Skip to main content

ปกติเมื่อฉันมาถึงฮานอย ฉันก็ใช้บริการแท๊กซี่สนามบินนอยไบ เท่าที่ฉันสังเกต แท๊กซี่ส่วนใหญ่ เมื่อรู้ว่าฉันพูดภาษาเวียดนามได้ ก็ชอบคุยโน่นนี่นั่นกับฉัน พี่แท๊กซี่คนนี้ก็เหมือนกัน พี่แกเป็นผู้ชาย อายุน่าจะประมาณ 40 กว่าๆ เมื่อพี่แกเห็นฉันพูดภาษาเวียดกะแก แกถามว่าฉันเป็นคนช่าติอะไร พอบอกว่าไทย แกหันมามองหน้าแล้วถามว่า “เป็นลูกจีนในเมืองไทยหรือจึงได้พูดภาษาเวียดได้” ฉันบอกว่า “ไม่ใช่” (ทั้งๆ ที่ใช่ เพราะพ่อเป็นคนเชื้อสายจีน เพราะที่นี่ การแสดงตัวตนว่าเป็นคนจีน จะทำให้เกิดอคติด้านความสัมพันธ์) แกงง...แล้วพูดแกมบ่นผสมสงสัยว่า “ทำไมพูดเวียดชัด (วะ)”

ว่าแล้ว แกก็หันมายิ้ม และเอื้อมมือมาข้างหลังจะจับมือฉัน ทั้งๆ ที่แกเพิ่งออกรถ ฉันชะงัก 1 วินาที แล้วคิดได้ว่า “อ๋อ...นี่มันเวียดนาม แกจะเชคแฮน” ฉันเลยยิ้มให้และเชคแฮนแก

จากนั้น..ตามระบียบการจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมของเวียดนาม แกถามว่าฉัน “มีผัวรึยัง” แน่นอน จะมีหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในอารมณ์ที่จะหงุดหงิดกับบทสนทนาถัดไป ฉันต้องตอบว่า “มีแล้ว” หากใครตอบว่า “ยัง” จะต้องถูกถามเยอะว่า “ทำไมไม่มี” ถามโน่นนี่นั่น จากนั้นก็จะถูกมองว่าเป็นคนมีปัญหาทางจิต

ขอนอกเรื่องแท๊กซี่ แต่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการสนทนากับแท๊กซี่หน่อยนะ เมื่อวานซืน (16 เม.ย. 58) ฉันอยู่ที่จังหวัดแทงฮว๋า ทางภาคกลางตอนเหนือ ห่างจากฮานอยประมาณ 160 กิโลเมตร นั่งกินก๋วยเตี๋ยวอยู่ ระหว่างนั้นมีรถรับเจ้าสาววิ่งผ่าน ทางเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวนินทาให้ฉันและเพื่อนๆ ของเขาฟังว่า เจ้าสาวนั้นอายุ 31 ปี ถึงเพิ่งได้แต่งงาน อารมณ์ของการใช้ภาษาคือเป็นเรื่องผิดปกติ

และเมื่อปี 2008 ครูสอนภาษาเวียดนามของฉันเพิ่งได้แต่งงานเมื่อเธออายุ 29 ปี ชาวบ้านนินทากันมากมายว่า เพราะเธอจบปริญญาเอก เรียนมากไป เธอจึงมึอะไรเพี้ยนๆ เธอเลยแต่งงานตอนอายุมากแล้ว (ภาษาเวียดนามเรียกว่า “เอ๋ (ซ)หร่อย” (ế rồi) คือ “เอ๋แล้ว” ความหมายคล้ายๆ ของหมดอายุแล้ว (อิอิ))  

ในปี 2008 ครูสอนภาษาเวียดนามของฉันอายุ 26 ปี จบปริญญาโทจากประเทศจีน นางผ่านอายุที่ดีที่สุดในการแต่งงานคือ 25 ปีแล้ว หากพลาดช่วงนี้ต้องแต่งงานอีกทีตอนอายุ 27 ปี (สาวๆ เวียดนามต้องแต่งงานเมื่ออายุเป็นเลขคี่เท่านั้น) หากอายุ 27 ปี ไม่ได้แต่งงานจะถือว่า “เอ๋ (ซ)หร่อย” เข้าสู่โหมดของการมีปัญหาทางจิตและทางสังคม ครูคนนี้บอกว่าไม่อยากแต่งงาน หญิงจีนไม่เห็นต้องถูกบังคับเหมือนที่เวียดนามเลย แกอยากไปอยู่เมืองไทย จะได้หนีจากครอบครัวที่กดดันแกให้ต้องแต่งงานในปีหน้า

เพื่อนผู้หญิงของฉันอายุ 31 ปี เรียนจบปริญญาโทกลับมาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานอยู่ที่ฮานอย ไม่อยากกลับบ้านที่ฮ่ายฟ่อง เพราะถูกพ่อแม่และเพื่อนบ้านถามว่าทำไมไม่เอาผัวซักที แกบอกว่ากลุ้มใจมาก กลับบ้านทีไรเป็นแบบนี้ทุกที และเขาก็รู้ตัวว่าจะโดนจับให้แต่งงานเร็วๆ นี้

นอกเรื่องเสียนาน กลับมาคำถามที่ 2

คำถามที่ 2 ตามระเบียบปกติของเวียดนามเช่นกัน คือ “มีลูกรึยัง” คำถามนี้หากตอบว่า “ยัง” ก็จะถูกถามต่อว่า “ทำไม” อันนี้ควรตอบไปว่า “ไม่รู้ว่าทำไม มันไม่มีเอง” จากนั้นก็จะได้รับคำแนะนำว่า “ยังไงก็ต้องมี ถ้าแก่แล้วไม่แข็งแรง มีลูกจะลำบาก” อะไรประมาณนี้ ถ้าตอบไปว่า “ไม่อยากมี” เขาจะมองว่าเรามีปัญหาทางจิต เป็นคนแปลก ขวางโลก อะไรประมาณนี้ จากนั้นคำถามต่างๆ ก็จะโถมเข้ามาปานสายน้ำหลาก พร้อมสายตาที่จิกใส่ ดูแคลน และคำนินทาตามหลัง อีกยาวนาน โผล่หน้าให้เห็นไกลๆ เมื่อไร เป็นโดนซุบซิบนินทาเมื่อนั้น

คำถามที่ 3 อายุเท่าไร บอกไปว่าอายุ....(ตึ๊ด ตึ๊ด ตื๊ด – เสียงเซนเซอร์ 55555) พี่แกบอกว่าแก 46 งั้นแกก็เป็น “แอง” (พี่) ส่วนฉันเป็น “แอม” (น้อง)

และนี่คือ 3 คำถามที่ "เบสิค" ที่สุดในการจัดวางความสัมพันธ์ทางสังคมกับคนที่ไม่รู้จัก ที่เหลือ...อาจจะโดนถามต่อว่า "ทำงานอะไร เงินเดือนเท่าไร ผัวทำงานอะไร มีลูกกี่คน ลูกคนโตอายุเท่าไร" มันคืออะไรที่ "ธรรมดา" มากสำหรับสังคมนี้ แต่สำหรับสังคมไทยแค่ถามว่า "เอาผัวรึยัง" คำถามแรก มีลูกกี่คน คำถามถัดมา และอายุเท่าไร คำถามสุดท้าย นี่...สะอึก! "เพ่ เพ่ มรึงก็ขับแท๊กซี่ไปสิ มา "เผือก" อะไรกับชีวิตกรุ...แล้วจะรู้ทำไมว่ากรุอายุเท่าไร...ห๋า! "

จากนั้น พี่แกถามว่า ชอบฟังเพลงเวียดมั้ย "ชอบสิ ฟังแทบทุกวัน" ฉันตอบ ฉันชอบ (นักร้องชื่อ) “ซองลวน” “แหม่กกวิ่ง และฟียุง” แกบอกว่าเหมือนกันเลย แกบอกว่านี่ไง กำลังจะเปิดเพลงแหม่กกวิ่ง-ฟียุง พอดีเลย ว่าแล้วแกก็เปิด แล้วฮำเพลง (แต่ฉันว่าไม่ใช่เสียงชอง “ฟียุง” ว่ะ แต่ขี้เกียจขัดคอแก)

สนทนาในรถไปเรื่อยๆ แบบขี้เกียจจำ บางทีถามอะไรแก แกก็ตอบเป็นภาษาอังกฤษ (คง “โชว์พาว”) แกบอกว่าแกขับแท๊กซี่ มา 27 ปีแล้ว แกฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง แกพูดเป็นประโยคยาวๆ ติดกันหลายประโยคได้ดีพอใช้

จนถึงหน้าโรงแรม พี่แกช่วยฉันยกกระเป๋าลง ค่ารถ 450,000 ด่อง (800 กว่าบาท) ฉันให้แบงค์ 500,000 ด่อง แกล้วงเงิน แล้วบอกว่าเงินไม่พอทอน แกทอนให้มา 25,000 ด่อง แต่ฉันเหลือบไปเห็นเงินแกมีในมืออีก 15,000 ด่อง
ตามระเบียบที่เคยเห็นคนเวียดนามบางคนเคยทำ ฉันจึงดึงเงินแบบเบราๆ จากมือแกมาอีก 10,000 ด่อง เพราะถ้าไม่ดึง อดแน่! แหม....ว่าจะดึงมาอีก 5,000 ด่อง แล้วเชีย! แต่คิดได้ว่าเป็นค่าฟังเพลง แหม่กกวิ่ง-ฟียุง ก็แล้วกัน (55555)

แกหันมายิ้มให้ก่อนไป บอกว่าขอให้ฉันโชคดี แล้วก็เชคแฮนฉันอีกครั้ง ฉันก็เช่นกัน...บอกแกไปว่า "จุ๊กแองมายหมันแหย๋" (ขอให้พี่โชคดีน้าาาาจร้า)

ฉากสุดท้าย คือการดึงเงินทอนออกจากมือแท๊กซี่นี้ ถ้าเป็นแท๊กซี่ไทย-ผู้โดยสารไทย ในประเทศไทย คงโดนแท๊กซี่ด่า หรือไม่ก็จัดแบบเบราๆ คือ จิกตาใส่  ไม่มาแชคแฮน อวยพรให้กันและกันโชคดี แล้วยิ้มปริ่มๆ แบบนี้หรอก...

แต่เพราะที่นี่คือ ฮานอย...หุหุ

 

บันทึกการเดินทางเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559 ณ กรุงฮานอย

อัพโหลดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 ณ กรุงฮานอย

อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ

บล็อกของ เก๋ อัจฉริยา

เก๋ อัจฉริยา
อาจจะจริงที่ใครหลายคนพูดว่าการติดคุกโดยไม่ขอประกันตัวและการอดอาหารของ “ไผ่ ดาวดิน” (เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม จากคดีแจกเอกสารไม่แสดงความเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญในตลาดอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ) ไม่มีพลังในเชิง “ยุทธศาสตร์” แม้ว่ามันคือความพยายามของสันติวิธีในการการปลุกกระแสเรื่องสิ
เก๋ อัจฉริยา
อยากให้ทุกคนดูตารางข้างล่างนี้ เมื่อวานฉันไปลุ้นผลการนับคะแนนและจดตัวเลขนี้มากับมือ
เก๋ อัจฉริยา
ห่านามนิง ชายร่างเล็ก อายุ 74 ปี อาจารย์สอนภาษาไทเมืองคองของผู้เขียน เป็นอดีตครูโรงเรียนมัธยม หัวหน้างานการศึกษาอำเภอบาเทื๊อก และรองประธานคณะกรรมการบริหาร (ตามลำดับ) ปัจจุบันเป็นครูสอนภาษาไทแทงหวาและนักวิจัยอิสระ ห่านามนิงเล่า[1] ให้ผู้เขียนฟังเกี่ยวกับเ
เก๋ อัจฉริยา
ภาพข้างล่างนี้เป็นการทานอาหารมื้อแรกของฉันในรอบ 2 ปี ที่พร้อมหน้าพร้อมตากับทุกคนในครอบครัวไทขาว อำเภอมายโจว (เมืองมุน) จังหวัดฮว่าบิ่ง ที่ฉันเคยไปอาศัยอยู่หลายเดือน ในทุกปี ตั้งแต่ทำปริญญาเอก ในปี 2008  (จริงๆ ทำปริญญาเอกและมาที่มายโจวแล้วแต่ปี 2007 เพียงแต่อยู่บ้านอื่น) ยกเว้นปี 2015 จนถึงป
เก๋ อัจฉริยา
ปกติเมื่อฉันมาถึงฮานอย ฉันก็ใช้บริการแท๊กซี่สนามบินนอยไบ เท่าที่ฉันสังเกต แท๊กซี่ส่วนใหญ่ เมื่อรู้ว่าฉันพูดภาษาเวียดนามได้ ก็ชอบคุยโน่นนี่นั่นกับฉัน พี่แท๊กซี่คนนี้ก็เหมือนกัน พี่แกเป็นผู้ชาย อายุน่าจะประมาณ 40 กว่าๆ เมื่อพี่แกเห็นฉันพูดภาษาเวียดกะแก แกถามว่าฉันเป็นคนช่าติอะไร พอบอกว่าไทย แกหันมา
เก๋ อัจฉริยา
วันที่ 18 มิถุนายน 2558 หลังจากที่เถ่ยซาว (อาจารย์ซาว) หย่อนลุงนิง (ห่านามนิง) และผู้เขียนไว้ที่โรงแรมที่ตัวอำเภอเถื่องซวนเมื่อเย็นวาน เช้าวันต่อมาเราจึงต้องไปวิจัยกับเครือข่ายใหม่ แต่ขอออกนอกเรื่องเพื่อขอบันทึกเกี่ยวกับความไฝ่รู้ของห่านามนิงสักหน่อย
เก๋ อัจฉริยา
มาเถื่องซวนครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17-19 มิถุนายน 2558 ผู้เขียนนัดกันไว้กับลุงนิงหรือห่านามนิงว่าจะไปเถื่องซวนด้วยกัน เพราะแกได้ทุนและร่วมทำวิจัยกับทางมหาวิทยาลัยห่งดึ๊ก (ĐH Hồng Đức) มหาวิทยาลัยประจำจังหวัดแทงฮว๋า เกี่ยวกับคนไทเสาะ (Thaí Gịo) ซึ่งมีอยู่มากในอำเภอเถื่องซวน (Thường Xuân) เดิมท
เก๋ อัจฉริยา
วันที่ 12 มิถุนายน 2558 ผู้เขียนซึ่งกำลังเก็บข้อมูลเพื่อทำวิจัยไทแดงได้กลับไปที่อำเภอบาเทื๊อก จังหวัดแทงฮว๋าอีกครั้ง ครั้งนี้ได้นัดหมายกับห่านามนิง (อดีตครูมัธยม หัวหน้าแผนการศึกษา และรองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอบาเทื๊อก) และห่ากงโหม่ว (อดีตเจ้าหน้าที่อำเภอบาเทื๊อก) ผู้ซึ่งเป็นครูผู้สอนภาษาไทแ
เก๋ อัจฉริยา
จากบทความเรื่อง “มหาวิทยาลัยที่ไม่มีนิสิต: กรณีนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวของ ม.นเรศวร” ตามลิ้งค์นี้ http://www.prachatai.com/journal/2015/05/59557  ซึ่งบทความดังกล่าวนั้น กล่าวถึงนโยบาย Green University ของมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อส่งเ
เก๋ อัจฉริยา
แม้จากประมาณการตัวเลขจากกรมปศุสัตว์พบว่ามีวัวเนื้อที่เกษตรกรไทยขุนเพื่อส่งออกในนาม “วัวไทย” ประมาณ 6 ล้านตัว แต่เชื่อหรือไม่ว่า วัวที่เอามาขุนจำนวนมากมายเหลือประมาณนั้นถูกนำเข้ามาจากประเทศพม่า แต่ละสัปดาห์ มีวัวประมาณ 3,000 – 5,000 ตัว หรือเดือนหนึ่งๆ ก็มีประมาณ 12,000 - 20,000 ตัว ได้ถูกนำข้ามแด