Skip to main content

แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก


ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้


มีม้วนเทป ให้ฟังบ้างมั้ย พ่อจะเก็บเอาไปฟังในรถ” พ่อถามผมก่อนออกจากเชียงใหม่ ผมจึงต้องเดินกลับเข้าห้องเพื่อกลับไปค้น ม้วนเทปที่เก็บไว้แล้วคัดเลือกเอาม้วนที่คิดว่าน่าจะเหมาะสมกับพ่อ เพลงปกาเกอะญอบ้าง เพลงฝรั่งบ้าง จนถึงเพลงไทย ผมสายตาผมจึงมาหยุดอยู่ที่ปกเทปสีม่วง ชื่ออัลบั้ม “เพลงใต้ถุนบ้าน” โดย สุวิชานนท์ รัตนภิมล หน้าปกมีรูปน้องพอวา ลูกสาวพี่นนท์ รวมอยู่ด้วย ผมเลือกเทปม้วนนี้เพราะส่วนหนึ่งพ่อของผมกับพี่นนท์นั้นรู้จักกันมานาน แต่พ่อผมยังไม่ได้ฟังเพลงชุดใต้ถุนบ้านของพี่นนท์เลย


หลังจากเลือกม้วนเทปได้เลยผมจึงบอกให้พ่อออกเดินทาง โดยที่ผมอาสาทำตัวเป็น ดีเจ ในรถ ให้กับพ่อซึ่งเป็นพลขับ เพลงต่างๆในอัลบั้ม เพลงจากใต้ถุนบ้าน ค่อยๆถูกเปิดตั้งแต่หน้า A เพลงฝนเดือนกันยา เพลงบูโหลน เพลงจันทร์แหว่ง เพลงบ้านน้อยในป่าใหญ่ เพลงร้องเพลงใต้ถุนบ้าน จนกลับด้านหน้าม้วนเทปเป็นหน้า B ที่เริ่มต้นด้วยเพลงรำตง ต่อด้วยเพลงดาระอั้ง และก็มาถึงเพลงอีกเพลงซึ่งผมรู้สึกว่าไม่เคยได้ยินพี่นนท์ร้องที่ไหนมาก่อนเลย แต่ผมกลับรู้สึกคุ้นๆกับเนื้อเพลงของเพลงนี้


*”ตะโกนใบไม้ทุกใบอย่าเปิดทาง ให้ความมืดยาวนานแดดอย่ามา

ให้สายน้ำกลั้นใจหยุดไหลอย่าไปเลย เธออย่าไปเลย

ในวันเธอสาวเธอสวยอยู่ป่าดอย ดอกไม้งามยังคอยจ้องมองเธอ

ลายผ้าทอมือหลากสีห่มตัวเธอ เธอถักทอเอง

วันคืนล่วงเลยผ่าน ไข้ป่ามาเกาะกินเธอ ละเมอเพ้อข้างกองฟืนหยิบยาต้มรากไม้

อีกคืนที่ลมหนาวใกล้ผ่านรับเธอไป บ้านนองน้ำตา

เส่อเล.....เส่อเล...... อือ.......อือ.............

เส่อเล....อือ.......... อือ........อือ............”



น้องนนท์ เอาเพลงจากธาบลือมาทำเป็นเพลง” พ่อผมบอกกับผมขณะที่กำลังขับรถอยู่ ธาบลือ ซึ่งเป็นธาสำหรับคนตาย พี่นนท์รู้หรือไม่รู้? และทำไมไม่เคยได้ยินพี่นนท์นำเพลงนี้ไปร้องที่ไหนเลย? ยังเป็นคำถามที่ค้างอยู่ในใจผม แม้ว่าบทเพลงอื่นที่เปิดในรถยนต์จะมาแทนที่แล้วก็ตาม


เราเล่นดนตรีเป็นฤดูกาล” เป็นคำพูดที่พี่นนท์เคยบอกกับผม หมายความว่าในการเล่นดนตรีของพวกเราจะเปิดเทอมใหญ่ในช่วงหน้าหนาวไปจนถึงหน้าร้อน ในส่วนหน้าฝนนั้นจะเป็นฤดูกาลเพาะปลูกของชุมชนทำให้กิจกรรมงานรื่นเริงในชุมชนมีน้อย ถือเป็นฤดูกาลสำหรับการสร้างงาน


อาจเป็นด้วยเหตุนี้ ทำให้เวลาในการนัดหมายพูดคุยกันกว่าจะลงใช้ต้องใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากเดือนพฤศจิกายนเป็นฤดูเริ่มต้นในการตระเวนเล่นดนตรีแล้ว หากพี่นนท์ว่างผมกลับไม่ว่าง หากผมว่างพี่นนท์กลับไม่ว่าง สลับสับเปลี่ยนอย่างนี้หลายยก จนต่างคนต่างว่าง นั่นหมายความว่าเป็นช่วงที่ไม่มีใครเชิญไปที่ไหนนั่นเอง


พี่ได้ฟังเรื่องราว เส่อเล ครั้งแรกจากพี่ลีซะ” พี่นนท์เริ่มต้นเล่าที่มาที่ไปของเพลงให้ผมฟัง


เส่อเล เป็นเรื่องราวของผู้หญิงสาวปกาเกอะญอที่เสียชีวิตก่อนที่จะได้แต่งงาน เมื่อหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานตาย จะมีการแขวนเสื้อผ้าของเขา ณ ตรงปากทางเข้าหมู่บ้าน เสื้อผ้าของผู้ตายจะถูกตากไว้เต็ม ในเวลาที่ตะวันใกล้ตกดินนั้น แสงอาทิตย์จะส่องมาที่เสื้อผ้าที่ถูกแขวนเหล่านนั้นแลดูแวววาว จนดูแล้วทำให้ใจหวิวๆ

พี่ได้ยินเรื่องราวแล้ว พี่รู้สึกว่ามันติดอยู่ในหัวพี่ จนพี่นำมาเขียนเป็นเพลงโดยใช้ตัวละครผ่านเส่อเล แต่เขียนไปเขียนมาพี่เขียนไม่จบ พี่เลยค้างไว้”


เมื่อเพลงที่เขียนไว้ค้างอยู่ พี่นนท์จึงแสวงหาข้อมูลเพิ่มจากคนที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของเส่อเล โดยเฉพาะคนใกล้ตัว ฉะนั้นเมื่อเจอพาตี่ทองดี พี่นนท์จึงไม่ทิ้งโอกาส


พี่ทองดี ผมกำลังเขียนเพลงค้างไว้ เกี่ยวกับเรื่องของเส่อเล พี่พอมีบทเพลงธา ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างมั้ย?” การเก็บข้อมูลเพลงเริ่มขึ้นอีกครั้ง


มี แต่พูดตอนนี้ไม่ได้!! เพราะเรากำลังนั่งรถอยู่ จะให้พูดก็ไม่ได้ ร้องก็ไม่ได้” พาตี่ทองดีตอบ

เค้าห้ามพูดในบ้าน ห้ามร้องในบ้าน” พาตี่ทองดีย้ำอีกครั้ง แต่ด้วยความอยากรู้พี่นนท์ก็หว่านล้อมพาตี่ทองดีจนแกเริ่มใจอ่อน


เอาจริงนะน้องนนท์ ขับรถดีดีนะ” พาตี่ทองดียอมทำตามความอยากรู้ของพี่นนท์


บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย