Skip to main content

สาละวิน,ลูกรัก


แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน


มันเป็นพิธีกรรมที่สานสายใยแห่งความรักของครอบครัวของเราที่นับวันจะเลือนหายไปจากสังคมไทย ที่มีครอบครัวเดี่ยวเกิดขึ้นมากกว่าครอบครัวขยาย พิธีกรรมที่ว่าก็คือ “การอยู่ไฟ” นั่นเอง


พิธีกรรมที่สำคัญของสตรีหลังคลอดบุตร ซึ่งไม่ใช่จะมีเฉพาะชาวกระยันเท่านั้น แต่คนไทยสมัยก่อนก็ยังถือว่า การ “อยู่ไฟ” เป็นสิ่งที่หญิงหลังคลอดทุกคนต้องปฏิบัติ เพราะว่ากันว่า หากผู้เป็นแม่อยู่ไฟอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้น้ำนมที่ออกมาดี เป็นการขับน้ำคาวปลาและส่งผลต่อสุภาพที่ดีในยามแก่เฒ่าด้วย


แม่ไม่รู้หรอกว่า การอยู่ไฟของประเพณีไทยเป็นอย่างไร แต่แม่คิดว่า การอยู่ไฟของกระยันก็คงจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก


สำหรับการอยู่ไฟของชาวกระยัน มีอยู่สองแบบ แบบแรกจะเป็นแบบที่โบราญมาก ผู้อยู่ไฟจะต้องใช้ความอดทนอย่างสูง และต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก โดยต้องใช้หินที่อังไฟร้อนๆแทนการใช้น้ำสมุนไพรต้มเดือด


ส่วนอยู่แบบที่สองคือการอาบสมุนไพรต้มเดือด ซึ่งขั้นตอนน้อยกว่า แต่ได้ผลไม่ต่างกัน แม่จึงเลือกแบบที่สอง

สำหรับสมุนไพรที่ใช้ในการต้มอาบนั้น ปัจจุบันหายากและต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ จึงต้องสั่งซื้อจากหมอสมุนไพรไว้ล่วงหน้า เพื่อนำมาตากจนแห้ง ซึ่งย่าเป็นผู้เตรียมไว้ให้แม่ก่อนหน้านี้หลายเดือนแล้ว


ในทุก ๆ เช้าหลังจากที่แม่ให้นมลูกเสร็จแล้ว ก็จะลงมาใต้ถุนบ้านซึ่งเป็นสถานที่อยู่ไฟ พ่อของลูกได้เตรียมไว้ก่อนหน้าที่จะเกิดลูกแล้วอีกเช่นกัน


สถานที่ดังกล่าว จะประกอบไปด้วยกระโจมผ้าเป็นรูปวงกลม มีเก้าอี้สำหรับนั่งซึ่งจะเจาะรูไว้ตรงกลาง เมื่อแม่ขึ้นไปนั่งคร่อมบนเก้าอี้ จะใช้ผ้าคลุมตัวอีกหนึ่งผืน  จากนั้นพ่อของลูกก็จะยกหม้อยาสมุนไพรที่ต้มจนเดือด วางไว้ข้างใต้ของเก้าอี้ หม้อยาจะส่งไอร้อนผ่านรูที่เจาะไว้ อบรมตัวแม่จนเหงื่อไหลไคลย้อย  พ่อจะคอยคนให้น้ำยาถ่ายเทความร้อนขึ้นมา ซึ่งแม่จะรู้สึกร้อนมาก แม้ว่าจะเป็นฤดูหนาวบางครั้งถึงกับจะหน้ามืดเป็นลมเลยทีเดียว การรมยาจะใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมง จนกระทั่งความร้อนของไอลดลง


เมื่อการรมยาเสร็จสิ้นลง แม่ต้องใช้น้ำยาที่เย็นลงแล้ว มาอาบอีกรอบ ขั้นตอนนี้จะยิ่งทรมานมากกว่า เพราะต้องรีบอาบน้ำยาที่ร้อนๆ ขัดถูเนื้อตัวโดยเฉพาะหน้าท้องซึ่งจะทำให้หน้าท้องไม่ยุ้ยยื่นจนเกินไป


ย่าของลูกจะเป็นผู้อาบน้ำร้อนให้ ด้วยความตั้งอกตั้งใจ จนแม่ที่เคยคิดเหนียมอาย ก็ต้องรู้สึกว่าแม่ของพ่อก็ไม่ต่างจากแม่ของแม่ที่คอยเอาใจใส่ลูกสาวคนหนึ่งด้วยความรัก เมื่ออาบน้ำร้อนเสร็จจึงจะถือว่าเสร็จกระบวนการอยู่ไฟในภาคเช้า แต่พอตกบ่าย แม่ก็ต้องมาทำกาอยู่ไฟอีกครั้ง เช่นนี้เรื่อยไปจนครบหนึ่งเดือน


หลังจากการออกไฟแม่จะรู้สึกว่าน้ำหนักตัวลดลง ผิวพรรณผุดผ่องขึ้น ผิดกับเมื่อตอนตั้งท้อง  ที่สำคัญแม่รู้สึกว่าน้ำนมไหลได้ดีไม่คัดตึงความปวดเมื่อยก็ทุเลาลง นี่เป็นเพียงผลประโยชน์ในด้านร่างกาย


แม่รู้สึกว่าภูมิปัญญาการอยู่ไฟแบบโบราณเช่นนี้  คนที่ช่วยเหลือแม ไม่ว่าจะเป็นย่าที่คอยอาบน้ำร้อนให้  พ่อที่ต้องต้มน้ำเดือดต้องใช้ความอดทนอยู่กับเตาไฟ คอยเติมฟืนอยู่ตลอดเวลา และยังต้องดูแลขณะที่แม่อบรมไอน้ำอยู่ไม่ให้เป็นลมเป็นแร้งไปเสียก่อน  ยังมีน้องสาวที่ต้องคอยดูลูกในยามที่ห่างแม่ไม่ให้ร้องงอแง หรือมีสิ่งมารบกวน


การอยู่ไฟจึงเสมือนบททดสอบความรักของคนในครอบครัว  มันได้สร้างไออุ่นแห่งความผูกพันขึ้นระหว่างกัน โดยเฉพาะระหว่างแม่กับย่า ที่ช่องว่างและความรู้สึกที่ห่างเหินถูกขจัดไปจนหมดสิ้น


แม่รู้สึกโชคดีที่ได้อยู่ไฟแบบโบราณ ในชุมชนโบราณที่หลายคนอาจจะดูถูก  แม้มันจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ กลับทำให้แม่รู้สึกว่าแม่มีแม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน
.

รักลูก
,
แม่


บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
  สาละวิน,ลูกรัก เมื่อครั้งที่แม่มาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกนั้น แม่อายุได้ 18 ปี เชียงใหม่ในความรู้สึกของแม่มันช่างกว้างใหญ่สวยงาม  แม่เป็นเพียงเด็กบ้านนอกจนๆ ที่มีเพียงเงินค่ารถติดตัวไม่กี่บาท ที่เหลือก็เป็นค่าลงทะเบียนสอบเอ็นทรานซ์ แม่มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพจากวิวนอกเมืองยามรถแล่นผ่าน  แม่อธิษฐานในใจว่า หากมีบุญที่จะได้มาอยู่เชียงใหม่  ก็จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุฯ ให้ได้
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือจนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก เช้าวันที่สองของการไปคลอด ในมือของแม่ยังคงว่างเปล่า ทั้งที่ทุกคนในห้องหลังคลอดต่างมีห่อของขวัญอยู่ในมือกันคนละห่อ พ่อของลูกเทียวไปมาระหว่างห้องหลังคลอด ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องรอคลอด กับห้องพักเด็กอ่อน ที่อยู่ไกลออกไปอีกหนึ่งช่วงตึก ที่นั่นมีห่อของขวัญของแม่นอนอยู่ในตู้อบเล็กๆ ขนาดเท่ากับตัวลูก
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก ในเช้าที่แม่ต้องเดินทางไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลในเมือง เป็นเช้าสุดท้ายที่แม่ได้นอนตื่นสายเช่นที่แม่เคยเป็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร หลังจากมีสาละวินแล้ว แม่ก็ไม่ได้ตื่นสายอีกเลย มันเป็นเช้าปกติที่แม่ตื่นขึ้นมาพบว่าอุ้มท้องลูกได้เก้าเดือนแล้ว และวันนี้หมอนัดให้แม่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล
เจนจิรา สุ
 สาละวิน,ลูกรัก  ลูกมักตื่นแต่เช้า เช้าที่เรียกว่าไก่โห่เลยที่เดียว  มีคนเคยพูดไว้ว่า มีเด็กทารก กับคนแก่ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือตื่นเช้ามากๆ  แต่จุดประสงค์ของการตื่นเช้าของคนต่างวัยกลับต่างกัน เด็กทารกนั้น ตื่นเต้นกับโลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และหลับมานานในท้องแม่จนกระตือรือร้นที่จะตื่นมาเรียนรู้โลกใบกว้าง  ในขณะที่คนแก่ซึ่งอยู่บนโลกมานานรู้ว่าจะเหลือเวลาอยู่ดูโลกนี้ได้อีกไม่นาน  จึงไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการนอน
เจนจิรา สุ
แม่มองย้อนกลับไปในวัยเด็ก อุปนิสัยก้าวร้าวรุนแรง ที่เคยแสดงออกทางกายภาพนั้นมันยังคงซ่อนอยู่ในจิตใจและแสดงออกมาในรูปแบบอื่นเมื่อเราโตขึ้น เช่น เมื่อก่อนที่แม่จะมีลูก แม่เป็นนักดื่มตัวยงคนหนึ่ง เมื่อเมาจนได้ที่ ความก้าวร้าวรุนแรงก็จะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ จนบางครั้งเพื่อนฝูงต่างก็เอือมระอา 
คนที่ขาดพื้นฐานความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเช่นแม่นั้น ย่อมมีผลต่อพฤติกรรมจากเด็กจนถึงผู้ใหญ่และอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หากแม่ไม่มองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นและไล่เรียงสิ่งผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา เพื่อเป็นอุทาหรณ์และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เพราะหากแม่มัวแต่โทษว่าสิ่งที่ตัวเองทำผิดต่างๆ…
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ในวันที่แม่เริ่มจับปากกาเขียนถึงลูก สาละวินอายุได้หนึ่งเดือนกับสิบแปดวัน แม่นั่งอยู่ข้างๆ เบาะเล็กๆสีชมพู ซึ่งลูกอาจจะแปลกใจที่แม่เลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้เป็นสีชมพูนั้น แม่ยอมรับว่าในใจตอนแรกของแม่ก็หวังจะให้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
เจนจิรา สุ
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ
เจนจิรา สุ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินึกถึงเมื่อเดินทางมาเยือนภาคเหนือของไทยแม้หนทางที่มุ่งสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากจังหวัดเชียงใหม่   จะคดโค้งลาดชันน่าหวาดเสียวจนขึ้นชื่อว่า   หากใครเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนจะเป็นดั่งผู้พิชิตจำนวนโค้งมากที่สุดถึง 1,864 โค้งเลยทีเดียว