Skip to main content

เมื่อได้ยินหมวด ธา ธาชอเต่อแล หนุ่มสาวต่างขยับเข้ามาในวงเพลงธามากขึ้น เพื่อเริ่มงานของหนุ่มสาว ธาชอเต่อแลจึงเปรียบเสมือน หมวดที่เชื้อเชิญหนุ่มสาวเข้าสู่การขับขานเพื่อต่อเพลงธากัน โดยมีโมะโชะฝ่ายหญิงแลโมะโชะฝ่ายชายเป็นหัวหน้าทีมของแต่ละฝ่าย เวทีการดวลภูมิรู้เรื่องธาที่ขุนเพลงธาโปรดปรานได้เกิดขึ้นอีกครั้งในคืนงานศพ

หมวดแห่งการดวลเพลงธา เริ่มที่หมวดธาเดาะธ่อ ซึ่งแปลว่า ธาเริ่มต้น ส่วนใหญ่เป็นธาที่ว่าด้วยความรัก ความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือ เพื่อให้คนที่มาร่วมงานตระหนักและสำนึกเสมอว่า เป็นคนในชุมชนเดียวกัน ชนเผ่าเดียวกัน สังคมเดียวกัน และโลกใบเดียวกัน ดังตัวอย่างธาที่ว่า

 


เก่อ แหย่ โหม่ โพ มา คู คู
                        โปะ ธ่อ เส่อ โกะ เส่ เผล่อ ทู

เก่อ แหย่ โหม่ โพ มา ประ ประ                  โบะ ธ่อ เส่อ โกะ เส่ เผลอ วาฯ....


เหล่าลูกแม่ลงมือพร้อมกัน                        มาช่วยกันยกเสาทองคำ

เหล่าลูกแม่ลงมือพร้อมเพรียง                    มาช่วยกันยกเสาต้นเงิน


ขณะที่ขับขานธา เดาะธ่อ อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ หนุ่มสาวจะพยายามหาจังหวะเพื่อไปสู่ หมวดธา หน่อ เดอ จ๊อ หรือหมวด ธาหนุ่มสาว จนบางทีผู้ใหญ่ต้องพยายามดึงกลับมาที่ธา เดาะธ่อ เนื่องจากยังไม่สมควรแก่เวลาที่จะไปในหมวดหนุ่มสาว เมื่อผู้ใหญ่ดึงกลับมาที่ ธา เดาะ ธ่อ ซักพัก หนุ่มสาวจะพยายามดึงไปที่หมวดหน่อ เดอ จ๊อ อีก ผู้ใหญ่จึงต้องดึงกลับมาที่ หมวด ธา เดาะ ธ่อ จนกว่าผู้ใหญ่จะเห็นสมควรว่าได้มีการขับขาน ธา หมวดเดาะ ธ่อ ไปมากพอสมควรแล้ว จึงจะปล่อยให้เป็นช่วงของธา หน่อ เดอ จ๊อ ต่อไป


หมวด ธา หน่อ เดอ จ๊อ นั้นเป็นการเริ่มต้นเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว โดยใช้ภาษากวี หรือภาษาบท ธา เป็นการสื่อสาร บางทีเป็นการตอบโต้หยอกล้อ กระเซ้าเย้าแหย่กัน ซึ่งเป็นบรรยากาศที่หนุ่มสาวต่างมีความสุขมากที่สุด ว่ากันว่าหากหนุ่มสาวติดลมบนในการต่อบทธากันแล้ว ไก่ขันครบสามครั้งก็ยังไม่อยากเลิก ฟ้าแจ้งแล้วก็ยังไม่อยากหยุด


แต่เมื่อฟ้าสางก็ถึงคราวยุติการขับขานบทธาเพื่อไปพักผ่อนเอาแรงในคืนที่สอง ซึ่งในคืนที่สองจะมีการลำดับขั้นมนการขับ หมวดหมู่ของบทธาที่แตกต่างจาก คืนแรก มีธา บางหมวดหมู่แทรกเข้ามาเพิ่มจากคืนแรก


ตอนหัวค่ำของคืนที่สองแห่งงานศพ ผู้คนจะอยู่กันเต็มบ้านของผู้ตายแล้ว บ้างมวนยาสูบ บ้างทานข้าว บ้างดื่มย้อมใจ บ้างดื่มน้ำชา สักพัก จะได้ยินเสียงของ ธา หมวด ธ่อเส่ส่า หรือ หมวดขึ้นต้นไม้ ถูกขับขานขึ้นเพื่อเป็นการบอกถึงวาระแห่งการมีชีวิตบนโลกมาถึงแล้วเปรียบเสมือนการขึ้นต้นไม้ ได้ถึงยอดไม้แล้ว ถึงเวลาที่ต้องลงและกลับสู่บ้านเมืองนอน เพื่อบอกกับคนที่มีชีวิตอยู่ด้วยว่าชีวิตเปรียบเหมือนการขึ้นต้นไม้ ขึ้นอยู่ที่ใครถึงช้าถึงเร็ว ถึงเร็วก็ไปก่อน ถึงช้าก็ไปทีหลัง แต่ทุกคนก็ต้องถึงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ธ่อ เส่ส่า แจะ อือ แจะ เออ                     หน่อ โธ่ เออ เออ หน่อ ชอ เออ

หมือ ฉา หน่อ แลจะ แพแล                     กว่า เนอโธ่ โกะ เนอ ชอ แซฯ.....


ขึ้นต้นไม้ เชื่องช้าเฉื่อยชา                       เหมือนนกก็ไม่ใช่ เหมือนไก่ก็ไม่เชิง

กลางวันเจ้าไปแห่งหนใด                         ไก่และหมูเจ้า ส่งเสียงร้อง


หลังจากหมวด ธา ธ่อเส่ แล้วจะต่อด้วย ธา หมวด เลปลือแหมะ หรือ ส่องหน้าผู้ตาย ตามด้วยหมวด ธาแหน่หมื่อ เหน่ลา หรือหมวดชี้ทางให้คนตาย แต่หลังจากชี้ทางให้คนตายแล้วจะคั้นด้วย หมวดธาแป่โป่ แปซวย หรือ หมวดคั่วข้าวเม่า ข้าวฟ่าง เพื่อเป็นอาหารสำหรับผู้ตายเอาไปกินระหว่างทางกลับสู่ปรโลก เพื่อเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงการที่คนเราเกิดมามือเปล่า ก็ต้องจากไปอย่างมือเปล่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพออยู่พอกิน หากมีต้นข้าวเม่าอยู่ก็เหมือนมีต้นเงินอยู่ หากมีข้าวฟ่างอยู่ก็เหมือนมีต้นทองคำอยู่ ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนฝักใฝ่สะสมทรัพย์สินที่กินไม่ได้ เพราะมีเงินมีทองแล้วสุดท้ายก็เอาไปไม่ได้ สิ่งที่เอาไปได้คือสิ่งที่กินได้


ตนปกาเกอะญอยังมีความเชื่อว่า เมื่อคั่วข้าวเม่าข้าวฟ่างให้ผู้ตาย จะทำให้ผู้ตายกลับไปที่ปรโลกโดยไม่ขาดแคลนข้าว แต่หากไม่คั่วให้ จะทำให้กลับไปไม่มีข้าวกิน ฉะนั้นการรักษาความเชื่อและพิธีกรรมนี้จึงเป็นการรักษาพันธุ์ข้าวเม่าข้าวฟ่างให้ยังอยู่ต่อไปด้วย ซึ่งปัจจุบันชุมชนปกาเกอะญอหลายที่ที่ไม่มีการสืบทอดพิธีกรรมความเชื่อนี้ ทำให้ข้าวเม่าข้าวฟ่างสูญพันธุ์ในชุมชนด้วยเช่นกัน ธา หมวดแป่โป่ แปซวย นั้นมักเริ่มต้น ดังนี้


แปโป่ บอบอ แป่โป่ บอ                            แป่ซวย บอบอ แป่ซวย บอ

จอแล โหะ จื๊อ เจ่ หย่า คอ                        จื๊อ เจ่ จอ แล โหละ หย่า คอ

ชุ ญา โอะ เลอ ทู อะ พอ                          ชุ ญา โอะ เลอ เจ๊ะ อะ พอ


คั่วข้าวเม่าแตกเป็นสีเหลือง                       คั่วข้าวฟ่างแตกเป็นสีเหลือง

ตัวพี่เกิด มาแบบมือเปล่า                          ตอนพี่เกิดนั้น มามือเปล่า

ต่อไป จะมียุ้งทองคำ                               ภาคหน้านั้นจะมีฉางเงิน

 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…