Skip to main content

-1-

ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"


ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง มีคะแนนห่างจากอันดับแรกอยู่เกือบ 70 เสียง จึงขี้ขลาด ไม่กล้ายอมรับความพ่ายแพ้ในครั้งนี้

การให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ สุเทพ เทือกสุบรรณ หลังจากทราบผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการในคืนวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 255 สะท้อนให้เห็นถึงการผิดวิสัยของสุภาพบุรุษ การไม่ยอมรับกติกาการเลือกตั้ง ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ที่เห็น ๆ กันอยู่อย่างทนโท่

คุณอภิสิทธ์ บอกว่า "ในต่างประเทศ เขาก็ถือว่าใครรวบรวมเสียงข้างมากในระบบรัฐสภาได้ก็จัดตั้งรัฐบาลได้" (มติชนรายวัน. 24 ธันวาคม 2550)

ในขณะที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวว่า "พูดตั้งแต่คะแนนยังไม่ออกแล้วว่าถ้าพรรคพลังประชาชน ได้เสียงเกินครึ่งแสดงว่าประชาชนต้องการให้เป็นรัฐบาล ถ้าเสียงได้ไม่ถึงครึ่งก็แสดงว่าไม่ต้องการให้เป็นรัฐบาล ซึ่งวินาทีนี้ก็ยังเชื่อแบบนั้นและก็มีคนคิดแบบตนจำนวนมาก" (มติชนรายวัน. 25 ธันวาคม 2550)

ตรรกะวิปริตแบบนี้ไม่มีทางได้ยิน ได้ฟังจากที่ไหนในโลกนี้นอกจากนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น!

หลายคนที่เฝ้าจับตาดูการเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยของไทย เมื่อได้เห็นได้ฟังการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แล้วคงรู้สึกผิดหวังกับนักการเมืองพรรคนี้ที่คอยฉวยแต่จะหาโอกาสเล่นนอกกติกาเพื่อให้ได้ขึ้นสู่อำนาจ

การเคลื่อนไหวของบรรดาแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหาโอกาสจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคพลังประชาชนตอกย้ำบุคลิกลักษณะของพรรคการเมืองพรรคนี้ ที่เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นมาตลอดไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ "ไม่ยอมรับความจริง" พยายามที่จะบิดผันความจริงให้กลายเป็นเรื่องเท็จ ตลอดจนสร้างเรื่องเท็จขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่า (คงจำกันได้ถึงโศกนาฏกรรมการอภิปรายล้มรัฐบาลพรรคชาติไทยของนายบรรหาร ศิลปอาชา)

หากพรรคประชาธิปัตย์แทรกเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้จะกลายเป็นปาหี่ทางการเมืองไปทันที เพราะคำถามที่ตามมาคือ ถ้าพรรคที่ได้รับคะแนนเกือบถึงครึ่งไม่อาจจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว ก็ไม่รู้จะว่าจะจัดการเลือกตั้งไปทำไม

และนี่จะเป็นการทำลายการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอย่างร้ายแรงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำมาแล้วหลายต่อหลายครั้งในรอบสองปีที่ผ่านมา (คงจำกันได้ถึงการบอยคอตไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง)

อันที่จริง สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ ควรทำเป็นอันดับแรกหลังจากทราบผลการเลือกตั้งไม่ใช่การคิดตั้งรัฐบาลแข่ง แต่คือการแสดงความยินดีกับพรรคพลังประชาชนที่ได้รับชัยชนะ แสดงความมีน้ำใจแบบนักกีฬา ด้วยการ "รู้แพ้ รู้ชนะ" และ "รู้อภัย" และปล่อยให้พรรคที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับหนึ่งตั้งรัฐบาล ไปโดยไม่สกัดขัดขวางหรือขอความช่วยเหลือจากอำนาจเถื่อน

-2-

ผลการเลือกตั้งทั่วไปที่พรรคพลังประชาชน ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยแม้จะไม่ถึงกึ่งหนึ่ง นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าประชาชน "ส่วนใหญ่" ก็ยังเป็นปัจจัยชี้วัดได้ว่าการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 นั้นล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ไม่เป็นที่ต้องการของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูประเทศจากความแตกแยก การปฏิรูปการเมือง หรือการบริหารจัดการในเรื่องเศรษฐกิจ

อันที่จริง แม้แต่หัวขบวนของกลุ่ม "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ที่สนับสนุนการรัฐประหารอย่างนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ซึ่งถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญามาหมาด ๆ ในข้อหาหมิ่นประมาทอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยพูดหลายครั้งหลายหนเมื่อรู้สึกผิดหวังว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นั้นเกิดจากเหตุผลและผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าเป็นเรื่องของการทำเพื่อส่วนรวม

ดังนั้นเมื่อผลเลือกตั้งออกมาเช่นนี้ อันเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงการไม่รับรัฐประหาร 19กันยายน 2549 สิ่งที่พลเอกสนธิ บุณยรัตยกลิน และบรรดาสมาชิก คมช.ควรทำก็คือการออกมาขอโทษประชาชน ออกมาขอโทษที่ใช้ประชาชน ชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์มาแอบอ้างเพื่อจุดมุ่งหมายแคบ ๆ แค่เพียงเรื่องของส่วนตัวและพรรคพวกไม่กี่คน

ชัยชนะของพรรคพลังประชาชนในครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะที่น่าภาคภูมิใจเป็นพิเศษ เพราะการเลือกตั้งเกิดขึ้นท่ามกลางเงื่อนไขของการสกัดกั้นทั้งปิดบัง และเปิดเผยจากพลังของระบบราชการที่นำโดยทหารและพลังนอกรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ต้องการเห็นพรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล เป็นชัยชนะที่สง่างาม ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากจะพ่ายแพ้แล้วยังแสดงความทุเรศออกมาอย่างน่าเกลียด ซึ่งการทำเช่นนี้มีแต่จะทำให้พรรคพลังประชาชนที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ามายิ่งสง่างามมากขึ้นไปอีก. ไม่เอาพรรคประชาธิปัตย์แล้ว

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
มหาชนสีแดงยื่นบันไดแห่งการยุบสภาให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีนลงมาอย่างง่าย ๆ ชนิดที่บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น แต่ไม่เป็นผลอะไร ด้วยโมหะจริต นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ดึงดันจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปแม้ว่าจะต้องทำอะไรที่เสียเกียรติความเป็นผู้นำไปมากก็ตาม
เมธัส บัวชุม
การเคลื่อนพลของคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดินน่าตื่นตาตื่นใจและอลังการสมการรอคอย แม้ว่าการมาทางเรือจะผิดจากความคาดหวังอยู่มากก็ตาม ผมยืนรอชมขบวนเรือของคนเสื้อแดงบนสะพานกรุงธนนานกว่า 3 ชั่วโมงพร้อมกับแดงคนอื่น ๆ เต็มสะพาน โบกไม้โบกมือ ไชโยโห่ร้องกับคนเสื้อแดงที่ขับรถผ่านไปมา
เมธัส บัวชุม
แม้ผลการตัดสินคดียึดทรัพย์เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่คนเสื้อแดงหลายคนยังรู้สึกเจ็บปวด บางคนถึงขั้นหลั่งน้ำตาทั้งที่เงินนั้นไม่ใช่เงินของตนเอง พวกอำมาตย์ พรรคประชาธิปัตย์และคนเสื้อเหลืองไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่าที่คนเสื้อแดงหลั่งน้ำตานั้นไม่ใช่เพราะเสียดายเงินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่ถูกยึดไปอย่างไม่เป็นธรรม แต่เป็นเพราะรู้สึกเจ็บปวดที่ตนเองทำอะไรไม่ได้เมื่อเห็นความอยุติธรรมบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาครั้งแล้วครั้งเล่า
เมธัส บัวชุม
ไม่ว่าผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ (ปล้นทรัพย์อย่างถูกกฎหมาย) ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร จะออกมาเป็นอย่างไร การลุกฮือของคนเสื้อแดงก็ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เสื้อแดงจำนวนไม่น้อยอาจไม่ได้ยี่หระเลยกับทรัพย์สินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเพราะนั่นเป็นราคาที่อดีตนายก ฯ ต้องจ่ายสำหรับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย หลายคนจะได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยนั้นถ้าไม่จ่ายด้วยเลือดและชีวิตก็ต้องจ่ายด้วยทรัพย์สินแสนแพง
เมธัส บัวชุม
 เมื่อความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายต่าง ๆ เขม็งเกลียวแน่นใกล้ถึงจุดวิกฤติ ข่าวเกี่ยวกับการทำรัฐประหารก็ลอยมาจากทางโน้นทางนี้เป็นระยะ น่าเชื่อบ้าง ไม่น่าเชื่อบ้าง ราวกับว่ารัฐประหารเป็นทางออกเดียวในการจัดการปัญหา
เมธัส บัวชุม
การเข้าครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยงอย่างผิดกฏหมายขององคมนตรีคุณธรรมสูงอย่างสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแม้แต่น้อย ไม่ใช่ข้อค้นพบที่น่าตื่นเต้น ไม่ใช่ความลับที่น้อยคนรู้ ชาวบ้านร้านตลาดในบริเวณนั้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่าวิลล่าสวยงามบนเขายายเที่ยงนั้นเป็นของใคร
เมธัส บัวชุม
ผมค่อนข้างแปลกใจที่สังคมไทยยังไม่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ว่าที่จริงสงกรานต์เลือดเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เป็นโอกาสเหมาะไม่น้อยสำหรับการเกิดสงครามกลางเมืองซึ่งอาจจะจบลงด้วยการทำลายพลังประชาชนรากหญ้าและคนชั้นกลางฝ่ายก้าวหน้าลงอย่างย่อยยับ จนยากที่จะฟื้นกลับคืนมาใหม่ หรืออาจเป็นไปในทางกลับกันก็ได้หากประชาชนได้รับชัยชนะคือระบอบประชาธิปไตยจะขยับไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด อำนาจของอำมาตย์จะถูกจำกัดวง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด?
เมธัส บัวชุม
-1- ฉันมีวิธีเผชิญหน้ากับอาการนอนไม่หลับด้วยการนอนลืมตาอยู่ในความมืด พยายามไม่คิดอะไร แต่ดวงความคิดของฉันก็ไหลลอยไปสู่เรื่องนั้นเรื่องนี้ หวนรำลึกไปถึงสถานที่และผู้คนที่ฉันเคยพานพบประหนึ่งว่าฉันเพิ่งจากผู้คนและสถานที่เหล่านั้นมา
เมธัส บัวชุม
เรื่องราวในชีวิตของคนเราสามารถนำมาเขียนแต่งเป็นนิยายได้ทั้งนั้น โดยการใส่พล็อตหรือท้องเรื่องเข้าไป ตีความให้ดูน่าสนใจ แล้วเสาะหา(สร้าง)ข้อมูลเพื่อยัดลงไปในพล็อตที่วางไว้โดยอาจหยิบเพียงบางช่วงบางตอนของชีวิตก็ได้
เมธัส บัวชุม
คงไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจแต่ประการใดที่เราได้เห็นปัญญาชนสยาม ปัญญาชนสาธารณะอย่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ไปออกโทรทัศน์ของทาง ASTV “รายการรู้ทันประเทศไทย” ที่มีเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการผู้หากินกับวาทกรรม “ชาวบ้าน” มายาวนาน งนี้เพราะหลายคนซึ้งแน่แก่ใจแล้วว่าบั้นปลายชีวิตของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้หลงตนนั้นโน้มเอียงไปทางเผด็จการ หรือไปทางศักดินามากเสียยิ่งกว่าจะยืนข้างชาวบ้านอย่างที่เขาพร่ำพูดถึงเสมอ
เมธัส บัวชุม
หากผมบอกว่าชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้แล้ว บางคนคงโต้แย้ง ผมจึงต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ให้กว้าง ๆ ว่า ชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจความเป็นไปของสังคมการเมืองในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าความหมายและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
เมธัส บัวชุม
รถไฟไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่มานาน โดยแทบไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรเลยตั้งแต่เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้เพราะความเสื่อมโทรมของรถไฟให้ประโยชน์แก่คนหลายกลุ่ม รวมทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ดังนั้นแนวคิดใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้รถไฟเปลี่ยนไปจึงถูกต่อต้านแม้จะมีผลการวิเคราะห์วิจัยรองรับอยู่จำนวนมาก