Skip to main content

TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 

ต้องเท้าความกลับไปนิดหนึ่งว่า บทเรียนหนึ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของมานุษยวิทยาภาษาคือ การศึกษาว่าภาษามีส่วนกำหนดความคิด การกระทำ และวัฒนธรรมได้หรือไม่ ข้อเสนอนี้ย้อนกลับไปได้ไกลมาก ไกลถึงนักภาษาศาสตร์รุ่นคลาสสิคอย่างฮุมโบล์ดต์ (F. W. H. Alexander von Humboldt,1769-1859)  

ความคิดนี้มาโด่งดังด้วยลูกศิษย์ของฟรานซ์ โบแอส คือเอ็ดเวิร์ด ซาเปียร์ ที่ส่งอิทธิพลให้เบนจามิน ลี วอร์ฟคิดเรื่องนี้ต่อ กลายมาเป็นแนวคิด "สัมพัทธ์นิยมทางภาษา" (linguistic relativism) ในปัจจุบัน ความคิดนี้แพร่หลายมาก มีการศึกษากระจายออกไปมากมาย เชื่อมโยงกับเรื่อง cognitive science คำศัพท์เรียกสี ethnoscience พร้อมๆ กับมีข้อถกเถียงที่ตอบโต้กับแนวคิดนี้มากมายว่าภาษากับความคิดและการกระทำสัมพันธ์กันแค่ไหน อย่างไร เฉพาะแค่จะอ่านเรื่องนี้กันให้แตกฉาน ก็ต้องใช้เวลาทั้งภาคการศึกษาทีเดียว 

กลับมาที่คีท เชน เขาเสนอว่า ภาษากับการออมน่าจะสัมพันธ์กัน เขาสังเกตเห็นว่า ประเทศที่มีการออมสูงๆ นั้น มักเ็นประเทศที่ใช้ภาษาที่ไม่มีการระบุเวลาในอนาคตชัดเจน (เชนเรียกว่า futureless language)เช่น ภาษาเอเชียส่วนใหญ่ ภาษาเยอรมัน ฯลฯ ส่วนภาษาอย่างภาษาอังกฤษ การจะพูดถึงอดีต ปัจจุบัน อนาคตจะต้องมีการระบุอย่างชัดเจน แล้วเขาก็เชื่อมโยงเข้าสู่พฤติกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการคิดถึงอนาคตด้วย และก็พบแบบแผนที่เขาเชื่อว่า คนพูดภาษาที่ไม่ต้องระบุอนาคตจะคำนึงถึงพฤติกรรมที่ส่งผลต่ออนาคตมากกว่าคนพูดภาษาที่ระบุอนาคตชัดเจน 

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผมก็เลยเอาคลิปเรื่องภาษากับการออมนี้ไปเปิดให้นักศึกษาถกกันในชั้น นักศึกษาวิจารณ์คลิปนี้กันยับเยิน แถมยังช่วยอธิบายสิ่งที่เชนไม่ได้อธิบายในคลิปนี้ด้วย 

นักเรียนภาษาและวรรณคดีเอเชียที่ก็เป็นชาวจีน (เหมือนคีท เชน) อธิบายคำถามที่ผมสารภาพกับนักเรียนในชั้นว่า ผมไม่เข้าใจทำไมคนภาษาที่ไม่ระบุอนาคตจึงคิดถึงอนาคตมากกว่าคนพูดภาษาที่ระบุอนาคต นักเรียนคนนี้ตอบว่า น่าจะเพราะเมื่อคิดถึงอนาคต ก็คิดว่ามันเป็นเรื่องที่จำเกิดในอนาคต ก็เลยยังไม่กังวลว่ามันจะมาถึงอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าไม่ระบุอนาคต ก็จะไม่คิดว่าอนาคตเป็นเรื่องไกลตัว 

นักเรียนเอกภาษาศาสตร์ที่พูดภาษาฟินนิชที่บ้านบอกว่า แค่บอกว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เป็น future language ก็ผิดแล้ว เพราะการพูดถึงอนาคตในภาษาอังกฤษ ไม่ได้ต่างจากภาษาที่ไม่มี future tense แท้ๆ อื่นๆ คือต้องเพิ่มคำเข้าไปในประโยคจึงจะทำให้เป็น future tense ไม่ใช่ว่าจะสามารถเปลี่ยน tense ได้จากในตัวคำกิริยาเองเลยเมื่อไหร่ 

นักเรียนจีนสองคนและนักเรียนเกาหลีที่เรียนเศรษฐศาสตร์ตั้งคำถามว่า เกาหลีเป็นตัวอย่างหนึ่งของคีท เชน ที่อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการออมสูง แต่ถ้าจะจัดภาษาเกาหลีแบบที่คีท เชนจัดประเภท ก็จะต้องเป็นภาษา futureless แล้วทำไมจึงมีการออมสูงมาก 

นักเรียนหลายคนจึงเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับการออมเป็น coincidence คือแค่พ้องต้องกัน หรือมี correlation กันจริง กันแน่ คือแค่ข้อมูลตรงกัน แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันหรือเปล่า 

นักเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาที่เป็นลูกครึ่งฝรั่งเศสเห็นว่า ในแต่ละประเทศที่คีท เชนยกมาในแท่งกราฟว่าเป็นประเทศที่มีการออมสูงหรือต่ำนั้น ก็มีความหลากหลายของชนชั้นทางเศรษฐกิจอยู่ คนมีรายได้มากย่อมออมได้มาก ประเทศกรีซนั้นเห็นได้ชัดว่ายากจนในยุโรป ก็ย่อมมีการออมต่ำ ถ้าในประเทศเดียวกันพูดภาษาเดียวกันยังออมไม่เท่ากัน แล้วภาษาจะเกี่ยวกับการออมได้อย่างไร 

นักเรียนหลายคนยังเห็นว่า มันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมการออมด้วย แม้แต่ภาษาต่างกัน ก็อาจออมสูงหรือต่ำต่างกันได้ หรือถ้าภาษาเดียวกัน แต่คนมีวัฒนธรรมการบริโภคต่างกัน ก็มีการออมต่างกัน 

น่าจะส่งข้อวิจารณ์เหล่านี้กลับไปให้คีท เชนกับทีมวิจัยนะครับ จะได้ไม่เปลืองเงินทำวิจัยยืนยันความเชื่อตัวเองต่อไป 

แต่ที่สำคัญคือ การเรียนที่ดีก็ต้องเป็นแบบนี้ครับ คือหาเหตุผลและข้อมูลมาโต้เถียงกัน ไม่ใช่ท่องจำและเชื่อฟังอย่างงมงาย คงอีกนานที่การศึกษาไทยจะเจริญ เพราะเรายังท่องจำและเชื่อฟังผู้ใหญ่ ผู้นำ คนมีอำนาจ และคนที่เชื่อว่าดี กันอย่างงมงายอยู่เลย

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว