Skip to main content
 

หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น

 

แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน เพื่อให้เยาวชน "มือใหม่" เข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น

 

ปี 2550 ที่ผ่านมา มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการทั่วประเทศมากกว่า 300 โครงการและแต่ละโครงการเยาวชนจะเป็นคนที่คิดเองโดยมีงบประมาณสนับสนุนกลุ่มละไม่เกิน 8,000 บาท และมีการพิจารณาจากกรรมการที่แต่ละภาคได้สรรหามา หลังจากนั้นเยาวชนก็ดำเนินการตามแผนการที่วางไว้

 

ในตัวโครงการเยาวชน1000ทาง นอกจากจะมีการสนับสนุนงบประมาณแล้ว ยังมีระบบการให้คำปรึกษา การติดตามสนับสนุน การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการพัฒนางานวิจัยเพื่อรองรับการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ในการทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนต่อๆ ไป

 

อย่างก็ตาม อยากจะนำเรื่องราวดีๆ ของเพื่อนๆ พี่น้อง เยาวชนที่ได้ดำเนินการมาเผยแพร่ในที่นี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มาจากภาคอีสาน....

 

มาที่โครงการแรกคือ โครงการ "เพื่อนยามเหงา" เป็นโครงการของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่เริ่มมาจากการที่เพื่อนๆ ได้พบเจอผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ บางคนก็มีญาติมาเยี่ยม บางคนก็ไม่มี เพื่อนๆ จึงบอกว่า อยากจะใช้เวลาว่างในช่วงปิดเทอมของเขาเป็นเพื่อนยามเหงาให้กับคนป่วยที่ขาดเพื่อน ขาดการเอาใจใส่จากคนที่รัก และมอบสิ่งดีๆ ให้กับคนเหล่านั้น

 

ส่วนโครงการ "ปาท่องโก๋ร่วมใจต้านภัยหนาว" นั้น ก็เป็นอีกโครงการ ที่น้องๆ เยาวชนจากนครราชสีมา อยากทำกิจกรรมสักอย่างหนึ่งในช่วงปิดเทอมและหารายได้เสริม และน้องๆ ก็บอกว่า หน้าหนาวแล้ว จึงอยากจะมอบผ้าห่มให้กับผู้สูงอายุในหมู่บ้าน โดยนำเงินที่ได้จากการทำปาท่องโก๋ไปจัดซื้อผ้าห่มกันหนาวมาให้

 

น้องในทีมงานโครงการ 2 บอกเหตุผลที่ทำปาท่องโก๋ขายว่า เพราะสงสารผู้สูงอายุในชุมชนที่ต้องทนกับอากาศหนาว "บ้านเราเวลาอากาศหนาว มันหนาวมาก และคนที่เดือดร้อนที่สุดคือคนแก่ยากจน เวลาหนาวๆ พวกท่านมักจะห่มผ้าห่มผืนเก่าๆ ขาดๆ มานั่งผิงไฟหน้าบ้าน เห็นแล้วก็อดสงสารไม่ได้"

 

น้องอาย สมาชิกในทีม ยังเล่าต่ออีกว่า "แต่ละวันขายปาท่องโก๋ได้ 200-300 บาท ทำอย่างนี้อยู่ 1 เดือน ตอนแรกๆ เหนื่อยมาก ไหนจะต้องขายปาท่องโก๋ ไหนจะต้องเรียน แต่พอคิดว่าทำเพื่อคนแก่ ก็มีกำลังใจขึ้นมา เพราะที่ผ่านมาพวกท่านเมตตาเรามาก เหนื่อยแค่นี้ทนได้ค่ะ"

หลังจากที่ทำเสร็จน้องๆ ก็นำเงินไปซื้อผ้าห่มให้กับผู้สูงอายุในชุมชน...


ต่อมาก็เป็นโครงการอื่นๆ เช่น3 โครงการแลกเปลี่ยนความรู้สู่น้องในหมู่บ้านห้องสมุดของเรา ของเยาวชนจากขอนแก่น ที่ใช้เวลาว่างของตนเองสอนหนังสือให้กับเด็กในหมู่บ้านที่ไม่ได้มีโอกาสเรียนพิเศษเหมือนกับเด็กในตัวอำเภอคนอื่น ๆ เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่อยู่ค่อนข้างไกลจากตัวอำเภอ จึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อสอนหนังสือให้กับน้องๆ ทุกๆ วันเสาร์และอาทิตย์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย


โครงการธนาคารขยะรีไซเคิลของเยาวชน 1000 ทางจากจังหวัดพะเยา ที่เห็นว่าปัญหาขยะในชุมชนมีมากเลยอยากจะปลูกฝังให้กับเด็กเรื่องการทิ้งขยะจึงคิดโครงการนี้ขึ้นมา นอกจากจะเป็นการช่วยปลูกฝังการรักษาความสะอาดแล้ว การนำขยะกลับมาขายยังเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ดีด้วยเนื่องจากเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน


โครงการร้อยฝัน ของเยาวชนจากสิงห์บุรี ที่นำความรู้และภูมิปัญญาที่ตนเองมีมาถ่ายทอดให้กับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน นั่นคือความรู้ด้านการปักและซ่อมแซมเสื้อผ้า โดยน้อง ๆ นักเรียนอาข่าส่วนใหญ่ค่อนข้างขาดแคลนทุนทรัพย์ เวลาที่เสื้อผ้าขาดก็ไม่สามารถซื้อใหม่ได้ น้อง ๆ กลุ่มนี้จึงนำความรู้ความสามารถที่มีมาสอนเพื่อนๆ และน้องๆ ในโรงเรียน รวมไปถึงการสอนการปักผ้าในลวดลายของชาวอาข่าอีกด้วยเนื่องจากบางครั้งมีชาวต่างชาติเข้ามาเยี่ยมโรงเรียนก็เกิดความสนใจและขอซื้อในราคาที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นอีกทางที่จะเพิ่มรายได้ให้กับเด็ก ๆ ชาวอาข่า


นี่เป็นแค่โครงการตัวอย่างบางส่วนที่นำมานำเสนอ ทว่า มีหลายโครงการที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงของเพื่อนๆ น้องๆ พี่ๆ เยาวชน เช่น โครงการเสียงร้องจากเหรียญสตางค์ ที่ทีมงานบอกว่า "ได้รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแพร่ให้กับผู้อื่น การเป็นผู้ใหญ่มากกว่าผู้รับ การได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม การได้ช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก เรียนรู้ความไม่เห็นแก่ตัว เรียนรู้ถึงความสุขที่ได้รับจากคนหลายคนที่จริงใจและไม่จริงใจ ได้เพื่อนๆ เยอะ"


เยาวชนจากโครงการ "น้ำส้มควันไม้" บอกว่า ได้พัฒนาความรับผิดชอบในตัวเองและหน้าที่การงานมากขึ้น มีความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน ความอดทน ขยันมากขึ้น ได้เป็นตัวอย่างในการนำไปขยายผลต่อในโรงเรียนอื่นๆ


นอกจากการได้เพื่อนใหม่ การได้พัฒนาทักษะ ประสบการณ์ บทเรียนชีวิตแล้ว เยาวชนหลายๆ โครงการจากทั่วประเทศ ยังได้บอกเป็นเสียงทำนองเดียวกันว่า การทำกิจกรรมเพื่อสังคมผ่านโครงการเยาวชน1000ทาง ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้การให้ และความรับผิดชอบของตัวเองต่อสังคม

 

ทั้งนี้ พี่หนึ่ง ผู้จัดการภาคอีสานตอนล่างเขียนในบันทึกไว้ว่า 4
"น้อง ๆ ขยันขันแข็งกันน่าดู บางกลุ่มทำกิจกรรมในโครงการเสร็จแล้วก็โทรมาถามเกี่ยวกับเรื่องเอกสารสรุปว่าต้องทำอย่างไรบ้าง.....บางกลุ่มก็เข้ามาที่บ้านเลย....อันนี้ต้องเลี้ยงข้าวด้วย..เฮ้อ...ยิ่งเหนื่อยหนัก....แต่โดยรวมพอใจกับน้อง ๆ โครงการมากถึง 80 % เลยทีเดียว น้องๆ ตั้งอกตั้งใจทำกิจกรรมกันทุกๆ คน มีบ้างที่เหนื่อยหน่อย อย่างเช่น ปาท่องโก๋ร่วมใจ...ต้านภัยหนาว.....กว่าจะได้มาซึ่งผ่าห่ม..ดูน้องๆ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากับการทำ....การขาย....พักผ่อนน้อย เวลาทั้งหมดที่เคยเล่น ๆ กลับถูกนำมาใช้เพื่อคนอื่นๆ....แต่น้องๆ ก็ทำได้และก็ประสบผลสำเร็จด้วย....ส่วนโครงการอื่นๆ ก็ดีทีเดียวมีปัญหาอุปสรรคบ้างแต่ก็ฝ่าฟันไปได้ด้วยดี...เห็นความตั้งในของน้อง ๆ แล้วรู้สึกหายเหนื่อย...โดยเฉพาะเวลาที่มีผู้ใหญ่ พูดถึงน้องๆ โครงการเยาวชน1000ทาง....มีความรู้สึกว่าทุนทางสงคมเพิ่มขึ้น ....มีผู้ที่พร้อมจะมาเป็นแรงสนับสนุน..เป็นเพื่อนร่วมทางในการกรุยทางให้กับน้อง ๆ โครงการเยาวชน1000ทางในรุ่นๆ ต่อ ๆ ไป"


ใช่, อย่างที่พี่หนึ่งได้บันทึกไว้ ว่าการทำงานของเยาวชนที่ตั้งใจนี้ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ควรจะสนับสนุนให้มีพื้นที่สำหรับเยาวชน ทั้งพื้นที่สร้างสรรค์ในเชิงกายภาพ และพื้นที่สร้างสรรค์ในเชิงโอกาส กล่าวคือ ควรมีการพัฒนาเยาวชนจากมุมที่เป็นการส่งเสริมเยาวชนมากกว่าเป็นการควบคุมจำกัดสิทธิ และควรส่งเสริมให้เยาวชนมีโอกาสในการสื่อสารกับผู้ใหญ่ ส่งเสียงต่อสาธารณะในประเด็นที่เกี่ยวข้อง


สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ - ความฝันเหล่านี้เป็นไปได้ เพียงแค่ว่าผู้ใหญ่จะเห็นความสำคัญมากน้อยเพียงใด และความท้าทายที่สำคัญคือ เป็นไปได้หรือไม่ที่นอกจากผู้ใหญ่จะให้เยาวชนมีส่วนร่วมแล้ว จะมอบ "อำนาจ" ในการตัดสินใจให้แก่เยาวชนด้วย

 

1 โครงการเยาวชน 1000ทาง เป็นการรวมตัวของเครือข่ายเยาวชนจากทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน (สทย.) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สอ.ดย.) ดูเวบไซต์ได้ที่ http://www.1000tang.net/

2 อ่านต่อได้ที่มติชนออนไลน์ http://matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01lad03250151&day=2008-01-25§ionid=0115

3 อ่านต่อที่เดลินิวส์ ออนไลน์

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=153444&NewsType=1&Template=1

4 บันทึกของพี่น้อยหนึ่ง อ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/node-esandown/146409

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
งานวิจัยมากมายทยอยออกมานำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในช่วงก่อนวาเลนไทน์ ชนิดที่ว่า นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลวันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นเทศกาลนำเสนอผลวิจัยวัยรุ่นอีกก็ว่าได้งานวิจัยที่ออกมาส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะ “ถ้ำมอง” และ นำเสนอด้าน “ลบ” ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว ทำนองว่า วัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุดในวันดังกล่าว – ผมเองได้พยายามค้นหาดูว่ามีผลวิจัยหรืองานสำรวจอะไรบ้างที่ให้ข้อเสนอแนะทางออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นนอกจากผลการสำรวจของ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth Net) ที่เสนอว่า วัยรุ่นกว่า 70% เห็นว่าควรมีวิชาเพศศึกษาในหลักสูตรของทุกโรงเรียน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
1นันกับฝน เรียนอยู่มหาวิทยาลัยอีกไม่กี่เดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว เขาทั้งสองเป็นเด็กต่างอำเภอที่ได้ย้ายมาเรียนในตัวเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือทั้งสองคนพบกันครั้งแรกตอนเข้า ม.4 ตอนนั้นเป็นจุดตั้งตนให้เขาและเธอได้รู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาจนเป็นแฟนกัน และจากนั้นนันกับฝนจึงตัดสินใจย้ายหอมาอยู่ด้วยกัน อาศัยห้องเดียวกัน ตอนเรียน ม.5 ตอนที่มีอะไรกันครั้งแรก นันใช้ถุงยางอนามัย เพียงเพราะยังไม่อยากรับผิดชอบผลกระทบที่จะตามมาจากการมีอะไรโดยไม่ได้ป้องกัน เขาไม่ได้ให้ฝนคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดเพราะกลัวผลข้างเคียง ที่จะเกิดขึ้น แต่เลือกใช้ถุงยางอนามัยทุกๆ ครั้ง พอเรียนจบ ม.6…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมเพิ่งกลับจากค่ายเยาวชนที่จังหวัดเชียงราย เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องเพศ มีวัยรุ่นหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ซึ่งเน้นการพูดคุยจากมุมภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีน้องคนหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม บอกความรู้สึกกับผม “ผมดีใจมากครับ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ อยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลย ดีนะครับที่พวกพี่มาจัด” น้องอีกคนหนึ่งก็บอกอีกว่า ที่ชุมชนของตัวเองได้มีการจัดกิจกรรมโดยอบต. แต่กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นการกีฬา กิจกรรมตามวันสำคัญ และเยาวชนในชุมชนก็เข้าร่วมฟังน้องทั้งสองคนพูดขึ้นมาผมก็คิดถึง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมรู้จักกับคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์  ตอนอายุ 18 ปี สมัยที่ได้เริ่มวาระการเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข จากสายองค์กรเอกชนด้านเด็กและเยาวชน เมื่อหลายปีก่อน ตอนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในตอนแรกๆ ผมค่อนข้างจะเกร็งเพราะคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญต่อวงการสาธารณสุขและสังคมและอาวุโสห่างจากผมมากกว่า 20 ปี  ตอนนั้น คุณหมอสงวน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม และเมื่อประชุมเสร็จสิ้น ผมได้เข้าไปทักทายและแนะนำตัวเองกับท่าน ท่านมีความเป็นกันเองและให้เกียรติกับผมมากและได้บอกให้ผมสบายใจ มั่นใจและเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
กิตติพันธ์ กันจินะ
ลมหนาว ยังไม่จางหาย....วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันวันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลากโครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม…
กิตติพันธ์ กันจินะ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่งจบลงเมื่อวานนี้ ตอนค่ำ ผลสรุปจากการกากบาทลงคะแนนให้กับคนที่รัก พรรคที่ชอบ ได้ผลออกมาอย่างไม่เป็นทางการ บางคนอาจถูกใจ บางคนอาจไม่ถูกใจหลังจากลงคะแนนเสียงเสร็จ ผมได้เดินทางไปยังเขตชายแดนอำเภอแม่สายกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง เพื่อจับจ่ายซื้อของและเดินเล่นไปมาตามประสาคนที่อยากพักผ่อนเที่ยวท่องให้คล่องใจเวลาในการเดินทางไป การเดินทางจับจ่ายซื้อของ และการเดินทางกลับ เริ่มจากตอนสาย จนถึงตอนหัวค่ำ ระหว่างที่อยู่เขตอำเภอแม่สาย ผมแยกตัวจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่อีก 4 คน เดินเล่นเองคนเดียว เพียงเพื่อจะหาร้านกาแฟสดดีๆ ที่มีหนังสืออ่านและมีเพลงฟัง ผมเดินไปทั่ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาจนถึงวันนี้ผมยังไม่ได้พาตัวและตาของตนไปดูภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" เลย แม้ว่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนได้เชื้อเชิญแจ้งแถลงชวนให้ไปดูหลายเวลา หลายคราก็ตาม ผมก็ยังไม่ได้ไปดูเสียทีโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้เป็นคนปฏิเสธโรงภาพยนตร์นะครับ เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่จะทำให้ผมไปดูได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผมมีเพื่อนไปดูด้วย คือ ถ้าไปคนเดียวผมคงไม่ไปครับ เพราะไม่เคยดูหนังคนเดียว และยิ่งไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋ว ซื้ออะไรยังไงบ้าง เพราะปกติเวลาไปเพื่อนๆ จะเป็นคนซื้อตั๋วและขนมขบเคี้ยวเข้าไปให้สำหรับ "รักแห่งสยาม" ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้คนกล่าวถึงค่อนข้างมาก และกล่าวถึงในหลายแง่มุม เช่น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
“อากาศหนาวๆ เย็นๆ อย่างนี้ หากได้หาใครสักคนมาอยู่ข้างกายก็คงจะดี” เพื่อนรุ่นพี่พูด บอกเสมือนจะสื่อให้ผมหาใครสักคนมาอยู่ข้างกาย เพื่อเป็นเพื่อนคุย แต่ผมคิดว่านัยยะของคำพูดนี้ น่าจะสะท้อนความคิดบางอย่าง ว่าการที่จะมีใครสักคนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เราในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ แน่นอนว่าจะช่วยทำให้เราอุ่นกายและอุ่นใจได้พร้อมๆ กันผมครุ่นคิดถึงคำพูดของเพื่อนรุ่นพี่ หลายวัน พลันกับได้ยินเรื่องราวเรื่องการคัดค้านมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือ ‘มอ’ นอกระบบ  ก็ทำให้นึกถึง ความรักนอกระบบ ไปด้วย ความรักนอกระบบ กับ ‘มอ’ นอกระบบ แม้จะไม่เหมือนกัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความรักไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าวัย-อาชีพ-เพศ-ชนชั้น-เชื้อชาติใด ความรักย่อมมีอยู่ในทุกที่ ดั่งเช่นความรักของคนทำงานเรื่องเพศในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่าอาจยากต่อการทำความเข้าใจกับคู่ของตัวเอง เมื่อเราเป็นผู้หญิงและคู่ของเราเป็นผู้ชาย แล้วให้เราเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูก ‘คู่’ ที่คบหาตกใจ หรือมองเราในมุมที่ไม่ค่อยดีก็เป็นได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่ มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเธอ –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมเวที “เพศศึกษาเพื่อเยาวชน” ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ องค์การแพธ ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร จัดงานระดับภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขึ้น โดยการจัดครั้งนี้เป็นการครั้งแรกของภาคดังกล่าวภายในงานมีเยาวชนจากหลายโรงเรียนและหลายกลุ่มเข้าร่วม พร้อมๆ ทั้งผู้ใหญ่จากหน่วยงานภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งธีมหลักๆ ของเวทีนี้คือ “ร่วมกันชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัย” ทำไมต้องชี้โพรงให้กระรอก ในเมื่อกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นต้องเข้ายังไง –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
รายงานข่าวเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า มียอดเด็กที่กำพร้าจากพ่อแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนหลายพันคน ซึ่งภาครัฐยังคงต้องหาแนวทางการดูแลเด็กที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก ทว่าอย่างไรเสีย  แม้ว่าเรื่องราวความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอทั้งหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ที่ได้ลงไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ ตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ หมอ ทหาร ครู…