Skip to main content

แล้วในที่สุดก็ถึงวันนี้
วันที่อดีตท่านนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางกลับเมืองไทยโดยสายการบินไทยเที่ยวที่ ที จี 603 ที่ร่อนลงบนรันเวย์ของสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 09.40น.ของวันที่ 28 ก.พ. เพื่อกลับมาต่อสู้คดีทุจริตจัดซื้อที่ดินถนนรัชดา ที่ท่านตกเป็นจำเลยที่หนึ่ง รวมทั้งข้อกล่าวหาอื่นๆในช่วงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  ท่ามกลางความดีอกดีใจของฝ่ายที่สนับสนุนที่พากันไปต้อนรับอย่างเอิกเกริก และท่ามกลางความตึงเครียดของฝ่ายคัดค้าน ที่เริ่มส่งเสียงคำรามฮึ่มๆ ออกมาประปราย

ถึงแม้การยอมรับกลับมาต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมในสังคมของอดีตท่านนายกฯ จะเป็นคำตอบเดียวที่ดีที่สุดที่สังคมทุกฝ่ายอยากจะเห็น แต่ก็ยังมีคนเกรงกลัวและหวาดระแวงอยู่

เพราะอดีตท่านนายกฯผู้นี้ เราต้องยอมรับความจริงกันว่า ท่านเป็นผู้นำของประเทศคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย ( หรืออาจจะเป็นคนแรกของโลก ) ที่ถูกปฏิวัติรัฐประหาร และลี้ภัยอยู่นอกประเทศ นอกจากจะไม่มีใครสามารถทำลายท่านให้ย่อยยับแบบไม่ให้ผุดให้เกิดเหมือนคนอื่นๆ แล้ว  ท่านยังสามารถกลับคืนบ้านเมืองมาต่อสู้กับคดีความผิดและข้อกล่าวหาที่ท่านบอกกับสังคมว่า ตัวท่านและครอบครัวไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างสง่างาม และน่ามหัศจรรย์ราวกับปาฏิหาริย์

ปรากฏการณ์ที่แปลกใหม่นี้
จึงเป็นที่ร้อนๆ หนาวๆ ของฝ่ายที่คัดค้าน ที่หวาดหวั่นว่าจะมีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมอย่างช่วยไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ คุณหมอประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสผู้ปรารถนาดีต่อบ้านเมืองเสมอมา ได้แสดงความเห็นในเชิงชี้นำให้กับสังคมทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรักหรือเกลียดคุณทักษิณ  ฝ่ายที่วางตัวเป็นกลางไม่รักไม่เกลียด รวมทั้งฝ่ายที่ไม่เอาไหนเลย หรือเอายังไงก็ได้ทั้งนั้น เพราะพวกเขาต่างปลงตกและคิดว่า...บ้านเมืองนี้ไม่ใช่ของพวกเขาเสียแล้ว-เอาไว้ว่า
“พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นบุคคลที่มีทั้งคนรักและไม่รักเป็นจำนวนมาก จนเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกใหม่ แบ่งแยกคนในสังคมไทย ดังนั้นสังคมจะต้องช่วยกันระมัดระวังไม่ให้ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน นำไปสู่ความแตกแยกที่รุนแรง แม้แต่ละฝ่ายจะทะเลาะกันก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย ใช้สันติวิธีแก้ปัญหา...”

ครับ ผมเห็นดีด้วยกับคุณหมอประเวศ
แต่อดสงสัยไม่ได้ว่า หลังจากคำตัดสินชี้ขาดของศาล ไม่ว่าจะออกหัวหรือก้อย โดยเฉพาะระหว่างคนรักและคนเกลียดคุณทักษิณ ซึ่งต่างก็มีพลังมากพอๆกัน ระหว่างผู้คนสองสังคมที่ขัดแย้งกันแบบนี้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย ไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่งย่อมที่จะต้องอกหัก เพราะไม่ได้ดังใจตัวเองอย่างแน่นอน ผมสงสัยว่าเมื่อพวกเขาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ผิดหวังและอกหักตามกติกาเรียบร้อยแล้ว พวกเขาจะยอมรับความเป็นผู้แพ้ โดยไม่เอะอะโวยวาย และพาลหาเรื่องเอากับฝ่ายที่ชนะตามกฎกติกาของสังคมในภายหลัง และยุติกันแค่นี้หรือเปล่า

ที่ผมสงสัยก็เพราะมีคนบอกผมว่า เรื่องนี้จะไม่ยุติง่ายๆ เพียงแค่นี้ โดยให้เหตุผลที่น่าคิดกับผมว่า ลึกๆลงไปแล้วสังคมไทยยังเป็นสังคมของความเชื่อและความศรัทธาในตัวบุคคลและสถาบัน มากกว่าเหตุผล ข้อเท็จจริง และกฎกติกา ดังนั้นอะไรๆที่ผิดจากกรอบความเชื่อและความศรัทธาของเขา จึงเป็นเรื่องที่ยากที่เขาจะยอมรับ

ยิ่งเป็นความเชื่อที่เขายึดมั่นถือมั่นเป็นพรรคเป็นพวก และแห่แหนตามกันมากเท่าไหร่ พวกเขายิ่งยากที่จะยอมยุติให้กับสิ่งที่ขัดแย้งและแตะต้องความเชื่อของเขา

และคนที่บอกผมยังชี้ชัดให้ผมฟังอีกว่า สิ่งที่สะท้อนให้เห็นความคิดแบบนี้ในสังคมไทยก็คือ เวลาคนไทยทะเลาะกันในระดับชาติ ต่างฝ่ายต่างมักจะรีบอ้างเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งคนไทยถือว่าเป็นของสูงที่ใครจะแตะต้องและลบหลู่ไม่ได้ มาปกป้องคุ้มครองตัวเองและทำลายคู่กรณี เพียงแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถพูดให้คนเชื่อว่าตัวเองจงรักภักดีต่อสถาบัน และคู่กรณีเป็นอันตรายต่อสถาบัน แถมมีสื่อบ้าจี้ช่วยประโคมโหมโรง เพียงแค่นี้คู่กรณีก็พินาศแล้ว

ครับ ฟังๆ ดูแล้วน่ากลัวจังเลย จริงหรือไม่จริง อีกไม่นานเราคงจะได้รู้กัน จากงานอันน่าระทึกใจนี้อย่างแน่นอน สวัสดีครับ.

1 มีนาคม  2551
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่


บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  แล้วในที่สุด ผมก็ได้รับรู้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว (ที่อยากรู้มานาน) ของ คุณหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎร์อาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาต่อต้านข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์และครก.112 จากการเป็นวิทยากรรับเชิญอภิปรายในเรื่องนี้ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ที่ประชาไทนำมาลงในหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 55 ทั้งคลิปภาพและเสียงการอภิปรายที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนๆ และเนื้อหาที่ประชาไทแปลแบบย่อความมา รวมทั้งการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเข้าใจว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ช่างเถิด ถึงแม้ว่า เขาจะดื่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา ตั้งแต่เช้าจนจรดเย็น เพื่อบำบัดความเปล่าเปลี่ยวในหัวใจของเขา ในยามที่ชีวิตของเขาตกต่ำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
การต่อสู้กันทางการเมืองครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำในสังคมที่ขัดแย้งกัน หรือพูดง่ายๆก็คือระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ที่ช่วงชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นฐานคะแนนเสียงสนับสนุนอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างจากการต่อสู้กันในยุคเดือนตุลามหาวิปโยค ที่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับประชาชน นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน โดยตรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคน คนหนึ่งล้มลงป่วย เขาย่อมได้รับการเยียวยารักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนอย่างไร หาไม่เช่นนั้น..อาการป่วยไข้ของเขาย่อมลุกลามใหญ่โต และชีวิตเขาย่อมมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  800x600 Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt;…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  1. ผมสัมผัส งานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองของ คำ ผกา ด้วยความรู้สึกเดียวกันกับใครบางคนหรือสองคนสามคน ที่เคยแอบเป็นห่วงความแรงเธอ และต่อมาต่างก็พากันเลิกรู้สึก เมื่อเธอยืนยันความเป็นตัวตนของเธออย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยืนหยัดอยู่ได้มานานจนเป็นปรกติธรรมดามาจนถึงวันนี้ และสรุปกันว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของเธอที่ต้องเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับสังคมที่เคยตกอกตกใจ ต่างก็เคยชิน...และยอมรับความเป็นตัวตนในการสื่อสารของเธอ ทั้งคนที่รักเธอและเกลียดเธอในเรื่องอุดมการณ์ความคิดที่ต่างกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  สวย เขาก็หาว่า สวยแต่รูปจูบไม่หอม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบโดย อรวรรณ ชมพู จาก ชมพูเชียงดาว coffe" คุณพยายามหลีกเลี่ยงลดละ การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกัน การทะเลาะเบาะแว้งกัน การท่องเที่ยวในยามวิกาล การขับรถด้วยความรีบร้อน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  น้ำท่วม เดือนตุลาคม 2554 ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่ ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้ ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่ ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา