Skip to main content

หมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขาน ซึ่งเป็นหมวดที่ว่าด้วย การจากไปสู่ปรโลก ซึ่งปกติแล้วก่อนที่คนจะตายมักมีลางสังหรณ์ปรากฎแก่คนใกล้ชิดหรือคนรอบข้างเสมอ นั่นหมายความว่าถึงเวลาของผู้ตายแล้ว เวลาแห่งความตายนั้นย่อมมาถึงทุกคน เพราะฉะนั้นก่อนตายควรทำความดีหรือทำคุณประโยชน์ให้เกิดแก่แผ่นดินถิ่นเกิดที่เราอาศัยอยู่ตอนมีชีวิตให้มากที่สุด เมื่อลางสังหรณ์มาถึงเราจะได้จากอย่างหมดทุกข์หมดห่วง ตัวอย่าง ธา หมวดนี้เริ่มต้นดังนี้


มี หม่อ เคลอ ฮะ เหน่ อะ เด                 มีหม่อ คอ ฮะ เหน่ อะ เด

เต่อ เหม่ เคลอ ฮะ เหน่ อะเด                ต่า เต่อ จื่อ เดอ หนี่ เดอ เช ฯ....


ฝันว่ากิ่งโพธิ์ละทิ้งต้น                          ฝันว่ากิ่งไทรได้จากต้น

แท้จริงโพธิ์ ไทร ยังอยู่ดี                      มีผ้าคนตายถูกแขวนในบ้าน


จากนั้นจะต่อด้วย ธา หมวด เชอเกปลือ หรือส่งวิญาณผู้ตาย ธาหมวดนี้เป็นการชี้ให้ผู้ตายเห็นว่าสิ่งที่ได้ทำลงไปในตอนที่มีชีวิตอยู่นั้น ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในโลกหลังความตายด้วย เพราะชีวิตหลังความตายต้องไปอยู่ในอีกโลกหนึ่งที่เรียกว่า โลกปลือ ชีวิตหลังความตายจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการกระทำตอนที่มีชีวิตอยู่บนโลกของคนเป็น หากทำดีตอนมีชีวิตอยู่กลับไปที่โลกปลือชีวิตจะสบาย หากทำชั่วหรือสร้างกรรมไว้มากก็ต้องกลับไปรับผลแห่งกรรมที่โลกปลือเช่นกัน นอกจากบอกคนตายแล้วยังเตือนคนเป็นที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยว่า มีโลกหลังความตายแน่นอน ดังบทธา ที่ว่า


เชอ เก ปลือตือที ฉ่าปู                         ที โมโตร เจะ หล่อ ฉื่อ ทู

เชอ เกปลือ ตือ ฮี่ โด โจะ                     หน่า ฮู ปลือชอ เอาะ โอโจะ ฯ....


ส่งวิญญาณผู้ตายถึงขุนห้วย                   พบรางน้ำเงินหินซักผ้าทอง

ส่งวิญญาณผู้ตายถึงริมหมู่บ้าน               ยินเสียงไก่ขันแว่วดังมา


จากนั้นต่อด้วย ธา หมวดฉ่อลอ เป็นหมวดที่ว่าด้วยการฝากของที่ระลึกให้ผู้ตาย เพื่อเป็นการย้ำอีกทีว่าคนเราตายแล้วไม่สามารถเอาอะไรกลับไปสู่โลกปลือได้เลย การสะสมสิ่งของหรือทรัพย์สินตอนที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายในโลกปลือ และอีกอย่างเป็นการบอกผู้ตายว่าไม่ต้องห่วงและไม่ต้องยึดติดกับทรัพย์สินบนโลก เพราะในโลกปลือเองก็มีสิ่งเหล่านั้นสมบูรณ์เพียงพออยู่แล้ว และคนเป็นบนโลกก็จะส่งสมทบให้ด้วย ดังคำธาที่ว่า


ฉ่อ ลอ เหน่ ปลือ อะ ส่า สุย                   ชุ ญ่า โอะ เก่อ แน โข่ ที

ฉ่า ลอ เอะ ปลือ อะ ส่า ฮอ                    ชุ ญา โอะ แกวะ เอะ แกวะ จอ ฯ....


ฝากส้มเขียวหวานให้โลกปลือ                 ต่อไปจะพบน้ำผึ้งหวาน

ฝากผลส้มโอไปให้โลกปลือ                   ต่อไปจะพบน้ำมิ้นหวาน


หลังจากฝากของให้ผู้ตายแล้ว ต้องมีการเรียกสติของคนเป็นกลับมา ให้ขวัญของคนเป็นกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว อย่าได้ไปอยู่กับผู้ตาย เพื่อเป็นการตัดความผูกพันของขวัญออกจากผู้ตาย ด้วยเหตุนี้ในงานศพจะไม่อนุญาตให้เด็กทารก คนที่เจ็บป่วย และหญิงตั้งครรภ์ ไปร่วมงาน เนื่องจากคนกลุ่มนี้กำลังอยู่ในช่วงที่ขวัญอ่อน หากไปร่วมงานอาจทำให้ถูกขวัญของผู้ตายชักชวนไปอยู่ด้วยได้ง่าย ธาหมวดนี้มักมีการเริ่มต้นดังนี้


ปลือ เหม่ ลอนา เลอ อะ พอ                   หน่อ โค เหน่อ พอ โอะ ปอ ปอ

ปลือ เหม่ ลอ นา เลอ อะ ควา                  หน่อ โค หน่อ ควา โอะ อา อา ฯ....


หากปลือล่อเจ้าด้วยดอกไม้                     ดอกไม้บนโลกของเจ้ามีอยู่เหลืองอร่าม

หากปลือหลอกเจ้าด้วยชายหนุ่ม               บนโลกมีชายหนุ่มมากมาย


เมื่อขวัญของคนเป็นเริ่มกลับมาแล้ว บทธาจึงเปลี่ยนเรื่องราว เพื่อขยับมาที่ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อชี้ให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่เห็นว่า คนตายได้เสร็จสิ้นภารกิจบนโลกแล้ว ที่เราเห็นอยู่ข้างหน้าเป็นเพียงร่างที่ไร้มิ่งไร้ขวัญ แต่ที่สำคัญคนที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องดำรงชีวิตอยู่บนโลกต่อไป ซึ่งคนปกาเกอะญอเรียกโลกว่า “ห่อ โข่ เคลอ” แปลว่า ที่แห่งการร้องไห้ นั่นหมายความว่า คนจากไปย่อมสบายกว่า แต่คนที่ยังอยู่ต้องดิ้นรนต่อ ต้องฝ่าฟันและเผชิญกับการร้องไห้ต่อไป ธาหมวดนี้เรียกว่า หมวดธาชอเต่อแล หรือธา เปลี่ยนสู่เรื่องราวทางโลก ดังตัวอย่างธาต่อไปนี้


โกละ โปะ อะ ค อเหม่ เก่อ ชอ                 ต่า ซี อะ คอ หน่อ เดอจอ

โกละ โปะ อะ คอ เก่อ ชอ พา                  ต่า ซี อะ คอ นา เดอ ยา

มา โอะ ปลือ อะ คอ วี ลี                         หน่อ เดอ จอ อะ คอ โอะ ดิ

มา โอะ ปลือ อะ คอ วี มะ                        อะ คอ โอะ ดิ นา เดอ ยา


ส่วนท้ายของฆ้องกบมีสัญลักษณ์เป็นช้าง     มนุษย์ตายเป็นสัญลักษณ์ของสัจจะธรรม

ช้างอยู่คู่กับฆ้องกบ                                 ความตายอยู่คู่เธอกับฉัน

งานของผู้ตายเสร็จสิ้นแล้ว                        แต่งานของหนุ่มสาวยังมี

เรื่องของผู้ตายเป็นความหลัง                     ข้างหน้าคือเรื่องเธอกับฉัน


บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย