Skip to main content

เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
\\/--break--\>

ดังนั้น เขา(ใครก็ไม่รู้)ก็เลยให้เรียกใหม่เสียเป็นไข้หวัด ๒๐๐๙ ซึ่งก็คงจะหมายถึงไข้หวัดตัวล่าสุดแห่งปีสองพันเก้านี้(ไม่ใช่ไข้หวัดตัวที่สองพันเก้าร้อย) และก็คงจะหมายความว่า มันเป็นไข้หวัดประจำปีสองพันเก้าด้วย เพราะก็คงจะคิดไตร่ตรองกันถี่ถ้วนแล้วว่าภายในปี้นี้คงจะไม่มีไข้หวัดชนิดอื่นอื่นที่ระบาดร้ายแรงเท่านี้อีกแล้ว หรือถ้าหากมี มันก็ต้องกลายเป็น ไข้หวัด ๒๐๐๙/๑ หรือ ไข้หวัด ๒๐๐๙/๒ กันไปตามแต่จะกำหนด ซึ่งถ้าหากปีหน้ามีไข้หวัดตัวใหม่ใหม่ที่ไม่ใช่ตัวนี้เกิดขึ้นอีก มันก็คงต้องถูกเีรียกชื่อเป็นไข้หวัด ๒๐๑๐ ไข้หวัด ๒๐๑๑ ไข้หวัด ๒๐๑๒ ต่อต่อไปแน่แน่ (อันที่จริง ประเทศไทยเรานับเลขปีตามพุทธศักราช ดังนั้นน่าจะชื่อ ไข้หวัดสองพันห้าร้อยห้าสิบสองน่าจะถูกต้องกว่า)

อันว่าโรคไข้หวัด ๒๐๐๙ นี้ ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดาธรรมดาเหมือนอย่างไข้หวัดที่เป็นแล้วกินพาราเซตตามอลหรือกินยาลดไข้อื่นอื่นหรือกินยาชุดจากร้านหมอตี๋แล้วก็หาย เพราะหลายหลายคนที่เขาทำอย่างนั้นนอกจากจะไม่หายจากโรคแล้ว ก็ยังเลิกหายใจไปด้วย ตอนที่มันระบาดไปทั่วโลก คนที่เป็นก็ทยอยตายกันไปเป็นสิบเป็นร้อย เหมือนกับกาฬโรคในยุโรปสมัยก่อน หรือเหมือนกับโรคห่าในสมัยรัชกาลที่สี่ หรือไม่ก็เหมือนกับโรคเอดส์เมือสักยี่สิบกว่าปีมาแล้ว รวมทั้งอาจจะเหมือนกับโรคไข้หวัดนกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือตายกันเยอะเพราะยังไม่รู้วิธีป้องกันรักษา หรืออาจจะตายไม่เยอะเท่าไร แต่ด้วยความที่เป็นโรคใหม่ทันสมัยล่าสุดแ่ห่งยุคโลภาภิวัตน์(โลภ+อภิวัตน์)ซึ่งชาวประชาชอบตื่นตูมกันมากกว่าตั้งสติ สื่อมวลชนสำนักข่าวต่างต่างก็พลอยตีฆ้องร้องป่าว แล้วก็เกิดเป็นเหตุตื่นตระหนกกันไปทั้งบ้านทั้งเมือง แต่พอเวลาผ่านไป เทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาขึ้น รู้สาเหตุ รู้วิธีป้องกันแ้ก้ไขแล้ว การระบาดก็น้อยลง คนเสียชีวิตก็น้อยลง สื่อมวลชนก็เลิกสนใจใยดี คนก็ไม่กลัวอีกต่อไป แล้วไปไปมามาพอโรคไม่ค่อยจะระบาด ก็พลอยจะลืมชื่อโรคระบาดที่เคยร้ายแรงพวกนี้เอาเสียด้วยซ้ำ

ถ้าเป็นในทำนองอย่างว่า ไข้หวัด ๒๐๐๙ ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ทุกวันทุกวัน เีพียงแค่ปีหน้ามันก็จะถูกลืมแล้ว มันจะชื่อเอชไฟว์เอ็นวัน เอชวันเอ็นไฟว์ เอชวันเอ็นวัน หรือ เอชอะไรเอ็นอะไรก็ตามแต่ คนก็จะพูดถึงชื่อของมันอยู่แค่ปีนี้เท่านั้นเอง ฟังดูน่าสงสาร แต่มันเป็นแค่เชื้่อโรค และไม่รับรู้หรอกว่า ใครจะตั้งชื่อมันว่าอย่างไร หน้าที่ของมันก็คือทำให้คนเป็นโรคเท่านั้น

อาการของโรคก็คล้ายไข้หวัดธรรมดาธรรมดา มีอาการหวัดคัดจมูกมีน้ำมูก มึนหัว ปวดหัว ตัวร้อน ตาลาย ไ้ข้ขึ้น เพียงแต่ว่าหากมีอาการหนักหนักเข้าก็อาจจะได้ไปเฝ้าเง็กฮ่วงไต่ตี่ พูดง่ายง่ายว่ามันก็คือไข้หวัดตัวหนึ่งแต่มีอันตรายถึงตาย ที่น่ากลัวคือมันติดกันได้ง่ายง่าย ไม่ต้องถึงกับจามใส่หน้า ขากเสลดรดหัว หรือ ถุยน้ำลายใส่น้ำให้กันกินอย่างกระสือ เพียงแค่อยู่ใกล้ใกล้หายใจเอาอากาศเดียวกันเข้าไป แค่นี้ก็ติดโรคได้แล้ว ฉะนั้น ใครต่อใครเขาถึงหวาดกลัวกันนักหนา ออกจากบ้านไปไหนก็ต้องใส่ผ้าคาดปิดปากปิดจมูก เกรงจะสูดเอาลมหายใจของคนเป็นไข้หวัด ๒๐๐๙ เข้าไปด้วย นอกจากนี้ยังต้องล้างมือกันบ่อยบ่อย ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนนิ้วเหี่ยวก็ยังไม่เลิก

ความจริงประการแรกก็คือ เจ้าเชื้อไข้หวัดมันมีขนาดเล็กกว่าผ้าตั้งไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนเท่า หากมันอยากจะเข้าไปก็คงไม่ลำบากนัก ไม่ต้องกดออดหรือเคาะประตูมันก็เดินทื่อทื่อเข้าไปจนได้ ประการต่อมา หากเป็นไปตามเหตุผลข้างต้น มันก็ต้องมีคนที่ติดไข้หวัด ๒๐๐๙ ทั้งทั้งที่ยังใส่ผ้าคาดปากอยู่ แต่ใครมันจะกล้าไปป่าวประกาศว่า ผ้าคาดปากป้องกันไข้หวัดไม่ได้ หรือถึงจะไปป่าวประกาศ ก็คงไม่มีใครเชื่อ ก็ใครต่อใครเขาใส่กันทั้งนั้น นายกรัฐมนตรีท่านยังใส่ให้ช่างภาพถ่ายภาพลงหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งโก้ไปเลย ขืนไปตะโกนบอกว่าผ้าคาดปากป้องกันอะไรไม่ได้หรอก เป็นได้โดนอะไรแข็งแข็งทิ่มปากแน่

และประการสุดท้าย คนที่ควรจะใช้ผ้าคาดปากคือคนที่ไม่สบาย ไม่ใช่คนที่สบายดี แต่ตอนนี้ใครต่อใครก็ใส่กันหมดเลยดูไม่ออกแล้วว่าใครเป็นใครไม่เป็น

จะว่าทุกคนเขากลัวก็ใช่ที่ เพราะคนที่ยอมเจ็บหูเพราะยางยืดของผ้าคาดปากมันรัดหู ดูดูไปก็ยังมีจำนวนน้อยกว่าคนที่ไม่ใส่ ซึ่งที่จริงแล้วคนที่กลัวแต่ไม่ใส่ก็คงจะมี และคนที่ไม่กลัวแต่ต้องใส่ก็คงจะมีเหมือนกัน บางคนอาจจะงงว่ามีด้วยหรือ มีสิครับ ที่ว่ากลัวแต่ไม่ใส่ก็เป็นเพราะยางยืดมันรัดหูจนเจ็บหูไง ลองคาดกันดูสิ ชั่วโมงเดียวเท่านั้นแหละ เจ็บเสียจนไม่อยากเอาหูไปห้อยอะไรอีกเลย ส่วนที่ว่าคนที่ไม่กลัวแต่ต้องใส่ ก็อย่างเช่นเด็กนักเรียนที่โดนผู้ปกครองบังคับ สามีที่โดนภรรยาบังคับ หรือ พนักงานที่โดนนายจ้างบังคับ อะไรพวกนั้น เพราะฉะนั้นจะเอาปริมาณการใช้ผ้าคาดปากไปชี้วัดการตื่นตัวของคนไทยต่อการป้องกันโรคไข้หวัด ๒๐๐๙ ท่าจะไม่เหมาะ

เดี๋ยวนี้เวลาขึ้นรถเมล์ เรือด่วน รถไฟฟ้ายิ่งเห็นได้ชัดว่า คนที่กลัวกับคนที่ไม่กลัวแสดงพฤติกรรมต่างกันเยอะเลยเชียว เพราะเดือนกรกฎาคมปีนี้ฝนตกแทบทุกวัน บ้างตกเช้าบ้างตกเย็น บ้างตกทั้งเช้าทั้งเย็นแถมตกกลางคืนอีกต่างหาก พอแดดจะร้อนพ่อเจ้าประคุณก็ว่าซะร้อนเปรี้ยง อยู่ในห้องแอร์เย็นเย็นออกไปเจอแดดร้อนร้อนเข้าหน้ามืดตาเหลือกไปเลยก็มี ใครต่อใครเลยเป็นหวัดคัดจมูก บ้างก็สูดน้ำมูกกันฟืดฟืดฟาดฟาด บ้างก็ไอกันค้อกค้อกแค้กแค้ก พอคนที่มีอาการเหล่านี้มาขึ้นรถเมล์ เรือด่วน หรือรถไฟฟ้า ก็จะกลายเป็นบุคคลที่สังคมรังเกียจในฉับพลัน ถ้ามีที่นั่งว่างก็ไม่มีใครอยากให้นั่งด้วย ถ้ามีที่ยืนว่างก็ไม่มีใครอยากยืนใกล้ใกล้ ถึงแม้จะเป็นแค่หวัดธรรมดาก็เถิด นี่ถ้าเกิดมีใครไอจนตัวโยนหรือน้ำมูกไหลย้อยเป็นเต้าส่วน จะโดนเชิญลงด้วยข้อหาตัวแพร่เชื้อหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

จนถึงเวลานี้ ก็ไม่แน่ใจว่าชาวสยามประเทศจะเป็นโรคไข้หวัด ๒๐๐๙ กันสักเท่าไรกันแน่ เพราะบ้านเรามันมีอะไรแปลกแปลก ตัวเลขเจ็บป่วยเท่านั้นเท่านี้ชอบปิดกันนักกลัวคนจะแตกตื่น แต่พอนักท่องเที่ยวเข้ามาเท่านั้นเท่านี้พวกบวกเพิ่มไปอีกสิบเท่า แต่ก็แว่วแว่วมาว่ายอดผู้ป่วยกำลังไต่อันดับขึ้นสูงสูงในระดับโลก ซึ่งก็เป็นไปตามทฤษฎีประเทศสารขัณฑ์กำลังพัฒนาที่ชอบทำอะไรอะไรให้โด่งดังในระดับโลกไว้ก่อนทั้งที่ตั้งใจจะให้ดังและไม่ได้ตั้งใจจะให้ดัง ยิ่งถ้ากินเนสบุ๊ค รับประทานเนสบุ๊ค เอาไปลงบันทึกอย่างนู้นอย่างนี้ด้วยแล้วก็ยิ่งชอบใจกันยกใหญ่ จะว่าไป ตัวเลขผู้ป่วยมันก็ไม่น่าชอบใจเท่าไรนัก แต่คงจะติดนิสัยสร้างสถิติจนเลิกยากเสียแล้ว หนังสือพิมพ์หัวสีก็ถือเป็นหน้าที่ ต้องพาดหัวข่าวตัวเป้งเป้งใส่สำนวนให้มันมันทุกวัน ถ้าวันไหนไม่ได้พาดหัวข่าวเรื่องคนเจ็บคนตายประเทศไทยเป็นอันดับที่เท่าไรของโลก ย่อมผิดวิสัยข่าวร้ายแจกฟรี ข่าวดีต้องจ้าง

แต่ที่แน่แน่คือตอนนี้ ชาวประชาหน้าแห้งทั้งหลายไม่ว่าจะสบายดีหรือไม่สบายหรือกำลังจะสบายหรือกำลังจะไม่สบาย ต่างก็กำลังเป็นไข้หวาดกันทั่วหน้า นอกจากจะหวาดผวาว่าน้ำมันจะแพง ข้าวแกงจะขึ้นราคา สามจีไม่ยอมเข้ามา รถไฟฟ้าไม่ยอมมาถึงแล้ว ก็ยังต้องหวาดผวาว่าวันไม่ดีคืนไม่ดีเจ้าไวรัสไข้หวัด ๒๐๐๙ ที่แสนจะเก๋ไก๋ทันสมัยเป็นไข้หวัดแห่งปีมันจะพิศวาสปรี่เข้ามาเพาะเชื้อในตัวเราหรือเปล่า ทั้งทั้งที่รู้ว่า ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าเกิดมาแล้วก็ต้องตาย แถมยังไม่รู้ว่าจะแก่ตายหรือเปล่า หรือจะตายเพราะมะเร็งในสมองเนื่องจากคุยโทรศัพท์มือถือวันละสิบชั่วโมง หรือจะเป็นลมตายหน้าจอคอมพิวเตอร์เพราะไม่ยอมหลับยอมนอนติดกันสามวันสี่คืน ฯลฯ กระนั้นก็ยังขอปฏิเสธ ไม่อยากจะเป็นไข้หวัดตาย เพราะมันดูไม่สมาร์ทไม่โก้ไม่โลกาภิวัตน์ไม่วายเลสไม่ไวไฟ

ผู้สันทัดกรณี :

ลุงอืด คนขายยาดอง อดีตคนเก็บของป่า ดูดยาเส้นมวนเบ้อเริ่มพ่นควันขโมง ให้ความเห็นว่า ไข้หวัด ๒๐๐๙ มันก็เหมือนไข้ป่าหรือมาเลเรียนั่นแหละ สมัยก่อนเป็นแล้วรอดยาก ต้องตายสถานเดียว ชาวบ้านกลัวกันนักหนา แต่คราวนี้ความหวาดผวามันย้ายจากป่ามาอยู่ในเมือง คนกรุงก็เลยต้องเป็นประสาทเพราะกลัวไข้หวัด ๒๐๐๙ ส่วนคนบ้านนอกไม่ได้ไปดูแฮรี่พอตเตอร์ ไม่ได้ไปดูคอนเสิร์ตดงบังชินกิ ไม่ได้ขึ้นรถไฟฟ้า ไม่ได้เดินห้างสรรพสินค้า วันวันอยู่แต่ท้องไร่ท้องนาก็เลยไม่มีความจำเป็นจะต้องไปกลัว

“...
แล้วลุงอยากตายแบบไหนล่ะ?...” ผมถามเหมือนเป็นยมทูต เพราะรู้ว่าแกหยอกแรงแรงได้
...เมาตายสิครับ พี่น้องครับ...” แกยักคิ้วหนึ่งหนตามประสาคนอารมณ์ดี ก่อนจะหันไปเปิดเพลงของบุปผา สายชล

“...คนจน คนรวย ไม่ช้าก็ม้วยมรณา
คนดี คนบ้า ไม่ช้าทุกคน ก็ตาย
ตายเน่าเหม็น ใครเห็นก็เมินหน้าหน่าย
หมดความหมาย สุดท้ายก็ตายเหมือนกัน...”

 

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…