Skip to main content

"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"

 นั่นเป็นคำถามที่เพื่อนนักมานุษยวิทยาจากสิงค์โปรที่ไปทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นถาม เมื่อสนทนากันในร้านโดนัทที่เกียวโต เรื่องความพยายามทำลายระบอบประชาธิปไตยของชนชั้นกลางระดับบนในกรุงเทพฯ และบรรดาปัญญาชนชั้นนำของไทย

ผมย้อนว่า "ไม่ใช่เฉพาะสังคมไทยนะที่เป็นอย่างนี้ ก็คนที่ได้รับการศึกษาดีๆ ทั่วโลกน่ะ ก็มีจำนวนมากที่ทำแบบนี้ แล้วยิ่งกว่านั้น อย่าว่าแต่ครูบาอาจารย์ตัวเล็กๆ อย่างเราสองคนเลย พวกครูบาอาจารย์ใหญ่ๆ ทั้งนั้น ในไทยน่ะ ที่ส่งเสริมการล้มล้างประชาธิปไตย" 

เพื่อนคนนี้ย้อนกลับมาว่า "ก็ใช่ ประเด็นคือ ระบบการศึกษาน่ะ ช่วยอะไรโลกได้บ้าง ไม่ใช่คนที่จบมหาวิทยาลัยดังๆ ในโลกนี้หรอกหรือ ที่ฆ่าแกงคนอื่นได้ง่ายๆ ไม่ใช่พวกที่ได้รับการศึกษาดีๆ ในประเทศพัฒนาแล้วหรอกหรือ ที่ทำร้ายคนทั่วโลก ระบบการศึกษาทั้งหมดที่เราสองคนมีส่วนร่วมอยู่ด้วยน่ะ ต้องรับผิดชอบด้วย" 

"จะให้รับผิดชอบอย่างไรล่ะ" ผมถามย้อน เพื่อนตอบว่า "ก็ลองนึกดูสิ ว่าบรรดาลูกศิษย์ที่ผ่านชั้นเรียนเราไป พวกนั้นไปทำอะไร เข้าร่วมขบวนการล้มล้างประชาธิปไตยหรือเปล่า มหาวิทยาลัยสอนอะไรเขาบ้าง" ผมไม่รู้จะตอบอย่างไร จำต้องฟังเพื่อนเทศนาต่อ 

"ถึงที่สุด เราต้องลองละทิ้งการพยายามอธิบายสิ่งต่างๆ ละวางการพยายามครอบงำคำบอกเล่าอย่างตรงไปตรงมาของผู้คนเสียบ้าง แล้วเปิดใจ เปิดหู ฟังคำบอกเล่าของผู้คน ฟังเรื่องราวที่กระจัดกระจายของผู้คนทั่วๆ ไป ที่แม้จะไปคนละทิศคนละทาง แต่ก็อาจมีจุดร่วมกันบางอย่างที่ทำให้พวกเขายอมรับกันได้ แม้จะเพียงน้อยนิด บางทีทางออกจากวิกฤตจะอยู่ที่นั่่น" 

ผมเริ่มเห็นด้วย "ใช่แล้ว ส่วนมาก คนที่มีข้อเสนอสุดโต่งน่ะ ไม่ว่าจะฝ่ายไหน ก็เป็นเพียงคนส่วนน้อย แต่มักได้รับความสนใจจากสื่อ แต่คนทั่วไปน่ะ เสียงของเขากระจัดกระจายจนเบาบาง ไม่มีใครได้ยิน"

เพื่อนคนนี้มีความคิดแปลกใหม่เสมอ มีข้อเสนอท้าทายเสมอ อีกคำถามหนึ่งที่เขาถามคือ "ลองถามตัวเองสิ ว่าเมื่อยี่สิบปีก่อน ตอนที่นายยังไม่ได้ทำงานวิชาการน่ะ นายคิดอย่างไรกับประชาธิปไตย คิดกับการเลือกตั้งอย่างไร แล้วขณะนี้ ถ้าปลดการวิเคราะห์คนอื่นออกไป แล้วตอบจากใจตนเองล่ะ จะตอบว่ายังไง" 

ผมมีคำตอบในใจที่สามารถจะตอบดังๆ ได้ในร้านโดนัทในประเทศญี่ปุ่น แต่หากเพียงตอบเงียบๆ ในพื้นที่เสมือนจริงซ้อนเขตอำนาจรัฐไทยอยู่ ก็คงอายุสั้นแน่

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ฮานอยเดือนตุลาคมเม็ดฝนเริ่มท้ิงช่วง บางวันฝนตกพร้อมอากาศเย็นๆ เดือนสิบมีวันสำคัญคือ Tết Trung thu คนเวียดนามปัจจุบันบางทีเรียกว่า "วันปีใหม่ของเด็กๆ" คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเดือนแปดจันทรคติ ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ที่เพิ่งผ่านไปนั่นเอง แต่ชาวเวียดนามเรียกตามฤดู ว่าปีใหม่กลางฤดูใบไม้ร่วง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยุกติ มุกดาวิจิตร  
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 สุนทรียศาสตร์และการเมืองของสิ่งไร้รสนิยม (aesthetics and politics of kitsch)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 หากจำเป็นต้องหักหาญมิตรภาพกัน ก็ขอให้แน่ใจว่ามิตรสหายเราได้ละเมิดหลักการใหญ่ๆ ที่มิตรภาพไม่ควรได้รับการปลอบประโลมโอบอุ้มกันอีกต่อไป แต่หากเป็นเรื่องหยุมหยิมเกินไป ก็โปรดอย่าเปิดแนวรบจิกกัดมิตรสหายที่แทบไม่มีที่ยืนอยู่บนผืนหนังเดียวกันไปเสียทุกอนูความหมายเลยครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  บอกยากเหมือนกันว่าสุราทำหน้าที่อะไร แต่ผมเลือกจะเชื่อว่า มันถอดหน้ากากคน มันลดอัตตา มันทำให้คนหันหน้าเข้าหากัน แต่นี่คงต้องอยู่ในบริบทของการดื่ม ในสังคมที่มีระเบียบเข้มงวดในการด่ืมสุรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทต่อไป เมื่อนักมานุษยวิทยามานั่งศึกษาชุมชนเกรียนออนไลน์ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธุ์นิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี