Skip to main content

จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่

 

นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ นี่ยังไม่รวมนิคมฯ รอบนอกอื่นๆ และโครงการปิโตรเคมีระยะที่ 3 ที่จะมีโรงงานขนาดใหญ่ผุดขึ้นอีกสิบกว่าโรง

 

ต่อมาให้หลังอีกราว 20 ปี พื้นที่นี้ก็ถูกยกให้เป็นตัวอย่างดีเด่นอย่างเป็นทางการมาโดยตลอด ในแง่ที่อุตสาหกรรมได้สร้างภาระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผู้คนในพื้นที่ มีงานศึกษาวิจัยหลายต่อหลายแหล่งที่พบว่า ชาวบ้านเสี่ยงต่อโรคมะเร็งและอื่นๆ สูงมาก เพราะมลพิษที่มีทั้งในน้ำ น้ำใต้ดิน อากาศ

 

ตารางตัวอย่างผลการศึกษาวิจัยชิ้นสำคัญเกี่ยวกับปัญหามลพิษในมาบตาพุด ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน

 

การศึกษาของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

โครงการศึกษาระบาดวิทยาของโรคมะเร็งในไทย ปี 2540-2544 พบว่าสถิติการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (ที่ตั้งนิคมฯ ) มีสถิติความเสี่ยงสูงสุดเมื่อเทียบกับอำเภออื่นๆ และเมื่อเปรียบเทียบกับ 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำปาง นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี กรุงเทพฯ ประจวบฯ และสงขลา

 

ปี 2544-2546 พบว่า ชาวระยองมีแนวโน้มการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง และพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดมากที่สุด รองลงมาได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร ฯ

 

การศึกษาของ ดร.เรณู  เวชรัตน์พิมล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาวิทยาลัยศิลปากร

การวิเคราะห์ตัวอย่างเยื่อบุข้างแก้มของประชาชนผู้ใหญ่จำนวน 100 คนในเขตมาบตาพุด พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 พบสารพันธุกรรมที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของยีนในร่างกายที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง บางตัวอย่าง พบเซลล์แตกหักมากกว่าคนปกติ 12 เท่า

 

การศึกษาของกรมควบคุมโรค

การวิเคราะห์ปัสสาวะของประชาชนในเขตมาบตาพุดจำนวน 2,177 คน พบว่า 329 คนหรือร้อยละ 16 พบสารก่อมะเร็งเม็ดเลือดขาดสูงเกินมาตรฐาน

ที่มา : การเมืองเรื่องมลพิษ : ศักยภาพการรองรับมลพิษและการขยายอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด โดย ศุภกิจ นันทวรกา, เอกสารประกอบงานสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการแก้ไข้ปัญหาผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด

 


ที่ผ่านมา คนในพื้นที่เรียกร้องให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศให้พื้นที่มาบาตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ เนื่องจากพื้นที่นี้ไม่มีศักยภาพรองรับมลภาวะได้แล้ว แต่รัฐก็ซื้อเวลา โดยนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกฯ และรมว.อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ สมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ประกาศตั้งคณะอนุกรรมการดูแลเรื่องนี้
2 ชุดและให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในระยอง ปี 2550-2554 แต่ถึงวันนี้ ปี 2551 โครงการต่างๆ ถูกตัดงบประมาณและไม่ได้รับความสำคัญ

 

ความล่าช้า ยึกยักนี้ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่ในปี 2541 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติให้ประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจอนุมัติโครงการอุตสาหกรรมเพิ่มเติม เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากมีข่าวเด็กในโรงเรียนมาบตาพุดพิทยาคารถูกหามส่งโรงพยาบาลจากกลิ่นเหม็นของสารเคมี อย่างไรก็ดี การศึกษาดังกล่าวล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่เสร็จ และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลใดๆ และในขณะเดียวกันหน่วยงานภาครับก็อนุมัติโครงการอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่มาบตาพุดไปด้วยระหว่างนั้นรวมแล้วประมาณ 140 โครงการ เช่นเดียวกันกับการตั้งอนุฯ 2 ชุดในปี 2550 ก็มีการอนุมัติโครงการปิโตรเคมีระยะที่ 3 ไปด้วยในพื้นที่เขตต่อเนื่องบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดกับพื้นที่อำเภอบ้านฉาง ซึ่งมีนิคมฯ เอเชียอยู่แล้ว ทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวมีข้อกำหนดผังเมืองห้ามก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีประเภทต้นน้ำ แต่สุดท้ายก็มีการเปลี่ยนผัง

 

 

ตารางสรุปการดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2541 กับการดำเนินการจริงและโครงการที่ได้รับอนุมัติเพิ่มขึ้น

 

กรอบเวลาการดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ

เวลาในการดำเนินการจริง

โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุมัติเพิ่มที่มาบตาพุด

1..ให้ประเมินผลกระทบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ โดยถ้ามีโครงการใหม่เกิดขึ้นดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

2541-2543

วางแผนการศึกษา จัดหางบประมาณ จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา

 

อย่างน้อย 11 โครงการ

2.ให้การนิคมฯ ดำเนินการมาตรการต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 

2544-2546

ดำเนินการศึกษา

ช่วงปี 2546 ประมาณ 56 โครงการ

3. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ประเมินภาพรวมของศักยภาพการรองรับมลพิษ

2546-ปัจจุบัน

ปรับแก้ผลการศึกษา

 

ประมาณ 75 โครงการ

ที่มา : อ้างแล้ว

 

ตารางสรุปสถานภาพการพิจารณาอนุมัติโครงการในพื้นที่มาบตาพุดในช่วงปี 2548-2550

 

โครงการใหม่ในพื้นที่มาบตาพุด

จำนวนโครงการ

ภาพรวมของโครงการ

1.อนุมัติ รายงาน EIA แล้ว

      22

-โครงการขยายนิคมฯ ตะวันออก, ขยายนิคมฯ เอเชีย

-การขยายโรงงานปิโตรเคมีเดิม 11 โครงการ

-การก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีใหม่ 9 โครงการ

2. กำลังพิจารณา รายงาน EIA

     16

-โครงการปิโตรเคมี 13 โครงการ

-โรงเหล็ก 1 โครงการ

-โรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 โครงการ และโรงไฟฟ้าก๊าซ 1 โครงการ

รวม

      38

 

ที่มา : อ้างแล้ว

 

การต่อสู้ขณะนี้ของคนในพื้นที่มีหลากหลายรูปแบบ ที่ขึ้นโรงขึ้นศาลไปแล้วก็มีคือ คดีศาลปกครอง ชาวบ้าน 27 คนจาก 12 ชุมชนรอบนิคมฯ ได้ยื่นฟ้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 จากกรณีที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ยอมประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ ทั้งที่มีข้อมูลอันชัดแจ้งจากหลายหน่วยงานแล้วว่าพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหารุนแรง และทั้งที่ก่อนหน้านี้ในปี 2549 หน่วยงานอย่างสำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)  กรมควบคุมมลพิษ ก็เคยมีการสำรวจศึกษาและเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษไปแล้วด้วย

 

นอกจากนี้ชาวบ้านจากเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกยังมีการยื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ระงับการอนุมัติโครงการอุตสาหกรรม โดยให้ทำตามมาตรา67 ที่มีเนื้อหากเกี่ยวกับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงต้องศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA) และสุขภาพประชาชน (HIA) ด้วยโดยให้ผู้แทนสถาบันอุมศึกษาให้ความเห็นประกอบ และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเสียก่อน ทั้งนี้ สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยงานรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ย่อมได้รับความคุ้มครอง

 

ล่าสุด มีการระดมความคิดเห็นกันในเวทีสมัชชาสุขภาพของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เพื่อรวบรวมข้อเสนอของทุกภาคส่วนส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติที่เพิ่งร่างขึ้นมาใหม่ และเป็นช่องทางใหม่ๆ ที่ประชาชนจะลองเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายผ่านกลไก สช.นี้ แม้จะไม่ได้มีความหวังเรืองรองนัก

 

ข้อเสนอที่ถูกรวบรวมมี 13 ข้อ ได้แก่

 

     1. การกำหนดแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง ต้องให้ความสำคัญกับมิติทางสุขภาพมากขึ้น และน่าจะมีความสำคัญเท่าเทียมหรือมากกว่ามิติทางเศรษฐกิจ จึงขอให้รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนจังหวัดระยอง

 

     2. ให้มีการทบทวนและปรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง เนื่องจากปัจจุบันเน้นการขยายอุตสาหกรรมตามแผนแม่บทปิโตรเคมีระยะ 3 ขัดแย้งกับวิสัยทัศน์การพัฒนาของชาวระยอง จึงควรดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการ อันประกอบด้วย 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคองค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม เพื่อทบทวนแนวทางการพัฒนาในปัจจุบัน

 

      3.ให้กรมโยธาฯ ทำการวางและจัดทำผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชนจังหวัดระยองฉบับใหม่ เนื่องจากผังรวมฯ ล่าสุดหมดระยะเวลาบังคับใช้แล้ว โดยจะต้องทบทวนการประกาศพื้นที่สีม่วงซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่ประกาศทับพื้นที่ชุมชนในปัจจุบัน และกำหนดให้มีพื้นที่กันชน (buffer zone)

 

      4.ปัญหาการขาดแคลนน้ำมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น จึงเสนอให้ กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน บมจ.อีสวอเตอร์ ปรับปรุงการจัดการทรัพยากรน้ำใหม่ โดยต้องเพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องแบ่งสรรผลประโยชน์จากการขายน้ำให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

 

      5.ให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาปรับปรุงระบบและมาตรการทางการคลัง โดยให้โรงงาน ภาคธุรกิจเสียภาษีที่เกี่ยวข้องในจังหวัดระยอง, ทบทวนให้สิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับโรงงานใหม่ และให้มีการนำมาตรการทางภาษีสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้อย่างจริงจัง เพื่อให้จังหวัดมีทรัพยากรเพียงพอในการจัดบริการสาธารณะ และฟื้นฟูทรัพยากรฯ

 

       6.ระหว่างการทบทวนและปรับแนวทางพัฒนาจังหวัดระยองและการวางผังเมืองรวมใหม่ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรชะลอการให้ใบอนุญาต หรือนุมัติเห็นชอบ การขยายโรงงานในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉางไว้ก่อน โดยต้องวางแนวทางและกระบวนการตัดสินใจให้เป็นไปตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ

 

       7.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเปิดเผยข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรม รวมถึงต้องเผยแพร่วิธีป้องกันผลกระทบและวิธีการสร้างเสริมสุขภาพนาภาวะมลพิษให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องโดยเร็ว

 

        8.นอกจากนี้เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่

 

         9.สนับสนุนให้มีการศึกษาและแสวงหาแนวทางในการจัดตั้งกลไกผู้ตรวจการผลกระทบทางสุขภาพ โดยเป็นองค์กรกลาง หรือองค์กรกึ่งตุลาการที่ได้รับการยอมรับจากทั้ง 5 ภาคส่วน มีความเป็นอิสระ ทำหน้าที่วิเคราะห์ ตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลกับประชาชน แก้ปัญหาความขัดแย้งรวมถึงให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล

 

        10.หน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดให้มีระบบเครือข่ายเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนกลุ่มพิเศษ และกลไกสนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน สนับสนุนให้เกิดการลงทุนทางสังคม ทั้งทุนการศึกษา สุขภาพ สวัสดิการและวัฒนธรรม

 

         11.เสนอให้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของภาคประชาสังคม และมีการจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพของประชาชนจังหวัดระยองทุกปีโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมเต็มที่

 

          12.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีบริการทางสังคม ซึ่งเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนอย่างพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบริการทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย และระบบน้ำประปาในชุมชนมาบตาพุด

 

          13.ควรสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมในจังหวัดระยองติดตามความเคลื่อนไหวทางนโยบาย และเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนนโยบายในทุกช่องทาง จัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกเตรียมจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยมาบตาพุด" เพื่อจัดระบบการเรียนรู้และการศึกษาสำหรับภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง และควรพิจารณาจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์มลพิษและโรคจากการพัฒนา" เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับประชาชนทั่วไป

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง อาจจะฮือฮามาสักพักแล้วกับเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ของนักการเมืองค่ายประชาธิปัตย์ นำโดย หล่อใหญ่ อภิสิทธิ์ ตามมาด้วยสาทิตย์ วงษ์หนองเตย  แต่ก็ยังอาจจะยังไม่เห็นประสิทธิผลมากนักสำหรับการเปิดพื้นที่ใหม่ในสื่อใหม่ในโลกออนไลน์ เพราะยังไม่มีการใช้สำหรับแคมเปญหาเสียง หรือแคมเปญกิจกรรมอะไรพิเศษ แต่แล้ว เมื่อเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ชื่อ thaksinlive เริ่มเป็นที่รับรู้ของชาวไซเบอร์เพียงไม่กี่วัน ก็กลับฮือฮาเป็นกระแสพ้นพรมแดนโลกไซเบอร์ออกมาเหมือนปีศาจที่ตามหลอกหลอนไปทุกพรมแดนความรับรู้ของขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม
หัวไม้ story
ในฐานะที่กระแสรางวัลซีไรต์ปีนี้ช่างแผ่วเบา เราจึงขอกระตุ้น ยั่วยวน ให้หันมองด้วยงานวิจารณ์ของ “นายยืนยง” ซึ่งยืนยันกับการชื่นชม “วิญญาณที่ถูกเนรเทศ” เล่มหนึ่งที่เข้ารอบสุดท้าย ไม่ว่าใครจะครหาอย่างไรก็ตาม         ชื่อหนังสือ         :           วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ผู้เขียน              :           วิมล ไทรนิ่มนวล จัดพิมพ์โดย       :   …
หัวไม้ story
โดย ทีมข่าวการเมือง 5 แกนนำพันธมิตร ขึ้นปราศรัย ระหว่างงานรำลึก 1 ปีแห่งการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อ 25 พ.ค. 52 ที่สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี (ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 25 พ.ค. 52)
หัวไม้ story
หลังการชุมนุมคนเสื้อแดงจบลงไปในวันที่ 14 เมษายน 2552 โดยการชุมนุมครั้งนั้นเกิดความรุนแรงขึ้นในหลายจุด ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้อาวุธ ทั้งจากฝ่ายตำรวจ ผู้ชุมนุม และกลุ่มไม่ทราบฝ่าย ช่วงเวลา 2-3 วันให้หลัง ประชาไทพยายามติดตามหาพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ทว่าพยานบุคคลหลายคนเลือกที่จะเป็นเสียงเงียบ และหลายคนเลือกการเดินทางกลับต่างจังหวัด บรรยากาศภายใน 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ดูเหมือนเป็นบรรยากาศแห่งความเงียบและหวาดระแวงสำหรับผู้เคยเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง นั่นทำให้เราเริ่มคิดถึงคนเสื้อแดงที่ต่างจังหวัด…
หัวไม้ story
สัมภาษณ์ เสรี สาระนันท์ ส.ส. หลายสมัยจากอ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ถึงเหตุผลที่ ส.ส. ยังคงต้องอยู่กับเสื้อแดงและทักษิณ และกระบวนการจัดการเสื้อแดงที่เป็นฐานเสียง และเป็นมวลชนที่เข้าร่วมการชุมนุม รวมถึงให้เขาประเมินอนาคตของทั้งตนเองและขั้วอำนาจฝ่ายสีแดง การสัมภาษณ์ครั้งนี้สะท้อนถึงพลังของ "ปีศาจ" อย่างทักษิณ ที่จะยังครอบงำจิตใจชาวบ้านและหลอกหลอนการเมืองขั้วตรงข้ามต่อไปอย่างยากจะเปลี่ยนแปลง
หัวไม้ story
เสียง ภาพ ชาวบ้านเสื้อแดง ตำบลหนองไผ่ จังหวัดอุดรธานี บอกเล่าความรู้สึกและความเห็นทางการเมือง ว่าด้วยประชาธิปไตย และทักษิณ หลังการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ยุติลงในช่วงบ่ายของวันที่ 14 เม.ย. อนึ่ง ชาวบ้านบางส่วน ได้เข้ามาร่วมการชุมนุมคนเสื้อแดงในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะที่อีกบางส่วนไม่ได้เข้าร่วม แต่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอยู่ที่บ้าน ผ่านสถานีดีสเตชั่น และวิทยุชุมชนคนรักอุดร ประชาไทบันทึกคลิปวีดีโอ เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ที่ผ่านมา
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง [การโหยหาอดีตของสองทหารแก่ สุรชัย-เปรม อาจไม่ต่างกันมาก ผิดกันตรงที่ ทหารแก่คนหนึ่งอาจสมใจ สังคมไทย Nostalgia ย้อนยุคขุนศึก อำมาตย์ เป็นใหญ่ได้อีกหลัง 19 ก.ย. 49 มีองคมนตรีมาเป็นนายกฯ ที่ป๋าเห็นเป็นวินสตัน เชอร์ชิล มีนายกฯ หนุ่มที่ป๋าบอก “ผมเชียร์” … เช่นนี้กระมัง สหายเก่า-ทหารแก่อีกคนจึงขอแต่งชุดทหารป่าเข้ามอบตัว ขอ Nostalgia อีกรอบ] ]   000 นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แกนนำ นปช. ขณะเข้ามอบตัวเมื่อ 27 เม.ย. 52 (ที่มาของภาพ: ASTVผู้จัดการออนไลน์)
หัวไม้ story
[ ทีมข่าวการเมือง ]   ทุกๆ เช้าของวันจันทร์-ศุกร์ ถ้าไม่ใช่วันหยุดนักขัตฤกษ์ ภารกิจของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือเตรียมเดินทางมายังสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งเอเชีย (Asia Satellite Television) หรือ เอเอสทีวี ถ.พระอาทิตย์ เพื่อดำเนินรายการ “Good Morning Thailand” รายการเล่าข่าวและวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองอย่างเผ็ดร้อน ซึ่งเขาจัดเป็นประจำทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 6.00-7.00 น. แต่วันนี้ 17 เมษายน เขาไม่ได้จัดรายการ “Good Morning Thailand” เหมือนเคย เพราะถูกลอบยิงเมื่อเวลาราว 5.40 น. ก่อนที่รถของเขาจะมาถึงสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี   000   ที่มา:…
หัวไม้ story
(ทีมข่าวการเมือง)ทีมข่าวการเมือง สัมภาษณ์ผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา โดยถามพวกเขาว่า “ออกมาชุมนุมทำไม?” ต่อไปนี้คือคำตอบของพวกเขา 
หัวไม้ story
ห้องพิจารณาคดี 904 หลังสิ้นเสียงคำพิพากษาให้จำคุก 10 ปี...
หัวไม้ story
[ทีมข่าวการเมือง]"พี่สนธิก็เคยคุยกับผมเป็นการส่วนตัวว่าคิดถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยซ้ำ มีโปลิตบูโร หรือคณะกรรมการนโยบายของพรรคที่อาจจะไม่ได้มามีตำแหน่งบริหาร ไม่ได้มามีตำแหน่งทางการเมือง แต่ว่าคุมยุทธศาสตร์ คุมทิศทางพรรค ซึ่งอันนี้น่าสนใจ และคงต้องดูว่าโครงสร้างเป็นอย่างไร ขณะเดียวกัน เรายังมีเวลาศึกษาพรรคการเมืองจากหลายประเทศ เพื่อเปรียบเทียบกัน และต้องดูบริบทสังคมไทยด้วย แบบไหนมันเข้ากับสังคมไทย"สุริยะใส กตะศิลา, สัมภาษณ์ใน เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 876, 13 มีนาคม 2552  000 แกนนำพันธมิตรฯ บน “เวทีคอนเสิร์ตการเมืองครั้งที่ 4” ของพันธมิตรฯ ที่เกาะสมุย เมื่อ 4 มีนาคม 2552…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง การเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 13-15 มี.ค. มีหลายประเด็นจากการเยือนดังกล่าวที่ยังไม่ได้รับการพูดถึง หลายเรื่องถูกบิดเบือน และผลิตซ้ำ จนกลายเป็นชุดความคิดที่ถูกยอมรับโดยไม่มีการตั้งคำถาม “ประชาไท” ขอนำเสนอเรื่องที่ยังไม่มีการรายงาน เรื่องที่ยังไม่ถูกพูดถึง และเรื่องที่บิดเบือนดังกล่าว ในระหว่างการเยือนอังกฤษของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  1.เปิดต้นทางข่าว “ไม่ได้หนี แล้วมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร”   สื่อมวลชนไทยทุกฉบับพร้อมใจรายงานภารกิจของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ…