Skip to main content

โดย Chotisak Onsoong

 

 

1. จีนเป็นประเทศ "ทุนนิยมโดยรัฐ" ไม่ใช่ประเทศ "สังคมนิยม" เพราะจีนมีการสะสมทุน มีการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินไม่ต่างจากทุนนิยมทั่วไป เพียงแต่ทำโดยรัฐไม่ใช่เอกชน (แต่ในระยะหลังมีการเพิ่มบทบาทของเอกชนมากขึ้น)


 

2. การที่จีนเรียกตัวเองว่าประเทศสังคมนิยมไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าจีนเป็นประเทศสังคมนิยมจริงๆ เพราะจอมพลสฤษดิ์ก็บอกว่าตัวเองเป็นฝ่ายเสรีประชาธิปไตย พันธมิตรฯก็เรียกตัวเองว่า "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"

 

การเคลมว่าตัวเองเป็นนั่นเป็นนี่มันไม่มากพอที่จะบอกว่าเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆ เราต้องไม่ใสซื่อไร้เดียงสาเชื่อใครง่ายๆเพียงเพราะเขาบอกว่าเขาเป็นนั่นเป็นนี่ครับ

 

 

3. ระยะแรกหลัง พคจ.ปฏิวัติยึดอำนาจรัฐ การใช้แรงงานเป็นแบบแรงงานบังคับ/การเกณฑ์แรงงาน ไม่ใช่การจ้างงานแบบทุนนิยมที่เราคุ้นเคย ซึ่งบางคนตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเหมือนระบบศักดินา แต่ความจริงแล้วนั่นคือขั้นตอนหนึ่งของการสะสมทุนที่เรียกว่า "การสะสมทุนบุพกาล" ซึ่งเป็นการสะสมทุนในระยะเริ่มต้นที่จะนำเอาลักษณะการขูดรีดแรงงานก่อนหน้านี้มาใช้

 

การที่สังคมอเมริกาในช่วงแรกมีการใช้แรงงานทาสก็คือขั้นตอนเดียวกันนี้ เพียงแต่ต่างรูปแบบกัน (อันนึงเกณฑ์แรงงาน อันนึงใช้แรงงานทาส) และในกรณีจีนทำโดยรัฐ ขณะที่อเมริกาทำโดยเอกชน

 

 

4. เหมาอิสต์ไทยบางคนอ้างว่าเหตุที่หลังการปฏิวัติจีนต้องใช้แรงงานบังคับในข้อ 3.นั้นเพราะทุนนิยมในจีนยังไม่พัฒนาพอ (หรือบางคนบอกว่าจีนยังไม่เคยเป็นทุนนิยม) ดังนั้นเมื่อ พคจ.ปฏิวัติสำเร็จ พคจ.ก็เลยต้องพัฒนาทุนนิยม/ทำให้สังคมจีนเป็นทุนนิยมเต็มที่ซะก่อน (พูดอีกแบบนึงก็คือ ต้องพัฒนา "พลังการผลิต" ซะก่อน) แล้วค่อยไปสู่สังคมนิยม

 

ความจริงข้ออ้างนี้มีจุดให้โต้แย้งถกเถียงหลายจุด เพียงแต่ผมไม่อยากโต้แย้งประเด็นเหล่านั้นในบันทึกนี้ แต่ที่ยกข้ออ้างนี้มาเล่าก็เพราะอยากจะบอกว่า คนที่อ้างแบบนี้, จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม, ก็ได้ยอมรับแล้วว่าจีนยังไม่เป็นสังคมนิยม

 

 

5. ความตลกอย่างหนึ่งของพวกเหมาอิสต์ก็คือ ดูเหมือนพวกเขาจะกลัว/ไม่อยาก/หรือพยายามเหลือเกินที่จะไม่สร้างสังคมนิยม

 

ในด้านหนึ่งพวกนี้เชื่อว่าสังคมต้องพัฒนาตามขั้นตอน ถ้ายังไม่เป็นทุนนิยมก็ต้องพัฒนาทุนนิยมให้มันเต็มที่ซะก่อน ขณะเดียวกันพวกเขาก็พยายามเหลือเกินที่จะชี้ว่าสังคมที่เขาพยายามปฏิวัติ, ซึ่งรวมถึงสังคมไทยปัจจุบัน, นั้นยังไม่เป็นทุนนิยม สรุปก็คือถ้าปฏิวัติสำเร็จก็ต้องเป็น "ทุนนิยมโดยรัฐ" ภายใต้ "การชี้นำ" ของพวกเขาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

 

 

6. ดังนั้นเวลาพวกโปรทุนนิยมคุยโม้ว่า "ทุนนิยมชนะแล้วเพราะใครๆก็ล้วนแต่เลือกใช้ทุนนิยม และแม้แต่สังคมนิยมก็หันมาเปลี่ยนเป็นทุนนิยมมากขึ้น" ความจริงแล้วมันไม่ใช่ชัยชนะอะไรเลย แต่มันเป็นเพราะพวกโปรทุนนิยมโดยรัฐหันมายอมรับทุนนิยมกลไกตลาดเท่านั้นเอง

 

คือถ้ามันจะมีชัยชนะ-ความพ่ายแพ้ มันก็แค่เป็นชัยชนะ-ความพ่ายแพ้ระหว่างพวกโปรทุนนิยม 2 กลุ่มเท่านั้นเอง

 

 

7. จีนในปัจจุบันมีลักษณะ "ทุนนิยมกลไกตลาด" มากขึ้น คือลดบทบาทรัฐในทางเศรษฐกิจ แล้วให้บทบาทเอกชนเข้ามาแทนที่ส่วนนั้น

 

 

8. ดังนั้นเราอาจจะแบ่งทุนนิยมจีนหลังการปฏิวัติของ พคจ.แบบหยาบๆได้เป็น 3 ช่วง คือ

 

ก. ช่วง "การสะสมทุนบุพกาล" หลังการปฏิวัติใหม่ๆ ที่เอารูปแบบแรงงานบังคับคล้ายๆศักดินามาใช้

 

ข. ช่วง "ทุนนิยมโดยรัฐ"

 

ค. ช่วง "กึ่งทุนนิยมโดยรัฐกึ่งทุนเอกชน" ในปัจจุบัน

 

ซึ่งต้องย้ำว่าทั้ง 3 ช่วง (คือตั้งแต่หลังปฏิวัติมาจนถึงวินาทีปัจจุบัน) จีนเป็นทุนนิยมตลอด

 

 

9. ลาวและเวียดนามก็มีลักษณะไม่ต่างกันนี้ (อาจจะยกเว้นรูปแบบของการสะสมทุนบุพกาล), ทั้ง 2 ประเทศเคยผ่านช่วง "ทุนนิยมโดยรัฐ" มาแล้ว และปัจจุบันก็เปลี่ยนเป็น "กึ่งทุนนิยมโดยรัฐกึ่งทุนเอกชน"

 

ส่วนเกาหลีเหนือน่าจะยังอยู่ในขั้น "การสะสมทุนบุพกาล" อยู่

 

ทั้งหมดนี้ไม่มีประเทศไหนเป็นหรือเคยเป็น "สังคมนิยม" เลยแม้แต่ประเทศเดียว

 

 

10. ที่เขียนมานี้ไม่ใช่เพราะประเทศเหล่านี้ปฏิวัติแล้วผลงานออกมาแย่ แล้วผมก็เลยต้องพยามแก้ต่างให้ "สังคมนิยม" ด้วยการ "ถีบหัวส่ง" ปฏิเสธว่าประเทศพวกนี้ไม่ใช่สังคมนิยม เพราะในความเป็นจริงข้อถกเถียงที่ผมยกมามันมีมาก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติในประเทศเหล่านี้ซะอีก

 

ที่เขียนมานี่คนอื่นเขาอธิบายไว้แล้วทั้งนั้น (จริงๆไม่ได้แค่อธิบาย แต่พวกเขาได้พยายามโต้แย้ง/คัดค้านแนวทางพวกนี้มานานแล้ว) ผมไม่ได้(เพิ่งมา)คิดเองหรอกครับ ....

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
รายการประกายTalk โดย DJ Bus กับ ป้าอุ๊ ภรรยาอากง SMS (23-05-2012) แขกรับเชิญ ป้าอุ๊ ภรรยา ของ อากง SMS หรือ นายอำพล ทีสามีเป็นผู้ต้องขังคดี ม.112 และเสียชีวิตในคุกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus กับ สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) 16-05-2012 แขกรับเชิญ สมบัติ บุญงามอนงค์ (ชื่อเล่น: หนูหริ่ง, หรือนามแฝงที่ใช้ในอินเตอร์เน็ท: บ.ก.ลายจุด) แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง พิธีกรร่วมรายการ: DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น การปั่นกระแส"แพงทั้งแผ่นดิน"กับการกดชีวิตอากงให้ถูก
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "วันกรรมกรสากล" 02-05-2012 แขกรับเชิญ คุณ พัชนี คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย  
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ "วิวัฒนาการรัฐทุนนิยมไทย" วิทยากร เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ณัฐพล ใจจริง. อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย วีรนันท์ ฮวดศรี กลุ่มประกายไฟ
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ “New Social Media กับการเคลื่อนไหวทางเมืองไทย” วิทยากร อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย ปาลิดา ประการะโพธิ์ กลุ่มประกายไฟ ( วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55)   
ประกายไฟ
วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55 มาร์กซิสม์ 101 A ว่าด้วยทฤษฎีมาร์กซิสม์ เบื้องต้น บรรยาย เพื่อให้ความรู้พื้นฐาน มาร์กซิสต์   วิทยากร พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการ ณัชชา ตินตานนท์ กลุ่มประกายไฟ  
ประกายไฟ
  บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา…
ประกายไฟ
  "แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง" ทิพรดา ตากดำรงศ์กุลท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า…
ประกายไฟ
แถลงการณ์"การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุนลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ"ณ  อนุสรณ์สถาน ญาติวีรชน 14 ตุลาวันอาทิตย์ที่  28 กันยายน 2551 ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เสนอ "การเมืองใหม่" โดยอ้างว่าเป็นผู้จุดประกายการปฏิรูปการเมืองผ่าทางตัน "การเมืองแบบเก่า" ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองซื้อเสียง การคอร์รัปชั่นกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็น "เจ้าภาพ" เพื่อการสร้างประชาธิปไตย เพราะการเคลื่อนไหวและเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯที่ผ่านมาล้วนลดบทบาทและไม่เชื่อมั่นในอำนาจและความคิดของประชาชนคนธรรมดา…
ประกายไฟ
  แถลงการณ์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้1 กันยายน 2551จากเหตุการณ์การชุมนุมยืดเยื้อและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันระหว่างรัฐบาลพรรคพลังประชาชน และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาอันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองของฝ่ายชนชั้นนายทุน มิใช่การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของชนชั้นล่างอย่างแท้จริง กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาที่ลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อสังคม ดังต่อไปนี้1. เราคัดค้านการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ…