Skip to main content
ตั้งแต่อดีตนายพล เทียน เส่ง ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีพม่าในเดือนมีนาคม ปี 2011 นักวิจารณ์ต่างชาติ มักมองในแง่ดีว่าพม่ากำลังเดินทางไปสู่รูปแบบการเมืองประชาธิปไตยเสรีนิยม แต่หลายคนลืมไปว่านายพล เทียน เส่ง ขึ้นมามีอำนาจแต่แรกภายใต้เผด็จการทหารที่ยึดอำนาจในปี 1988 เทียน เส่ง เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลเผด็จการมาตลอด เขาเป็นนายพล เป็นเลขาธิการของคณะกรรมการเผด็จการและต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรี และในช่วงเวลาดังกล่าวเขาไม่เคยแสดงจุดยืนที่อิสระจากกองทัพแต่อย่างใด 
 
โครงสร้างอำนาจของกองทัพพม่าในส่วนบนไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด การพูดถึงระบบการเมืองที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านไปสู่การปฏิรูปเป็นการเข้าใจผิด  
 
รัฐธรรมนูญปัจจุบันของพม่าถูกร่างขึ้นโดยคณะที่แต่งตั้งมาจากทหาร และมีการนำมาใช้หลังจากที่ทหารจัดการลงประชามติที่ไม่โปร่งใส ประชามตินี้จัดขึ้นหลังจากที่พายุนากิส สร้างความเสียหายมหาศาลภายในประเทศ และมีการเป่าประกาศว่า 92.48% ของประชากรเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญครั้งนี้ 
 
พรรคการเมืองของทหารในปัจจุบันชื่อพรรค USDP และแกนนำของพรรคมีคนอย่าง ตาน ฉ่วย และ เทียน เส่ง รวมอยู่ด้วย และไม่ว่าพรรคของทหารจะชนะการเลือกตั้งด้วยวิธีการสกปรกหรือไม่ แต่กติกาในระบบเลือกตั้งระบุว่า 25% ของที่นั่งในสภาจะต้องเป็นนายทหารที่ถูกแต่งตั้งโดยกองทัพโดยไม่ผ่านการเลือกตั้งเลย
     
ย่อหน้าแรกของรัฐธรรมนูญทหารปี 2008 ระบุว่ากองทัพมีบทบาทสำคัญในการนำการเมือง ในรูปธรรมกองทัพคุม 25% ของที่นั่งในรัฐสภา และกองทัพมีอำนาจในการวีโต้การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่สำคัญ และถ้ารัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญตรงไหน จำเป็นจะต้องมีเสียงสนับสนุน จาก 75% ของส.ส. ถึงจะทำได้ รัฐธรรมนูญ กฎหมาย และการโกงในระบบเลือกตั้งหรือการลงประชามติ แปลว่ากองทัพจะยังถืออำนาจต่อไปในประเทศพม่า นอกจากนี้กองทัพสามารถควบคุมคณะกรรมการเลือกตั้ง ผ่านเส้นสายต่างๆ และมาตรา 413 ของรัฐธรรมนูญระบุว่าประธานาธิบดีสามารถจะยกอำนาจให้กับผู้บัญชาการทหารเพื่อปกครองประเทศ รวมถึงอำนาจศาลด้วย ถ้ามี “เหตุจำเป็น”
     
กองทัพพม่ามีอำนาจทางเศรษฐกิจด้วย เพราะเป็นเจ้าของสองบริษัทแม่ยักษ์ใหญ่ คือ UMES กับ MEC สำนักข่าวรอยเตอร์เสนอว่า UMES ผูกขาดการนำเข้าของสินค้า และมีนักวิชาการออสเตรเลียเสนอว่า ตาน ฉ่วย เป็นผู้คุมกำไรของบริษัทนี้ ส่วน MEC เป็นบริษัทที่มีความลึกลับพอสมควร และ มีผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมหนักและภาค IT
 
หลังจากรัฐธรรมนูญทหารถูกนำมาใช้และมีรัฐสภาที่ทหารควบคุมได้ แกนนำในกองทัพพม่ามองว่าถึงเวลาที่เหมาะสมที่จะเริ่มโครงการปฏิรูปเพื่อแก้ภาพพจน์แย่ๆ ของทหารพม่าในเวทีสากล มีความหวังว่าการกระทำที่ดูเหมือนปฏิรูปนี้จะหลอกประเทศสากลได้ ด้วยเหตุนี้นาง อองซานซูจี ถูกปล่อยตัวและมีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองเป็นร้อย นอกจากนี้สื่อมวลชนเริ่มมีเสรีภาพมากขึ้นหลังจากที่เคยถูกควบคุมอย่างหนัก
 
โศกนาฏกรรมของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า คือการหักหลังการต่อสู้โดยนางอองซานซูจี โดยที่เขายังมีอิทธิพลครองใจชาวพม่าที่รักประชาธิปไตยเป็นจำนวนมาก
 
ในเดือนเมษายน 2012 พรรคการเมืองของ อองซานซูจี(พรรคNLD)  เข้าร่วมในการเลือกตั้งซ่อม ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ สส. พรรคทหารได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ พรรคของซูจี ชนะ 43 ที่นั่ง จาก 44 ที่นั่งที่มีตำแหน่งว่างในการการเลือกตั้งครั้งนั้น และ ซูจี ก็เข้ามาเป็น สส. ในรัฐสภา อย่างไรก็ตามพรรค NLD คุมแค่ 7% ของรัฐสภา
     
การร่วมในกระบวนการเลือกตั้งจอมปลอมของทหาร โดยนางอองซานซูจี และพรรค NLD ถือว่าเป็นการยอมรับระบบการเมืองภายใต้ทหาร แล้วยังช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับทหารอีกด้วย
 
นอกจากนี้มีคนวิจารณ์ว่าประสิทธิภาพของ อองซานซูจี และ NLD ในรัฐสภาเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังอย่างยิ่ง เขาไม่ได้ทำตัวเป็นฝ่ายค้านแต่อย่างใด เพียงแต่เดินตามหลังรัฐบาลอย่างเชื่องๆ อองซานซูจี จึงดูเหมือน “ถูกตอนให้เป็นหมัน” และเป็นปากเสียงของประชาชนไม่ได้อีกแล้ว
 
ชนชั้นปกครองพม่าพึงพอใจอย่างยิ่งที่เห็นการวิวัฒนาการของอองซานซูจีจากผู้นำฝ่ายค้านไปสู่ผู้สนับสนุนทหารและสนับสนุนภาพลวงตาเกี่ยวกับการปฏิรูป
     
ในอดีต ในยุคที่มีการลุกฮือต่อต้านเผด็จการทหารครั้งยิ่งใหญ่ในปี 1988 อองซานซูจี มีบทบาทสำคัญในการสลายการชุมนุม และต้อนความหวังของผู้รักประชาธิปไตยไปสู่ระบบการเลือกตั้ง แต่ทั้งๆ ที่เขาชนะการเลือกตั้งครั้งนั้น ทหารไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน ในขณะที่พลังมวลชนก็ถูกสลายไป เผด็จการจึงครองพม่าต่อไปจนทุกวันนี้ได้
     
นักศึกษาจำนวนหนึ่งไม่พอใจกับพฤติกรรมของอองซานซูจีเป็นอย่างมาก และหันไปสนใจยุทธศาสตร์การจับอาวุธสู้กับกองทัพพม่า แต่ในที่สุดมันล้มเหลวโดยสิ้นเชิงและไร้พลังแต่แรก
     
สิ่งที่มีพลังแท้ในการต้านเผด็จการพม่าคือมวลชนที่เชื่อมโยงกับสหภาพแรงงาน ซึ่งในปี 1988 เกือบจะล้มทหารได้ก่อนที่อองซานซูจีจะเข้ามาสลายมวลชนที่เชื่อมโยงกับสหภาพแรงงานจึงเป็นความหวังสำหรับอนาคตประชาธิปไตยพม่า

บล็อกของ เลี้ยวซ้าย

เลี้ยวซ้าย
25 ปีผ่านไปแล้วหลังการล่มสลายของระบบเผด็จการ “คอมมิวนิสต์” ในยุโรปตะวันออก และสัญลักษณ์สำคัญของเหตุการณ์นั้นคือการที่กำแพงเมืองเบอร์ลินถูกทุบทิ้ง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเยอรมันภายใต้ฮิตเลอร์ต้องพ่ายแพ้สงคราม เยอรมันถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนที่ปกครองโดย สหรัฐ อังกฤษ ฝร
เลี้ยวซ้าย
โพลล่าสุดในสเปน รายงานว่าพรรคฝ่ายซ้ายใหม่ “โพเดอร์มอส” ติดอันดับที่หนึ่งด้วยคะแนนนิยม 27.7% ในขณะที่พรรคสังคมนิยมกระแสหลักติดอันดับที่สองด้วยคะแนนนิยม 26.6% ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมที่เป็นรัฐบาลในปัจจุบันได้คะแนนนิยมแค่ 20.7 % “โพเดอร์มอส” แปลว่า “เราทำได้” ซึ่งเป็นชื่อที
เลี้ยวซ้าย
การต่อสู้ของมวลชนชาวไทยในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนชั้นล่าง เนื่องจากคนไทยนับเป็นแสนออกมาประท้วงและล้มเผด็จการทหารจนสำเร็จ ปรากฏการณ์อันนี้ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับมุมมองที่ดูถูกประชาชนว่า “ไม่เข้าใจประชาธิปไตย”     
เลี้ยวซ้าย
ในปี 1977 ศาสตราจารย์ พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยจากประเทศเบลเยี่ยม ค้นพบไวรัสอีโบลาในประเทศไซเอียร์ ประเทศหนึ่งในอัฟริกาตะวันตก ในปีนั้น พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยนี้แนะนำให้องค์กรต่างประเทศต่างๆ ทำการตรวจประชาชนและควบคุมการระบาดของโรคนี้แต่แรก เพื่อไม่ให้มันลามต่อไปได้ แต่ไม่มีใครฟัง เพราะประเทศ
เลี้ยวซ้าย
ในการผลักดันลัทธิ “เสรีนิยมกลไกตลาด” เพื่อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ ดร.
เลี้ยวซ้าย
ตั้งแต่อดีตนายพล เทียน เส่ง ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีพม่าในเดือนมีนาคม ปี 2011 นักวิจารณ์ต่างชาติ มักมองในแง่ดีว่าพม่ากำลังเดินทางไปสู่รูปแบบการเมืองประชาธิปไตยเสรีนิยม แต่หลายคนลืมไปว่านายพล เทียน เส่ง ขึ้นมามีอำนาจแต่แรกภายใต้เผด็จการทหารที่ยึดอำนาจในปี 1988 เทียน เส่ง เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลเผด็
เลี้ยวซ้าย
โดย ลั่นทมขาว อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นนักวิชาการที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย และบทความล่าสุด “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย 2557” (ในประชาไท) มีเป้าหมายในการเสนอว่าเผด็จการทหารปัจจุบันไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของพลเมืองไทยเราคงต้องเห็นด้วยตรงนั้น  &nbsp
เลี้ยวซ้าย
ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม