Skip to main content

กาลครั้งหนึ่งหลายปีมาแล้ว ณ เมืองหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกที่มีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่อยู่บนภาพตัวแทนของการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไว้ได้มาก  เช่น ภาพอันวิจิตรอลังการของวัดวาอารามต่างๆ ที่มีถึง 37 แห่ง ภาพพระสงฆ์เดินเป็นแถวมารับบิณฑบาตรยามเช้าตามท้องถนน ภาพที่ชาวหลวงพระบางใส่ผ้าซิ่นทั้งเด็กน้อยและคนโต ภาพที่ผู้คนสัญจรไปมาโดยใช้รถจักรยาน ภาพที่ตึกรามบ้านช่องดูเล็กๆกระจุ๋มกระจิ๋มน่ารัก รถลาไม่ติดขัด ที่ส่งตรงไปถึงประเทศไทยผ่านหน้าจอโทรทัศน์ ภาพถ่าย และ “ปากต่อปาก” ทำให้ผู้คนที่มีชีวิตจ่อมจมอยู่ในโลกแห่งวัตถุนิยมในเมืองไทยเกิดอาการ “โหยหาสวรรค์หาย” อยากได้มาสัมผัสสวรรค์ที่ยังเหลืออยู่บนโลกแห่งนี้  

แม้แต่ผู้เขียน (ที่ขณะนั้นยังสอนสาขาฯบริหารธุรกิจ) เองก็โหยหาสวรรค์หายด้วยเช่นกัน จึงได้ตกลงไปที่นั่นเพื่อช่วยเพื่อนอาจารย์ชายเก็บข้อมูลวิจัยถอดบทเรียนให้โครงการพัฒนาขององค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศองค์การหนึ่ง เกี่ยวกับการต่อรองเพื่อการใช้ถุงยางอนามัย โดยต้องเข้าไปใช้ชีวิตเข้าๆ ออกๆ อยู่ในซ่อง ซึ่งถูกบังหน้าไว้ด้วย “ร้านกินดื่ม” (ร้านอาหาร) เป็นเวลา 8 วัน

ดั้งนั้น หลวงพระบางในความทรงจำของผู้เขียนจึงไม่ใช่ภาพของพระ วัด วัง และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่เขาว่าเรียบง่าย แต่เป็นเรื่องชีวิตของสาวบริการที่ทำงานในซ่อง และความทรงจำของ “ความต๊กกะใจ” ทำอะไรไม่ถูกเมื่อต้องพบและคุยกับสาวบริการทางเพศครั้งแรกที่เป็นสาว “ลาวเทิง” ที่ไม่ได้พูดภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์ที่ผู้เขียนชิน จึงต้องใช้ล่ามคนลาว และเธอคนนั้นที่ผู้เขียนพบ มีอายุเพียง 13 ปี หน้าตาขาวสดใส สะสวย แต่ดูเด็กมว๊าก...มองด้วยสายตาภายนอก นางมีหน้าอกหน้าใจเท่ากับลูกมะนาว และยังไม่เป็นประจำเดือนเลย... โอ้ว...มายก๊อดดด นักวิจัยที่เคยช่ำชองการสัมภาษณ์ชาวนาชาวไร่อย่างช้าน...ไปไม่ถูกเลย

ที่ลาว อาชีพขายบริการทางเพศเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และต้องปิดให้มิดสำหรับเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองมรดกโลกอย่างหลวงพระบาง แต่กระนั้นจากการสำรวจโดยโครงการพัฒนาหนึ่ง ขององค์กรพัฒนาเอกชนข้ามชาติแห่งหนึ่ง พบว่าเมืองหลวงพระบางเมื่อสิบปีที่แล้วมี “ร้านกินดื่ม” ที่มีสาวขายบริการทางเพศอยู่ถึง 45 ร้าน มีสาวทางเพศ 155 คน และมีสาวบ้านที่ติดต่อขายบริการทางโทรศัพท์อีก 74 คน แต่ละร้านมีสาวบริการฯ ประมาณ 4 – 5 คน สภาพของร้านคับแคบ ค่อนข้างทึบ เฉอะแฉะ 

บริเวณห้องพักของสาวบริการฯ นอนก็ค่อนข้างคับแคบ สกปรก เบียดเสียด ควรจะนอนประมาณ 2 คน ก็นอนกันถึง 4 คน ส้วมและห้องน้ำห้องท่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีโดยทั่วไป บางร้านขุดหลุมถ่ายอุจจาระหลุมใหญ่ แล้วเอาไม้กระดานพาดไว้ 2 อัน ให้ขา 2 ข้างเหยียบ ถ้าก้มลงไปดูข้างล่างก็จะเห็นหนอนตัวดำๆยาวๆ ที่ ให้ตายเหอะโรบิ้น...ไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิตเลย ไชย้วยเยี้ยเต็มไปหมด ประมาณว่าพลาดตกบ่อนั้นเป็นอันต้องตายคาที่เพราะนอนรุมกิน บางร้านจะสร้างแยกออกจากตัวบ้านและปิดล๊อกใส่กุญแจไว้อย่างดี แต่บางร้านก็มีติดอยู่ในตัวบ้าน เข้า-ออกง่ายเหมือนบ้านไทย เมื่อสาวได้เงินจากการขายบริการทางเพศมาเท่าไรก็ต้องให้เจ้าของร้าน 30 เปอร์เซ็นต์ บางครั้งลูกค้าก็จ่ายกับสาว บางครั้งก็จ่ายกับเจ้าของร้าน แต่เจ้าของร้านก็จะแบ่งให้สาว ไม่ค่อยโกง แต่บางร้านก็ “เบี้ยว” ไม่จ่ายเงินให้สาว

ร้านกินดื่มโดยทั่วไปไม่มีห้องนอนสำหรับรับลูกค้า การมีเพศสัมพันธ์กับสาวจะต้องออกไปเช่าโรงแรมข้างนอก เนื่องจากอาชีพขายบริการทางเพศเป็นอาชีพผิดกฎหมายดังที่กล่าวไว้แล้ว ดังนั้นหากตำรวจจับได้ ก็จะจับเฉพาะสาวบริการ แต่ถ้าร้านกินดื่มที่มีห้องรับแขกเจ้าของร้านก็จะถูกจับไปด้วย บางร้านสามารถมีที่นอนสำหรับรับแขก (ผู้เขียนพบมีเพียงร้านเดียว) เพราะเจ้าของร้านเป็นตำรวจ

เมื่อผู้เขียนขึ้นไปดูก็พบว่าห้องสร้างง่ายๆ แคบๆ เป็นแบบเรือนไม้ใต้ถุนสูง บนเรือนแบ่งซอยเป็นห้องเล็กๆ ไม่ค่อยมิดชิด ไม่เก็บเสียง และก็สกปรกและเหม็นมากด้วย สาวจะลงทุนซื้อที่นอนหมอนมุ้งเพื่อรับแขกด้วยเงินของตัวเอง  ลูกค้าที่มาใช้บริการ ณ สถานที่นี้ จะใช้เวลาไม่มาก เรียกได้ว่ามันเป็นสถานที่เพื่อมาร่วมเพศเพื่อสำเร็จความใคร่โดยไม่ต้องคำนึงสุนทรียรสแต่อย่างไร สำหรับร้านที่มีที่นอนสำหรับรับลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ เช่น คนจีน คนเวียดนาม ซึ่งพูดภาษาลาวไม่ได้ สาวจะไม่ออกไปขายบริการข้างนอกด้วย แต่ให้ใช้บริการอยู่ที่นี่ ไม่เช่นนั้นสาวจะไม่มีอำนาจในการต่อรองทั้งเรื่องเงินและการใช้ถุงยางฯ กับลูกค้า

แรกๆ ก็สงสัยว่าสาว เข้าสู่อาชีพได้อย่างไร เพราะความยากจน อย่างที่เขาว่าไว้รึเปล่า ผู้เขียนจึงลองถาม ถึงเศษฐกิจครอบครัวของสาวบริการฯ จากร้านกินดื่มก่อน  (ทั้งที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เพื่อนให้ช่วยเก็บข้อมูล) พบว่าแต่ละคนมีภูมิลำเนาเดิมไม่ห่างจากเมืองหลวงพระบางมากนัก คือเดินทางโดยรถยนต์โดยสารประมาณ 1 - 1 ½ ชม. ก็ถึงแล้ว ทางบ้านปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในครัวเรือน นอกจากนี้ยังปลูกลูกเดือย ข้าวสาลี ถั่วดิน ขายให้พ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นคนลาวที่เอารถมารับซื้อถึงที่

เมื่อถามถึงหนี้สินพบว่าบ้านสาวทุกคน “ไม่มี” หนี้ แม้จะมีพี่น้องจะเรียนหนังสือแต่ก็ไม่เสียเงินมาก สาวบางคนตั้งแต่มาอยู่เป็นสาวร้านก็ไม่ได้กลับบ้านเลย เป็นเวลาปีกว่าก็มี บางคนก็กลับบ้านเป็นบางเดือน บางคนก็กลับบ้านค่อนข้างบ่อย เช่น เดือนละ 1 – 3 ครั้ง เมื่อกลับบ้าน บางคนก็ไม่ได้ให้เงินแก่ทางบ้าน คนที่เอาเงินไปให้ทางบ้านให้เดือนละ 100,000 – 200,000 กีบ  ทางบ้านมักเอาเงินที่ได้รับจากสาวไปซื้อข้าว ซื้อสัตว์ และซื้อของใช้  

ดังนั้น จะว่าไป พวกเขาเข้าสู่อาชีพนี้เพราะความจน อันเป็นผลพวงของการพัฒนาที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจก็คงจะไม่ถนัดนัก ผู้เขียนได้คุยกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของหลวงพระบางที่ทำงานด้านสุขภาพทางเพศกับสาวบริการฯ เขาบอกว่าสาวที่มาขายบริการทางเพศเพราะทุกข์มีประมาณร้อยละ 50 บางคนบอกว่าสาวไม่ได้มีปัญหาเรื่องความยากจนเท่าใด บางคนมาทำงานนี้เพราะ “เบื่อเรียน เรียนไม่สนุก” (แต่บริบทที่ลึกๆ กว่านั้น โดยเฉพาะบริบททางวัฒนธรรมของการที่ลูกสาวต้องกตัญญูตอบแทนพระคุณพ่อแม่อย่างเพลง “แม่สาย” ที่ทำให้สาวๆ ต้องเข้าสู่อาชีพนี้ ผู้เขียนก็ไม่อาจทราบได้ เพราะไม่สามารถติดตามคุยลึกๆ ต่อไปได้ เพราะหลบๆ ตำรวจเก็บข้อมูลอยู่ แถมมีเวลาน้อยเพียงแค่ 8 วัน)

สาวบริการฯ ในร้านน้อย (ชื่อสมมติ) ซึ่งมีอายุเฉลี่ยประมาณ 13 – 18 ปี (แม้เราจะพบว่าบางคนมีอายุประมาณ 35 ปี) เกือบทุกคนเข้าสู่อาชีพได้ไม่นาน บางคนทำงานไม่ถึงปี บางคนปีกว่าๆ พวกเธอมาเพราะได้รับการชักชวนจากคนในหมู่บ้านหรือเพื่อนให้มาขายของ บอกว่ามีรายได้ดี บางคนเพื่อนบอกว่ามีรายได้ถึงเดือนละแสนปลาย (แสนกีบครึ่ง) แต่ต่อมาก็พบว่า “หมู่ตั๋ว” (เพื่อนโกหก) มาขายของได้ไม่นานก็มีอันต้องเข้าสู่อาชีพ เช่น นางสั้น (นามสมมติ) ให้สัมภาษณ์ว่าเข้าสู่อาชีพครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ขณะนั้นเรียนหนังสืออยู่มัธยม 3 รุ่นพี่ที่โรงเรียนชวนมาขายเครื่อง (เสื้อผ้า) บอกว่าให้เงินเดือนๆละแสนปลาย  แต่ไม่ได้ขายเครื่อง กลับมาทำงานอยู่ร้านกินดื่ม ทำงานไม่นานเจ้าของร้านถามว่า “กล้าไปบ่ ไปกินนำแขก” นางสั้นก็นึกว่าไปกินดื่มเฉยๆ อีกทั้งมีเพื่อนไปด้วย ก็ไป  จากนั้นเพื่อนและแขกก็พาไปเข้าห้องๆ ห้องเดียวมีด้วยกัน 2 เตียง เพื่อนและแขกของเพื่อนก็อยู่เตียงเดียวกันและร่วมเพศให้นางสั้นเห็น นางสั้นร้องไห้จะหนี  แขกของนางสั้นจึงยอมพามาส่ง แล้วก็ให้เงินอีก นางสั้นเล่าต่อว่า หลังจากนั้นอีกนานพอสมควรจึงไปกับแขกอีกครั้งและก็ยอม “สละตัว ให้เพิน” (เสียตัวให้เขา)

ส่วนสาวบ้านหรือสาวโทรศัพท์ ซึ่งเป็นสาวบริการฯ อีกประเภทหนึ่ง มีอายุมากกว่าสาวร้านกินดื่ม คือระหว่าง 17 – 25 ปี หลายคนพัฒนามาจากสาวร้านฯ ที่ถูกจำกัดเสรีภาพและการเอาเปรียบของมามาซังไม่ไหว เมื่อพวกเธอทำงานสัก 2 – 3 ปี จึงย้ายหลายร้าน และมีโอกาสติดต่อกับโลกภายนอกเธอจึงหนีออกไป  บางคนไม่ได้เริ่มต้นจากสาวร้าน แต่เข้าสู่วงการสาวโทรศัพท์ตามการชักชวนของเครือข่ายเพื่อนและญาติพี่น้อง

มีสาวคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าแฟนเคยถามเหมือนกันว่าทำไม่ต้องมาทำอาชีพแบบนี้ เธอบอกว่า “สุดหนทาง จึงมาเป็นแบบนี้” แต่สาวบ้านหลายคนก็เข้าสู่วงการเพราะเพื่อนชวน น้อยคนนักที่จะมีเบื้องหลังเป็นคนยากจน บางคนมีการศึกษาก็สูงถึงระดับมัธยม บางคนระดับอุดมศึกษา หรือจบปริญญาด้านพยาบาลหรือจบสายครูก็มี การเข้ามาทำงานบริการทางเพศจึงเป็นเรื่องการเข้าไปในเครือข่ายของผู้ที่อยู่ในอาชีพนี้มาก่อน เช่น ญาติ และเพื่อน

เมื่อคุ้นเคยกับสาวระดับหนึ่ง จนผู้เขียนไปเยี่ยมสาวบ้านถึงที่ห้องพัก และบางครั้งก็ไปกินข้าว กินก๋วยเตี๋ยวกับสาวๆ นอกซ่อง จนหนุ่มๆ เมืองหลวงฯ “มองตาเป็นมัน” มาที่โต๊ะอาหารของผู้เขียนกับสาวๆ เป็นระยะๆ จนหนุ่มคนหนึ่งอดรนทนไม่ไหว เดินเข้ามายังโต๊ะของผู้เขียน แล้วถามว่า “ในหมู่พวกเจ้า มีคนไทยด้วยติ๊” ต่อมา...ผู้เขียนจึงได้แอบถามสาวๆ เบราๆ ว่า พวกนางมีความรู้สึกอย่างไรต่ออาชีพนี้  มันหลากหลายมาก สาวบางคนบอกว่า “รู้สึกว่าดี แต่บางคนก็รู้สึกไม่ค่อยดี จนถึงไม่ดีที่สุด”

สาวๆ ส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนคุยด้วย “รู้สึกดีกับอาชีพนี้”  พวกนางให้เหตุผลว่า เพราะเป็นงานที่ “เฮ็ดซำบาย” (เป็นงานที่ทำสบาย) เช่น ร้านใต้ มีสาวถึง 3 ใน 4, ร้านเหนือ 1 มีสาวกล่าวเช่นนี้ถึง 3 ใน 4 คน เช่นกัน  และสาวบ้านบางคนก็คิดเช่นนี้

สาวที่รู้สึกไม่ค่อยดีกับอาชีพนี้บอกว่าเป็นงานลำบาก บางคนบอกว่า “สบายกาย ลำบากใจ ตำรวจรู้ คนเมืองหลวงฯก็รู้ แต่ต้องเฮ็ดเพราะพ่อกับแม่เฒ่าแล้ว” ซึ่งคำตอบนี้ส่วนใหญ่เป็นสาวบ้าน อันนี้ลำบากใจเพราะมีคนรู้ เนื่องจากเมืองหลวงพระบาง(เมื่อหลายปีก่อน) เป็นเมืองเล็ก คนรู้จักกันหมด เช่นที่ผู้เขียนไปนั่งกินข้าวกับสาวบริการ แล้วผู้ชายหลายโต๊ะมองมาเป็นระยะๆ จนเดินมาถาม รวมทั้งบางครั้ง ผู้เขียนเรียกสามล้อให้ไปส่งที่ร้านกินดื่ม คนขับสามล้อถามด้วยเสียงสูงประหลาดๆ ว่า “เจ้ามาเฮ็ดหยังร้านนี้” ด้วยความสงสัย เพราะคนขับสามล้อก็รู้ว่าที่นี่เป็นซ่อง

คนที่รู้สึกไม่ดีต่ออาชีพนี้มากๆ บอกว่า ไม่ใช่พราะนอนกับแขกแล้วทรมาน แต่เป็นเพราะรู้สึกว่า “ขัดเขิน เราทำชั่ว เป็นงานชั่วร้าย ขายหน้าขายตา” ทั้งไม่กล้าสู้หน้าครอบครัวอีก เธอบอกว่า “บ่อยากเมื่อบ้าน น่าอาย พ่อแม้รู้สิว่าให้  เงิน-งานชั่วร้าย” กลุ่มเหล่านี้เป็นคนส่วนน้อยที่ผู้เขียนได้คุยด้วย เป็นเพราะคงได้รับอิทธิพลจากวาทกรรมโสเภณี

โดยภาพรวม ความรู้สึกของสาวต่ออาชีพนี้ โดยเนื้องาน เป็นเรื่องที่ “เฮ็ดซำบาย” (ทำสบาย) แต่โดยเงื่อนไขทางสังคมและวาทกรรมแล้ว ก็ค่อนข้างกดดันต่อความรู้สึกของสาวๆ มากพอสมควร ในแง่ของการให้ความหมายต่อ อาชีพหญิงบริการทางเพศ จึงเป็นเรื่องที่หลายคน “เลือก” แล้ว ไม่ใช่เพราะมีเงื่อนไขอื่นๆ มา “บีบ” บังคับให้ต้องทำอาชีพนี้โดยจำใจ เช่นความยากจน หรือการถูกล่อลวง

สิ่งที่น่าสนใจต่อมา คือความยั่งยืนของการประกอบอาชีพนี้ แม้ว่าอาชีพนี้จะทำเงินได้ง่ายและรวดเร็วก็ตาม แต่สาวส่วนใหญ่ก็ไม่มีเงินเก็บออม สาวๆ บอกว่าเงินที่ได้มาหมดไปกับ “เครื่องนุ่ง” และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน อีกประการหนึ่งคือ ใช่ว่าจะมีลูกค้าทุกวัน บางวันก็ไม่มีลูกค้า  สาวบางคนไม่รู้จักการฝากเงินกับธนาคารด้วยซ้ำไป ถ้าจะฝากเงินพวกเธอนิยมฝากกับเจ้าของร้าน ซึ่งง่ายต่อการเบิกมาใช้จ่าย

เมื่อถามถึงเป้าหมายในชีวิตในระยะยาว โดยภาพรวมพบว่าทุกคนต้องการใช้ชีวิตแบบ “คนเมือง” สาวส่วนใหญ่ต้องการหาผู้ชายมารับเลี้ยงดู พวกเธอบอกว่า เธอไม่รู้จะทำงานอะไร ถ้าให้กลับไปทำงานเป็นเกษตรกรที่บ้านเกิดอย่างพ่อ-แม่คงไม่ทำ บางคนต้องการทำงานเหมือนคนทั่วไป เช่น เป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์ แม้มีเงินเดือนน้อยกว่าการขายบริการทางเพศก็ยอม แต่เธอก็บอกว่าเป็นไปได้ยากเพราะอย่างน้อยต้องจบมัธยม 6

 ...แล้วสุขภาพทางเพศของสาวๆ เป็นเช่นไร พวกนางมีความรัก มีแฟนหรือไม่ ใครคือแฟน การร่วมเพศกับแฟนและลูกค้าต่างกันอย่างไร ทั้งอารมณ์ ลีลาและการสัมผัส โปรดอดใจติดตามต่อตอน 2 อิอิ

บล็อกของ เก๋ อัจฉริยา

เก๋ อัจฉริยา
อาจจะจริงที่ใครหลายคนพูดว่าการติดคุกโดยไม่ขอประกันตัวและการอดอาหารของ “ไผ่ ดาวดิน” (เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม จากคดีแจกเอกสารไม่แสดงความเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญในตลาดอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ) ไม่มีพลังในเชิง “ยุทธศาสตร์” แม้ว่ามันคือความพยายามของสันติวิธีในการการปลุกกระแสเรื่องสิ
เก๋ อัจฉริยา
อยากให้ทุกคนดูตารางข้างล่างนี้ เมื่อวานฉันไปลุ้นผลการนับคะแนนและจดตัวเลขนี้มากับมือ
เก๋ อัจฉริยา
ห่านามนิง ชายร่างเล็ก อายุ 74 ปี อาจารย์สอนภาษาไทเมืองคองของผู้เขียน เป็นอดีตครูโรงเรียนมัธยม หัวหน้างานการศึกษาอำเภอบาเทื๊อก และรองประธานคณะกรรมการบริหาร (ตามลำดับ) ปัจจุบันเป็นครูสอนภาษาไทแทงหวาและนักวิจัยอิสระ ห่านามนิงเล่า[1] ให้ผู้เขียนฟังเกี่ยวกับเ
เก๋ อัจฉริยา
ภาพข้างล่างนี้เป็นการทานอาหารมื้อแรกของฉันในรอบ 2 ปี ที่พร้อมหน้าพร้อมตากับทุกคนในครอบครัวไทขาว อำเภอมายโจว (เมืองมุน) จังหวัดฮว่าบิ่ง ที่ฉันเคยไปอาศัยอยู่หลายเดือน ในทุกปี ตั้งแต่ทำปริญญาเอก ในปี 2008  (จริงๆ ทำปริญญาเอกและมาที่มายโจวแล้วแต่ปี 2007 เพียงแต่อยู่บ้านอื่น) ยกเว้นปี 2015 จนถึงป
เก๋ อัจฉริยา
ปกติเมื่อฉันมาถึงฮานอย ฉันก็ใช้บริการแท๊กซี่สนามบินนอยไบ เท่าที่ฉันสังเกต แท๊กซี่ส่วนใหญ่ เมื่อรู้ว่าฉันพูดภาษาเวียดนามได้ ก็ชอบคุยโน่นนี่นั่นกับฉัน พี่แท๊กซี่คนนี้ก็เหมือนกัน พี่แกเป็นผู้ชาย อายุน่าจะประมาณ 40 กว่าๆ เมื่อพี่แกเห็นฉันพูดภาษาเวียดกะแก แกถามว่าฉันเป็นคนช่าติอะไร พอบอกว่าไทย แกหันมา
เก๋ อัจฉริยา
วันที่ 18 มิถุนายน 2558 หลังจากที่เถ่ยซาว (อาจารย์ซาว) หย่อนลุงนิง (ห่านามนิง) และผู้เขียนไว้ที่โรงแรมที่ตัวอำเภอเถื่องซวนเมื่อเย็นวาน เช้าวันต่อมาเราจึงต้องไปวิจัยกับเครือข่ายใหม่ แต่ขอออกนอกเรื่องเพื่อขอบันทึกเกี่ยวกับความไฝ่รู้ของห่านามนิงสักหน่อย
เก๋ อัจฉริยา
มาเถื่องซวนครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17-19 มิถุนายน 2558 ผู้เขียนนัดกันไว้กับลุงนิงหรือห่านามนิงว่าจะไปเถื่องซวนด้วยกัน เพราะแกได้ทุนและร่วมทำวิจัยกับทางมหาวิทยาลัยห่งดึ๊ก (ĐH Hồng Đức) มหาวิทยาลัยประจำจังหวัดแทงฮว๋า เกี่ยวกับคนไทเสาะ (Thaí Gịo) ซึ่งมีอยู่มากในอำเภอเถื่องซวน (Thường Xuân) เดิมท
เก๋ อัจฉริยา
วันที่ 12 มิถุนายน 2558 ผู้เขียนซึ่งกำลังเก็บข้อมูลเพื่อทำวิจัยไทแดงได้กลับไปที่อำเภอบาเทื๊อก จังหวัดแทงฮว๋าอีกครั้ง ครั้งนี้ได้นัดหมายกับห่านามนิง (อดีตครูมัธยม หัวหน้าแผนการศึกษา และรองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอบาเทื๊อก) และห่ากงโหม่ว (อดีตเจ้าหน้าที่อำเภอบาเทื๊อก) ผู้ซึ่งเป็นครูผู้สอนภาษาไทแ
เก๋ อัจฉริยา
จากบทความเรื่อง “มหาวิทยาลัยที่ไม่มีนิสิต: กรณีนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวของ ม.นเรศวร” ตามลิ้งค์นี้ http://www.prachatai.com/journal/2015/05/59557  ซึ่งบทความดังกล่าวนั้น กล่าวถึงนโยบาย Green University ของมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อส่งเ
เก๋ อัจฉริยา
แม้จากประมาณการตัวเลขจากกรมปศุสัตว์พบว่ามีวัวเนื้อที่เกษตรกรไทยขุนเพื่อส่งออกในนาม “วัวไทย” ประมาณ 6 ล้านตัว แต่เชื่อหรือไม่ว่า วัวที่เอามาขุนจำนวนมากมายเหลือประมาณนั้นถูกนำเข้ามาจากประเทศพม่า แต่ละสัปดาห์ มีวัวประมาณ 3,000 – 5,000 ตัว หรือเดือนหนึ่งๆ ก็มีประมาณ 12,000 - 20,000 ตัว ได้ถูกนำข้ามแด