Skip to main content

ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน

 
 

ผมอ่านเรื่องราวแนวคิดทางสถาปัตยกรรมของไรท์จากงานเขียนของแสงอรุณ รัตกสิกร สถาปนิกไทยที่เขียนหนังสืออ่านสนุกและฝีปาก(กา)กล้าคนหนึ่งตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัยปีแรก หากใครสนใจควรหาเล่มที่พิมพ์ครั้งแรกๆ ที่รูปเล่มเหมือนหนังสือเขียนภาพนะครับ จะจัดรูปเล่มกับใช้ฟอนต์ที่น่าอ่านกว่าที่มาพิมพ์กันทีหลังมาก 

ที่ชวนฉงนมากคือเมื่อแสงอรุณเล่าถึงการไปใช้ชีวิตที่ Taliesin (ทาลิเอซิน) ซึ่งตอนนั้นผมก็งงๆ สับสนระหว่าง ทาลิเอซินกับทาลิเอซินตะวันตก ส่วนหนึ่งเพราะไม่รู้จักมลรัฐวิสคอนซิน (ที่ตั้งของทาลิเอซิน) อีกส่วนเพราะคุ้นชื่อมลรัฐแอริโซนามากกว่า (ที่ตั้งทาลิเอซินตะวันตก) แต่ที่สำคัญคือ ไม่รู้ว่าไรท์เกิดที่วิสคอนซิน ณ ที่ซึ่งทาลิเอซินตั้งอยู่ตั้งแต่ปีค.ศ. 1911 จนถึงปัจจุบันนี้ 

ชื่อทาลิเอซินมาจากภาษาเวลช์ที่แปลว่า หน้าผากแจ่มจ้า ซึ่งไม่น่าจะหมายถึงหัวเถิกในภาษาไทย แต่น่าจะเนื่องจากเพราะตัวอาคารหลักของสถาบันนี้ คือบ้านบนเนินสูง ตั้งตระหง่านดั่งหน้าผากแจ่มจรัสอยู่บนเนิน ที่ตั้งชื่อเป็นภาษาเวลช์ก็เพราะครอบครัวไรท์เป็นชาวเวลช์ที่อพยพมาอยู่ที่วิสคอนซิน

ทาลิเอซินทั้งสองที่ไม่ใช่เพียงบ้านพักของไรท์ แต่ยังเป็นสถาบันสอนสถาปัตยกรรม โดยที่นักเรียนต้องมาอยู่กินที่ทาลิเอซินที่วิสคอนซิน แล้วในฤดูหนาวก็ย้ายลงไปอยู่ที่ทาลิเอซินตะวันตกที่แอริโซนา ซึ่งก็ไม่ได้อุ่นกว่ากันเท่าใดนัก 

เมื่อปี 1999 คราวที่มาเรียนที่นี่ ผมมีโอกาสไปทาลิเอซินที่วิสคอนซินเป็นครั้งแรก จึงทำให้เข้าใจขึ้นมาว่าทาลิเอซินไม่ได้มีเพียงบ้านหลังเดียว วานนี้มีโอกาสได้ไปอีกครั้งก็ยิ่งทำให้เข้าใจมากขึ้นเมื่อได้ไปดูอาคารหลังอื่นๆที่ทาลิเอซิน นอกจากบ้านหลังเด่นนั่นแล้ว ยังมีสถาปัตยกรรมอื่นๆ สำหรับกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนอีกมาก 



 

เช่นว่า มีห้องสตูดิโอที่หลังคาออกแบบพิศดารมาก มีหอพักที่ไม่สบายนัก เพราะนักเรียนจะได้ไม่หมกตัวในห้อง มีโรงละคร มีกังหันลม มีโรงนา รวมทั้งบ้านหลังอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่ ที่ครอบครัวไรท์มาตั้งรกรากอยู่จนให้กำเนิดไรท์ ณ ลุ่มน้ำวิสคอนซินนี่เอง 

แสงอรุณจึงเล่าในหนังสือว่า เมื่อมาเรียนที่นี่ ก็ต้องทำนา ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อเก็บเกี่ยวกินไปพร้อมๆ กับการศึกษาสถาปัตยกรรม ที่เป็นอย่างนี้เพราะสำหรับไรท์แล้ว สถาปัตยกรรมไม่ได้โดดเดี่ยวหลุดลอยออกจากสิ่งแวดล้อมและชีวิต การเรียนกับการดำรงชีวิตก็ต้องควบคู่กันไป นักเรียนที่นี่จึงต้องเรียนรู้ที่จะทั้งดำรงชีพตนเองและทำงานสถาปัตยกรรม

 


แน่นอนว่า ค่าตอบแทนจากผลงานของไรท์มีค่ามากกว่าการทำนามากนัก คำสอนอันเป็นอุดมคติของเขาไม่น่าจะไปกันได้กับการใช้ชีวิตของเขา ที่ลำพังของสะสมที่มักมาจากเอเชียตะันออก ทั้งญี่ปุ่น และกระทั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ไม่น่าจะได้มาจากการเป็นเกษตรกร แต่หลักปรัชญา การออกแบบสถาปัตยกรรม และหลักสูตรของเขาก็กลายมาเป็นแนวทางของวิธีคิดสถาปัตยกรรมที่ทรงอิทธิพลมากในศจวรรษที่ 20

สถาปัตยกรรมที่เข้ากับธรรมชาติจึงไม่ใช่แค่การออกแบบที่นำเอาวัสดุ รูปทรง และแรงบันดาลใจจากธรรมชาติรอบข้างมาเป็นส่วนประกอบของอาคาร ไม่ใช่แค่การผสานอาคารเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อาคารตั้งอยู่ แต่ยังเป็นแนวทางการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในอาคาร ที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมไปด้วยในตัว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้