Skip to main content
 

สมจิต  คงทน
กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (โลโคลแอค)


เมื่อชาวบ้านถูกฟ้องคดี

"ก่อนถูกฟ้องคดีเขาเป็นคนขยัน พอถูกจับและยึดที่ดินไป  ซึ่งเป็นที่ดินที่เขาสองคนผัวเมียได้อยู่อาศัยทำกินกันมายาวนาน เขากลายเป็นคนคิดมาก ควบคุมสติตัวเองไม่ได้  ทุบตีเมียตัวเอง และเคยคิดฆ่าตัวตาย จนกลายเป็นปัญหาครอบครัว สุดท้ายก็ต้องแยกทางกัน  ส่วนลูก 2 คนก็แบ่งกันไปคนละคน"  

นางเหิม เพชรน้อย ชาวบ้านตำบลบ้านนา จังหวัดพัทลุง เล่าถึงชะตากรรมชีวิตของเพื่อนบ้านครอบครัวหนึ่งที่ถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า หรือ เทือกเขาบรรทัด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดพัทลุง ตรัง และนครศรีธรรมราช

ย้อนไปเมื่อปี 2542 นางเหิมและนายวิง เพชรน้อย ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง จำนวน 35 ไร่ สภาพที่ดินเป็นสวนยางพาราเก่าที่หมดสภาพแล้ว เป็นที่ดินที่มีใบ ภบท.5 (ใบแจ้งการเสียภาษีบำรุงท้องที่) ในทุกๆ 4 ปี  ต้องไปชำระภาษีที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง  สาเหตุที่ซื้อมาในขณะนั้นเพราะมีคนบอกว่า สามารถทำเรื่องขอกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้  และในปี 2545 จึงได้ไปขอทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ซึ่งต่อมาช่วงปลายปีทางเจ้าหน้าที่ สกย. ได้ส่งคนเข้าไปสำรวจด้วยการส่องกล้อง และในวันที่ 10 มีนาคม 2546 ได้นายวิง ได้รับอนุญาตให้โค่นต้นยางเก่าได้ 


เมษายน 2546   นายวิงเริ่มต้นโค่นต้นยางเก่า
22 มิถุนายน 2546 นายวิงจุดไฟเผ่าซากต้นยางเก่า
23 มิถุนายน 2546 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติพร้อมกับตำรวจในท้องที่ ได้เข้ามาจับกุมนายวิง ด้วยข้อหา  ครอบครอง บุกรุก แผ้วถาง เผ่าป่า ตัดโค่นต้นไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติ  แต่เนื่องจากที่ดินผืนนี้มีเพื่อนบ้านที่ครอบครองด้วยกัน อีก 4 คน เจ้าหน้าที่อุทยานจึงนัดให้ทั้งหมดไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ

นายวิงเล่าถึงตอนไปให้ปากคำว่า  "เขาบอกให้เราไปเป็นพยาน เพื่อแสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่ที่ดินของเราอย่างเดียวแต่เป็นของคนอื่นด้วย แต่กลายเป็นว่าเราไปรับสารภาพ เราจึงกลายเป็นผู้ต้องหา ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา"

จนกระทั่งวันที่ 27 ธันวาคม 2546 ศาลจังหวัดพัทลุงมีคำพิพากษาให้ลงโทษ จำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท นายวิงเช่นเดียวกันกับเพื่อนบ้านอีก 4 คน

นายวิงยังกล่าวว่า "ศาลไม่ได้ถามอะไรเลย เขาบอกว่าเรารับสารภาพแล้ว จึงเอาตัวเราเข้าห้องขัง  นอนอยู่ในห้องขังหนึ่งคืน เพราะภรรยาหาหลักทรัพย์มาประกันตัวไม่ทัน เนื่องจากต้องไปเฝ้าลูกสาว ซึ่งคลอดลูกอยู่ที่โรงพยาบาล"

หลังจากศาลตัดสินแล้ว พวกตนก็ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ไม่ได้รุกล้ำเขาไปในที่ดินผืนดังกล่าวอีกเลย

เวลาผ่านไปเกือบ 4 ปี สิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอีกครั้ง...เมื่อศาลได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายนายวิงเป็นจำนวนเงินถึง 2,540,963 บาท ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2550

"เมื่อเปิดดูทุกคนต่างตกใจ เพราะมันเป็นหมายเรียกศาล พร้อมคำฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2,540,963.16 บาท ระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ และนายวิง เพชรน้อย เป็นจำเลย สำหรับคนอื่นๆที่โดนคดีอาญาพร้อมกับนายวิง ก็มีหมายศาลคดีแพ่งด้วยเช่นกัน เพียงแต่มูลค่าความเสียหายไม่เท่ากัน เช่น นายวิโรจน์ 4,429,681.44 บาท นายทิน 5,108,564,04 บาท"

นางเหิมเล่าด้วยน้ำเสียงอันเศร้าว่า
"พวกลูกๆ ร้องไห้ บอกว่าไม่เป็นไรให้เขายึดไปเถอะ เขาจะยึดไปหมดก็ช่างเขา ให้พ่อยังอยู่กับพวกเราก็พอแล้ว  ตอนนั้นตนเองก็ฟุ้งซ่าน ไม่กล้าบอกเพื่อนบ้านเพราะอายที่เราถูกคดีอาญาไปแล้ว หนำซ้ำยังมีคดีแพ่งอีก 2 ล้านกว่าบาท ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร เพราะเรามันคนไม่รู้หนังสือ เป็นคนจนนี่ลำบากจริงๆ"

นางเหิมได้เล่าถึงสามีต่ออีกว่า "นายวิงคิดจะฆ่าตัวตาย ตั้งแต่ตอนแรกที่มีหมายศาลมาถึงบ้าน ตอนเสียค่าปรับ 20,000 บาท เมื่อโดนคดีอาญา ต้องไปกู้ยืมเงินเขามา ตอนนี้ยังเสียดอกเบี้ยไม่หมด  แล้ว 2 ล้านกว่าบาทจะเอาที่ไหนมาจ่าย แกก็ตกใจ แกบอกว่าถ้าไม่มีแกคนหนึ่งเรื่องทุกอย่างก็จบ"

นี่เป็นเพียงกรณีหนึ่งในทุกข์ของชาวบ้าน ผู้ที่ถูกหน่วยงานรัฐใช้อำนาจกฎหมายเพื่อยัดเยียดความผิดให้อย่างไม่เป็นธรรม เมื่อเห็นว่าลำพังชาวบ้านไม่กี่คนย่อมไม่สามารถต่อสู้แก้ไขปัญหาได้ จึงมีการรวมตัวกันมากขึ้นกับชาวบ้านอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทยานทับที่ดินทำกิน โดยเรียกตัวเองว่า เครือข่ายองค์กรชุมชนรักษ์เทือกเขาบรรทัด ต่อมากลุ่มชาวบ้านได้ใช้แนวทางการต่อสู้ โดยชุมนุมประท้วงของสมาชิกเครือข่ายเพื่อปิดถนนข้างศาลากลางจังหวัดพัทลุง ระหว่างวันที่ 17 - 18 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา เพื่อยื่นหนังสือถึง นายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เพื่อขอให้ยุติการดำเนินคดีทั้งทางอาญาและแพ่งต่อสมาชิกเครือข่ายฯ และยุติการทำลายทรัพย์สิน ข่มขู่ คุกคาม ตรวจยึดพื้นที่ทำกินเดิมของสมาชิกเครือข่าย

11_9_01 11_9_03
ร่วมกันฟื้นฟูป่า                                                  เด็กปลูกป่าชุมชน

ผลการเจรจาระหว่างตัวแทนชาวบ้านและผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ทางผู้ว่าฯรับประสานงานกับพนักงานอัยการให้ยุติการดำเนินคดีกับชาวบ้าน และได้ตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทน 3 ฝ่ายคือฝ่ายอุทยานแห่งชาติเขาปู่ - เขาย่า เครือข่ายองค์กรชุมชนรักษ์เทือกเขาบรรทัด และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เพื่อตรวจสอบว่ากรณีที่เป็นปัญหาอยู่นั้นเป็นที่ดินทำกินเดิมหรือไม่  โดยใช้ระยะเวลาตรวจสอบ 1 เดือน

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา คณะกรรมการได้นำเสนอผลการตรวจสอบที่ดินทั้งสิ้น 54 ไร่ ต่อนายพินิจ เจริญพานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ซึ่งได้ระบุที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินทำกินเดิมทั้งสิ้น

11_9_02
ป้ายประกาศพื้นที่เครือข่าย

นางเหิมกล่าวในตอนท้ายว่า "การเข้ามาร่วมต่อสู้กับเครือข่ายในครั้งนี้ทำให้ตนและครอบครัวมีกำลังใจ และพร้อมที่จะฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นต่อไป เพราะพวกเราเป็นคนจน เป็นชาวบ้านธรรมดา ถ้าไม่รวมตัว รวมพลังกันก็จะถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย"

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
โดย...สุภาภรณ์ วรพรพรรณ, ระวี ถาวร และ สมศักดิ์ สุขวงศ์   เส้นทางเข้าสู่บ้านตระ 29 มกราคม 2553 เดือนเต็มดวงในค่ำคืนนี้ อยู่ใกล้แทบจะเอามือคว้าได้ ฉันเข้านอนก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เมื่อหัวค่ำพี่น้องชาวบ้านตระได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและบรรพบุรุษของพวกเขา ฉันหลับตานอนเท่าไรก็ไม่ค่อยจะหลับ ด้วยจิตใจจินตนาการถึงหนังสือของบริก แฮม ยัง ที่เขียนเรื่องหมู่บ้านโบราณที่โลกลืมของอินเดียแดงเผ่าอินคาท่ามกลางป่าดงดิบบนเทือกเขาแอนดีส (The Lost City of Incas)
คนไร้ที่ดิน
กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คนไร้ที่ดิน
อารีวรรณ คูสันเทียะ กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นไร้พรมแดน     นับตั้งแต่เกิดวิกฤติด้านการเงิน ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไป เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวของสื่อต่างๆที่ออกมา เช่น “เกาหลีใต้กำลังเช่าที่ดินครึ่งหนึ่งของมาดากัสการ์ เพื่อผลิตอาหาร” (อันที่จริงแล้วไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นของบริษัทแดวู) ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากมักจะให้ความสนใจว่าผู้ที่มีบทบาทนำในการกว้านซื้อที่ดินเพื่อผลิตอาหารในระดับโลกนั้นเป็นประเทศ หรือรัฐบาลไหน ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การเกี่ยวพันของรัฐบาล เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน หรือเกาหลีใต้ แท้ที่จริงในขณะที่รัฐบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการเจรจา…
คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา     ประเด็น “โลกร้อน” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใกล้ตัว ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส กล่าวกันว่ามนุษย์ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ที่แน่ๆคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และไม่มีทางเลือกใดๆต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ และประเด็นนี้เองที่ “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม” มีข้อเสนอต่อการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการประชุมที่กรุงเทพฯ และที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า
คนไร้ที่ดิน
รุ่งเช้าสายหมอกยังบ่จาง เด็กๆ จับกลุ่มเดินไปโรงเรียน หนุ่มสาวแบกตะกร้าหนักอึ้งกลับจากไร่ ผักกาดเขียวถูกเก็บมาสุมไว้ท้ายกระบะรถเตรียมส่งขายในเมือง ชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านหนองเต่ายังดำเนินเช่นทุกวัน  เพียงแต่วันนี้เป็นวันพิเศษสำหรับชาวบ้านหลายคน เพราะบ้านอยู่อู่นอนกำลังจะได้เอกสารสิทธิ์หลังรอคอยมาเกือบ  30 ปี
คนไร้ที่ดิน
นักข่าวพลเมือง เทือกเขาบรรทัดหวัดดีจ้า, เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างพัทลุงและนครศรีธรรมราช บ้านไร่เหนือก่อตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จากหลักฐานบ่งชี้คือ เครื่องใช้โบราณที่เป็นกระเบื้องและดินเผา โครงกระดูกที่ขุดพบ นอกจากนั้นยังมีสวนผลไม้โบราณ เช่น ทุเรียน มัดคุด มะปริง มะปราง ลางสาด เป็นต้น
คนไร้ที่ดิน
หวัดดีจ้า, 2-3 วันที่ผ่านมาได้พาทีมงานที่จะมาช่วยทำสารคดี หนังสั้น และพ็อคเก็ตบุค  ไปตะลอนทัวร์ชิมผลไม้ ในพื้นที่ทำงาน 3 หมู่บ้านของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด เลยเก็บมุมงามๆ และอิ่มอกอิ่มใจมาฝาก ตั้งใจยั่วน้ำลายทุกคน อยากชวนไปเก็บผลไม้กินด้วยตัวเองจ้า
คนไร้ที่ดิน
การที่สังคมถูกปล่อยปละละเลยให้ดำเนินไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยคาดการณ์ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับสังคม ผู้คนมีอาชีพที่หลากหลายมีรายได้สูง ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างสังคม สร้างชาติ และหล่อเลี้ยงระบบให้เจริญรุ่งเรืองยาวนาน โดยเน้นการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อสร้างรายได้และชี้วัดความสุขความเข็มแข้งมั่นคงของสังคมด้วยเงินตราและมูลค่าสมมุติต่างๆ
คนไร้ที่ดิน
คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินฯ ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร  ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ  เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้  หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ 
คนไร้ที่ดิน
  นรัญกร กลวัชรกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย…
คนไร้ที่ดิน
โดย...ลูกสาวชาวเล  ถ้าเอ่ยถึงที่ดินริมทะเลแล้วหลายคนคงอยากมีและอยากได้ไว้ครอบครองสักผืนหนึ่ง พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หมู่บ้านริมทะเลหรือบนเกาะแก่งน้อยใหญ่ของไทยที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้านถูกขายออกไปสู่มือนายทุนจำนวนมาก และส่วนใหญ่นายหน้าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมักจะเป็นคนในพื้นที่นั้นเอง ถ้าเราลองสอบถามผู้คนในหมู่บ้านริมทะเลว่ายังเหลือที่ดินเป็นกรรมสิทธิครอบครองอยู่อีกกี่ครอบครัว คำตอบที่ได้ทำให้รู้สึกหนักใจได้มากทีเดียว ส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ เท่านั้นเอง ที่พอมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่พื้นที่ปลูกบ้าน…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กองเลขาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) นโยบายแจก 2 พันบาทเป็นมาตรการที่เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศของรัฐบาล ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หลังการประชุมได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับแจก 2 พันบาท ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 กลุ่มคนนี้ คือ กลุ่มแรก คือ ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมปกติ หรือออกจากงานแต่ยังจ่ายสมทบต่อเนื่องด้วยตัวเอง ตามมาตรา 39 มีประมาณ 8 ล้านคน กลุ่มที่สอง คือ ผู้ที่เป็นบุคลากรของภาครัฐ…