Skip to main content

เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้

ความคาดหวังต่อสังคม องค์กรและคนทำงานปกป้องสิทธิมนุษยชน นั้นเห็นว่า สังคมต้องไม่เพิกเฉยต่อความเดือดร้อนของเพื่อนร่วมชาติ ควรมีความเห็นอกเห็นใจ (empathy) กันให้มากกว่านี้ สังคมต้องตระหนักถึงการต่อสู้ของผู้คนที่ต้องเผชิญหน้ากับความไม่เป็นธรรม ที่สำคัญ เมื่อมีประเด็นความไม่เป็นธรรม หรือการเอารัดเอาเปรียบกันขึ้น สังคมต้องร่วมกันผลักดันประเด็น กดดัน ฝ่ายผู้มีอำนาจให้เข้ามาทำหน้าที่ดูแลปกป้องคุ้มครองประชาชน

ในการขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเป็นประเด็นใด ประชาชนจำเป็นต้องรวมกลุ่ม และรวมตัวกันเป็นลำดับแรก เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และเสริมอำนาจการต่อรองกับผู้ที่มีอำนาจรัฐ จำต้องเชื่อมั่นในระบบกลไกพรรคการเมือง เพราะพรรคการเมืองจะทำให้สามารถเข้าพูดคุย เจรจา ผลักดันนโยบาย ในพื้นที่เดียวกันกับผู้มีอำนาจ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการขับเคลื่อนบนท้องถนน

อีกทั้ง เพื่อก่อสำนึกด้านสิทธิมนุษยชนและความเห็นอกเห็นใจกัน สังคมไทยต้องเลิกมองคนที่ด้อยกว่าในแง่ลบ และส่งเสริมให้ความเสมอภาคเท่าเทียมเกิดขึ้นได้จริง แทนที่ จะเป็นการทำในเชิงสงเคราะห์ ต้องมองคนเท่ากัน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติต่อกันและกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และร่วมกันเรียกร้องให้เกิดการกระจายโอกาสให้ทั่วถึงครอบคลุมคนทุกกลุ่มในประเทศ

สังคมไทยต้องคงไว้ซึ่งบทสนทนา (Dialogue) หรือพื้นที่การพูดคุยกัน ในฐานะพื้นที่ปลอดภัย เพื่อบอกเล่ารับฟัง ปัญหา ความทุกข์ร้อน หรือความต้องการของกันและกัน สำหรับการหาเป้าหมายและวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันของสังคม  และควรต้องเห็นร่วมกันในหลักการประชาธิปไตย เรียนรู้กันและกันเพื่อให้เกิดการถกเถียงที่มีอารยะ เพื่อป้องกันไม่ให้ฉันทามติร่วมกันหายไป การต่อสู้ควรยึดถือประเด็นใดประเด็นหนึ่งร่วมกันไว้ให้เป็นประเด็นหลัก  และปัจจัยทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะประเมินได้ว่า ขบวนการขับเคลื่อนทางสังคมจะดำเนินต่อไปได้หรือไม่ เพราะการมีอำนาจรัฐ ย่อมทำให้การขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ และการจัดตั้งพรรคการเมือง เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับขบวนการเคลื่อนไหว

ส่วนความเห็นต่อรัฐ มีหลายประการด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ การเรียกร้องให้รัฐต้องเคารพสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติตามพันธกรณีในกฎหมายระหว่างประเทศ สร้างกลไกที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และต้องผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนจากการถูกบังคับให้สูญหาย การทำงานต้องไม่แฝงอำนาจมืด หรือการกระทำนอกกฎหมาย ขณะเดียวกัน รัฐไทยควรมีหน่วยงานปกป้องผู้พิทักษ์สิทธิ์ มีกลไกคุ้มครองสวัสดิภาพของคนทำงานพิทักษ์สิทธิ์ที่มีโครงสร้างยึดโยงกับประชาชน และเป็นมากกว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคุ้มครองสิทธิประชาชน และควรมุ่งพัฒนากองทุนยุติธรรม ผ่านกรมคุ้มครองสิทธิ ปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือสวัสดิภาพ นักปกป้องสิทธิที่ไม่ใช่เพียงการดำเนินมาตรการเยียวยา

อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งมองว่า ถ้ารัฐเคารพสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้เข้าเป็นรัฐภาคีอย่างเคร่งครัด รัฐก็ไม่จำเป็นต้องปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนเป็นกรณีพิเศษแต่อย่างใด และเห็นว่า “ช่วยเหลือประชาชน ดีกว่าปกป้องนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน” อยู่แล้ว

การกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือดำเนินกิจการใดๆ ก็ตามที่สร้างผลกระทบต่อชุมชน หรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความคิดเห็นของประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาฉันทามติรวมหมู่อย่างแท้จริง มิใช่รัฐ หรือกลุ่มบรรษัทเป็นผู้กำหนดนโยบายแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยกระบวนการเหล่านั้นไม่ใช่การทำกระบวนการแบบพิธีกรรม และต้องให้องค์กรอิสระต่างๆ ได้ทำงานตามกลไกอย่างเป็นอิสระอย่างแท้จริง รวมถึงกระบวนการตุลาการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเคารพหลักการสิทธิมนุษยชนสากลโดยคำนึงถึงความเป็นคนว่ามนุษย์ทุกคนนั้นมีความเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติศาสนา เคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน  เช่น เคารพการแสดงความคิดเห็นต่าง

ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีส่งเสริมในให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง รัฐควรต้องพัฒนาสถาบันและระบบการศึกษา ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ เพื่อจะทำให้กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบางที่จำเป็นต้องได้รับการปกป้องมีความเข้มแข็งมากขึ้นภายใต้ความตระหนักรู้ที่ได้จากการศึกษา ตระหนักรู้ถึงสิทธิหน้าที่ วิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ของตัวเองและคนในชุมชน

นอกจากนี้ ในการบริหารงานด้านความมมั่นคง ควรจำกัดอำนาจฝ่ายความมั่นคงไม่ให้มีอำนาจมากเกินไป กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ไม่ก้าวก่ายกิจการพลเรือน ต้องยกเลิกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพราะเป็นหน่วยงานที่หมดยุค หมดภารกิจไปแล้วตั้งแต่จบสงครามเย็น และปัจจุบันก็เป็นเพียงหน่วยงานที่มีไว้เพื่อปกป้องอำนาจอยู่ฝ่ายเดียว ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของฝ่ายประชาชนแต่อย่างใด  การมองประชาชนให้เป็นภัยต่อความมั่นคง เป็นศัตรู ไม่ใช่แก้ไขปัญหา การไม่มี กอ.รมน. อาจช่วยลดความรุนแรงลงไปได้

ด้านการจัดการความขัดแย้งและส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง รัฐจะต้องหยุดใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกดปราบคนเห็นต่าง  และหันมายอมรับความแตกต่างหลากหลายมากขึ้น  รัฐต้องเป็นกรรมการ เป็นคนกลางที่ทำงานอยู่บนหลักการและความยุติธรรม และควรปรับปรุงระบบรัฐราชการ ทำงานโดยยึดเอาผลประโยชน์ เคารพสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก ทำความเข้าใจต่อข้อเรียกร้อง หาข้อตกลงร่วม เพื่อนำไปสู่การจัดการความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ การมุ่งกดปราบประชาชน ย่อมไม่มีผลทำให้ความขัดแย้งหายไป เนื่องจากปัญหาความเป็นธรรมต่างๆ ล้วนไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด

สุดท้าย บางส่วนก็เชื่อว่า ถ้าจะเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนทั้งระบบ เปลี่ยนระบบความคิด การบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหา  ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูยอย่างถอนรากถอนโคน ปรับปรุงโครงสร้างอำนาจรัฐ ให้ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ที่ประชาธิปไตยไทยยังอยู่ในภาวะย่ำอยู่กับที่ คงเพราะรัฐไทยยังขาดจุดเปลี่ยน จุดพลิกผัน และขาดประสบการณ์ จนทำให้คนไทยส่วนใหญ่ยังไร้เดียงสา มองไม่เห็นปัญหา หรือเนื้อร้ายที่คอยกัดกินสังคมอยู่ในทุกวัน และสิ่งสำคัญ คือ ต้องจัดให้มีการปฏิรูป เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และโครงสร้างรัฐแบบดั้งเดิม ทั้งต้องอาศัยการก่อตัวของสำนึกใหม่ๆ วัฒนธรรมใหม่ๆ ที่จะขึ้นมาเป็นวัฒนธรรมหลักแทนวัฒนธรรมเดิมให้ได้


*จากบทสัมภาษณ์ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ถอดบทเรียนโดย ภาสกร ญี่นาง ในวิจัย การลดความเหลื่อมล้ำด้านความยุติธรรมต่อกลุ่มเสี่ยงโดยศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย, 2565. สนับสนุนทุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี