Skip to main content

คนซานฟรานทนไม่ไหว บริษัทเทคโนโลยีบุก ทำบ้านแพง ขนส่งมวลชนพัง ผู้เช่าเดิมถูกไล่ ธุรกิจท้องถิ่นต้องปิดตัว

Tech workers vs. The rest of the City

คนท้องถิ่นมองว่าพนักงานของบริษัทเหล่านี้แทบไม่ได้มอบอะไรกลับให้กับท้องถิ่นเลย เช่น บริการอาหารและซักรีดบริษัทอย่างกูเกิลก็จัดหาให้พนักงานฟรี ตลาดที่คนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีไปก็เป็นตลาดหรูๆ เก๋ๆ ที่คนท้องถิ่นไม่ได้ขายของ

กฎหมายปัจจุบันหลายอย่างเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจเทคโนโลยีและพนักงานของบริษัทเหล่านี้ที่มีกำลังซื้อสูงกว่า เช่นการยกเว้นภาษีกิจการเทคโนโลยี หรือ Ellis Act ที่อนุญาตให้ผู้ให้เช่ายกเลิกสัญญากับผู้เช่าได้ แม้ผู้เช่าไม่ได้ทำอะไรผิดก็ตาม โดยเปิดช่องว่า ผู้ให้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาได้หากกำลังจะเลิกกิจการ - ผู้ให้เช่าสามารถ "กำลังจะเลิกกิจการ" ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

หลายปีที่ผ่านมามีคนถูกไล่ออกจากบ้านเช่าก่อนหมดสัญญาจำนวนมากเพราะเจ้าของจะปล่อยให้ผู้เช่ารายใหม่ที่จ่ายแพงกว่า

เมื่อบ้านก็แพง ธุรกิจท้องถิ่นก็ทำไม่ได้ ทำให้คนท้องถิ่นจำเป็นต้องย้ายออกเป็นจำนวนมาก

ที่น่าโมโหสุดในสายตาคนท้องถิ่นคือ บริษัทเทคโนโลยีอย่างกูเกิล แอปเปิล และบริษัทอื่นๆ จัดรถชัตเติลบัสรับส่งพนักงานของตัวเอง และใช้ป้ายรถเมล์สาธารณะเป็นจุดจอดรับส่ง ซึ่งนอกจากจะทำให้บ้านละแวกป้ายรถเมล์แพงขึ้น 20% แล้ว ยังทำให้รถเมล์ของรัฐทำกำไรไม่ได้ และส่งผลต่อการเดินทางของคนที่ไม่ได้เป็นพนักงานบริษัทเหล่านี้หรือไม่ได้เดินทางไปทำงาน

“Public $$$$, Private Gains”

สถานะทางกฎหมายของรถบัสเอกชนเหล่านี้ยังคลุมเครือ และหลายคนก็ไม่พอใจที่นอกจากบริษัทเอกชนจะมาใช้โครงสร้างพื้นฐานที่ตัวเองไม่ได้ลงทุนแล้ว ยังจะสร้างผลกระทบต่อคนท้องถิ่นอีก

ทุกๆ วัน มีรถบัสของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้จอดที่ป้ายรถเมล์ของซานฟรานฯ ประมาณ 7,100 ครั้ง โดยไม่มีใบอนุญาตจอด (แต่ผู้บังคับใช้กฎหมายก็ไม่ได้ว่าอะไร) ทำให้รถเมล์ปกติที่จะเข้าจอดต้องล่าช้า และรถบัสเหล่านี้ไม่ได้จ่ายค่าบำรุงรักษาป้ายและระบบช่องทางรถเมล์ให้กับเมือง

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลท้องถิ่นซานฟรานซิสโกกำลังจะลงคะแนนรับ/ไม่รับร่างกฎหมายที่จะทำให้รถบัสดังกล่าวถูกกฎหมาย และให้รถบัสเหล่านี้ทุกคันต้องจ่ายเงิน 1 เหรียญทุก 1 ป้ายที่จอด ให้กับขนส่งมวลชนซานฟรานซิสโก มีการคำนวณว่าขนส่งมวลชนซานฟรานซิสโกจะได้รับเงินประมาณ 1.5 ล้านเหรียญต่อปี แต่เงินจำนวนนี้อย่างมากก็จะครอบคลุมเฉพาะต้นทุนในการดำเนินงาน และจะไม่ทำให้ขนส่งมวลชนซานฟรานซิสโกมีกำไรไปปรับปรุงบริการอะไรเพิ่มได้

ที่ร้ายคือ เพิ่งจะมีบันทึกจากฝ่ายการเดินทางของกูเกิลหลุดออกมา เชิญชวนพนักงานกูเกิลไปแสดงความเห็นสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว โดยในบันทึกมีสคริปต์คำพูดให้พนักงานเอาไปใช้ได้ด้วย ว่าควรจะพูดอย่างไรถึงจะดูดี เช่นบอกว่า ถ้าไม่มีรถบัสก็คงต้องขับรถและจะทำลายสิ่งแวดล้อม หรือพวกเขาสนับสนุนร้านค้าท้องถิ่นอยู่เรื่อยๆ

สถานการณ์ตอนนี้ตึงเครียดน่าดู ถึงขนาดกูเกิลต้องจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยเพื่อคุ้มครองรถชัตเติลบัสของตัวเอง หลังจากเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมปีที่แล้ว (2556) คนซานฟรานจำนวนนึงไปปิดล้อมรถของกูเกิล

เดินไปไหนย่อมมีรอยเท้า แต่บริษัทพวกนี้ตัวใหญ่ไปหน่อย ตีนเลยหนัก แถม "เผลอ" ไปเดินบนหัวชาวบ้านด้วย

ข้อมูลจากแคมเปญ "Heart of the City"

บล็อกของ bact

bact
คุณได้ยินคนร้องเพลงไหม?ร้องมาจากใจของคนที่โกรธ?นี่คือดนตรีของผู้คนที่จะไม่ยอมตกเป็นทาสอีกครั้งเมื่อเสียงเต้นของหัวใจคุณพ้องกับทำนองของกลองร้องก้องนั่นคือชีวิตที่จะเริ่มใหม่เมื่อวันพรุ่งรุ่งมา!
bact
โฆษณาโทรทัศน์ ช่วงพักครึ่งการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาครั้งที่ 69 เสาร์ที่ 2 ก.พ. 2556ปตท.สผ.ไทยออยล์PTT Global Chemicalsน้ำดื่มรีเจนซีPTT 
bact
ผมตามสัมมนา ‘การละเมิดลิขสิทธิ์บนสื่อออนไลน์’ ของสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ทางทวิตเตอร์ แท็ก #sonp วันนี้ คิดว่ามีจุดสับสนหลายจุด เลยขอโพสต์หน่อย1) ทวิตเตอร์ @SONPThai รายงานว่า @chavarong (ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) พูดว่า "pantip จะเพิกเฉยเมื่อมีคนมาโพสต์หัวข้อที่ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ได้ เจ้าของเว็บไซต์ต้องรับผิดชอบ ถือว่าผิดพ.ร.บ.คอมฯชัดเจน"
bact
จากกรณีหน้าเว็บกระทรวงวัฒนธรรม "ถูกแฮ็ก" หลังช่องสามประกาศงดฉาย "เหนือเมฆ 2" ต่อ และล่าสุดพบลิงก์เว็บพนันบอลเว็บกระทรวงด้วย ผมพยายามจะตอบบางคำถามที่ถามกันบ่อย พร้อมข้อสังเกตและข้อเสนอ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และการเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล