Skip to main content

โดย Chotisak Onsoong

 

 

1. จีนเป็นประเทศ "ทุนนิยมโดยรัฐ" ไม่ใช่ประเทศ "สังคมนิยม" เพราะจีนมีการสะสมทุน มีการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินไม่ต่างจากทุนนิยมทั่วไป เพียงแต่ทำโดยรัฐไม่ใช่เอกชน (แต่ในระยะหลังมีการเพิ่มบทบาทของเอกชนมากขึ้น)


 

2. การที่จีนเรียกตัวเองว่าประเทศสังคมนิยมไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าจีนเป็นประเทศสังคมนิยมจริงๆ เพราะจอมพลสฤษดิ์ก็บอกว่าตัวเองเป็นฝ่ายเสรีประชาธิปไตย พันธมิตรฯก็เรียกตัวเองว่า "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"

 

การเคลมว่าตัวเองเป็นนั่นเป็นนี่มันไม่มากพอที่จะบอกว่าเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆ เราต้องไม่ใสซื่อไร้เดียงสาเชื่อใครง่ายๆเพียงเพราะเขาบอกว่าเขาเป็นนั่นเป็นนี่ครับ

 

 

3. ระยะแรกหลัง พคจ.ปฏิวัติยึดอำนาจรัฐ การใช้แรงงานเป็นแบบแรงงานบังคับ/การเกณฑ์แรงงาน ไม่ใช่การจ้างงานแบบทุนนิยมที่เราคุ้นเคย ซึ่งบางคนตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเหมือนระบบศักดินา แต่ความจริงแล้วนั่นคือขั้นตอนหนึ่งของการสะสมทุนที่เรียกว่า "การสะสมทุนบุพกาล" ซึ่งเป็นการสะสมทุนในระยะเริ่มต้นที่จะนำเอาลักษณะการขูดรีดแรงงานก่อนหน้านี้มาใช้

 

การที่สังคมอเมริกาในช่วงแรกมีการใช้แรงงานทาสก็คือขั้นตอนเดียวกันนี้ เพียงแต่ต่างรูปแบบกัน (อันนึงเกณฑ์แรงงาน อันนึงใช้แรงงานทาส) และในกรณีจีนทำโดยรัฐ ขณะที่อเมริกาทำโดยเอกชน

 

 

4. เหมาอิสต์ไทยบางคนอ้างว่าเหตุที่หลังการปฏิวัติจีนต้องใช้แรงงานบังคับในข้อ 3.นั้นเพราะทุนนิยมในจีนยังไม่พัฒนาพอ (หรือบางคนบอกว่าจีนยังไม่เคยเป็นทุนนิยม) ดังนั้นเมื่อ พคจ.ปฏิวัติสำเร็จ พคจ.ก็เลยต้องพัฒนาทุนนิยม/ทำให้สังคมจีนเป็นทุนนิยมเต็มที่ซะก่อน (พูดอีกแบบนึงก็คือ ต้องพัฒนา "พลังการผลิต" ซะก่อน) แล้วค่อยไปสู่สังคมนิยม

 

ความจริงข้ออ้างนี้มีจุดให้โต้แย้งถกเถียงหลายจุด เพียงแต่ผมไม่อยากโต้แย้งประเด็นเหล่านั้นในบันทึกนี้ แต่ที่ยกข้ออ้างนี้มาเล่าก็เพราะอยากจะบอกว่า คนที่อ้างแบบนี้, จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม, ก็ได้ยอมรับแล้วว่าจีนยังไม่เป็นสังคมนิยม

 

 

5. ความตลกอย่างหนึ่งของพวกเหมาอิสต์ก็คือ ดูเหมือนพวกเขาจะกลัว/ไม่อยาก/หรือพยายามเหลือเกินที่จะไม่สร้างสังคมนิยม

 

ในด้านหนึ่งพวกนี้เชื่อว่าสังคมต้องพัฒนาตามขั้นตอน ถ้ายังไม่เป็นทุนนิยมก็ต้องพัฒนาทุนนิยมให้มันเต็มที่ซะก่อน ขณะเดียวกันพวกเขาก็พยายามเหลือเกินที่จะชี้ว่าสังคมที่เขาพยายามปฏิวัติ, ซึ่งรวมถึงสังคมไทยปัจจุบัน, นั้นยังไม่เป็นทุนนิยม สรุปก็คือถ้าปฏิวัติสำเร็จก็ต้องเป็น "ทุนนิยมโดยรัฐ" ภายใต้ "การชี้นำ" ของพวกเขาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

 

 

6. ดังนั้นเวลาพวกโปรทุนนิยมคุยโม้ว่า "ทุนนิยมชนะแล้วเพราะใครๆก็ล้วนแต่เลือกใช้ทุนนิยม และแม้แต่สังคมนิยมก็หันมาเปลี่ยนเป็นทุนนิยมมากขึ้น" ความจริงแล้วมันไม่ใช่ชัยชนะอะไรเลย แต่มันเป็นเพราะพวกโปรทุนนิยมโดยรัฐหันมายอมรับทุนนิยมกลไกตลาดเท่านั้นเอง

 

คือถ้ามันจะมีชัยชนะ-ความพ่ายแพ้ มันก็แค่เป็นชัยชนะ-ความพ่ายแพ้ระหว่างพวกโปรทุนนิยม 2 กลุ่มเท่านั้นเอง

 

 

7. จีนในปัจจุบันมีลักษณะ "ทุนนิยมกลไกตลาด" มากขึ้น คือลดบทบาทรัฐในทางเศรษฐกิจ แล้วให้บทบาทเอกชนเข้ามาแทนที่ส่วนนั้น

 

 

8. ดังนั้นเราอาจจะแบ่งทุนนิยมจีนหลังการปฏิวัติของ พคจ.แบบหยาบๆได้เป็น 3 ช่วง คือ

 

ก. ช่วง "การสะสมทุนบุพกาล" หลังการปฏิวัติใหม่ๆ ที่เอารูปแบบแรงงานบังคับคล้ายๆศักดินามาใช้

 

ข. ช่วง "ทุนนิยมโดยรัฐ"

 

ค. ช่วง "กึ่งทุนนิยมโดยรัฐกึ่งทุนเอกชน" ในปัจจุบัน

 

ซึ่งต้องย้ำว่าทั้ง 3 ช่วง (คือตั้งแต่หลังปฏิวัติมาจนถึงวินาทีปัจจุบัน) จีนเป็นทุนนิยมตลอด

 

 

9. ลาวและเวียดนามก็มีลักษณะไม่ต่างกันนี้ (อาจจะยกเว้นรูปแบบของการสะสมทุนบุพกาล), ทั้ง 2 ประเทศเคยผ่านช่วง "ทุนนิยมโดยรัฐ" มาแล้ว และปัจจุบันก็เปลี่ยนเป็น "กึ่งทุนนิยมโดยรัฐกึ่งทุนเอกชน"

 

ส่วนเกาหลีเหนือน่าจะยังอยู่ในขั้น "การสะสมทุนบุพกาล" อยู่

 

ทั้งหมดนี้ไม่มีประเทศไหนเป็นหรือเคยเป็น "สังคมนิยม" เลยแม้แต่ประเทศเดียว

 

 

10. ที่เขียนมานี้ไม่ใช่เพราะประเทศเหล่านี้ปฏิวัติแล้วผลงานออกมาแย่ แล้วผมก็เลยต้องพยามแก้ต่างให้ "สังคมนิยม" ด้วยการ "ถีบหัวส่ง" ปฏิเสธว่าประเทศพวกนี้ไม่ใช่สังคมนิยม เพราะในความเป็นจริงข้อถกเถียงที่ผมยกมามันมีมาก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติในประเทศเหล่านี้ซะอีก

 

ที่เขียนมานี่คนอื่นเขาอธิบายไว้แล้วทั้งนั้น (จริงๆไม่ได้แค่อธิบาย แต่พวกเขาได้พยายามโต้แย้ง/คัดค้านแนวทางพวกนี้มานานแล้ว) ผมไม่ได้(เพิ่งมา)คิดเองหรอกครับ ....

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
กับประเด็นศาลรัฐธรรมนูญฟ้องแกนนำเสื้อแดง การถอนประกันตัวจตุพร การช่วยเหลือเพื่อนนักโทษการเมือง การใส่เสื้อแดงของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประกายไฟ
"..เบนพูดเรื่องโอกาส โลกทุกวันนี้หลอกลวงคนจนด้วยคำว่าโอกาส แต่เบนชี้ให้เห็นทางที่เร็วกว่า คือ คว่ำมันซะ ไอ้ระบบโครงสร้างที่ครอบเราอยู่ ปลดมันซะ อย่าพยายามปรับปรุงมันเหมือนที่แบทแมนทำเลย.."
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK(25 -07-2012) แขกรับเชิญ จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ เจ้าหน้าที่โครงการณรงค์เพื่อแรงงาน ประเด็น - ปัญหาสิทธิแรงงาน ใน TPBS สหภาพแรงงานกับการเสริมสร้างประชาธิปไตย เป็นต้น
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK(18 -07-2012) แขกรับเชิญ คุณ คุณจิตรา คชเดช เจ้าของรางวัลนักสิทธิมนุษยชนที่น่ายกย่อง ในงาน ประกาศรางวัล “สมชาย นีละไพจิตร 2555” ประเด็น - สถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทย และกรณีการหายตัวไป 8 ปีของนักป้องสิทธิอย่างคุณสมชาย นีละไพจิตร -  สิทธิแรงงานกับกา
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น ความคืบหน้าคดีการสังหารหมู่ 2553 ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ และ ศาลรัฐธรรมนูญ ( 11 -07-2012) แขกรับเชิญ คุณ คารม พลพรกลาง ทนายความ นปช.
ประกายไฟ
..การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมิอาจกระทำได้โดยละเลยขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งโดยเฉพาะกระบวนการค้นหาและสถาปนาความจริงเป็นสิ่งที่ยากจะฟังขึ้น การใช้ข้ออ้างเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม เป็นแต่เพียงการจุดชนวนระเบิดเวลาที่จะรอวันระเบิดเท่านั้น..อานนท์ ชวาลาวัณย์
ประกายไฟ
อหิงสาและการดื้อแพ่งคือตัวตนของคานธีที่ดูจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแต่ทว่าตัวตนอีกด้านหนึ่งของเขาที่กระแสหลักพูดถึงไม่บ่อยนัก(หรือแทบไม่พูดถึงเลย)นั่นคือคัวตนของเขาในฐานะความเป็นศาสนา-อนุรักษ์นิยม
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น คณะราษฎรที่2 และ คณะบวรเดชที่3 และ รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ( 27 -06-2012) แขกรับเชิญ ดิน บัวแดง จากประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน นักกิจกรรม คณะราษฎรที่2 ภรณ์ทิพ นักกิจกรรม คณะบวรเดชที่3 
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "80 ปี ปฎิวัติประชาธิปไตย 2475 และ ก้าวต่อไป ประเทศไทย " (20-06-2012) แ
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "ปธ.รัฐสภาไม่ลงมติแก้รธน.วาระ3" (13-06-2012) แขกรับเชิญ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk (6 มิ.ย. 55 ) แขกรับเชิญ "จาตุรนต์ ฉายแสง" อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย พูดคุยในประเด็น "รัฐประหารโดยตุลาการ"  
ประกายไฟ
 รายการประกาย Talk โดย DJ Bus กับ พรบ.ปรองดอง ในมุมมองนักศึกษา 30-05-2012 แขกรับเชิญ พรชัย ยวนยี เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ประเด็น พรบ.ปรองดอง ในมุมมองนักศึกษา