Skip to main content

โดย... สมจิต คงทน

กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน

 

 

ก่อนจะมาเป็นนารวม ชาวบ้านเขวาโคก-เขวาทุ่ง ต.สระบัว อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลและฟื้นฟูสภาพป่าสาธารณะของชุมชนที่อยู่คู่มากับหมู่บ้าน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ไว้สำหรับหา

อยู่หากิน เก็บของป่า เก็บเห็ด เก็บฟืน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต


แต่เมื่อปี 2538 มีกลุ่มทุนเอกชนจากนอกพื้นที่ทั้งหมด 8 ราย มาบุกรุก แผ้วถางป่าธรรมชาติดอนหนองโมง-หนองกลางของหมู่บ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่นี่รวมกลุ่มกันต่อสู้เพื่อรักษาที่ดินผืนนี้ไว้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน


การต่อสู้ครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อปี 2542 กรณีที่กลุ่มทุนใช้รถแทร็กเตอร์เข้าไปบุกรุกพื้นที่ ทำให้นักเรียนประมาณ 70 คน ครู 2 คน และชาวบ้าน 5 คน เข้าไปล้อมรถแทร็กเตอร์ไว้เพื่อขัดขวางการทำประโยชน์ของกลุ่มทุน จนถูกฟ้องคดีข้อหาบุกรุก แม้จะเป็นการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วก็ตาม ต่อมาชาวบ้านจึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้มีการรวมตัวกันของนักเรียนและชาวบ้านประมาณ 500 คน ออกเดินจากหมู่บ้านด้วยขบวนรถอีแต๋นไปยังจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นเวลา 2 คืน 3 วัน และปักหลักอยู่หน้าบริเวณศาลากลางจังหวัดนานถึง 28 วัน


ระหว่างอยู่หน้าศาลากลางชาวบ้านได้พูดคุยสื่อสารกับคนในเมืองถึงสภาพปัญหาและความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับพี่-น้องชาวบ้าน เพื่อเรียกร้องให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการพิสูจน์สิทธิให้ถูกต้องกรณีที่ถูกกลั่นแกล้งจากอิทธิพลของนายทุน

 

เอกสารทางราชการที่ยืนยันมาโดยตลอดของการต่อสู้คือ "พื้นที่ 300 ไร่ เป็นที่สาธารณะที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน" แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังมีชาวบ้านและครูจำนวนหนึ่งถูกศาลอุทธรณ์ปรับคนละ 4,000บาท และโทษจำคุกอีกคนละ 2 ปี แต่รอลงอาญา จึงได้ยื่นฎีกาและกำลังรอผลความคืบหน้าของคดีอยู่

บางครั้งปัญหาที่ชาวบ้านได้ร่วมกันต่อสู้ก็สามารถเป็นจุดเชื่อมประสานไปยังเรื่องอื่นๆ ในชุมชนด้วย เช่น การสืบสานงานทางวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ การพูดคุยแลกเปลี่ยนกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวพันกับเรื่องปากท้องและวิถีชีวิตของพวกเขาเอง

ชาวบ้านเขวาโคก-เขวาทุ่ง ประมาณ 35 ครอบครัว จากทั้งหมด 195 ครอบครัว ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำนารวม เพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน เช่น สมาชิกบางคนไม่มีที่ดินทำกินแต่มีแรงงานก็มาร่วมลงแรง บางคนมีเครื่องไม้เครืองมือหรืออุปกรณ์ของใช้ก็เอามาร่วมกัน ตั้งแต่รถอีแต๋นสำหรับบรรทุกของ เครื่องสูบน้ำ รถไถนา เคียวเกี่ยวข้าว

นอกจากนี้ได้ลงขันกันซื้อปัจจัยการผลิตอย่างเมล็ดพันธุ์ หรือปุ๋ยคอก และน้ำมันดีเซล ตัวแปรสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการเปลี่ยนไปของสภาพดินฟ้าอากาศที่บางปีฝนตกหนักน้ำหลาก บางปีก็แล้งมากจนทำให้ชาวบ้านที่นี่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตรวมกลุ่มกันไปหาเช่าพื้นที่ทำนาบริเวณใกล้แหล่งน้ำ



ฉะนั้นนารวม ในความหมายของชาวบ้านที่นี่หมายถึงนาที่หลายคนร่วมกันเป็นเจ้าของ ตั้งแต่แรกเริ่มการผลิตจนถึงการเก็บเกี่ยวและนำข้าวที่เหลือจากการแบ่งสันปันส่วนของสมาชิก มาเข้ากองทุนและมาบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุนอีกทีหนึ่ง


พ่อคูณ สงมา ชาวบ้านในชุมชนวัย 53 ปี พูดถึงการทำนารวมว่า "ปกติชาวบ้านได้รวมกันทำกิจกรรมงานประเพณีอย่างอื่นอยู่แล้ว พวกเราจึงได้พูดคุยปรึกษาหารือและวางแผนในการทำนารวม เพื่อสร้างจิตสำนึกช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนที่ไม่มีแบ่งปันให้คนที่มี เราอยากให้คนไม่มีที่ดินทำกินได้มีข้าวกิน ไม่ต้องไปซื้อ ไม่อพยพไปใช้แรงงานที่อื่น"



เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2551 นับเป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านที่นี่ได้ร่วมกันเกี่ยวข้าวนารวม ซึ่งมีขนาดพื้นที่ทั้งหมดกว่า 90 ไร่ จากหมู่ 7 และหมู่ 17 บ้านเขวาโคก-เขวาทุ่ง ซึ่งได้กระจายกันอยู่ทั้งหมด 6 แปลง


พื้นที่ของนารวมได้มาโดยที่ทางกลุ่มได้คุยกับเจ้าของที่นา เพื่อขอเช่านาไร่ละ 500 บาท หรือจ่ายค่าเช่าเป็นข้าวเปลือกอันนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของเจ้าของนา เจ้าของนาบางรายใจดีก็ไม่ได้คาดหวังเรื่องผลผลิตมากนัก มีเท่าไหร่ก็เท่านั้น อย่างแปลงแรกที่เกี่ยวเสร็จของหมู่ที่ 7 มีสมาชิกทั้งหมด 15 ครอบครัว ชาวบ้านได้ข้าวคนละ 32 ถัง ส่วนเจ้าของนาได้ 207 ถัง


สำหรับผลผลิตที่เหลือจากการแบ่งปันกันแล้ว จะเก็บไว้ทำเมล็ดพันธุ์ในปีต่อไป และเก็บไว้ให้สมาชิกที่ข้าวไม่พอกินเพราะประมาณ 20 ครอบครัว ที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านเขวาโคก-เขวาทุ่งไม่มีที่ดินทำกิน

 

 

ดังเช่น นางวงศ์ผกา จิตว่อง อายุ 27 ปี มีอาชีพรับจ้างทั่วไป กำลังเก็บเงินเพื่อซื้อที่ดินแปลงเล็กๆ สำหรับสร้างบ้านและทำเกษตร วันนี้เธอบอกว่า "ได้มาเกี่ยวข้าวนารวมเพราะต้องมาใช้แรงให้เขา (สมาชิกนารวม) เพราะก่อนหน้านี้ได้ไปเอาข้าวเขามากินอยู่บ่อยๆ บางครั้งก็ได้เอาปลาไปแลกกับข้าวสาร"


ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ที่ชาวบ้านได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อรักษาที่ดินสาธารณะของชุมชนผืนนี้ไว้ได้ ทำให้นายทุนเอกชน 2 ราย ถอนตัวออกไปจากพื้นที่ และศาลได้ยกฟ้องนักเรียนที่ถูกจับในกรณีเข้าไปขัดขวางการทำประโยชน์ของนายทุนในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี 2542 ถึงแม้แกนนำชาวบ้านและครูบางคนจะยังมีคดีติดตัวอยู่ เรื่องราวเหล่านี้ก็ไม่สำคัญเท่ากับการรวมตัวกันของคนในชุมชนเพื่อที่จะเรียนรู้ สรุปบทเรียนจากปัญหาที่ดินทำกินและขยายผลการทำงานไปสู่ประเด็นอื่น

 

 

 

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
โดย...สุภาภรณ์ วรพรพรรณ, ระวี ถาวร และ สมศักดิ์ สุขวงศ์   เส้นทางเข้าสู่บ้านตระ 29 มกราคม 2553 เดือนเต็มดวงในค่ำคืนนี้ อยู่ใกล้แทบจะเอามือคว้าได้ ฉันเข้านอนก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เมื่อหัวค่ำพี่น้องชาวบ้านตระได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและบรรพบุรุษของพวกเขา ฉันหลับตานอนเท่าไรก็ไม่ค่อยจะหลับ ด้วยจิตใจจินตนาการถึงหนังสือของบริก แฮม ยัง ที่เขียนเรื่องหมู่บ้านโบราณที่โลกลืมของอินเดียแดงเผ่าอินคาท่ามกลางป่าดงดิบบนเทือกเขาแอนดีส (The Lost City of Incas)
คนไร้ที่ดิน
กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คนไร้ที่ดิน
อารีวรรณ คูสันเทียะ กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นไร้พรมแดน     นับตั้งแต่เกิดวิกฤติด้านการเงิน ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไป เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวของสื่อต่างๆที่ออกมา เช่น “เกาหลีใต้กำลังเช่าที่ดินครึ่งหนึ่งของมาดากัสการ์ เพื่อผลิตอาหาร” (อันที่จริงแล้วไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นของบริษัทแดวู) ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากมักจะให้ความสนใจว่าผู้ที่มีบทบาทนำในการกว้านซื้อที่ดินเพื่อผลิตอาหารในระดับโลกนั้นเป็นประเทศ หรือรัฐบาลไหน ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การเกี่ยวพันของรัฐบาล เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน หรือเกาหลีใต้ แท้ที่จริงในขณะที่รัฐบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการเจรจา…
คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา     ประเด็น “โลกร้อน” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใกล้ตัว ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส กล่าวกันว่ามนุษย์ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ที่แน่ๆคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และไม่มีทางเลือกใดๆต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ และประเด็นนี้เองที่ “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม” มีข้อเสนอต่อการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการประชุมที่กรุงเทพฯ และที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า
คนไร้ที่ดิน
รุ่งเช้าสายหมอกยังบ่จาง เด็กๆ จับกลุ่มเดินไปโรงเรียน หนุ่มสาวแบกตะกร้าหนักอึ้งกลับจากไร่ ผักกาดเขียวถูกเก็บมาสุมไว้ท้ายกระบะรถเตรียมส่งขายในเมือง ชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านหนองเต่ายังดำเนินเช่นทุกวัน  เพียงแต่วันนี้เป็นวันพิเศษสำหรับชาวบ้านหลายคน เพราะบ้านอยู่อู่นอนกำลังจะได้เอกสารสิทธิ์หลังรอคอยมาเกือบ  30 ปี
คนไร้ที่ดิน
นักข่าวพลเมือง เทือกเขาบรรทัดหวัดดีจ้า, เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างพัทลุงและนครศรีธรรมราช บ้านไร่เหนือก่อตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จากหลักฐานบ่งชี้คือ เครื่องใช้โบราณที่เป็นกระเบื้องและดินเผา โครงกระดูกที่ขุดพบ นอกจากนั้นยังมีสวนผลไม้โบราณ เช่น ทุเรียน มัดคุด มะปริง มะปราง ลางสาด เป็นต้น
คนไร้ที่ดิน
หวัดดีจ้า, 2-3 วันที่ผ่านมาได้พาทีมงานที่จะมาช่วยทำสารคดี หนังสั้น และพ็อคเก็ตบุค  ไปตะลอนทัวร์ชิมผลไม้ ในพื้นที่ทำงาน 3 หมู่บ้านของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด เลยเก็บมุมงามๆ และอิ่มอกอิ่มใจมาฝาก ตั้งใจยั่วน้ำลายทุกคน อยากชวนไปเก็บผลไม้กินด้วยตัวเองจ้า
คนไร้ที่ดิน
การที่สังคมถูกปล่อยปละละเลยให้ดำเนินไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยคาดการณ์ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับสังคม ผู้คนมีอาชีพที่หลากหลายมีรายได้สูง ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างสังคม สร้างชาติ และหล่อเลี้ยงระบบให้เจริญรุ่งเรืองยาวนาน โดยเน้นการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อสร้างรายได้และชี้วัดความสุขความเข็มแข้งมั่นคงของสังคมด้วยเงินตราและมูลค่าสมมุติต่างๆ
คนไร้ที่ดิน
คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินฯ ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร  ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ  เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้  หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ 
คนไร้ที่ดิน
  นรัญกร กลวัชรกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย…
คนไร้ที่ดิน
โดย...ลูกสาวชาวเล  ถ้าเอ่ยถึงที่ดินริมทะเลแล้วหลายคนคงอยากมีและอยากได้ไว้ครอบครองสักผืนหนึ่ง พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หมู่บ้านริมทะเลหรือบนเกาะแก่งน้อยใหญ่ของไทยที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้านถูกขายออกไปสู่มือนายทุนจำนวนมาก และส่วนใหญ่นายหน้าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมักจะเป็นคนในพื้นที่นั้นเอง ถ้าเราลองสอบถามผู้คนในหมู่บ้านริมทะเลว่ายังเหลือที่ดินเป็นกรรมสิทธิครอบครองอยู่อีกกี่ครอบครัว คำตอบที่ได้ทำให้รู้สึกหนักใจได้มากทีเดียว ส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ เท่านั้นเอง ที่พอมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่พื้นที่ปลูกบ้าน…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กองเลขาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) นโยบายแจก 2 พันบาทเป็นมาตรการที่เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศของรัฐบาล ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หลังการประชุมได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับแจก 2 พันบาท ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 กลุ่มคนนี้ คือ กลุ่มแรก คือ ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมปกติ หรือออกจากงานแต่ยังจ่ายสมทบต่อเนื่องด้วยตัวเอง ตามมาตรา 39 มีประมาณ 8 ล้านคน กลุ่มที่สอง คือ ผู้ที่เป็นบุคลากรของภาครัฐ…