Skip to main content

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้

สำหรับผู้ที่ทำงานด้านวิชาการควบคู่กับการผลักดันประเด็นป่าไม้ ที่ดิน สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต้องต่อสู้คัดค้านกับโครงการต่างๆ ของรัฐและบรรษัท เช่น การทำเหมือง เขื่อน โรงงาน ฯลฯ ที่ประชาชนในพื้นที่ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แม้โครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงก็ตาม ส่วนหนึ่งเห็นว่า หากเป็นกรณีเหมืองแร่ อาจไม่เกิดความรุนแรงหรือการคุกคามนักเคลื่อนไหว ได้เทียบเท่ากับประเด็นเรื่องทรัพยากร ที่ดิน ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม เพราะกรณีหลัง รัฐสามารถอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของทรัพยากรเหล่านั้น จนสร้างความชอบธรรมแก่กระทำความรุนแรงของตนเองได้ ผิดกับกรณีเหมืองแร่ ที่หน่วยงาน หรือผู้มีอำนาจให้สัมปทาน ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ต้องขอใช้ที่ดินกับหน่วยงานอื่นๆ จึงไม่มีท่าทีก้าวร้าวรุนแรงมากนัก และช่วงหลังมานี้ ทรัพยากรแร่ในไทย ก็ขุดขึ้นมายากขึ้น อย่างไรก็ดี การทำเหมืองแร่ในพื้นที่เปราะบาง เช่น ป่าสงวน ป่าต้นน้ำ ฯลฯ ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากเป็นทุนขนาดใหญ่ ที่มีอภิสิทธิ์เหนือว่าทุนอื่นๆ

เรื่องการคุกคาม อาจต้องพิจารณาถึงเรื่องห่วงโซ่อุปทานของโครงการพัฒนาเหล่านั้นด้วย กล่าวคือ ในเบื้องต้น การดำเนินโครงการหลักย่อมเกี่ยวข้องกับคู่กรณี 3 ฝ่าย คือ รัฐ ทุนใหญ่ และประชาชน ที่มีสถาบันกฎหมายเข้ามากำกับ และความรุนแรงเกิดขึ้นได้ยาก แต่ทว่า หากเป็นส่วนย่อย เช่น การรับเหมาถมดินที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมือง เจ้าของรถบรรทุกขนแร่ ก็ต้องอาศัยการจ้างรับเหมากลุ่มนายทุนท้องถิ่น และตัวละครสำคัญอย่างรัฐ ก็จะหายไป และคู่กรณีจะเหลือเพียงประชาชนกับกลุ่มทุนเท่านั้น ซึ่งภายใต้สถานการณ์นี้ ความรุนแรง และอำนาจนอกกฎหมายทั้งหลาย จะปรากฏออกมาได้ง่ายกว่า เพราะกฎหมายและรัฐหายไปจากสมการความขัดแย้ง

ทว่าหากเป็นยุครัฐบาลทหาร ผู้มีอำนาจมักมองชาวบ้านที่ไม่ยอมจำนนต่ออำนาจ และต่อต้านการพัฒนาของรัฐ เป็นศัตรู ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือ ฝ่ายความมั่นคงของรัฐไทย นั้นไร้ประสิทธิภาพและศักยภาพอย่างมากในปฏิบัติการจัดเก็บข้อมูล จึงเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการรายงานข้อมูลคลาดเคลื่อน ผิดจากความเป็นจริงอย่างมาก และอาจมีโอกาสที่จะเกิดการใช้ความรุนแรงโดยสำคัญผิด หรือ “ยิงผิดตัว” สูงมาก ขณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นในก็ตาม บริบทการเมืองถือเป็นเหตุปัจจัยหลักที่จะบ่งชี้ว่า สถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจะเป็นอย่างไรซึ่ง ภายใต้รัฐบาลอำนาจนิยม การคุกคามด้านสิทธิมนุษยชนกับคนที่มีความคิดเห็นต่างย่อมต้องรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ปกครองที่อ้างตนเองว่าเป็นคนดี ใช้อำนาจนำในการปกครองโดยมีอำนาจพิเศษที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือหลักในการทำลายฝ่ายที่มีความเห็นต่าง และหลังการรัฐประหาร 2557 มีการแก้กฎหมายเอื้อให้ชนชั้นปกครองใช้ดุลพินิจเกินขอบเขต ขาดการตรวจสอบของภาคประชาสังคม ทำให้เกิดรัฐที่บริหารด้วยระบบรัฐราชการ ชนชั้นศักดินาเป็นอภิสิทธิ์ชนที่บังคับใช้กฎหมายกับประชาชนอย่างเข้มงวดแต่กลับเพิกเฉยต่อการกระทำผิดของชนชั้นเดียวกัน

อีกทั้ง ที่ผ่านมา ความแย้งทางการเมือง การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแบ่งสีทางการเมือง มีส่วนในการทำลายให้ขบวนการหลายแห่งยุติบทบาท และต้องแตกแยกเนื่องจากความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมืองไทยหลัง 2549 ไม่สามารถหวนกลับคืนมาดังเดิมได้อีก

ในเรื่องการใช้ความรุนแรงปราบขบวนการเคลื่อนไหวนั้นจะขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่หลากหลายหรือจำเพาะมากในแต่ละพื้นที่ที่จะทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น เช่น “ทุน” ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นเป็นของ ทุนท้องถิ่นที่เป็นเจ้าพ่อ หรือทุนท้องถิ่นที่ไม่ใช่เจ้าพ่อด้วย ซึ่งจะแสดงอาการโกรธกับการต่อต้านของชาวบ้านต่างกัน ยิ่งหากเปิดโปงสายสัมพันธ์ความเชื่อมโยงระหว่างทุน การเมืองและรัฐต่อสาธารณะมากเท่าไหร่ ทั้งทุนเจ้าพ่อและทุนไม่ใช่เจ้าพ่อจะระมัดระวังตัวไม่กล้าใช้ความรุนแรงมากนัก มีความละอายใจ หน้าบางและระมัดระวังขึ้นเมื่อถูกแสงไฟจับจ้อง หลายกรณีสาวไม่ถึงตัวการใหญ่ที่สั่งเก็บ เพราะคนที่ทำคือพวกที่เสียประโยชน์ชั้นรองลงไป เช่น กลุ่มผู้รับเหมา เจ้าของรถบรรทุกรายเล็กรายย่อยที่รอรับจ้างขนแร่ขนดิน พวกคนงานที่ตกงานหรือไม่ได้รับค่าจ้างจากการประท้วงจนทำให้ต้องหยุดการผลิต เป็นต้น จากการที่นายทุนนั้นไม่ได้รับสัมปทาน แต่กล่าวได้ว่ากลุ่มที่ลงมือทำใช้ความรุนแรงล้วนอยู่ใน 'ห่วงโซ่การผลิต' และ 'ห่วงโซ่อุปทาน'

ส่วน “รัฐ” ถ้าการคัดค้านทำให้กระบวนอนุมัติ อนุญาตในขั้นตอนของราชการนั้น ๆ ติดขัดหรือสะดุด ข้าราชการนั้นก็จะโกรธอย่างมากจนต้องตัดสินใจใช้ความรุนแรงต่อขบวนการเคลื่อนไหว เนื่องเพราะอาจโดนผู้บังคับบัญชาต่อว่า และส่งผลให้ไม่ได้เลื่อนชั้นตำแหน่งการงาน รวมถึงอาจโดนนายทุนกดดันมา จนทำให้ถูกยกเลิกอามิสสินจ้างก้อนโตที่นายทุนให้คำมั่นสัญญาเอาไว้แล้วว่าจะให้

อีกทั้ง ความรุนแรงอาจมีอยู่สองแบบที่ทำงานสอดรับไปด้วยกัน คือ หนึ่ง ความรุนแรงแนวดิ่ง ซึ่งคือฆ่า สังหาร เอาชีวิต สอง ความรุนแรงแนวระนาบ ซึ่งคือการฟ้องคดีกลั่นแกล้ง การข่มขู่คุกคาม กดขี่ข่มเหง ทำให้บาดเจ็บ บังคับขู่เข็ญรึเข้ามาแบบอ่อนโยนเพื่อให้รับสินจ้างรางวัลรึซื้อสิ่งของต่าง ๆ ให้เพื่อเป็นบุญคุณ และเพื่อทำให้กลัว เพื่อจะได้หยุด ยกเลิก และยุติการคัดค้าน โดยทั่วไปก่อนจะใช้ความรุนแรงแนวดิ่ง จะต้องทำความรุนแรงแนวระนาบก่อน ถ้าเอาไม่อยู่ค่อยเริ่มลงมือใช้ความรุนแรงแนวดิ่ง   สถานการณ์เช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า โครงสร้างรัฐไทยนั้นมีสองระบบซ้อนกัน ปกครองประชาชนโดยวิธีการนอกกฎหมายเป็นหลัก เป็นรัฐเร้นลึก (Deep State) ที่อิทธิพลมีอำนาจอยู่เหนือกฎหมาย อำนาจก็ปกครองโดยอาศัยการภาพลักษณ์บังหน้า ส่วนอิทธิพลนอกกฎหมายก็จะใช้วิธีการดิบเถื่อนไปเลย

ปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยไม่ถูกพัฒนาไปข้างหน้า คือ การที่กลไกของรัฐและระบบกฎหมายถูกครอบงำโดยกลุ่มทุน ถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งกับบรรษัทด้วยการเป็นเครื่องมือปกป้องผลประโยชน์ กล่าวอีกแง่หนึ่ง ในระบบทุนนิยม กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือในการปกป้องระบบกรรมสิทธิ์ ประชาชน ชุมชน ถูกทำให้ด้อยสิทธิโดยกฎหมายทรัพย์สิน  และการคุกคามอาจแฝงตัวอยู่เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างมาอย่างยาวนาน ชุมชนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมาโดยตลอด ขณะที่ฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐ กลุ่มทุน ก็อาศัยเครื่องมือ หรือเงินทุน งบประมาณ มาใช้แทรกซึม ขัดขวาง จำกัดการรับรู้ของชุมชน เช่น ใช้ทุนส่งเสริมงานวิจัยเรื่องพันธุ์พืช เพื่อเสริมอำนาจกดทับความรู้ดั้งเดิมของชุมชน สร้างแรงจูงใจ หรือสนับสนุนการเข้าร่วม CPTPP เป็นต้น

ส่วนการวิเคราะห์จากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเด็นแรงงาน ส่วนหนึ่งเห็นว่า สถานการณ์ทุกอย่างยังเหมือนเดิม ในความหมายว่า เลวร้ายเหมือนเดิม ไม่ได้หนักขึ้น ปัญหาที่ผ่านมาล้วนไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด เพียงแต่สังคมรับข้อมูลข่าวสารกว้างขวางขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น หลังการรัฐประหารและในภาวะที่ประชาธิปไตยย่ำอยู่กับที่ สหภาพแรงงานย่อมเกิดขึ้นได้ยาก บริหารจัดการองค์กรได้ลำบากมากขึ้น ซึ่งหากพิจารณา 10 ปีล่าสุด การขับเคลื่อนในรูปแบบขององค์กรแรงงานแทบไม่ปรากฏให้เห็น

ด้านกลุ่มคนทำงานด้านกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนของนักเคลื่อนไหวทางการเมือง วิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจว่า ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมืองที่สั่นคลอนอำนาจรัฐ รัฐไทยมักเปลี่ยนวิธีการคุกคามใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง การละเมิดสิทธิก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปบ้าง รัฐตอบโต้ด้วยวิธีการทางกฎหมายมากขึ้น แต่ในภายภาคหน้าอาจรุนแรงมากขึ้น หากรัฐเริ่มจนตรอก และไม่สามารถใช้วิธีการที่ปราศจากความรุนแรงเพื่อกำราบประชาชนได้อีกแล้ว ในอนาคต พระราชบัญญัติองค์กรพัฒนาเอกชน ที่รัฐต้องการตราออกมาเพื่อควบคุม ตรวจสอบการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชน อาจทำให้การปกป้องสิทธิต้องเจอกับอุปสรรคมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อรับมือกับมาตรการตอบโต้จากฝ่ายตรงข้าม การขับเคลื่อนขบวนการ หรือการทำงานเป็นกลุ่ม ย่อมมีประสิทธิภาพ ทรงพลัง แข็งแกร่ง เป็นที่รับรู้ในวงกว้างมากกว่าการเคลื่อนแบบปัจเจกบุคคล แม้สื่อสังคมออนไลน์ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้การสื่อสารต่อสาธารณะทำได้สะดวกมากขึ้นก็ตาม แต่การรวมกลุ่มจะช่วยเสริมสร้างเกราะป้องกัน ไม่ให้ฝ่ายผู้คุกคามใช้มาตรการคุกคามได้โดยง่าย

ทั้งนี้ สถานการณ์การคุกคามอาจเกิดจากปัญหาของตัวคณะทำงานหรือองค์กรปกป้องสิทธิมนุษยชนเองด้วยเช่นกัน ซึ่งบางส่วนมองว่า ความสามารถคนทำงานยังไม่พัฒนา โลกหมุนไปข้างหน้า แต่คนทำงานไม่พลวัต ไม่พัฒนาศักยภาพตามไปด้วย ความสามารถของคนทำงานยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งยังต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับช่องว่างระหว่างวัยอย่างรุนแรง การเข้าใจ หรือมองปัญหาแตกต่างกันมากเกินไป  และการบริหารจัดการหรือประเมิณความเสี่ยงของคนทำงานก็เป็นสำคัญ ความเสี่ยงทั้งหลายจะขึ้นอยู่กับวิธีการทำงาน ต้องเรียนรู้ ต้องอาศัยประสบการณ์ที่จะทำให้การทำงาน หรือการขับเคลื่อนประเด็นเป็นไปโดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด

*จากบทสัมภาษณ์ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ถอดบทเรียนโดย ภาสกร ญี่นาง ในวิจัย การลดความเหลื่อมล้ำด้านความยุติธรรมต่อกลุ่มเสี่ยงโดยศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย, 2565. สนับสนุนทุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี