Skip to main content

จอห์น วิญญู, 14 ม.ค.58 กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น 142 ตอน เจาะร่าง พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์

 

ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law)

 

ในทางรัฐศาสตร์ หลักนิติธรรม หรือ the rule of law ไม่ใช่แค่คอหยัก ๆ สักแต่ว่าเป็นกฎหมายซึ่งออกโดยผู้มีอำนาจนิติบัญญัติในทางเป็นจริง ที่ไม่ว่าท่านจะถ่มถุยอะไรออกมาอย่างไรก็ใช้ได้ทั้งนั้น แต่มีหลักการที่มาบางอย่างกำกับเป็นบรรทัดฐานอยู่

 

วิญญาณของหลักนิติธรรมในรัฐสมัยใหม่คือการปกครองที่มีอำนาจจำกัด (limited government) ที่มันถูกจำกัด เพราะผู้คนพลเมืองไม่ใช่ไพร่ข้าตัวเปล่าเล่าเปลือย หากกลายเป็นพลเมืองผู้ทรงสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกายชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง (self-ownership ชีวิตเราเป็นของเรา ไม่ใช่ของผู้ปกครองหรือรัฐหรือเทวดาจากไหน นับตั้งแต่อวสานของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อ ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ เป็นต้นมาแล้วครับ)

 

ในเมื่อสิทธิเสรีภาพเป็นของประชาชนพลเมือง ผู้เดียวที่มีอำนาจจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นได้ ก็คือประชาชนพลเมืองผู้เป็นเจ้าของมันนั้นเอง กล่าวคือประชาชนพลเมืองอาจยินดีและยินยอมจำกัดสิทธิเสรีภาพของตัวเองเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคม โดยออกกฎหมายมาจำกัดมัน อาจออกเอง (ประชาธิปไตยทางตรง ในชุมชนเล็ก ๆ) หรือเลือกตั้งตัวแทนโดยชอบของตนไปออกกฎหมาย (สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง)

 

กฎหมายที่ออกโดยสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งจึงเป็นเส้นจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมืองโดยชอบธรรม เพราะเจ้าของเลือกตั้งตัวแทนมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของตนเองโดยยินยอม รัฐต้องเคารพเส้นนั้นและจำกัดอำนาจรัฐเองลงตรงเส้นคั่นสิทธิเสรีภาพของผู้คนพลเมืองนั้น

 

ศาลตุลาการอิสระที่ยึดถือมาตรฐานเดียว (ไม่ใช่ศาลตามใบสั่งและสองหรือสามมาตรฐาน) เป็นกรรมการกำกับเส้นกฎหมาย ไม่ให้รัฐข้ามเส้นกฎหมายที่จำกัดอำนาจรัฐไปล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมือง และขณะเดียวกันก็ไม่ให้ประชาชนพลเมืองข้ามเส้นที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของตนไปบุกรุกขัดขวางก่อกวนทำลายการทำหน้าที่ของรัฐโดยมิชอบ

 

เนื้อแท้ของพรบ.คอมพิวเตอร์ที่กำลังเสนอโดยรัฐบาลปัจจุบันก็คือรัฐกำลังขยับเส้นจำกัดอำนาจรัฐดังกล่าวและเบียดบังเข้าไปในพื้นที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมืองโดยพลการอีกแล้วครับท่านนั่นเอง

 

หมายเหตุ : บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก ‘Kasian Tejapira’ เมื่อวันที่ 16 ม.ค.2558

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ