Skip to main content
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์


โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา

หลังจากทักทายกันพอหอมปากหอมคอ ลุงอู๋ก็มุ่งเข้าประเด็น

"ขอบใจทุกคนที่มาประชุมนะ วันนี้มีเรื่องสำคัญมากจะมาแจ้งให้พวกเราได้รู้กัน...นั่นก็คือบริษัทแปรรูปผักผลไม้จะเข้ามาตั้งโรงงานในเขตหมู่บ้านเรา เขาจะรับซื้อผักผลไม้หลายชนิดจากพวกเราในราคาสูง ซึ่งก็จะทำให้เรามีรายได้มากขึ้น...ทีนี้พวกเราก็ไม่ต้องลำบากไปขายไกลๆ หรือถูกแม่ค้ากดราคาอีกแล้ว"


สิ้นประโยค ชาวบ้านก็พากันส่งเสียงฮือฮาหันมาคุยกันด้วยความตื่นเต้นดีใจพลางมองลุงอู๋อย่างชื่นชม แต่คนที่เริ่มหน้านิ่วคิ้วขมวดก็คือ บรรดาแม่ค้าผู้ที่ต้องซื้อผลิตผลทางการเกษตรของชาวบ้านไปขายต่อ


"...ดีแล้วๆ ที่พวกเราดีใจกัน เรื่องนี้มันเป็นประโยชน์กับพวกเราทุกคนจริงๆ..." ลุงอู๋ ยิ้มอย่างปลาบปลื้ม

"แล้วโรงงานจะมาตั้งเมื่อไรล่ะผู้ใหญ่ ?" พี่แววร้องถาม

"...ก็นี่แหละ สาเหตุที่ฉันเรียกพวกเราให้มาประชุมกัน ปัญหามันก็คือว่า ทางบริษัทเขาต้องการที่ดินที่จะตั้งโรงงาน ประมาณสามสิบไร่ เพราะว่ามันมีทั้งส่วนที่ใช้แปรรูป ส่วนที่ใช้เก็บผลผลิตที่เขารับซื้อ แล้วก็ส่วนที่เก็บสินค้าของเขา แ่ต่ไอ้ที่ดินแปลงใหญ่ขนาดนั้น คนบ้านเรามันไม่มีใครมีกันหรอก...แล้วถ้าเราไม่สามารถหาให้เขาได้ เขาก็อาจจะต้องย้ายไปตั้งที่ตำบลอื่นที่ห่างออกไป หรือไม่ก็...อำเภออื่นไปเลย ซึ่งมันก็จะทำให้พวกเราเสียโอกาสดีๆ ไป..."


ผู้ใหญ่อู๋ อธิบายอย่างมีเหตุผล ลูกบ้านพยักหน้างึกๆ งักๆ เห็นด้วย

"แล้วเราจะทำยังไงล่ะผู้ใหญ่?" น้าเปรี้ยวนั่งแถวหน้าโพล่งถาม

"มันก็หมายความว่า...ถ้าพวกเราอยากให้โรงงานเข้ามาตั้งในหมู่บ้าน เราก็ต้องเสียสละร่วมกัน ด้้วยการ เอ่อ..."


ผู้ใหญ่เงียบไปอีกรอบ เหมือนไม่ค่อยอยากพูดเท่าไร

"วิธีอะไรล่ะลุง...พูดให้จบสิ อย่าทำค้างๆ คาๆ" เจ้าปุ้ยวัยรุ่นใจร้อน เร่งให้พูดต่อ

"เราก็ต้องตัดใจขายที่ดินคนละซักไม่กี่ไร่ แต่พอรวมๆ กันแล้ว ให้ได้สักสามสิบไร่เป็นผืนเดียวติดกันไปนั่นแหละ..." ผู้ใหญ่พูดจบก็ถอนหายใจพรืดใหญ่

สิ้นประโยค ชาวบ้านทุกคนก็ส่งเสียงฮือฮา หันไปคุยกันด้วยความตกใจ พลางมองลุงอู๋เหมือนคนไม่เคยรู้จักกัน


ผู้ใหญ่อู๋ กลืนน้ำลายเอื้อกใหญ่ หันไปกระซิบถามตายิ่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ว่าจะคุยต่อดีมั้ย

"อย่าเพิ่งกลัวไปสิผู้ใหญ่...ลองคุยดูก่อน ของพรรค์นี้มันเปลี่ยนใจกันได้" ตายิ่งกระซิบ

"อ่า...แปลงที่นาพวกเรามันก็อยู่ติดๆ กันไม่ใช่รึ แบ่งๆ กันแค่คนละไม่กี่ไร่ก็ได้แล้ว" ผู้ใหญ่หันกลับมาพูด

"ไม่ได้หรอกผู้ใหญ่...ไร่สองไร่สามไร่ก็ยังพอว่า นี่จะเอาตั้งสามสิบไร่ มันจะไปแบ่งกันอย่างผู้ใหญ่ว่าได้ยังไง ถ้าจะเอาขนาดนั้น มันต้องมีคนขายที่ทั้งหมดอย่างน้อยก็สองคนละ เอ้า" เจ้าหนุ่ย มือขับรถไถประำจำหมู่บ้านลุกขึ้นโต้

"แล้วอย่างฉันมีแค่ห้าไร่ ถ้าแบ่งขายไปสองสามไร่ ฉันจะพอทำกินรึ?" ป้าแป้นลุกขึ้นถามบ้าง

"อ่า..." ลุงอู๋พยายามจะหาคำตอบ

"แล้วถ้าเขาสร้างโรงงานเขาก็ต้องถมที่น่ะสิ...แล้วถ้าพวกเขาถมที่กัน เราจะยังทำนาได้อยู่รึ? รถสิบล้อมันไม่ต้องวิ่งผ่านที่นาเราด้วยรึ?" ลุงน้อยถามบ้าง

"ก็..."

"แล้วถ้าตั้งโรงงาน เขาจะทิ้งน้ำเสียลงที่ไหนล่ะ?...ลงนาเราหรือเปล่า?...หรือลงคลองส่งน้ำ?"

"อืม...เอ่อ..."


ผู้ใหญ่อู๋ชักจะมึนกับคำถามที่มากขึ้นทุกที แต่ละคำถามแกก็ไม่ได้เตรียมคำตอบมาเสียด้วย

"เดี๋ยวก่อนๆ นะพวกเรา...คืออย่างนี้ จากที่ฉันรู้มาคือเขาจะให้ราคาสูงเลยแหละ ยิ่งใครขายทั้งแปลงก็ยิ่งให้ราคาสูงเป็นพิเศษ ถ้าใครสนใจจะขายก็มาบอกฉันไว้ก็แล้วกัน ฉันจะจดชื่อไว้ แล้วพอเดือนหน้า คนจากบริษัทเขาจะมาคุยกับพวกที่จะขายอีกที ใครสงสัยอะไรก็เก็บไว้ถามเขาก็แล้วกันนะ"

ผู้ใหญ่พูดตัดบท แล้วก็ส่งไมค์ให้ผู้ช่วยฯ

"ฉันมีธุระต้องรีบไป เดี๋ยวผู้ช่วยช่วยชี้แจงต่อก็แล้วกัน" ผู้ใหญ่ว่า แล้วก็หันไปโบกมือลาชาวบ้านก่อนจะเดินตรงไปที่รถมอเตอร์ไซค์ของแกที่อยู่ข้างศาลา

ตายิ่งหันซ้ายหันขวา ชาวบ้านต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์เสียงดังขรม บางคนก็จ้องมองแกเขม็งราวกับหวังว่า แกจะพูดอะไรสักอย่างที่น่าจะทำให้พวกเขาหัวเราะได้

"ตกลงมาตั้งโรงงานนี่...พวกเราได้ประโยชน์จริงหรือเปล่า ?" เจ้าหนุ่ย ตั้งคำถามเสียงเครียด

"จริงสิ...จริงแท้แน่นอน" ตายิ่งยืนยันหนักแน่น แม้ว่าหัวสมองกำัลังทำงานหนักเพื่อจะคลี่คลายสถานการณ์

"แล้วถ้าเขาไม่ได้มาตั้งในเขตหมู่บ้านเรา เราจะยังได้ประโยชน์หรือเปล่าล่ะ?" เจ้าหนุ่ยรุกไล่

"ได้สิ...ได้ ถึงยังไงพวกเราก็ต้องได้ประโยชน์แน่นอน แต่มันก็ขึ้นอยู่กับพวกเราว่าจะต้อนรับเขาแค่ไหน" ตายิ่งพยายามเปิดประเด็นใหม่

"หมายความว่ายังไงลุง? พวกเขาไม่ใ่ช่โจรผู้ร้ายมาจากไหน แล้วยังจะเอาเงินมาให้พวกเราไม่ใช่หรือ ทำไมเราจะไม่ต้อนรับพวกเขาล่ะ?" น้าเปรี้ยวขมวดคิ้ว เสียงวิพากษ์วิจารณ์เงียบสนิท ทุกคนหันมามองตายิ่ง


ตาิยิ่งหัวเราะหึๆ อาศัยความเก๋า แกก็สามารถเบี่ยงเบนประเด็นได้สำเร็จ

"ไอ้ที่ฉันว่าต้อนรับเขา มันไม่ได้หมายถึง มานั่งคุย เลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำ แต่ฉันหมายถึงว่า เราต้องทำให้เขาเชื่อมั่น ทำให้เขามั่นใจว่า ถ้าเขามาลงทุนตั้งโรงงานที่หมู่บ้านเรา เขาจะไม่ถูกต่อต้าน แล้วเขาก็จะสามารถสร้างโรงงานจนสำเร็จได้ ไอ้ตรงนี้เขาเรียกว่า เอ่อ..."

ตาิยิ่งเว้นจังหวะ พอเห็นชาวบ้านกำลังรอฟังแกพูด แกก็เน้นย้ำทันที

"เขาเรียกว่า...ความเชื่อมั่นของนักลงทุน...พวกเราต้องจำไว้ให้ดี ถ้าเราอยากจะร่ำรวย อยากกินดีอยู่ดีมีเงินมากกว่านี้ เราต้องทำให้พวกเขาเชื่อมั่น แล้วเขาก็จะเอาเงินมาให้พวกเรา...ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเป็นเรื่องสำคัญมาก...อ่า...เอาละ วันนี้ประชุมแค่นี้ก็แล้วกัน ขอบใจทุกคนมากนะ"

 

เมื่อเสร็จการประชุม ชาวบ้านต่างพากันแยกย้ายกลับบ้าน ที่ยังนั่งคุยกันอยู่ก็มีหลายคน

"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน...ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" น้าเป้า ท่องทวนคำซ้ำไปซ้ำมา

"ทำไมล่ะน้า? สงสัยที่ตายิ่งแกพูดรึ?" เจ้าปุ้ยหันมาถาม น้าเป้า พยักหน้าหงึกๆ บอกว่า ทำนองนั้นแหละ

"แหม...ไอ้คำนี้ฉันก็เคยได้ยินในทีวี พวกรัฐบาล นายกฯ กับพวกนักการเมืองเขาชอบพูดกันว่า ถ้าเราอยากจะมีเศรษฐกิจที่ดีกว่านี้ เราต้องทำให้นักลงทุนต่างชาติเขาเชื่อมั่น...ก็พูดแบบเดียวกับตายิ่งนี่แหละ ใครได้พูดแล้วมันดูโก้ดีนะ" เจ้าปุ้ยแสดงความเห็น


"ข้าสงสัยอยู่อย่างเดียว" น้าเป้าขมวดคิ้วตามประสาคนช่างคิด "ถ้าไอ้พวกนักลงทุนมันเกิดไม่เชื่อมั่นขึ้นมา...แล้วพวกเราจะมีปัญหาอะไรหรือเปล่า?"

เจ้าปุ้ยได้ฟังแล้วหัวเราะก๊าก พลางส่ายหัว

"ไอ้พวกเราน่ะไม่มีปัญหาอยู่แล้วล่ะลุง ทำมาหากินอยู่กันมาตั้งนมนานแล้ว ส่วนไอ้พวกบริษัทมันก็ไม่เป็นไรหรอก ที่ทางเยอะแยะไม่ได้ที่เราเดี๋ยวมันก็ไปหาที่อื่น"

 

"แต่ไอ้ที่จะแย่น่ะคือ ลุงผู้ใหญ่กับลุงผู้ช่วย ไปรับปากพวกมัน หรือไปรับกะตังค์พวกมันมาเท่าไรก็ไม่รู้"

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…