Skip to main content

บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานของการป้องกันภัยล่วงหน้า แต่เน้นการฟ้องร้องเพื่อเยียวยาหลังจากเกิดความเสียหายแล้ว  ทำให้ประชาชนขาดความตระหนักรู้ในความเสี่ยง หรืออยู่ในสถานการณ์คลุมเครือว่าอาจลองทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงเพราะหวังผลตอบแทนที่สูงกว่า  การขาดไร้ระบบเตือนภัยล่วงหน้าในโครงสร้างสถาบันรัฐไทยต่างจากสถาบันรัฐและกฎหมายในประเทศพัฒนาแล้วที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจกรรมที่เสี่ยงสูงมิให้สร้างความเสียหายกับประชาชนเป็นวงกว้าง หรือเกิดผลกระทบไปถึงประชาชนที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจโดยตรง

ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจด้านอาหารและสุขภาพที่กำลังจะศึกษาวิจัยจะมุ่งวิเคราะห์ไปมองผลกระทบจากลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่ส่งผลสะเทือนต่อสภาวะการดำรงอยู่ของสังคมไทยและประชากรที่อยู่ในเขตอำนาจรัฐไทย ผลสะเทือนอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์แบบเสรีนิยมใหม่ที่กล่าวถึง คือ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและแนวทางการบริหาร “เวลา” และ “พื้นที่” ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะตัวแสดงที่มีอำนาจเหนือทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เมื่อความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ย่างกรายมาถึงสังคมไทยที่มีปัญหาเก่าค้างเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเผด็จการ อำนาจทางการเมืองที่คนส่วนน้อย โดยอาศัยพลังอำนาจที่เกิดจากการผูกขาดทางเศรษฐกิจแบบขูดรีดค่าเช่า (Rent Seeker) และปกปักษ์รักษาผลประโยชน์โดยใช้ระบบอุปถัมภ์เล่นพรรคเล่นพวก และสภาวะนิติรัฐนิติธรรมที่เปราะบาง ย่อมกลายเป็นสถานการณ์ที่ผู้ทรงอิทธิพลเดิมฉวยใช้เพื่อสร้างสถานะของตนให้สูงส่งมั่นคงขึ้น ในขณะที่ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงทั้งหลายตกอยู่ในภาวะเสี่ยง และถูกกีดกันออกจากโอกาสมากขึ้นเรื่อย ๆ 

แม้จะมีกระแสเรียกร้องให้ลดความเสี่ยงเพื่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติจากระดับโลกมาถึงมวลชนในประเทศกำลังพัฒนาจนเกิดการตื่นตัวของประชาชนต่อความเสี่ยงแล้วก็ตาม แต่หากยังไม่มีการปรับนโยบายและโครงสร้างรัฐให้สามารถประเมินความเสี่ยงช่วยคัดกรองภัยคุกคามต่าง ๆ และมีระบบกระตุ้นเตือนภัยให้ประชาชนล่วงหน้า ย่อมมิอาจบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนและสังคมได้ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากระบบการผลิตทางการเกษตร การล่อลวงในโลกไซเบอร์ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความสูญเสียจากบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินและสุขภาพ ระบบประกันภัยที่ประชาชนเข้าไม่ถึง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน และการบริโภคในสังคมทุนนิยมอุดมเสี่ยง

การสร้างข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงให้กับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารและสุขภาพนั้นจะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals - MDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อบรรลุเป้าหมายคุณภาพชีวิตของประชาชนท่ามกลางความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการที่อิงสิทธิเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach) เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างยั่งยืน ไม่ผันผวนไปตามการแย่งชิงทางการเมืองแข่งกันนำเสนอนโยบายที่เปลี่ยนแปลงไปได้เสมอโดยไม่ต้องตอบสนองสิทธิมนุษยชนใด ๆ ของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งพลวัตรของกระบวนการที่อิงสิทธิมนุษยชนนั้นจะถูกผลักดันดันโดยชุดโครงการวิจัยนี้ที่จะสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) หลายประการ อันได้แก่ การลดความยากจนตามเป้าหมายที่ 1 ด้วยการส่งเสริมให้มีการปรับกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ตามเป้าหมายที่ 12 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย รวมถึงการสร้างความมั่นคงให้กับการจำหน่ายอาหารราคาย่อมเยาเข้าถึงได้ตามเป้าหมายที่ 2 ยิ่งไปกว่านั้นการปรับกระบวนทัศน์ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพและการกำกับข่าวปลอมเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพยังเป็นการส่งเสริมสุขภาวะตามเป้าหมายที่ 3 โดยข้อเสนอในการลดความเสี่ยงจากความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ของชุดโครงการวิจัยนี้ก็เพื่อลดความเหลื่อมล้ำตามเป้าหมายที่ 10 นั่นเอง

ความเสี่ยงที่บทความนี้มุ่งศึกษามาจากกรอบทฤษฎีที่เซอร์อันโทนี่ กิดเด้นส์ และอูลริช เบ็คได้นำเสนอไว้ปลายศตวรรษที่ 20 กล่าวคือ เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคปริมาณมหาศาลก็ย่อมต้องยกระดับการผลิตให้ยิ่งใหญ่แบบอุตสาหกรรม แต่การไร้ซึ่งมาตรการประเมินความเสี่ยงภัยและบรรเทาผลกระทบไว้เมื่อเกิดภัยพิบัติที่เหนือการควบคุมของมนุษย์ก็ย่อมสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง  จนเกิดเป็นประสบการณ์ร่วมทั้งสังคมจนก่อสำนึกให้ประชาชนใช้ชีวิตโดย “คำนึงถึงอนาคตที่ปลอดภัย”  และให้น้ำหนักการตัดสินใจทั้งหลายตั้งแต่กิจกรรมการเมืองระดับชาติเรื่อยมาถึงกิจวัตรประจำวัน   เบ็คได้เสนอว่าคนในกลุ่มชนชั้นสูงมีความสามารถในการสร้างความเสี่ยงได้มากกว่าแต่ภัยพิบัติย่อมเกิดขึ้นและกระทบไปยังคนทั้งสังคม  แต่กิดเด้นส์ได้เสนอว่าแม้กลุ่มคนที่มีอำนาจมากกว่าจะสร้างความเสี่ยงขึ้นมาแต่ศักยภาพในการรองรับปรับตัวเข้ากับภัยพิบัติของแต่ละกลุ่มย่อมต่างกัน   แต่รัฐและสังคมสามารถบรรเทาความเสียหายจากความเสี่ยงได้ด้วยการปรับตัวทางเศรษฐกิจและพัฒนานวัตกรรมขึ้นมารองรับภัยคุกคามได้ 

จากกรอบความคิดที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมข้างต้นจึงจำเป็นต้องนิยามความหมายและขอบเขตของ ลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) ซึ่งคือ การแปลงอุดมการณ์เศรษฐกิจการเมืองให้เป็นแนวปฏิบัติของรัฐผ่านนโยบายสำคัญที่ประกอบด้วย  1) การลดข้อบังคับ (Deregulation) เปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างกว้างขวาง 2) การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน (Privatization) เพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ และ 3) การลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อการรัดเข็มขัดทางการเงิน (Austerity) หรือสร้างสวัสดิการผ่านระบบตลาดที่เอกชนมีบทบาทมากขึ้น  โดยทั้ง 3 นโยบายมุ่งไปสู่การสร้างระบบที่รัฐเข้าแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจน้อยเอกชนมีอิสระในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาก แต่รัฐจะมีบทบาทในการสร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ผ่านกฎหมายและกลไกบังคับใช้กฎหมาย อันหมายถึง ระบอบกฎหมายของรัฐเสรีนิยมใหม่ นั่นเอง

เมื่อผนวกรวมเข้ากับกระบวนการของเสรีนิยมใหม่ที่มีรูปแบบการการสะสมทุนโดยผ่านการยึดทรัพย์ (Accumulation by Dispossession) ด้วยการปรับโครงสร้างรัฐ ซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ 4 ประการ  คือ การแปลงทรัพย์สินของรัฐให้เป็นของเอกชน (Privatization) มีการบริหารเศรษฐกิจในแบบรัฐวานิช (Financialization and Economic Speculation) โดยฉวยใช้โอกาสจากวิกฤตกาลที่สร้างขึ้น (Manipulation of Crisis) เพื่อการจัดส่งความมั่งคั่งขึ้นไปสู่ชนกลุ่มบนมากกว่ากระจายลงสู่มวลชนฐานรากปีระมิด (Upward Distribution)   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมและรัฐไทยต้องเตรียมความพร้อมสร้างนโยบายเพื่อรองรับความโกลาหลที่เกิดจากความตระหนกต่อผลสะเทือนจากเทคโนโลยีแห่งยุคเปลี่ยนแปลงโลกฉับพลัน (The Age of Disruption) ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการเกษตร การสื่อสาร อาหาร สุขภาพ หรือทางการเงิน

ทฤษฎีและหลักการที่อาจนำมาประยุกต์ใช้ผลักดันระบอบกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำต่อกลุ่มเสี่ยงอันเนื่องมาจากความท้าทายทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องกล่าวถึง คือ การลดผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการพัฒนาตามแนวทางของลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาที่ให้ผลประโยชน์กับคนบางกลุ่มแต่สร้างผลเสียให้คนบางกลุ่ม   โดยความเจริญก้าวหน้าในลักษณะไม่สมดุล (Imbalance Growth) นั้นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้กระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาไปสู่คนกลุ่มที่เสียประโยชน์มากขึ้น และมีมาตรการรองรับผลกระทบร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับกลุ่มเสี่ยง ดังปรากฏในหลักการสร้างความเจริญทั่วถึงทุกคน (Inclusive Growth) อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งมุ่งสร้างหลักประกันสิทธิให้กับกลุ่มเสี่ยงทั้งหลายที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาอย่างไม่สมดุล  ดังนั้นการพัฒนาจึงมิควรมุ่งไปที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวมที่อาจสร้างคุณภาพชีวิตให้คนเพียงบางกลุ่ม แต่การพัฒนาต้องตอบสนองพลเมืองและส่งเสริมสวัสดิการสังคมความมั่นคงของคนทุกกลุ่มด้วย

ความเจริญทั่วถึงทุกคน (Inclusive Growth) คือ การให้หลักประกันแก่คนด้อยโอกาสว่าจะมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกับผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองในการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ   โดยเน้นว่าต้องมีการเพิ่มรายได้ต่อหัวจากความเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งจากการเพิ่มผลิตผลและโอกาสในการจ้างงาน รวมทั้งต้องส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยนโยบายเชิงรุกของรัฐหรือการแบ่งปันจากตัวตนอื่น  การสร้างความเจริญให้เกิดประโยชน์ทั่วถึงทุกคนจำต้องยืนอยู่บนรากฐานของหลักการ สถาบันที่ทุกกลุ่มมีส่วนร่วม (Inclusive Institution) ซึ่งเป็นแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ปัญหาความด้อยสิทธิของกลุ่มเสี่ยง  ประเทศที่จะเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนก็เกิดจากการมีสถาบันทางการเมืองที่เปิดให้กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในการจัดสรรทางเศรษฐกิจ (Inclusive Political Institution) 

ทั้งนี้มีประเด็นที่ควรทำวิจัยในรายละเอียดเพื่อฉายให้เห็นความสลับซับซ้อนของปัญหา และสร้างมาตรการลดความเสี่ยงเสริมความมั่นคงในด้านสุขภาพและอาหารดังต่อไปนี้
1. ความเสี่ยงจากการกระจายอาหารผ่านร้านค้าหาบเร่แผงลอยที่ไร้ความมั่นคง
2. ความเสี่ยงจากการผลิตอาหารภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา
3. ความเสี่ยงจากข่าวปลอมเกี่ยวกับอาหาร ยาและสุขภาพ
4. ระบบประกันภัยกับการบริหารความเสี่ยงเรื่องสุขภาพ

อ้างอิง
David Harvey. (2012). Rebel Cities: From the Right to the City to the Urban Revolution. London: Verso.
Anthony Giddens. (1999). "Risk and Responsibility". Modern Law Review. 62(1): 1-10.
Anthony Giddens. (1998). The Third Way: The Renewal of Social Democracy. Cambridge: Polity.
Ulrich Beck. (1992). Risk Society, Towards a New Modernity. London: Sage Publications.
Anthony Giddens. (1991). Modernity and Self-Identity. Self and Society in the Late Modern Age. Cambridge: Polity.
Anthony Giddens. (1999). Runaway World: How Globalization is Reshaping Our Lives. London: Profile.
Goldstein, Natalie. (2011). Globalization and Free Trade. New York: Infobase Publishing.
เดวิด ฮาร์วี่. (2550). ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่. แปลจาก A Brief History of Neoliberalism แปลโดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, นรุตม์ เจริญศรี, ภัควดี วีระภาสพงษ์, สุรัตน์ โหราชัยกุล และอภิรักษ์ วรรณสาธพ. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
UNU. (2012). Inclusive Wealth Report: Measuring Progress toward Sustainability. Cambridge: Cambridge University Press.
Sachs, I. (2004), Inclusive Development Strategy in an Era of Globalization, Working Paper No. 35, Policy Integration Department. World Commission on the Social Dimension of Globalization. Geneva: International Labour Office.
Ali, I. & Son, H.H. (2007). “Measuring inclusive growth.” Asian Development Review. 24(1). 11–31, p.12.
Chatterjee, S. (2005). “Poverty reduction strategies—lessons from the Asian and Pacific region on inclusive development.” Asian Development Review. 22(1). 12–44.
Acemoglu, Daron & Robinson J. A. (2012). Why Nations Fail: The Origins of Power, Prosperity and Poverty. London: Profile Books.

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี