Skip to main content

นายยืนยง

 
ชื่อหนังสือ           :           นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย
ผู้แต่ง                 :           วิสุทธิ์ ขาวเนียม
ประเภท              :           กวีนิพนธ์รางวัลนายอินทร์อะวอร์ดครั้งที่ 10
จัดพิมพ์โดย        :           แพรวสำนักพิมพ์
\\/--break--\>

รางวัลนายอินทร์อะวอร์ดครั้งที่ 10 ได้ประกาศผลและมอบรางวัลกันไปแล้ว ใครที่ด้อม ๆ มอง ๆ รางวัลนี้อยู่บ้าง ย่อมได้กลิ่นวับ ๆ แวม ๆ อยู่บ้างแหละน่า ในกรณีที่ตามกติกาการประกวดนั้น ได้ระบุไว้ชัดว่า ผลงานต้องไม่เคยเผยแพร่ที่อื่นมาก่อน อันถือเป็นกฎที่ถูกนำมาใช้เป็นกฎในการประกวดวรรณกรรมชั้น

ต่าง ๆ หลายรางวัล นับเป็นกฎยอดฮิตที่ทั้งคณะกรรมการและผู้ส่งประกวดนิยมทำให้มันเป็นเรื่องวับ ๆ แวม ๆ ไปได้อย่างครื้นเครง เช่นเดียวกับรางวัลนายอินทร์ครั้งนี้

เนื่องจากมีบทกวีบางบทของพี่กวีบางคนเคยเผยแพร่มาแล้วในสื่อประเภทอินเตอร์เน็ต หรือเผยแพร่กัน

สด ๆ ในงานอ่านบทกวีตามสถานชุมนุมชน ทั้งที่หนึ่งในกรรมการก็เป็นผู้รับรู้ว่างานกวีนิพนธ์ชั้นนั้นได้ถูกเผยแพร่แล้วจนเป็นที่ประจักษ์แก่ตาของตัวเองและผู้อื่น แต่ทั่นกรรมการก็ยังดันทุรังหยิบมาให้เข้ารอบลึก ไปได้หน้าตาเฉย

อีอย่างงี้เขาจะเรียกว่าอะไรดีล่ะ กรรมการตาบอดเรอะ ... ก็เปล่า จะเรียก "ฮั้ว" ตามประสาวงข้าราชการหรือการเมืองเรอะ ก็ฟังระคายรูหูไปหน่อย เรื่องอย่างงี้คนวงในเขาทราบกันดี แต่มิอาจเผยแพร่ให้เสียภาพพจน์กวีผู้ทรงความศักดิ์สิทธิ์ไปได้ ส่วนไอ้ที่เคยมีคนป้องปากกระซิบกระซาบมาว่า มีการเล่นพรรคเล่นพวกกันฉันญาติน้ำหมึกนั้น งานนี้ก็เห็นจะมีมูลละซีทั่น ไม่รู้พากันเฮโลชิงชังรังเกียจนักการเมืองอีท่าไหน ถึงได้ขอยืมนิสัยเลวของนักการเมืองมาใช้ได้อย่างหน้าตาเฉย

ครั้นได้หยิบมาอ่านบรรดาบทกวีที่นำมาเข้าเล่มพิมพ์จำหน่าย เราก็ต้องพยักหน้าหงึก ๆ ยินยอมพร้อมใจรับคอนเซ็ปต์แบบ "หลากหลายทัศน์อย่างกลมกลืน" อย่างหน้าชื่นอกตรม มีทั้งนิยมฉันทลักษณ์และไม่นิยมฉันทลักษณ์กันเลยทีเดียว แหม..ใจกว้างเหลือเกิน (น่าสังเกตว่าเวลาที่มีการประกวดกวีนิพนธ์กันเมื่อไหร่ หากกรรมการตัดสินให้กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ได้รับรางวัล ก็จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า กรรมการใจกว้างอย่างโง้นอย่างงี้มั่งล่ะ กรรมการใจถึงมั่งล่ะ) งานนี้ถือว่าเป็นการรวบรวมกวีนิพนธ์เข้าไว้ด้วยกันเช่นเดียวกันงานสันทนาการ ติดแต่มีสีสันที่จืดชืดไปหน่อยเท่านั้นเอง

ไม่ว่ากัน เพราะเรื่องนี้ถือเป็น "รสนิยมของกรรมการ" ทั่นต่าง ๆ นั่นแหละ ดูหน้ากรรมการก็รู้แล้วล่ะว่าผลงานที่ได้รางวัลจะชวนซี๊ดดดหรือชวนเซ็งงง ปานไหน ก็น่าเห็นใจ เพราะทั่นกรรมการอาจยังปรับตัวปรับทัศนะไม่ทัน เนื่องจากหน้าที่อันหนักหนาในอันที่จะต้องตัดสินกวีนิพนธ์ทั่วฟ้าเมืองไทยนั้นก็สาหัสเอาการไม่ใช่เล่น

อย่ากระนั้นเลย เรามาดูไอ้ที่เข้าตากันสักบทเถอะ ก็กวีนิพนธ์ที่ได้รางวัลชนะเลิศนั่นยังไงล่ะ

นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย ผลงานของ วิสุทธิ์ ขาวเนียม

ฉากแรกเป็นเรื่องของเนื้อหาที่ถูกนำมาเขียนถึงจนบอบช้ำไปหมดแล้ว นั่นคือเรื่องการล่มสลายของภาคเกษตรกรรม หรือชาวนาตายแล้วนั่นเอง

ฉะนั้นนักเขียน กวี โปรดทราบ เมื่อชาวนาตายแล้ว ก็ได้โปรดอย่าตายตามชาวนาไปด้วย เพราะหากท่านลุ่มหลงงมงายกับการเขียนถึงภาคเกษตรกรรมที่ล่มสลายอย่างไม่ลืมหูลืมตาเช่นเดิมล่ะก็ มันก็เท่ากับว่าท่านได้ทำอัตวินิบาตกรรมเท่านั้นเอง

แต่วิสุทธิ์ ขาวเนียมหาได้ทำอัตวินิบาตกรรมไม่ เพราะเขาจงใจเลือกใช้ "มุมมอง" ที่ดู "ซับซ้อน" ขึ้นมา  ซึ่งว่าไปแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยพยุงเนื้อหาให้วิเศษวิโสขึ้นแต่อย่างใด หากแต่ "ตัวบท" นั้นเองต่างหากเล่าที่ได้สะท้อนนัยยะแฝงซึ่งชัดเจนมากกว่าเนื้อหาที่ว่าชาวนาตายแล้วออกมาอย่างชัดถ้อยชัดคำ

(ใครอยากอ่านก็เชิญร้านหนังสือได้ตามสะดวก ฉันไม่หยิบฉวยมาให้อ่านกันตรงนี้นะจ๊ะ ขออภัย )
(ใครอ่านตรงนี้แล้ว ไม่นึกอยากอ่านต่อก็ตามสะดวกเหมียนกัลล์)

มุมมองที่ดูซับซ้อนนั้นคือ
ฉันดูรายการถ่ายทอดสดพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญผ่านหน้าจอทีวี
ตากล้องรุ่นใหม่โฟกัสภาพไปที่นัยน์ตาของโคเสี่ยงทายในพิธี
นัยน์ตาของโคเสี่ยงทายสะท้อนภาคเกษตรที่ล่มสลาย
จะเห็นได้ว่า กว่าที่ "ฉัน" จะได้รับรู้ "สาร" คือ ความล่มสลายของภาคเกษตร จนถึงขั้นสะเทือนใจนั้น  
"สาร" ต้องผ่านนัยน์ตาของตากล้อง ซึ่งย่อมมองผ่านเลนส์กล้อง ผ่านคลื่นดาวเทียมในชั้นบรรยากาศ

ผ่านตัวกลางบรรดามีของเทคโนโลยี มาถึงจอรับภาพทีวี สุดท้ายมาถึง "ฉัน" แต่ทั้งนี้ "สาร" ดังกล่าวนั้น วิสุทธิ์จงใจที่จะให้ตากล้องโฟกัสภาพไปที่ นัยน์ตาขดองโคเสี่ยงทาย เพื่อให้โคเสี่ยงทายเป็นผู้ถ่ายทอด "สาร" ที่แท้จริง

ในขณะที่ "ฉัน" ตื้นตันใน "พิธีกรรม" จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่ "หลวง" จัดขึ้นเพื่อปลุกปลอบขวัญชาวนา และฉันยังตื้นตันว่าหลวงยังเห็นคุณค่าของภาคเกษตรกรรมของชาวนานั้น "ฉัน" ต้องสะเทือนใจกับ "สาร" ที่โคเสี่ยงทายเป็นผู้ถ่ายทอดในขั้นสุดท้าย

ฉะนั้น "ฉัน" ย่อมเป็นตัวแทนของคนไทยในภาคเกษตรหรือคนไทยที่มีสายสัมพันธ์กับภาคเกษตรด้วย เนื่องจากการเลือกใช้ "พิธีกรรม" นี้ ย่อมแสดงออกชัดเจนอยู่แล้วว่า เป็นพิธีกรรมที่หลวงบัญญัติขึ้นเพื่อภาคเกษตรโดยเฉพาะ

นอกจากนั้นวิสุทธิ์ยังให้ภาพของ "ราษฎร" ที่ "แย่งชิงกันจนลนลาน" เก็บ "ของหลวง" ที่ "คนของหลวง" โปรยลงมาจาก "หาบทอง" ภาพนี้ให้ความรู้สึกราวกับราษฎรกำลังแย่งชิงกันเก็บของวิเศษที่โปรยลงมาจากสรวงสวรรค์

มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า มีนัยยะที่แฝงมากับเนื้อหา "ภาคเกษตรกรรมล่มสลาย" เพิ่มมาอีก

1.การเดินทางของ "สาร" ที่ต้องผ่าน "ตัวกลาง" หลากหลาย
2.รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง "หลวง" กับ ชาวนา ที่นอกจากความสะเทือนใจธรรมดา ๆ ที่นัยน์ตาของโคเสี่ยงทายเป็นผู้ถ่ายทอดแล้ว เราย่อมรู้สึกได้มากขึ้นอีกเมื่อชาวนา หรือ ราษฎร เป็นได้ก็เพียงฝ่าย "รับ" ของวิเศษจากหลวง และยังแสดงให้เห็นความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่าง "หลวง" กับ "ราษฎร" ได้อย่างชัดเจน ราวกับเขาได้เปรยขึ้นด้วยความอิดหนาระอาใจ ที่ระคนกันอยู่กับความเศร้าที่ไม่อาจเยียวยาแก้ไขได้

เพราะราษฎรเป็นเพียงคนกลุ่มใหญ่ที่แทบจะสิ้นไร้ไม้ตอก แม้มีที่ดินทำกินก็ไม่อาจประคับประคองชีวิตให้ยั่งยืนได้ด้วยตัวเอง ต้องคอยพึ่งขวัญกำลังใจจาก "หลวง" เป็นประจำทุกปี ขณะที่หลวงก็ทำได้แค่ประกอบพิธีกรรมตามวัตรกิจอันพึงกระทำตามหลักโบราณราชประเพณีเท่านั้น มันดูเป็นแค่หน้าที่อันฉาบฉวยไม่ต่างจากสีทองที่ฉาบเคลือบตามหาบทอง และถาดทองที่ใช้บรรจุภัตตาหารให้พระโคเสี่ยง

เหล่านี้เป็นนัยยะที่แฝงมาเพื่อเพิ่มความสะเทือนใจให้กับ "สาร" ที่เรียกได้ว่าบอบช้ำซ้ำซาก
เพิ่มอย่างไร ตอบคือ เพิ่มให้ภาคเกษตรเป็นภาคที่น่าเวทนาสงสารที่สุด ถูกหลอกได้ง่ายที่สุด และงมงายที่สุด
ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ตากล้องที่ถือเป็นตัวกลางแห่งการสื่อสาร ถามว่าทำไมต้องจงใจใช้
"นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย" เป็นตัวถ่ายทอด "สาร"
เพราะโคพูดไม่ได้เหมือน "หลวง" กับ "ราษฎร" ใช่หรือไม่
ถ้าใช่ นั่นเท่ากับว่า ปากที่พูดได้ย่อมไม่ใช่ "ตัวกลาง"ที่ซื่อสัตย์พอใช่ไหม
หรือเพราะโคเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับการเกษตรมาช้านาน ตีนติดดินพอ ๆ กับชาวนา แต่ทำไมไม่เลือกใช้ "ปาก" ชาวนาในการถ่ายทอด

อีกข้อหนึ่งคือ ขั้นตอนในการสื่อสาร
กว่า "สาร" จะเดินทางมาถึงผู้รับ คือ "ฉัน" นั้น ก็อย่างที่บอก ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน
นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า วิสุทธิ์ต้องการจะเยาะหยันว่าเป็นเพราะขั้นตอนอันซับซ้อนของ "หลวง" ด้วยหรือเปล่าที่ทำให้ปัญหาลุกลามจนเกินเยียวยา

สำหรับกวีนิพนธ์บทที่ได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ ฉันถือว่าวิสุทธิ์ได้แสดงออกอย่างลึกซึ้งกว่ากวีนิพนธ์แนวชาวนาตายแล้วอีกหลายต่อหลายบทในตลาดกวีนิพนธ์ขณะนี้ เพราะนอกจากจะบอกภาพแล้ว เขายังวิพากษ์วิจารณ์ทั้ง "หลวง" และ "ราษฎร" ไปพร้อมกัน

สำหรับใครที่ต้องการ "ทางออก" ให้กับปัญหาชาวนาตายแล้ว หรือมีทางออกอยู่แล้วคือ เศรษฐกิจพอเพียงล่ะก็ ไม่จำเป็นต้องอ่านกวีนิพนธ์ก็ได้ ในเมื่อคุณเชื่อถือในเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ก็จงเชื่อไปเถิด เพราะในโลกของวรรณกรรมนั้น "ทางออก" ไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาแต่อย่างเดียว

ไม่เชื่อลองไปถามทั่นกรรมการตัดสินวรรณกรรมดูก็ได้ ไม่แน่คุณกับทั่นอาจเป็นญาติน้ำหมึกกันก็เป็นได้.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ถ้าเปรียบสวนหนังสือเหมือนผืนดินแห่งหนึ่งแล้วล่ะก็ ผู้เขียนเองก็ได้แสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ จากการอ่านผลงานทางวรรณกรรมของบรรดานักประพันธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะรูปแบบเรื่องสั้น นวนิยาย หรือกระทั่งกวีนิพนธ์บางเล่ม ข้อเขียนที่มีต่อหนังสือบางเล่มหรือเรื่องบางเรื่อง อาจแบ่งเป็นผลรับตามสูตรคณิตศาสตร์ได้ไม่ชัดเจน ใช้หลักต้องใจต้องอารมณ์และความนึกหวังเป็นหลักก็ว่าได้
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : จักรวาลผลัดใบ การเกิดใหม่ของจิตสำนึก ผู้เขียน : กลุ่มจิตวิวัฒน์ ประเภท : ความเรียง พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน  
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ           :           ชะบน ผู้เขียน               :           ธีระยุทธ  ดาวจันทึก ประเภท              :           นวนิยาย   พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2537 จัดพิมพ์โดย        :    …
สวนหนังสือ
นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มนุษย์หมาป่า ผู้แต่ง : เจน ไรซ์ ผู้แปล : แดนอรัญ แสงทอง จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์หนึ่ง พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : บันทึกนกไขลาน (The Wind-up Bird Chronicle) ผู้เขียน : ฮารูกิ มูราคามิ (Haruki Murakami) ผู้แปล : นพดล เวชสวัสดิ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แม่ไก่ขยัน   “หนูอยาก...อยากจะได้มีดผ่าตัดสักเล่ม หนูจะกรีดผ่า ชะโงกหน้าเข้าไปมองข้างใน ไม่ใช่ผ่าศพคนนะ... แค่ก้อนเนื้อแห่งความตาย หนูแน่ใจว่าจะต้องมีอะไรสักอย่างซ่อนอยู่ในนั้น ก้อนกลมเหนียวหยุ่นเหมือนลูกซอฟต์บอล แก่นกลางแข็งเป็นเส้นประสาทพันขดแน่น หนูอยากหยิบออกมาจากร่างคนตาย เอาก้อนนั้นมาผ่าดู อยากรู้ว่าเป็นอะไรกันแน่... (ภาคหนึ่ง, หน้า 36)
สวนหนังสือ
นายยืนยง  เมื่อวานนี้เอง ฉันเพิ่งถามตัวเองอย่างจริงจัง แบบไม่อิงค่านิยมใด ๆ ถามออกมาจากตัวของความรู้สึกอันแท้จริง ณ เวลานี้ว่า ทำไมฉันชอบอ่านวรรณกรรมมากที่สุดในบรรดาหนังสือทั้งหลาย คุณเคยถามตัวเองด้วยคำถามเดียวกันนี้หรือเปล่า
สวนหนังสือ
นายยืนยง ฉันวาดหวังสวยหรูไว้กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงบนผืนดินห้าไร่เศษ ที่ดินผืนสวยซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยปัจจัยแห่งกสิกรรม มีไม้ใหญ่ให้ร่มเงา มีบ่อน้ำขนาดใหญ่สองบ่อ และกระท่อมน้อยบนเนินเตี้ย ๆ รายล้อมไปด้วยทุ่งข้าวเขียวขจี แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน มายาแห่งหวังก็พังทลายลงต่อหน้าต่อตา ฉันจำเก็บข่มความขมขื่นไว้กับชีวิตใหม่ ในที่พำนักใหม่ ซึ่งไม่ใช่ผืนดินแห่งนี้
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ  : ความมั่งคั่งปฏิวัติ Revolutionary Wealth ผู้เขียน  : Alvin Toffler, Heidi Toffler ผู้แปล  : สฤณี  อาชวานันทกุล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน   พิมพ์ครั้งที่ 2  มกราคม  2552
สวนหนังสือ
  และแล้วรางวัลซีไรต์ปี 2552 รอบของนวนิยายก็ประกาศผลแล้ว ปรากฏเป็นผลงานนวนิยายเรื่อง ลับแลแก่งคอย ของอุทิศ เหมะมูล โดยแพรวสำนักพิมพ์เป็นผู้จัดพิมพ์ (ประกาศผลเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา)ใครเชียร์เล่มนี้ก็ได้ไชโยกัน ฉันเองก็มีเล่มนี้เป็นหนึ่งในหลายเล่มด้วย รู้สึกสะใจลึก ๆ ที่อุทิศได้ซีไรต์ เนื่องจากเคยเชื่อว่า งานดี ๆ อย่างที่ใจเราคิดมักพลาดซีไรต์เป็นเนืองนิตย์ ผิดกับคราวนี้ที่งานดี ๆ ของนักเขียน "อย่างอุทิศ" ได้รางวัล
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ           :           นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย ผู้แต่ง                 :           วิสุทธิ์ ขาวเนียม ประเภท              :           กวีนิพนธ์รางวัลนายอินทร์อะวอร์ดครั้งที่ 10 จัดพิมพ์โดย        : …
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ลับแล, แก่งคอยผู้แต่ง : อุทิศ เหมะมูลประเภท : นวนิยายจัดพิมพ์โดย : แพรวสำนักพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก 2552
สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประเทศใต้ผู้เขียน : ชาคริต โภชะเรืองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ก๊วนปาร์ตี้ ข้อเด่นอย่างแรกที่เห็นได้ชัดจากนวนิยายเรื่องประเทศใต้ หนึ่งในผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปีนี้ คือ วิธีการดำเนินเรื่องที่กระโดดข้าม สลับกลับไปมา อย่างไม่อาจระบุว่าใช้รูปแบบความสัมพันธ์ใด ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง หรืออย่างที่สกุล บุณยทัต เรียกในบทวิจารณ์ว่า "ไร้ระเบียบ" แต่อย่าลืมว่านวนิยายเรื่องนี้ได้เริ่มต้นที่ "ชื่อ" ของนวนิยาย ซึ่งในบทนำได้บอกไว้ว่า "ผม" ได้รับต้นฉบับนวนิยายเรื่องหนึ่งจาก "เขา" ในฐานะที่เป็นคนรู้จักกัน มันมีชื่อเรื่องว่า…