Skip to main content

จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่

 

นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ นี่ยังไม่รวมนิคมฯ รอบนอกอื่นๆ และโครงการปิโตรเคมีระยะที่ 3 ที่จะมีโรงงานขนาดใหญ่ผุดขึ้นอีกสิบกว่าโรง

 

ต่อมาให้หลังอีกราว 20 ปี พื้นที่นี้ก็ถูกยกให้เป็นตัวอย่างดีเด่นอย่างเป็นทางการมาโดยตลอด ในแง่ที่อุตสาหกรรมได้สร้างภาระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผู้คนในพื้นที่ มีงานศึกษาวิจัยหลายต่อหลายแหล่งที่พบว่า ชาวบ้านเสี่ยงต่อโรคมะเร็งและอื่นๆ สูงมาก เพราะมลพิษที่มีทั้งในน้ำ น้ำใต้ดิน อากาศ

 

ตารางตัวอย่างผลการศึกษาวิจัยชิ้นสำคัญเกี่ยวกับปัญหามลพิษในมาบตาพุด ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน

 

การศึกษาของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

โครงการศึกษาระบาดวิทยาของโรคมะเร็งในไทย ปี 2540-2544 พบว่าสถิติการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (ที่ตั้งนิคมฯ ) มีสถิติความเสี่ยงสูงสุดเมื่อเทียบกับอำเภออื่นๆ และเมื่อเปรียบเทียบกับ 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำปาง นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี กรุงเทพฯ ประจวบฯ และสงขลา

 

ปี 2544-2546 พบว่า ชาวระยองมีแนวโน้มการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง และพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดมากที่สุด รองลงมาได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร ฯ

 

การศึกษาของ ดร.เรณู  เวชรัตน์พิมล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาวิทยาลัยศิลปากร

การวิเคราะห์ตัวอย่างเยื่อบุข้างแก้มของประชาชนผู้ใหญ่จำนวน 100 คนในเขตมาบตาพุด พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 พบสารพันธุกรรมที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของยีนในร่างกายที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง บางตัวอย่าง พบเซลล์แตกหักมากกว่าคนปกติ 12 เท่า

 

การศึกษาของกรมควบคุมโรค

การวิเคราะห์ปัสสาวะของประชาชนในเขตมาบตาพุดจำนวน 2,177 คน พบว่า 329 คนหรือร้อยละ 16 พบสารก่อมะเร็งเม็ดเลือดขาดสูงเกินมาตรฐาน

ที่มา : การเมืองเรื่องมลพิษ : ศักยภาพการรองรับมลพิษและการขยายอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด โดย ศุภกิจ นันทวรกา, เอกสารประกอบงานสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการแก้ไข้ปัญหาผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด

 


ที่ผ่านมา คนในพื้นที่เรียกร้องให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศให้พื้นที่มาบาตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ เนื่องจากพื้นที่นี้ไม่มีศักยภาพรองรับมลภาวะได้แล้ว แต่รัฐก็ซื้อเวลา โดยนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกฯ และรมว.อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ สมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ประกาศตั้งคณะอนุกรรมการดูแลเรื่องนี้
2 ชุดและให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในระยอง ปี 2550-2554 แต่ถึงวันนี้ ปี 2551 โครงการต่างๆ ถูกตัดงบประมาณและไม่ได้รับความสำคัญ

 

ความล่าช้า ยึกยักนี้ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่ในปี 2541 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติให้ประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจอนุมัติโครงการอุตสาหกรรมเพิ่มเติม เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากมีข่าวเด็กในโรงเรียนมาบตาพุดพิทยาคารถูกหามส่งโรงพยาบาลจากกลิ่นเหม็นของสารเคมี อย่างไรก็ดี การศึกษาดังกล่าวล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่เสร็จ และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลใดๆ และในขณะเดียวกันหน่วยงานภาครับก็อนุมัติโครงการอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่มาบตาพุดไปด้วยระหว่างนั้นรวมแล้วประมาณ 140 โครงการ เช่นเดียวกันกับการตั้งอนุฯ 2 ชุดในปี 2550 ก็มีการอนุมัติโครงการปิโตรเคมีระยะที่ 3 ไปด้วยในพื้นที่เขตต่อเนื่องบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดกับพื้นที่อำเภอบ้านฉาง ซึ่งมีนิคมฯ เอเชียอยู่แล้ว ทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวมีข้อกำหนดผังเมืองห้ามก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีประเภทต้นน้ำ แต่สุดท้ายก็มีการเปลี่ยนผัง

 

 

ตารางสรุปการดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2541 กับการดำเนินการจริงและโครงการที่ได้รับอนุมัติเพิ่มขึ้น

 

กรอบเวลาการดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ

เวลาในการดำเนินการจริง

โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุมัติเพิ่มที่มาบตาพุด

1..ให้ประเมินผลกระทบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ โดยถ้ามีโครงการใหม่เกิดขึ้นดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

2541-2543

วางแผนการศึกษา จัดหางบประมาณ จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา

 

อย่างน้อย 11 โครงการ

2.ให้การนิคมฯ ดำเนินการมาตรการต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 

2544-2546

ดำเนินการศึกษา

ช่วงปี 2546 ประมาณ 56 โครงการ

3. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ประเมินภาพรวมของศักยภาพการรองรับมลพิษ

2546-ปัจจุบัน

ปรับแก้ผลการศึกษา

 

ประมาณ 75 โครงการ

ที่มา : อ้างแล้ว

 

ตารางสรุปสถานภาพการพิจารณาอนุมัติโครงการในพื้นที่มาบตาพุดในช่วงปี 2548-2550

 

โครงการใหม่ในพื้นที่มาบตาพุด

จำนวนโครงการ

ภาพรวมของโครงการ

1.อนุมัติ รายงาน EIA แล้ว

      22

-โครงการขยายนิคมฯ ตะวันออก, ขยายนิคมฯ เอเชีย

-การขยายโรงงานปิโตรเคมีเดิม 11 โครงการ

-การก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีใหม่ 9 โครงการ

2. กำลังพิจารณา รายงาน EIA

     16

-โครงการปิโตรเคมี 13 โครงการ

-โรงเหล็ก 1 โครงการ

-โรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 โครงการ และโรงไฟฟ้าก๊าซ 1 โครงการ

รวม

      38

 

ที่มา : อ้างแล้ว

 

การต่อสู้ขณะนี้ของคนในพื้นที่มีหลากหลายรูปแบบ ที่ขึ้นโรงขึ้นศาลไปแล้วก็มีคือ คดีศาลปกครอง ชาวบ้าน 27 คนจาก 12 ชุมชนรอบนิคมฯ ได้ยื่นฟ้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 จากกรณีที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ยอมประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ ทั้งที่มีข้อมูลอันชัดแจ้งจากหลายหน่วยงานแล้วว่าพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหารุนแรง และทั้งที่ก่อนหน้านี้ในปี 2549 หน่วยงานอย่างสำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)  กรมควบคุมมลพิษ ก็เคยมีการสำรวจศึกษาและเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษไปแล้วด้วย

 

นอกจากนี้ชาวบ้านจากเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกยังมีการยื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ระงับการอนุมัติโครงการอุตสาหกรรม โดยให้ทำตามมาตรา67 ที่มีเนื้อหากเกี่ยวกับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงต้องศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA) และสุขภาพประชาชน (HIA) ด้วยโดยให้ผู้แทนสถาบันอุมศึกษาให้ความเห็นประกอบ และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเสียก่อน ทั้งนี้ สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยงานรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ย่อมได้รับความคุ้มครอง

 

ล่าสุด มีการระดมความคิดเห็นกันในเวทีสมัชชาสุขภาพของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เพื่อรวบรวมข้อเสนอของทุกภาคส่วนส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติที่เพิ่งร่างขึ้นมาใหม่ และเป็นช่องทางใหม่ๆ ที่ประชาชนจะลองเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายผ่านกลไก สช.นี้ แม้จะไม่ได้มีความหวังเรืองรองนัก

 

ข้อเสนอที่ถูกรวบรวมมี 13 ข้อ ได้แก่

 

     1. การกำหนดแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง ต้องให้ความสำคัญกับมิติทางสุขภาพมากขึ้น และน่าจะมีความสำคัญเท่าเทียมหรือมากกว่ามิติทางเศรษฐกิจ จึงขอให้รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนจังหวัดระยอง

 

     2. ให้มีการทบทวนและปรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง เนื่องจากปัจจุบันเน้นการขยายอุตสาหกรรมตามแผนแม่บทปิโตรเคมีระยะ 3 ขัดแย้งกับวิสัยทัศน์การพัฒนาของชาวระยอง จึงควรดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการ อันประกอบด้วย 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคองค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม เพื่อทบทวนแนวทางการพัฒนาในปัจจุบัน

 

      3.ให้กรมโยธาฯ ทำการวางและจัดทำผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชนจังหวัดระยองฉบับใหม่ เนื่องจากผังรวมฯ ล่าสุดหมดระยะเวลาบังคับใช้แล้ว โดยจะต้องทบทวนการประกาศพื้นที่สีม่วงซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่ประกาศทับพื้นที่ชุมชนในปัจจุบัน และกำหนดให้มีพื้นที่กันชน (buffer zone)

 

      4.ปัญหาการขาดแคลนน้ำมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น จึงเสนอให้ กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน บมจ.อีสวอเตอร์ ปรับปรุงการจัดการทรัพยากรน้ำใหม่ โดยต้องเพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องแบ่งสรรผลประโยชน์จากการขายน้ำให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

 

      5.ให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาปรับปรุงระบบและมาตรการทางการคลัง โดยให้โรงงาน ภาคธุรกิจเสียภาษีที่เกี่ยวข้องในจังหวัดระยอง, ทบทวนให้สิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับโรงงานใหม่ และให้มีการนำมาตรการทางภาษีสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้อย่างจริงจัง เพื่อให้จังหวัดมีทรัพยากรเพียงพอในการจัดบริการสาธารณะ และฟื้นฟูทรัพยากรฯ

 

       6.ระหว่างการทบทวนและปรับแนวทางพัฒนาจังหวัดระยองและการวางผังเมืองรวมใหม่ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรชะลอการให้ใบอนุญาต หรือนุมัติเห็นชอบ การขยายโรงงานในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉางไว้ก่อน โดยต้องวางแนวทางและกระบวนการตัดสินใจให้เป็นไปตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ

 

       7.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเปิดเผยข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรม รวมถึงต้องเผยแพร่วิธีป้องกันผลกระทบและวิธีการสร้างเสริมสุขภาพนาภาวะมลพิษให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องโดยเร็ว

 

        8.นอกจากนี้เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่

 

         9.สนับสนุนให้มีการศึกษาและแสวงหาแนวทางในการจัดตั้งกลไกผู้ตรวจการผลกระทบทางสุขภาพ โดยเป็นองค์กรกลาง หรือองค์กรกึ่งตุลาการที่ได้รับการยอมรับจากทั้ง 5 ภาคส่วน มีความเป็นอิสระ ทำหน้าที่วิเคราะห์ ตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลกับประชาชน แก้ปัญหาความขัดแย้งรวมถึงให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล

 

        10.หน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดให้มีระบบเครือข่ายเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนกลุ่มพิเศษ และกลไกสนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน สนับสนุนให้เกิดการลงทุนทางสังคม ทั้งทุนการศึกษา สุขภาพ สวัสดิการและวัฒนธรรม

 

         11.เสนอให้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของภาคประชาสังคม และมีการจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพของประชาชนจังหวัดระยองทุกปีโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมเต็มที่

 

          12.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีบริการทางสังคม ซึ่งเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนอย่างพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบริการทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย และระบบน้ำประปาในชุมชนมาบตาพุด

 

          13.ควรสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมในจังหวัดระยองติดตามความเคลื่อนไหวทางนโยบาย และเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนนโยบายในทุกช่องทาง จัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกเตรียมจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยมาบตาพุด" เพื่อจัดระบบการเรียนรู้และการศึกษาสำหรับภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง และควรพิจารณาจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์มลพิษและโรคจากการพัฒนา" เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับประชาชนทั่วไป

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ชื่อบทความเดิม : เยือนสวนทูนอิน อ่านชีวิต ความคิด 75 กะรัต 'รงค์ วงษ์สวรรค์  ภู เชียงดาว : เรียบเรียง/รายงาน   หมายเหตุ : นี่เป็นมุมมองชีวิต ความคิด ว่าด้วยการเมือง ทหาร การปฏิวัติ สุขภาพ และการเขียนหนังสือ ของ ' รงค์ วงษ์สวรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2538 ที่ได้ถ่ายทอดออกมา เมื่อ 20 พ.ค.2550 ณ สวนทูนอิน โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รายงานชิ้นนี้เคยตีพิมพ์ ใน ‘นิตยสารขวัญเรือน' ปักษ์แรก กรกฎาคม 2550 ผู้เขียนขออนุญาตนำมาเรียบเรียง/รายงาน ใน ‘ประชาไท' อีกครั้ง เพื่อเป็นการไว้อาลัยและรำลึกถึงการจากไปอย่างสงบของพญาอินทรีแห่งวรรณกรรม เมื่อค่ำของวันที่ 15 มี.ค.…
หัวไม้ story
“การคุมประชากรด้วยข้อมูลและแนวคิดที่โกหกอาจจะไม่นำไปสู่ประเทศไทยที่สำเร็จได้ แต่กลับเป็นการทำลายการพัฒนาและอนาคตของสังคมไทยเอง”ธงชัย วินิจจะกูล3 มี.ค. 2552
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง หลังจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงมาชุมนุมล้อมทำเนียบรัฐบาลและปักหลักพักค้างชุมนุมอยู่หลายคืน โดยมีข้อเรียกร้องคือ 1.ดำเนินคดีกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2.ปลดนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3.นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ และ 4.ให้ยุบสภา การชุมนุมเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายคืนโดยสงบเรียบร้อย ผู้ชุมนุมยอมให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและคณะรัฐมนตรีเข้าไปทำงานในทำเนียบ โดยไม่มีการกระทบกระทั่งเกิดขึ้น จนแม้แต่นายอภิสิทธิ์ และรองนายกรัฐมนตรีอย่างนายสุเทพ…
หัวไม้ story
  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิภาคที่ไม่เคยเป็นตัวแสดงหลักในเกมอำนาจโลกเลยนับจากยุคอาณานิคมมาจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ การร่วมตัวกันของชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนามอาเซียนเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของชาติในภูมิภาคนี้ที่จะเสริมสร้างอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจในระดับโลก ในยุคสงครามเย็น ภูมิภาคนี้ถูกแบ่งให้เป็น 2 ค่าย ตามบรรยากาศการเมืองโลก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้นำค่ายสังคมนิยม ในช่วงทศวรรษที่ 90 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนก็หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน บทหนทางเสรีนิยมเดียวกัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ถูกปฏิบัติในฐานที่เป็นชายขอบแดนของอำนาจต่อรองเช่นเดิม…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมือง   "พฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่อยู่ในขอบข่ายของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการใช้กฎหมู่ละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง คือ เป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี อันเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ยิ่งนัก ดังที่พวก Ultra Royalist ในฝรั่งเศสสมัยหนึ่งทำให้พระราชวงศ์บูร์บองล่มสลายมาแล้ว" สุพจน์ ด่านตระกูลสถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย)มีนาคม 2549 1."ลุงสุพจน์" หรือ สุพจน์ ด่านตระกูล นักคิด นักเขียนวัย 86 ปี เสียชีวิตอย่างสงบ หลังล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อคืนวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมาชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์…
หัวไม้ story
[บันทึกคำปราศรัย 'กษิต ภิรมย์' ถึง 'ฮุน เซน' ในการชุมนุมพันธมิตรฯ เมื่อ 15 ต.ค. และ 27 ต.ค. 2551 โปรดอ่านเพื่อให้เห็น ‘วิสัยทัศน์' และ ‘ท่าที' ต่อประเทศเพื่อนบ้านของรัฐมนตรีผู้ซึ่ง ‘อภิสิทธิ์'  ลงทุน 'อุ้ม'] โดย ทีมข่าวการเมือง ประชาไท  กษิต ภิรมย์ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 22 ธันวาคม 2551 (ที่มา: Daylife.com/Reuters) เส้นไหน โควตาใครกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กลายเป็นสายล่อฟ้า รัฐบาล ‘มาร์ค 1' เพราะข้อครหาว่าเป็นรัฐมนตรีโควตา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' จากบทบาทปราศรัยบนเวทีพันธมิตรประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้งนับตั้งแต่ ‘เฟส 1 - 2549'…
หัวไม้ story
  "เขาไม่ให้ผมประกันตัว เขาบอกกลัวผมหลบหนี ผมจะหนีไปไหน ผมเป็นคนไทยนะ จะให้ผมไปไหน ผมจ่ายภาษีปีละหลายหมื่นบาท แต่วันนี้ผมรู้สึกเหมือนเป็นแค่คนที่มาอาศัยแผ่นดินอยู่ เขาไม่ให้ผมประกันตัว เขาบอกว่าผมจะทำความผิดซ้ำ จะทำลายหลักฐาน ผมจะทำทำไม ในเมื่อถ้าทำแล้วมีแต่น้ำตา และมันไม่ใช่น้ำตาของผมคนเดียว แต่เป็นน้ำตาของคน 5 คน คือครอบครัวผม ลูกเมียผม ชีวิตผมตอนนี้มีแต่น้ำตา" สุวิชา ท่าค้อ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายล่าสุด เอ่ยปากผ่านม่านน้ำตาที่ไหลพร่างพรูต่อหน้าแผ่นกระจกบางๆ ที่กั้นระหว่างเขาและผู้สื่อข่าวสุวิชามีการเครียดมาก ร้องไห้เกือบตลอดเวลา…
หัวไม้ story
ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ ‘นิวส์ออฟเดอะเวิลด์' ของอังกฤษ มีผู้เข้าชมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากที่เคยมีคนแค่ ‘หลักพัน' คลิกเข้ามาอ่านข่าวประเภทสีสันบันเทิงซุบซิบดารา แต่ทันทีที่สื่อกระแสหลักอย่างสำนักข่าวบีบีซี เอพี รอยเตอร์ หรือไทม์ของอังกฤษ รายงานว่าเว็บนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ มีการเผยแพร่ ‘คลิปหลุด' ของ ‘เจ้าชายแฮรี่' รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ยอดผู้เข้าชมก็พุ่งแตะหลัก 50,000 คนภายในเวลาไม่กี่วัน สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือการถกเถียงอย่างจริงจังในชุมชนพลเมืองอินเตอร์เน็ต ว่าด้วยเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ, สิทธิส่วนบุคคล, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น…
หัวไม้ story
 Photos by : Berd Whitlock , from : http://www.flickr.com/photos/rwhitlock/3167211359/     - ทีมข่าวความมั่นคง -  หลังบรรยากาศเฉลิมฉลองคริสมาสต์เพียง 2 วัน และอีกเพียงไม่กี่วันก็จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่สำหรับชาวปาเลสไตน์ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2551 มันไม่ใช่วันแห่งความสุขรื่นรมย์เหมือนที่อื่นๆ แต่กลับเป็นวันที่แสนเจ็บปวด เลือดไหลรินและน้ำตาไหลนอง ในวันนั้นอิสราเอลลงมือส่งหน่วยปฏิบัติการทางอากาศเข้าโจมตีที่ทำการรัฐบาลฮามาส รวมไปถึงบ้านเรือนของผลเรือน ปฏิบัติดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 800 ราย
หัวไม้ story
  ทีมข่าวการเมือง"สิ่งที่เขาเขียนนั้นเป็นเพียงการกล่าวถึงเรื่องความสัมพันธ์ลับๆ ของพระราชวงศ์ในลำดับที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์โดยไม่แม้แต่จะเอ่ยนามว่าเป็นพระราชวงศ์พระองค์ใด ข้อความที่เขียนนั้นยาวเพียง 2 ประโยค จากหนังสือที่พิมพ์เผยแพร่แค่ 50 เล่ม แต่เขาอยู่ในคุกไทยมาแล้ว 4 เดือนเต็มๆ โดยคำร้องขอประกันตัวถูกปฏิเสธไปแล้ว 4 ครั้ง"ย่อหน้าข้างบนเป็นการให้ข้อมูลจากองค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ซึ่งแสดงความวิตกกังวลในระดับที่หนักขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิเสรีภาพในประเทศไทย โดยจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ที่ส่งไปยังเครือข่ายนักกิจกรรมด้านเสรีภาพในการแสดงความเห็นทั่วโลก…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองภายในประเทศ สื่อไทยและรัฐบาลใหม่ดูจะยังดำเนินไปตามขนบที่เป็นมายาวนานคือยังอยู่ในช่วงเวลาน้ำผึ้งพระจันทร์ แต่นอกพรมแดนรัฐไทยออกไป กลับเป็นบรรยากาศที่แตกต่าง ข้อมูลข่าวสารที่ถูกรายงานออกไปดูจะไม่เป็นมิตรต่อรัฐบาลใหม่ของประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้สักเท่าใด น้ำผึ้งไม่หวาน พลันที่ประเทศไทยได้รัฐบาลใหม่ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ สิ่งที่รอยเตอร์แนะนำเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยก็คือ....
หัวไม้ story
โดย ทีมข่าวการเมือง   000 “ติดใจทฤษฎีแมลงสาบ กลัวว่าพรรคคู่แข่งจะว่า แต่ดูแล้วตอนนี้รัฐบาลชุดนี้ทำตัวเหมือนแมลงสาบเหมือนกัน ในแง่ชอบความสกปรก ความมืด ที่สำคัญคือขยายตัวได้เร็วมาก ปีกว่าๆ ก็แพร่พันธุ์ได้มากมาย ตนคิดว่าหลักการปฏิรูปที่แท้จริงคือทุกคนต้องเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ หากนักการเมืองคิดถึงแต่อำนาจก็ไม่มีทางปฏิรูปได้สำเร็จ เพราะการปฏิรูปต้องผ่องถ่ายอำนาจ ไม่ใช่ใช้อำนาจได้ตามใจและกลัวว่าจะมีการตรวจสอบได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์7 เมษายน 2545 000 “เราได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน…