Skip to main content

สาละวิน,ลูกรัก

 

สิ่งที่ลูกต้องเรียนรู้ในชีวิตอีกบทหนึ่งก็คือ เมื่อมีพบก็ต้องมีการลาจาก และบางครั้งลูกก็อาจจะต้องเจอกับการพลัดพลาดจากบางสิ่ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


เมื่อก่อนแม่ชอบที่จะเดินทาง มันเริ่มขึ้นเมื่อครั้งที่แม่เรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่สี่ เป็นครั้งแรกที่แม่ได้เดินทางด้วยรถไฟ ขบวนรถสายเหนือออกจากเด่นชัยสู่อยุธยา จุดหมายปลายทาง ก่อนที่จะหยุด ณ ชานชาลาหัวลำโพง กรุงเทพฯ ช่างเป็นขบวนรถไฟที่แม่ไม่มีวันลืม


วันนั้นแม่โกหกทางบ้านว่าที่โรงเรียนมีงานประเพณี ต้องมาค้างเสาร์ –อาทิตย์ แท้ที่จริงแม่วางแผนว่าจะเดินทางไปหาแม่ (ยาย) ที่จังหวัดอยุธยา


สามปีแล้วที่เราแม่ลูกไม่ได้พบหน้ากัน ด้วยพ่อกับแม่ของแม่ต้องแยกทางกันเดิน เมื่อแม่รู้ว่าแม่ของแม่อยู่ที่อยุธยา จึงทำให้แม่ตัดสินใจทุบกระปุกที่มีอยู่นำเงินทั้งหมดมาใช้เป็นค่าเดินทาง


ความตื่นเต้นแม้กระทั่งการเดินไปซื้อตั๋ว ณ จุดขายตั๋วครั้งแรก แม่ยังจำได้ไม่ลืม เพราะกลัวว่าจะเป็นที่สังเกต และถูกสารวัตรนักเรียนจับได้ว่าหนีเรียน กลัวมิจฉาชีพจะมาหลอกลวงหากรู้ว่าเราเดินทางเป็นครั้งแรก ในตอนนั้นแม่กลัวและตื่นเต้นสารพัด


แทบทั้งคืนที่ต้องนั่งมาในรถไฟขบวนอันแสนเชื่องช้า เสียงฉึกฉักของรถไฟมันเต้นไปตามจังหวะหัวใจของแม่ เพราะกลัวว่าถ้าหากเผลอหลับไปอาจจะทำให้แม่เลยสถานีอยุธยา ด้วยความไม่แน่ใจว่าสถานีต่อไปจะเป็นสถานีอะไร แม่จึงต้องเงี่ยหูฟังการประกาศจากเจ้าหน้าที่รถไฟทุกครั้งที่ขบวนรถจอดที่สถานี


และแล้วแม่ก็ถึงจุดหมายในยามเช้าตรู่วันต่อมา แม่เกือบจะจำแม่ของแม่ไม่ได้ เพราะยายของลูกในตอนนั้นดูอ้วนท้วนสดใสกว่าเมื่อก่อน อาจเป็นเพราะการตัดสินใจเลิกรากับพ่อเป็นสิ่งที่แม่คิดถูกต้อง แต่นั่นก็ทำให้เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจขึ้นมาในความรู้สึกของแม่


แม่ใช้เวลาอยู่กับแม่ที่อยุธยาราวสองวัน ก่อนที่จะขึ้นรถไฟขบวนเดียวกันกลับจังหวัดแพร่ ยายของลูกมาส่งแม่ที่สถานี ในขณะที่รถไฟเคลื่อนขบวนออกไปเราโบกมือลาจนลับตากัน


การลาจากครั้งนั้น แม่รู้สึกว่ามันช่างแสนทรมานเป็นการพลัดพรากอีกครั้งที่ไม่รู้ว่าจะได้มาเจอกันอีกเมื่อไร แม่ไม่สามารถอดกลั้นน้ำตาได้ น้ำตาของแม่พรั่งพรูอาบแก้มลงมาไม่หยุด


แม้ว่าแม่จะเติบโตขึ้นและได้ประสบกับการลาจากมานับครั้งไม่ถ้วน แต่แม่ก็ไม่เคยที่จะชินชากับมันเลยสักครั้ง บางครั้งแม่หลบเลี่ยงที่จะไปส่งใครที่สถานีรถ เพราะเวลาที่เรามองรถเคลื่อนตัวออกจากสถานี เหมือนว่ามันได้พรากดวงใจเราติดล้อตามไปด้วย


สาละวินเองก็คงรู้สึกเช่นนี้ เมื่อไปส่งเพื่อนของแม่ที่แวะมาเยี่ยมเยือนครอบครัวของเรา โดยเฉพาะบางคนที่กลายมาเป็นเพื่อนเล่นของลูก และลูกก็จะติดหนึบเป็นพิเศษ เช่น ลุงตรี หรือลุงเสือ เมื่อถึงเวลาที่ต้องไปส่งขึ้นรถเพื่อเดินทางกลับ ลูกก็จะกอดหนึบไม่ยอมให้ขึ้นรถ ร้องไห้โยเยจะตามไปด้วย


แม่ต้องคอยปลอบลูกว่า พวกเขาไปไม่นานหรอกแล้วก็จะกลับมาเยี่ยมพวกเราอีก วันหนึ่งเมื่อลูกโตขึ้นลูกคงได้ขึ้นรถโดยสารคันใหญ่ ที่เคลื่อนตัวบนถนนทางหลวงสู่เมืองที่พวกเขาจากมาตามที่ลูกปรารถนาแน่นอน


ดูเหมือนว่าการได้เดินทางด้วยรถคันใหญ่ไปเมืองเชียงใหม่ ,กรุงเทพฯ ตามที่ลูกได้ยินได้ฟังมาจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของลูกไม่น้อยเลยทีเดียว


ลูกรู้ไหมว่า บ่ายวันหนึ่งหลังจากที่ลูกรบเร้าแม่ว่าจะไปเชียงใหม่สักครั้ง ลูกตัดสินใจถือขวดนมไปทิ้งที่ท่าน้ำหลังบ้าน แล้วบอกว่าจะไม่กินนมแล้ว เมื่อแม่โกหกลูกว่า หากลูกยังกินนมชงจากขวด ลูกจะไม่สามารถขึ้นรถคันใหญ่ไปที่ไหนๆได้


ที่แม่ต้องโกหกลูกเช่นนี้ก็เพราะว่า ลูกถึงวัยที่ควรจะหย่านมจากขวดได้แล้ว และหันมาดื่มนมจากแก้ว แต่เป็นสิ่งที่ยากที่จะให้ลูกเลิกดื่มนมจากขวดโดยทันที แม่จึงต้องอาศัยวิธีนี้คอยชักจูงลูก เพราะแม่รู้ว่าลูกอยากขึ้นรถคันใหญ่ที่เคยไปส่งใครต่อใครกลับบ้านเหลือเกิน


ลูกจึงยอมพลัดพรากจากสิ่งที่ลูกรักและเคยชินมานานกว่าสองปี เพื่อที่จะพบกับการเดินทางที่ยิ่งใหญ่ขึ้นอีกก้าวของตัวเอง.


รักลูก
แม่

 

 

บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
  สาละวิน,ลูกรัก เมื่อครั้งที่แม่มาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกนั้น แม่อายุได้ 18 ปี เชียงใหม่ในความรู้สึกของแม่มันช่างกว้างใหญ่สวยงาม  แม่เป็นเพียงเด็กบ้านนอกจนๆ ที่มีเพียงเงินค่ารถติดตัวไม่กี่บาท ที่เหลือก็เป็นค่าลงทะเบียนสอบเอ็นทรานซ์ แม่มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพจากวิวนอกเมืองยามรถแล่นผ่าน  แม่อธิษฐานในใจว่า หากมีบุญที่จะได้มาอยู่เชียงใหม่  ก็จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุฯ ให้ได้
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือจนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก เช้าวันที่สองของการไปคลอด ในมือของแม่ยังคงว่างเปล่า ทั้งที่ทุกคนในห้องหลังคลอดต่างมีห่อของขวัญอยู่ในมือกันคนละห่อ พ่อของลูกเทียวไปมาระหว่างห้องหลังคลอด ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องรอคลอด กับห้องพักเด็กอ่อน ที่อยู่ไกลออกไปอีกหนึ่งช่วงตึก ที่นั่นมีห่อของขวัญของแม่นอนอยู่ในตู้อบเล็กๆ ขนาดเท่ากับตัวลูก
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก ในเช้าที่แม่ต้องเดินทางไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลในเมือง เป็นเช้าสุดท้ายที่แม่ได้นอนตื่นสายเช่นที่แม่เคยเป็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร หลังจากมีสาละวินแล้ว แม่ก็ไม่ได้ตื่นสายอีกเลย มันเป็นเช้าปกติที่แม่ตื่นขึ้นมาพบว่าอุ้มท้องลูกได้เก้าเดือนแล้ว และวันนี้หมอนัดให้แม่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล
เจนจิรา สุ
 สาละวิน,ลูกรัก  ลูกมักตื่นแต่เช้า เช้าที่เรียกว่าไก่โห่เลยที่เดียว  มีคนเคยพูดไว้ว่า มีเด็กทารก กับคนแก่ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือตื่นเช้ามากๆ  แต่จุดประสงค์ของการตื่นเช้าของคนต่างวัยกลับต่างกัน เด็กทารกนั้น ตื่นเต้นกับโลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และหลับมานานในท้องแม่จนกระตือรือร้นที่จะตื่นมาเรียนรู้โลกใบกว้าง  ในขณะที่คนแก่ซึ่งอยู่บนโลกมานานรู้ว่าจะเหลือเวลาอยู่ดูโลกนี้ได้อีกไม่นาน  จึงไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการนอน
เจนจิรา สุ
แม่มองย้อนกลับไปในวัยเด็ก อุปนิสัยก้าวร้าวรุนแรง ที่เคยแสดงออกทางกายภาพนั้นมันยังคงซ่อนอยู่ในจิตใจและแสดงออกมาในรูปแบบอื่นเมื่อเราโตขึ้น เช่น เมื่อก่อนที่แม่จะมีลูก แม่เป็นนักดื่มตัวยงคนหนึ่ง เมื่อเมาจนได้ที่ ความก้าวร้าวรุนแรงก็จะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ จนบางครั้งเพื่อนฝูงต่างก็เอือมระอา 
คนที่ขาดพื้นฐานความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเช่นแม่นั้น ย่อมมีผลต่อพฤติกรรมจากเด็กจนถึงผู้ใหญ่และอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หากแม่ไม่มองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นและไล่เรียงสิ่งผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา เพื่อเป็นอุทาหรณ์และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เพราะหากแม่มัวแต่โทษว่าสิ่งที่ตัวเองทำผิดต่างๆ…
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ในวันที่แม่เริ่มจับปากกาเขียนถึงลูก สาละวินอายุได้หนึ่งเดือนกับสิบแปดวัน แม่นั่งอยู่ข้างๆ เบาะเล็กๆสีชมพู ซึ่งลูกอาจจะแปลกใจที่แม่เลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้เป็นสีชมพูนั้น แม่ยอมรับว่าในใจตอนแรกของแม่ก็หวังจะให้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
เจนจิรา สุ
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ
เจนจิรา สุ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินึกถึงเมื่อเดินทางมาเยือนภาคเหนือของไทยแม้หนทางที่มุ่งสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากจังหวัดเชียงใหม่   จะคดโค้งลาดชันน่าหวาดเสียวจนขึ้นชื่อว่า   หากใครเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนจะเป็นดั่งผู้พิชิตจำนวนโค้งมากที่สุดถึง 1,864 โค้งเลยทีเดียว