Skip to main content

‘นายยืนยง’

20080220 ภาพปกโศกนาฎกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์

ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day
ประเภท            :    วรรณกรรมแปล
จัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์
พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙
ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ
ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์

เราต่างเดินเท้าผ่านเวลาของวันคืน วนรอบอยู่ในสังคม ในโลก และในเรา  
ชีวิตอาจเป็นเรื่องน่าเศร้า อาจเป็นมากกว่าโศกนาฏกรรมในนวนิยาย หรือชีวิตจะไม่ใช่...

เคยถามตัวเองว่า ทำไมการเผชิญหน้ากับปัญหาที่ล้อมรุมเข้ามาจึงเป็นความยากหนึ่งที่หลายครั้งถึงกับต้องยอมจำนน แต่ทำไมเมื่อเราเลือกหยิบหนังสือบางเล่มเพื่อผ่อนเกลียวของความเศร้า หนังสือนั้นกลับตรึงเราไว้กับเรื่องราวเหล่านั้นทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเราสักนิด ขณะเดียวกันเรายังมองเห็นตัวตนของเราในนั้นได้ โดยเฉพาะกับนวนิยาย

นอกเหนือจากการได้สนทนากับตัวละครในเรื่องแล้ว ระหว่างการอ่านอันดื่มด่ำ เราก็ค้นพบว่าปัญหาอันทุกข์เศร้าที่มีอยู่กลับไม่เผยตัวตนให้เจ็บปวด หรือที่ผ่านมาชีวิตเราช่างไร้สุนทรียะ เราจึงได้เสพมันราวกับกระหายเต็มประดา

นวนิยายแต่ละเรื่องต่างมีรสสัมผัสผิดแผกกันไป ความพริ้งเพริศของภาษา บรรยากาศเร้าชวนหลงใหล ตัวละครที่มีบุคลิกโดดเด่นสะดุดตา ซึ่งประกอบกันเป็นนวนิยายนั้น ล้วนผ่านกลวิธีการเขียนของนักเขียน โดยแต่ละคนก็ย่อมคิดค้นหาศิลปะการเล่าที่เหมาะสม แตกต่าง และสร้างสรรค์ใหม่

ทฤษฎีว่าด้วยศิลปะการเขียนมีให้ศึกษาไม่รู้จบ แม้นเรื่องราวเหล่านั้นจะถูกถ่ายทอดครั้งแล้วครั้งเล่า แต่รสสัมผัสที่ได้กลับไม่เคยเหมือนเดิม ดังเช่นที่เราเคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของระบบศักดินาแบบอังกฤษ รู้จักธรรมเนียม มารยาท แบบแผนต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของคนอังกฤษมาบ้างแล้ว แต่กับนวนิยายเล่มนี้เราจะต้องตื่นตะลึงกับการถ่ายทอดอย่างร่วมสมัยแต่คงไว้ซึ่งความคลาสสิคยิ่ง

เถ้าถ่านแห่งวารวัน บทประพันธ์ของคาสึโอะ อิชิงุโระ เป็นนวนิยายที่เขียนออกมาได้อย่างหมดจดงดงามและประณีตที่สุด และเหมาะสมยิ่งที่ได้รับรางวัลเกียรติยศ BOOKER PRIZE ปี 1989   

คาสึโอะ อิชิงุโระ เกิดที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ.1954 และย้ายไปพำนักที่ประเทศอังกฤษเมื่อปี 1960  สำเร็จการศึกษาด้านภาษาอังกฤษและปรัชญาจากมหาวิทยาลัยเคนต์ที่แคนเทอร์เบอรี ผลงานของเขาล้วนโดดเด่นและได้รับรางวัลแทบทั้งสิ้น

นอกจากนั้น ต้องยกย่อง นาลันทา คุปต์ผู้ถ่ายทอดจากภาษาอังกฤษสู่ภาษาไทยให้เราได้อ่าน ต้องชื่นชมในการเลือกใช้คำ การวางประโยคอันสละสลวยและมีนัยยะต่อความรู้สึกนึกคิดอีกด้วย

นวนิยายที่ประณีตและโดดเด่นยิ่งเรื่องนี้ เปี่ยมด้วยความสดใหม่ ลึกซึ้งและอ่อนโยน  แต่ข้อสำคัญน่าศึกษาสำหรับนักอ่านหรือนักเขียนก็คือศิลปะแห่งการเล่าเรื่องนั่นเอง         

การจะพิจารณาถึงข้อดังกล่าวนั้นเราไม่อาจแยกในส่วนที่เป็นรูปแบบของการเล่าออกจากแนวคิดทางด้านศีลธรรมของเรื่องได้ชัดเจน แม้จะบอกได้อย่างชัดเจนว่าศีลธรรมของเรื่องมุ่งเน้นในการอธิบายถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในสถานภาพที่ต่างกัน รวมทั้งเหตุผลของการนับถือตนเองด้วย
        
เถ้าถ่านแห่งวารวัน เป็นเรื่องราวที่ถูกเล่าผ่านมุมมองของตัวละครเอกที่เป็นพ่อบ้านในคฤหาสน์ดาร์ลิงตันฮอลล์ ในยุคที่ความสับสนระหว่างกลุ่มชนที่ยึดถือขนบแบบแผนอันมีมาเนิ่นนานกับความคิดที่จะก้าวให้ทันโลกสมัยใหม่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

นวนิยายเรื่องนี้ได้สนทนากับผู้อ่านด้วยอารมณ์ของโศกนาฏกรรมตลอดทั้งเรื่อง แต่เราจะไม่เห็นหยาดน้ำตาหรือร่องรอยของความเศร้าโศกนั้นเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะรุนแรงร้ายกาจเพียงใดในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง แต่สำหรับพ่อบ้านอย่างสตีเวนส์ ผู้สูญเสียพ่อและคนรัก รวมทั้งตระหนักในความพ่ายแพ้ต่อยุคสมัยของเจ้านายผู้ที่เขามอบความจงรักภักดีไว้แทบเท้า

จากที่ได้เกริ่นไว้ว่ารูปแบบของศิลปะการเล่าเรื่องนั้นน่าสนใจศึกษาเพียงไร อาจสรุปได้อย่างชัดถ้อยชัดคำว่า เถ้าถ่านแห่งวารวันเป็นโศกนาฏกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์ที่ประณีตงามยิ่ง โดยเน้นย้ำว่าผู้เขียนได้ใช้วิธีการที่ละเลยต่อรูปแบบดั้งเดิม ทั้งยังมีทีท่าไม่สนใจต่อเอกภาพของเรื่อง แต่องค์ประกอบทุกส่วนล้วนเป็นบูรณภาพอย่างร้ายกาจเหลือเชื่อ เป็นความประสานลงตัวที่ชวนให้ตื่นตะลึงทีเดียว

ว่าด้วยการละเลยรูปแบบ หาใช่มีความหมายไปในทางที่เรียกกันไปอย่างไร้ความรับผิดเลย หากหมายถึงการละเลยรูปแบบซึ่งจงใจร้อยรัดไว้อย่างประณีตเหมือนอย่างจิตรกรรมในแนวทางของอิมเพรสชั่นนิสม์ โดยผู้เขียนอาศัยหลักจิตวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นแนวทางในการตรึงผู้อ่านไว้กับเรื่องโดยตลอด เป็นวิธีที่เรียกว่าเร้าความสนใจไปเรื่อย ๆ แทนที่จะทำให้ผู้อ่านใฝ่หาถึงแต่ตอนจบอันสมบูรณ์อย่างเดียวเท่านั้น และถือเป็นวิธีการที่ยากยิ่ง เนื่องจากการเน้นความเป็นไปของเรื่องราวในระหว่างการดำเนินเรื่อง ต้องอาศัยความสอดคล้องมากกว่าบูรณภาพของเรื่อง แต่ยิ่งอ่านไปเรื่อย ๆ ก็จะพบว่าช่างเต็มไปด้วยบูรณภาพยิ่ง แม้กระทั่งการเปรียบเปรยในช่วงแรก ยกตัวอย่างหน้า 37
    
เมื่อผมยืนอยู่บนชะง่อนผาสูงยามเช้าและมองเห็นผืนดินเบื้องหน้านั้น ผมสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่หาได้ยากยิ่ง แต่ไม่มีทางจะเป็นอื่นไปได้นั้นได้อย่างชัดเจน  นั่นคือความรู้สึกว่ากำลังอยู่เบื้องหน้าความยิ่งใหญ่ เราเรียกแผ่นดินของเรานี้ว่า บริเตนใหญ่ และก็อาจจะมีบางคนที่เชื่อว่านั่นออกจะเป็นการทะนงตัวไปเสียหน่อย แต่ผมก็กล้าพูดว่า เพียงแค่ภูมิทัศน์ของประเทศเราก็พอให้ใช้คำคุณศัพท์ที่เลิศลอยนั้นได้อย่างไม่ละอายแล้ว  ...ฯลฯ ...  

ผมก็จะบอกว่าเป็นเพราะไม่มีความน่าตื่นตาหรือน่าทึ่งอย่างโจ่งแจ้งนั่นแหละที่ทำให้ความงามของประเทศเราพิเศษกว่าใคร สิ่งสำคัญคือความเยือกเย็นของความงามนั้น ความรู้สึกสงบใจของมัน เหมือนกับแผ่นดินรู้ตัวว่างดงาม รู้ตัวว่ายิ่งใหญ่และไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องประกาศก้อง เมื่อเทียบกันแล้ว ทิวทัศน์ประเภทที่มีให้เห็นในที่อย่างแอฟริกาหรืออเมริกานั้น ถึงแม้จะน่าตื่นเต้นเพียงไร แต่ผมก็แน่ใจว่าผู้ที่มองอย่างเป็นกลางจะเห็นว่าด้อยกว่าเพราะการป่าวร้องอย่างไม่สมควรนั่นเป็นแน่...

จากย่อหน้าดังกล่าว จะเห็นว่ากระแสความคิดของสตีเวนส์เมื่อได้เห็นทัศนียภาพของประเทศ แม้เป็นจะเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเล็กน้อยของนวนิยายทั้งเล่ม แต่เราจะได้พบกับเรื่องราวย่อย ๆ ที่เป็นความสมดุลเชื่อมโยง สอดคล้องกันไปทั้งหมดกับเรื่องราวย่อยอื่นของเรื่องและประสานกันได้อย่างแนบเนียนกับบูรณภาพและศีลธรรมของเรื่อง

นอกเหนือจากข้อสำคัญดังกล่าวแล้ว ยังมีการประสานขององค์ประกอบอื่นอีกมากมาย เช่นตัวละครที่มีทั้งจากการแต่งขึ้นใหม่และตัวละครที่มีชีวิตอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เช่น จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ นักเขียนบทละคร, ศาสตราจารย์เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษผู้ได้รับสมญานามว่าบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ หนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญของเขาคือ การวิพากษ์สนธิสัญญาแวร์ซายส์ว่าจะทำให้เศรษฐกิจของยุโรปทั้งหมดต้องพินาศ (หน้า 84 ) ฯลฯ   ภายใต้มุมมองและกระแสคิดของสตีเวนส์ พ่อบ้านประจำคฤหาสน์ฯ ที่ถูกกระตุ้นด้วยสภาพแวดล้อม ผู้คน สังคมภายนอกคฤหาสน์ เรื่องราวในอดีตอันยิบย่อยก็ค่อย ๆ ผลิเผยออกมาเป็นเรื่องราวจากความทรงจำ

ศิลปะการเล่าเรื่องดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นดุมล้อแห่งสุนทรียภาพที่เฝ้าปลอบประโลมมนุษยชาติได้เลยทีเดียว  แม้บางคนอาจเคยรู้สึกว่า ทำไมต้องเสียเวลากับเรื่องโศกนาฏกรรมด้วยเล่า ในเมื่อชีวิตจริงน่าเศร้าเสียยิ่งกว่านิยาย

แต่กับโศกนาฏกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์เล่มนี้
ทำให้เราคงอยู่กับความเศร้าโศกได้อย่างเข้าอกเข้าใจ ทั้งสุขุมเยือกเย็นและสง่างาม.


            

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 
สวนหนังสือ
นายยืนยง   พัฒนาการของกวีภายใต้คำอธิบายที่มีอำนาจหรือวาทกรรมยุคเพื่อชีวิต ซึ่งมีท่าทีต่อต้านระบบศักดินา รวมทั้งต่อต้านกวีราชสำนักที่เป็นตัวแทนของความเป็นชาตินิยม ต่อต้านระบอบราชาธิปไตย ต่อต้านไปถึงฉันทลักษณ์ในบางกลุ่ม ต่อต้านทุนนิยมและจักรวรรดิอเมริกา ขณะที่ได้ส่งเสริมให้เกิดอุดมการณ์ประชาธิปไตยในยุคก่อนโน้น มาถึงพ.ศ.นี้ ได้เกิดเป็นปรากฏการณ์ทวนกระแสเพื่อชีวิต ด้วยวิธีการปลุกความเป็นชาตินิยม ปลูกกระแสให้เรากลับมาสู่รากเหง้าของเราเอง
สวนหนังสือ
นายยืนยง บทความนี้เกิดจากการรวบรวมกระแสคิดที่มีต่อกวีนิพนธ์ไทยในรุ่นหลัง เริ่มนับจากกวีนิพนธ์แนวเพื่อชีวิตมาถึงปัจจุบัน  และให้น้ำหนักเรื่อง “กวีกับอุดมคติทางกวีนิพนธ์”
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา                  Ageless Body, Timeless Mind เขียน : โชปรา ดีปัก แปล : เรืองชัย รักศรีอักษร พิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2551   แสนกว่าปีมาแล้วที่มนุษย์พัฒนากายภาพมาถึงขีดสุด ต่อนี้ไปการพัฒนาทางจิตจะต้องก้าวล้ำ มีหนังสือมากมายที่กล่าวถึงวิธีการพัฒนาทักษะทางจิต เพื่อให้อำนาจของจิตนั้นบันดาลถึงความมหัศจรรย์แห่งชีวิต หนึ่งในนั้นมีหนังสือที่กล่าวอย่างจริงจังถึงอายุขัยของมนุษย์ ว่าด้วยกระบวนการรังสรรค์ชีวิตให้ยืนยาว…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชีวประวัติของนักเขียนหนุ่ม กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ในความจดจำของฉัน เป็นเพียงภาพร่างของนักเขียนในอุดมคติ ผู้ซึ่งอุทิศวันเวลาของชีวิตให้กับงานเขียนอย่างเคร่งครัด ไม่มีสีสันอื่นใดให้ฉันจดจำได้อีกมากนัก แม้กระทั่งวันที่เขาหมดลมหายใจลงอย่างปัจจุบันทันด่วน ฉันจำได้เพียงว่าเป็นเดือนกุมภาพันธ์...
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : แสงแรกของจักรวาล ผู้เขียน : นิวัต พุทธประสาท ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2551   ชื่อของนิวัต พุทธประสาท ปรากฎขึ้นในความประทับใจของฉันเมื่อหลายปีก่อน ในฐานะนักเขียนที่มีผลงานเรื่องสั้นสมัยใหม่ เหตุที่เรียกว่า เรื่องสั้นสมัยใหม่ เพราะเรื่องสั้นที่สร้างความประทับใจดังกล่าวมีเสียงชัดเจนบ่งบอกไว้ว่า นี่ไม่ใช่วรรณกรรมเพื่อชีวิต... เป็นเหตุผลที่มักง่ายที่สุดเลยว่าไหม
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : คนรักผู้โชคร้าย ผู้แต่ง : อัลแบร์โต โมราเวีย ผู้แปล : ธนพัฒน์ ประเภท : เรื่องสั้นแปล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2535  
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : คุณนายดัลโลเวย์ (Mrs. Dalloway) ผู้แต่ง : เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ผู้แปล : ดลสิทธิ์ บางคมบาง ประเภท : นวนิยายแปล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ชมนาด พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2550
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : จำปาขาว ลาวหอม (ลาวใต้,ลาวเหนือ) ผู้แต่ง : รวงทอง จันดา ประเภท : สารคดี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทางช้างเผือก พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2552 ยินดีต้อนรับสู่พุทธศักราช 2553 ถึงวันนี้อารมณ์ชื่นมื่นแบบงานฉลองปีใหม่ยังทอดอาลัยอยู่ อีกไม่ช้าคงค่อยจางหายไปเมื่อต้องกลับสู่ภาวะของการทำงาน
สวนหนังสือ
“อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง” อาจารย์ชา สุภัทโท ฝากข้อความสั้น กินใจ ไว้ในหนังสือธรรมะ ซึ่งข้อความว่าด้วยอารมณ์นี้ เป็นหนึ่งในหลายหัวข้อในหนังสือ “พระโพธิญาณเถร” ท่านอธิบายข้อความดังกล่าวในทำนองว่า “ถ้าเราวิ่งกับอารมณ์เสีย... ปัญญาเกิดขึ้นไม่ได้ จิต – ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ ”
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ขบวนรถไฟสายตาสั้น ขึ้นชื่อว่า “วรรณกรรม” อาจเติมวงเล็บคล้องท้ายว่า “แนวสร้างสรรค์” เรามักได้ยินเสียงบ่นฮึมฮัม ๆ ในทำนอง วรรณกรรมขายไม่ออก ขายยาก ขาดทุน เป็นเสียงจากนักเขียนบ้าง บรรณาธิการบ้าง สำนักพิมพ์บ้าง ผสมงึมงำกัน เป็นเหมือนคลื่นคำบ่นอันเข้มข้นที่กังวานอยู่ในก้นบึ้งของตลาดหนังสือ แต่ก็ช่างเป็นคลื่นอันไร้พลังเสียจนราบเรียบราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สวนหนังสือ
  นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 50 บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน จัดพิมพ์โดย : สำนักช่างวรรณกรรม