Skip to main content

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปัญหาแนวทางแก้ไขที่เจ้าของข้อมูลกำลังเผชิญอยู่ การเป็นตัวแทนในการเรียกร้องสิทธิให้กับเจ้าของข้อมูลในกรณีที่เจ้าของปัญหาไม่สามารถเรียกร้องสิทธิจากผู้ละเมิดได้เพราะขาดศักยภาพในการปกป้องตนเอง การมีช่องทางร้องทุกข์และแนวทางดำเนินคดีเรียกร้องสิทธิในกระบวนการยุติธรรมให้กับเจ้าของข้อมูล ไปจนการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องไปสู่การรับรู้ของสาธารณชนเมื่อมีการละเมิดสิทธิหรือมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงในระบบจัดเก็บข้อมูล ดังนั้นการศึกษาให้เห็นภาวะคุกคามที่เจ้าของข้อมูลในระบบของเอกชนกำลังเผชิญอยู่ในประเทศไทยจะเป็นการช่วยให้เกิดแผนยุทธศาสตร์และองค์ความรู้ในการปกป้องสิทธิเจ้าของข้อมูลในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยเอกชน อันจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้ควบคุมระบบเอกชนช่วยพิทักษ์สิทธิปัจเจกชนเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

เทคโนโลยีดิจิทัลแทรกซึกเข้าไปในชีวิตประจำวันของทุกคนมากขึ้นทุกวัน ทั้งในรูปแบบของสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างเช่น เฟซบุค และไลน์  เป็นสิ่งที่ผู้คนใช้ในเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ แต่ในขณะเดียวกันก็มีภัยจากบรรษัทเอกชน และผู้ประสงค์ผลกำไรที่ต้องการใช้สื่อออนไลน์และอินเทอร์เน็ตในการเก็บรวบรวมข้อมูลของประชาชน ทั้งเพื่อแสวงหากำไร ทำเหมืองข้อมูลส่วนตัว และนำไปประมวลผลเพื่อส่งต่อหรือขายให้แก่บรรษัทอื่น ประชาชนไทยจึงควรมีการป้องกันภัยจากเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อจะได้ใช้สื่อดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย รักษาความเป็นส่วนตัวได้อย่างเหมาะสม เพื่อจะได้รับการคุ้มครองและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้อินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นผ่านการเขียนรหัสทางคณิตศาสตร์และแปลงสัญญาณเพื่อกักเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในรูปของการบีบอัดแล้วส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหายหากเกิดภัยพิบัติ และเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นปริมาณข้อมูลมหาศาลก็อยู่ในพื้นที่จัดเก็บที่น้อยลง จนกระดาษใกล้จะหายไปจากสาระบบในอนาคตอันใกล้ แต่เมื่ออินเตอร์เน็ตถูกนำมาใช้ในทางเศรษฐกิจก็ย่อมต้องปรับตัวไปตามความต้องการของสังคม พฤติกรรมส่งรับข้อมูลระหว่างบุคคลในเครือข่ายทางสังคมทั้งหลายได้ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลของคนหลายพันล้านคนทั่วโลก

บรรษัทเจ้าของแพลตฟอร์มซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่แตกต่างจากบรรษัทอื่น ๆ ในยุคก่อน มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิธีการค้นหาข้อมูลที่กระจัดกระจายในอินเตอร์เน็ตด้วยการคิดค้นพัฒนาระบบค้นหาข้อมูลโดยใช้ “คำเหมือน” หรือ “ความคล้ายคลึง” เพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่ผู้ใช้เสริชเอ็นจินพิมพ์ลงไปเข้ากับเอกสารหลากหลายรูปแบบที่น่าจะตรงกับความต้องการมากที่สุด หนังสือ Filter Bubble: What the Internet is Hiding from you ของ Eli Pariser (2011) ได้แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อเรื่องอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่ไร้การแทรกแซงและบริการทั้งหลายมี “ความเป็นกลาง” นั้นไม่จริง

เนื่องจากยิ่งผู้ใช้อินเตอร์เน็ตใช้บริการในเครือข่ายของบรรษัทมากเท่าไหร่ บรรษัทจะเริ่มวิเคราะห์ประวัติการใช้งานบริการต่าง ๆ ของผู้ใช้แล้วสังเคราะห์ว่าบุคคลนั้นต้องการจะค้นหาข้อมูลประเภทใด เช่น หากท่านใช้มือถือที่มีระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) หรือ IOS และค้นหาข้อมูลด้วย Google Search Engine หรือ Safari ใช้อีเมลล์ของ Gmail และค้นหาเส้นทางใน Google Map และดูหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ด้วยหน้า Chrome ผ่านทาง Google สมาร์ทโฟน ข้อมูลทั้งหลายที่เคยกดแป้นพิมพ์ลงไปจะถูกนำไปรวมกันที่เหมืองข้อมูล เพื่อหาความสัมพันธ์กับการค้นหาข้อมูลครั้งถัดไป

บรรษัทผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและกุมความลับเหนือการเขียนรหัสในการประมวลข้อมูลเอาไว้ จึงกลายเป็นผู้กำกับควบคุมการไหลเวียนข้อมูลของข้อมูลในอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อสังเกตต่อการปล่อยให้อำนาจในการเขียนกฎและบังคับกฎตกอยู่กับบรรษัทเจ้าของเทคโนโลยี ก็คือ หากบรรษัทมิได้เป็นกลาง หรือไม่ได้ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่บรรษัทนำไปประมวลผลและพัฒนาบริการของตน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอย่างหลากหลาย หรือถูกบุกรุกสอดส่องชีวิตส่วนตัว เก็บข้อมูลส่วนตัวไปใช้โดยมิชอบหรือไม่

การศึกษาปรากฏการณ์ในโลกออนไลน์จึงต้องอาศัยการผสมผสานทฤษฎีทางสังคมในหลากหลายรูปแบบเพื่อปรับใช้กับความซับซ้อนและเสมือนจริงของโลกออนไลน์โดยต้องไม่ลืมถึงสิ่งสำคัญประการหนึ่งว่า โลกออนไลน์อยู่ภายใต้บริบทของโลกจริง ดังนั้นการศึกษาจึงต้องเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสองโลกเสมอ

บรรษัทเอกชนผู้ควบคุมระบบมีความสามารถในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนที่ใช้งานระบบ แต่เจ้าของข้อมูลไม่มีความสามารถในการตรวจสอบว่าข้อมูลของตนได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานกฎหมายหรือไม่ รัฐจะต้องออกกฎหมายและสร้างกลไกอย่างไรให้เข้าไปกำกับกิจกรรมของบรรษัททั้งในและต่างประเทศให้ช่วยปกป้องคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจากภัยคุกคามให้เข้มแข็งขึ้น

ราชอาณาจักรไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 แต่ได้ขยายระยะเวลาในการใช้บังคับกฎหมายบางหมวด ออกไปถึงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565  และคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ออกกฎหมายลูกเพื่อมาปรับใช้กับการเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลโดยเอกชนเพื่อปกป้องเจ้าของข้อมูลเท่าทันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศที่มีความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และท้าทายรัฐสมัยใหม่ที่ต้องผลักดันนโยบายสาธารณะพร้อมสร้างกลไกในการบังคับใช้ให้เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น


แนวทางพัฒนากลไกคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย จึงต้องคำนึงถึง ผู้บริโภคในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ และประชาชนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสื่อสารทางสังคมการเมือง โดยในแต่ละกลุ่มจะต้องครอบคลุมกลุ่มบรรษัทเอกชนที่สะท้อน 2 เรื่อง คือ สิทธิพลเมืองและการเมืองของพลเมืองเน็ต สิทธิทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคในสังคมดิจิทัล ทั้งเจ้าของระบบข้อมูลในประเทศไทยและตั้งอยู่นอกประเทศแต่เสนอบริการหรือประมวลข้อมูลของพลเมืองไทย อันเป็นไปตามขอบเขตนิยาม "ผู้ควบคุมระบบ" ที่ว่าเป็นบุคคล องค์กร กลุ่มหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์จะทำงานเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล การพัฒนา การช่วยเหลือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในระบบเป็นการเฉพาะ
โดยมาตรการที่ควรเสนอในการช่วยเหลือประชาชนและรังสรรค์ความเป็นธรรมในสังคม องค์กรหรือกลุ่มดังกล่าวนี้อาจจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทยหรือนอกประเทศก็ได้ เช่น บริษัท มูลนิธิ สมาคม หรือไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ได้ เช่น องค์กรประชาธิปไตย องค์กรประชาชน ที่รวมตัวกันใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น กลุ่ม โครงการ คณะกรรมการ ฯลฯ เนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 29 วรรคสอง กำหนดให้เอกชนผลักดัน “นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  ลักษณะของเครือกิจการหรือเครือธุรกิจเดียวกันเพื่อการประกอบกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน  และหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบและรับรองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแห่งชาติประกาศกำหนด” และในมาตรา 29 วรรคสาม ก็ผลักดันให้ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสม.....รวมทั้ง มีมาตรการเยียวยาทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการฯประกาศกำหนด”

หลังจากสหภาพยุโรปได้ประกาศกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (General Data Protection Regulation) อันมีผลบังคับใช้ในทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 ยังผลให้ประเทศคู่ค้ากับสหภาพยุโรปต้องปรับกฎหมายตามเพื่อให้สอดคล้องและสามารถเสนอขายบริการต่าง ๆ ให้กับพลเมืองของรัฐในสหภาพยุโรปและเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปได้ ประเทศไทยก็ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ออกมาเช่นกัน โดยให้องค์กรทั้งหลายที่ควบคุมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องปรับมาตรการทั้งหลายให้สอดคล้องกับกฎหมายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2565 
กฎหมายดังกล่าวเกี่ยวพันกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับคุ้มครองในฐานะสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ดีกฎหมายได้เปิดโอกาสให้มีการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์บางประการได้ถ้าขอความยินยอมอย่างชัดแจ้ง แต่ก็กำหนดเงื่อนไขในการป้องกันมิให้ข้อมูลรั่วไหล ทั้งผู้ควบคุมระบบต้องจัดมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลให้ได้มาตรฐานเดียวกันเมื่อส่งข้อมูลต่อให้บุคคลภายนอกหรือส่งไปนอกราชอาณาจักร   หากเจ้าของแพลตฟอร์มได้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อใช้ประโยชน์จำต้องวางข้อกำหนดและมาตรการทั้งหลายให้สอดคล้องกับกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเจ้าของข้อมูล และสร้างกลไกคุ้มครองสิทธิให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น

การเยียวยาหลังเกิดการละเมิดสิทธิไปแล้วทำได้ยากและมีประสิทธิผลน้อย ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงอาจไม่เหมาะสมกับการป้องกันและปราบปรามการเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบ โดยเฉพาะถ้าวิเคราะห์จากมุมของผู้เสียหายซึ่งอาจตัดสินใจยุติการฟ้องร้องดำเนินคดีเพราะมีข้อจำกัดมากมาย และมองไม่เห็นโอกาสในการได้รับการเยียวยาความเสียหายต่อสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งยังเป็นไปได้ยากที่จะได้รับการเยียวยาจากเอกชนผู้ประกอบการในต่างประเทศมาดำเนินคดี

ดังนั้นการสร้างมาตรการกำกับควบคุมบรรษัทข้ามชาติและบรรษัทเอกชนไทยในโลกดิจิทัลจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่าการตั้งรับและเยียวยาปัญหาภายหลังโดยกระบวนการยุติธรรมของรัฐ บทความนี้จึงมุ่งเรียกร้องให้สร้างองค์ความรู้ผ่านงานวิจัยแล้วนำมาผลิตเป็นกฎหมายลุกและกลไกรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเตือนให้สาธารณชนรับทราบถึงกลยุทธ์ของบรรษัท และช่วยกันเฝ้าระวังภัยก่อนที่จะกลายเป็นวัตถุแห่งการสอดส่องประมวลผลโดยบรรษัท

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี