Skip to main content

เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้

ความคาดหวังต่อสังคม องค์กรและคนทำงานปกป้องสิทธิมนุษยชน นั้นเห็นว่า สังคมต้องไม่เพิกเฉยต่อความเดือดร้อนของเพื่อนร่วมชาติ ควรมีความเห็นอกเห็นใจ (empathy) กันให้มากกว่านี้ สังคมต้องตระหนักถึงการต่อสู้ของผู้คนที่ต้องเผชิญหน้ากับความไม่เป็นธรรม ที่สำคัญ เมื่อมีประเด็นความไม่เป็นธรรม หรือการเอารัดเอาเปรียบกันขึ้น สังคมต้องร่วมกันผลักดันประเด็น กดดัน ฝ่ายผู้มีอำนาจให้เข้ามาทำหน้าที่ดูแลปกป้องคุ้มครองประชาชน

ในการขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเป็นประเด็นใด ประชาชนจำเป็นต้องรวมกลุ่ม และรวมตัวกันเป็นลำดับแรก เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และเสริมอำนาจการต่อรองกับผู้ที่มีอำนาจรัฐ จำต้องเชื่อมั่นในระบบกลไกพรรคการเมือง เพราะพรรคการเมืองจะทำให้สามารถเข้าพูดคุย เจรจา ผลักดันนโยบาย ในพื้นที่เดียวกันกับผู้มีอำนาจ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการขับเคลื่อนบนท้องถนน

อีกทั้ง เพื่อก่อสำนึกด้านสิทธิมนุษยชนและความเห็นอกเห็นใจกัน สังคมไทยต้องเลิกมองคนที่ด้อยกว่าในแง่ลบ และส่งเสริมให้ความเสมอภาคเท่าเทียมเกิดขึ้นได้จริง แทนที่ จะเป็นการทำในเชิงสงเคราะห์ ต้องมองคนเท่ากัน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติต่อกันและกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และร่วมกันเรียกร้องให้เกิดการกระจายโอกาสให้ทั่วถึงครอบคลุมคนทุกกลุ่มในประเทศ

สังคมไทยต้องคงไว้ซึ่งบทสนทนา (Dialogue) หรือพื้นที่การพูดคุยกัน ในฐานะพื้นที่ปลอดภัย เพื่อบอกเล่ารับฟัง ปัญหา ความทุกข์ร้อน หรือความต้องการของกันและกัน สำหรับการหาเป้าหมายและวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันของสังคม  และควรต้องเห็นร่วมกันในหลักการประชาธิปไตย เรียนรู้กันและกันเพื่อให้เกิดการถกเถียงที่มีอารยะ เพื่อป้องกันไม่ให้ฉันทามติร่วมกันหายไป การต่อสู้ควรยึดถือประเด็นใดประเด็นหนึ่งร่วมกันไว้ให้เป็นประเด็นหลัก  และปัจจัยทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะประเมินได้ว่า ขบวนการขับเคลื่อนทางสังคมจะดำเนินต่อไปได้หรือไม่ เพราะการมีอำนาจรัฐ ย่อมทำให้การขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ และการจัดตั้งพรรคการเมือง เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับขบวนการเคลื่อนไหว

ส่วนความเห็นต่อรัฐ มีหลายประการด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ การเรียกร้องให้รัฐต้องเคารพสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติตามพันธกรณีในกฎหมายระหว่างประเทศ สร้างกลไกที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และต้องผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนจากการถูกบังคับให้สูญหาย การทำงานต้องไม่แฝงอำนาจมืด หรือการกระทำนอกกฎหมาย ขณะเดียวกัน รัฐไทยควรมีหน่วยงานปกป้องผู้พิทักษ์สิทธิ์ มีกลไกคุ้มครองสวัสดิภาพของคนทำงานพิทักษ์สิทธิ์ที่มีโครงสร้างยึดโยงกับประชาชน และเป็นมากกว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคุ้มครองสิทธิประชาชน และควรมุ่งพัฒนากองทุนยุติธรรม ผ่านกรมคุ้มครองสิทธิ ปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือสวัสดิภาพ นักปกป้องสิทธิที่ไม่ใช่เพียงการดำเนินมาตรการเยียวยา

อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งมองว่า ถ้ารัฐเคารพสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้เข้าเป็นรัฐภาคีอย่างเคร่งครัด รัฐก็ไม่จำเป็นต้องปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนเป็นกรณีพิเศษแต่อย่างใด และเห็นว่า “ช่วยเหลือประชาชน ดีกว่าปกป้องนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน” อยู่แล้ว

การกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือดำเนินกิจการใดๆ ก็ตามที่สร้างผลกระทบต่อชุมชน หรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความคิดเห็นของประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาฉันทามติรวมหมู่อย่างแท้จริง มิใช่รัฐ หรือกลุ่มบรรษัทเป็นผู้กำหนดนโยบายแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยกระบวนการเหล่านั้นไม่ใช่การทำกระบวนการแบบพิธีกรรม และต้องให้องค์กรอิสระต่างๆ ได้ทำงานตามกลไกอย่างเป็นอิสระอย่างแท้จริง รวมถึงกระบวนการตุลาการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเคารพหลักการสิทธิมนุษยชนสากลโดยคำนึงถึงความเป็นคนว่ามนุษย์ทุกคนนั้นมีความเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติศาสนา เคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน  เช่น เคารพการแสดงความคิดเห็นต่าง

ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีส่งเสริมในให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง รัฐควรต้องพัฒนาสถาบันและระบบการศึกษา ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ เพื่อจะทำให้กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบางที่จำเป็นต้องได้รับการปกป้องมีความเข้มแข็งมากขึ้นภายใต้ความตระหนักรู้ที่ได้จากการศึกษา ตระหนักรู้ถึงสิทธิหน้าที่ วิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ของตัวเองและคนในชุมชน

นอกจากนี้ ในการบริหารงานด้านความมมั่นคง ควรจำกัดอำนาจฝ่ายความมั่นคงไม่ให้มีอำนาจมากเกินไป กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ไม่ก้าวก่ายกิจการพลเรือน ต้องยกเลิกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพราะเป็นหน่วยงานที่หมดยุค หมดภารกิจไปแล้วตั้งแต่จบสงครามเย็น และปัจจุบันก็เป็นเพียงหน่วยงานที่มีไว้เพื่อปกป้องอำนาจอยู่ฝ่ายเดียว ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของฝ่ายประชาชนแต่อย่างใด  การมองประชาชนให้เป็นภัยต่อความมั่นคง เป็นศัตรู ไม่ใช่แก้ไขปัญหา การไม่มี กอ.รมน. อาจช่วยลดความรุนแรงลงไปได้

ด้านการจัดการความขัดแย้งและส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง รัฐจะต้องหยุดใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกดปราบคนเห็นต่าง  และหันมายอมรับความแตกต่างหลากหลายมากขึ้น  รัฐต้องเป็นกรรมการ เป็นคนกลางที่ทำงานอยู่บนหลักการและความยุติธรรม และควรปรับปรุงระบบรัฐราชการ ทำงานโดยยึดเอาผลประโยชน์ เคารพสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก ทำความเข้าใจต่อข้อเรียกร้อง หาข้อตกลงร่วม เพื่อนำไปสู่การจัดการความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ การมุ่งกดปราบประชาชน ย่อมไม่มีผลทำให้ความขัดแย้งหายไป เนื่องจากปัญหาความเป็นธรรมต่างๆ ล้วนไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด

สุดท้าย บางส่วนก็เชื่อว่า ถ้าจะเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนทั้งระบบ เปลี่ยนระบบความคิด การบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหา  ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูยอย่างถอนรากถอนโคน ปรับปรุงโครงสร้างอำนาจรัฐ ให้ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ที่ประชาธิปไตยไทยยังอยู่ในภาวะย่ำอยู่กับที่ คงเพราะรัฐไทยยังขาดจุดเปลี่ยน จุดพลิกผัน และขาดประสบการณ์ จนทำให้คนไทยส่วนใหญ่ยังไร้เดียงสา มองไม่เห็นปัญหา หรือเนื้อร้ายที่คอยกัดกินสังคมอยู่ในทุกวัน และสิ่งสำคัญ คือ ต้องจัดให้มีการปฏิรูป เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และโครงสร้างรัฐแบบดั้งเดิม ทั้งต้องอาศัยการก่อตัวของสำนึกใหม่ๆ วัฒนธรรมใหม่ๆ ที่จะขึ้นมาเป็นวัฒนธรรมหลักแทนวัฒนธรรมเดิมให้ได้


*จากบทสัมภาษณ์ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ถอดบทเรียนโดย ภาสกร ญี่นาง ในวิจัย การลดความเหลื่อมล้ำด้านความยุติธรรมต่อกลุ่มเสี่ยงโดยศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย, 2565. สนับสนุนทุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2