฆ่าสุนัขตัวดังกล่าว เรื่องนี้จึงได้สร้างความสลดใจแก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นอย่างมาก

เรื่องนี้ทางเจ้าของหมาเข้ามาปรึกษาเพราะคิดว่าน่าจะมีองค์กรอนุรักษ์สัตว์มาช่วยและชาวบ้านไม่น่าที่จะทำร้ายสัตว์ ควรหาทางออกที่ดีกว่านี้ เช่น การสร้างกรงให้สุนัขตัวดังกล่าวแทนการฆ่าสัตว์

 

วิเคราะห์ปัญหา

1.              เจ้าของสุนัขมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้างในการดูแลสุนัขของตน

2.              เมื่อสุนัขของตนไปกัดผู้อื่นแต่เกิดจากการยั่วยุ ผลในทางกฎหมายเป็นอย่างไร มีความความผิดหรือไม่ ต้องชดใช้กันอย่างไร

3.              สุนัขที่กัดคนต้องได้รับการดูแลควบคุมอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.                  เจ้าของสุนัขมีสิทธิและหน้าที่ในการดูแลสุนัขของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน ทำลายทรัพย์สิน หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น เพราะสุนัขถือเป็นทรัพย์ในการครอบครองและดูแลของเจ้าของ

2.                  เมื่อสุนัขของตนไปกัดผู้อื่นแต่เกิดจากการยั่วยุ เจ้าของจะต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นในฐานะเจ้าของ มีความหนี้ต่อฝ่ายผู้เสียหาย แต่การพิสูจน์ว่าเด็กมายั่วยุก่อนทำให้เจ้าของไม่ต้องรับผิดเพราะเด็กเป็นผู้เร้าสัตว์เอง ถ้าเด็กไม่ได้ยั่วยุเจ้าของต้องชดใช้สินไหมทดแทน แต่ถ้าเด็กเร้าสุนัขก่อนก็ไม่ต้องรับผิดใดๆทั้งสิ้น

3.                  สุนัขที่ดุร้ายกัดคนต้องได้รับการดูแลควบคุมโดยตรวจรักษาว่าเป็นโรคอันตรายหรือไม่ หากปกติดีก็อาจต้องนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยหน่วยงานที่ฝึกหัดสุนัขโดยเจ้าของต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.         การเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสามารถตกลงกันเองได้ก่อนตามความพอใจ หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องตั้งทนายไปฟ้องเรียกร้องและพิสูจน์ค่าเสียหายที่ศาลแพ่งฯ

2.         การควบคุมดูแลสุขภาพสุนัขไม่ให้ทำอันตรายต้องร้องเรียนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อประสานไปยังหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่อไป

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมายทรัพย์และละเมิด วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกรณีนี้การกล่าวหาว่าสัตว์เป็นโรคต้องพิสูจน์ก่อนด้วยการนำไปตรวจ หากไม่เป็นโรคเจ้าของสามารถกำหนดอนาคตของชีวิตสุนัขได้เท่าที่ไม่เป็นการทรมานสัตว์   ส่วนการทำทารุณต่อสัตว์เจ้าของสามารถฟ้องต่อศาลฐานละเมิดทำให้เสียทรัพย์และเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งได้

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี