Skip to main content

ในใจเราแต่ละคนมีเรื่องที่เราอยากพลิกเปลี่ยนแก้ไขขนานใหญ่อยู่เสมอ คนละเรื่องสองเรื่อง ที่ใกล้ตัวเรา เรารับรู้และต้องประสบปัญหาอันเกิดจากมันอยู่ทุกวี่วัน บางท่านอาจเป็นเรื่องการจ้างงาน บางท่านอาจเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม บางท่านอาจเป็นเรื่องการศึกษา

จะมากจะน้อย เรามักรู้สึกว่าเราเห็นปัญหา และถ้ามีอำนาจเด็ดขาดอยู่ในมือเรา เมื่อบวกกับความรู้แท้รู้จริงรู้แน่รู้ทั่วชัวร์ป้าปที่เรามีอยู่ อาจจะจากประสบการณ์หรืองานวิจัย ฯลฯ รับรองว่าแก้ได้คัก ๆ

เรื่องนี้เข้าใจได้ แต่ปัญหามีอยู่บางประการเมื่อมันเป็นกรณี "อำนาจพิเศษ" ที่ไม่ใช่และอยู่นอกเหนืออำนาจปกติ

๑) process

อำนาจพิเศษ ย่อมดำเนินไปตามกระบวนการพิเศษ นอกเหนือกระบวนการปกติ ปัญหาคือกระบวนการพิเศษนี้เปิดกว้างให้การมีส่วนร่วม (inclusion & participation) จากชุมชนนโยบาย (policy community) และผู้มีเดิมพันได้เสีย (stake-holders) เข้าถึงได้ (accessibility) มากน้อยแค่ไหน ทั่วถึงหรือไม่อย่างไร มีกระบวนการคัดกรองและหาตัวแทน (representation) กลุ่มเกี่ยวข้องต่าง ๆ อย่างรอบคอบรัดกุมทั่วถึงหรือไม่ จะดำเนินการให้ได้การป่าวร้องสำแดงผลประโยชน์ (interest articulation) และผนึกสมานผลประโยชน์หลากหลายต่างฝ่ายเข้าด้วยกันเป็นชุดนโยบายที่ได้ดุล (interest aggregation) อย่างไร จึงจะไม่เป็นการลำเอียงเอาใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือละเลยให้น้ำหนักฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งน้อยไปจนเสียดุล เพราะการปฏิรูปที่ไม่รวมเอาทุกฝ่ายที่สำคัญเข้ามา ก็จะขาดความร่วมมือผลักดันในขั้นตอนการนำไปปฏิบัติจนการปฏิรูปเสียกระบวน อาจไม่ก่อให้เกิดผลสำเร็จที่คาดหวังได้

๒) agenda setting

ประเด็นปัญหาใดจะได้รับการเลือกหยิบนับรวมเข้ามาในวาระปฏิรูปบ้าง เก็บข้อมูลความเรียกร้องต้องการจากไหนอย่างไร ใครเป็นคนคัดกรอง จะประกันความกว้างขวางทั่วถึงไม่ลำเอียงในการรวบรวมประมวลประเด็นปัญหาที่ต้องปฏิรูปได้อย่างไรจึงจะไม่ตกหล่นละเลย จนบางปัญหาเร่งด่วนน้อยแต่ถูกเอาเข้าระเบียบวาระก่อนเพราะความสนใจหรือผลประโยชน์เฉพาะส่วนของผู้มีอำนาจปฏิรูปและแวดวงใกล้ชิด แต่บางปัญหาเร่งด่วนสำคัญกว่าทว่าห่างไกลจากความสนใจหรือผลประโยชน์เฉพาะส่วนของผู้มีอำนาจปฏิรูปและแวดวงออกไป จนมันถูกทิ้งหมักหมมไว้แล้วไประเบิดต่อหน้าต่อตาอย่างนึกไม่ถึงรับมือไม่ทัน

๓) generalized opposition

เป็นธรรมดาที่การคัดค้านอาจเกิดขึ้นได้ต่อการปฏิรูป นอกจากจะมีการคัดค้านจากผู้เสียประโยชน์จากการปฏิรูปโดยตรงในประเด็นปัญหาหนึ่ง ๆ แล้ว ยังอาจเกิดการคัดค้านจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่ยอมรับความชอบธรรม (legitimacy) ของกระบวนการปฏิรูปด้วยอำนาจพิเศษและกระบวนการพิเศษโดยทั่วไปในตัวมันเองด้วยที่ไปส่งผลรอนสิทธิ์หรือกระทบกระเทือนคนวงกว้างนอกประเด็นปฏิรูป กล่าวคือ เขาอาจต้องการให้ปฏิรูปเรื่องนั้นเรื่องนี้เช่นกันก็เป็นได้ หรือแม้กระทั่งวางเฉย แต่เขาไม่เห็นด้วยกับ "ความพิเศษ" ของอำนาจและกระบวนการ จึงพลอยคัดค้านการปฏิรูป (ที่เขาเองก็อาจเห็นด้วยและอยากได้ในเรื่องนั้น ๆ) ไปด้วย

๔) reversibility

การปฏิรูปที่ได้มาด้วยอำนาจและกระบวนการพิเศษมีปัญหาเรื่องความยั่งยืน (sustainability) เมื่อพ้นช่วงเวลาแห่ง "ความพิเศษ" ออกไป เพราะกระบวนการ โครงสร้าง กฎเกณฑ์กติกาและผลลัพธ์ของการปฏิรูปอาจถูกพลิกกลับ (reverse) ได้ด้วยอำนาจและกระบวนการปกติหรือพิเศษเช่นกัน ในแง่นี้ จึงมักมีการผูกตรึงผลปฏิรูปไว้ด้วยข้อบัญญัติและกลไกต่าง ๆ ทั้งทางกฎหมายและสถาบัน ปัญหาก็คือการผูกตรึงดังกล่าวอาจแข็งตัว (rigidity) จนทำให้มันถูกแก้ไขปรับปรุงไม่ทันกับสภาพการณ์หรือความเรียกร้องต้องการของสังคมที่เปลี่ยนไปจนกลายเป็นปัญหาทับซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง

 

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน facebook "Kasian Tejapira" เมื่อเวลา 16.11 น. วันที่ 27 มิ.ย. 2557

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง