Skip to main content

 

                อีกไม่กี่วันจะขึ้นปีใหม่แล้วนะครับ จะว่าไปวันเวลานี่ผ่านไปค่อนข้างไวนะครับ เผลอแปป ๆ ก็ปีใหม่กันอีกแล้วเรียกได้ว่า เวลาไม่เคยรอใครจริง ๆ ครับ และขออวยพรผู้อ่านทุกท่านที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่บนหน้าจอด้วยนะครับ ขอให้สุขภาพแข็งแรง ร่ำรวยกันถ้วนทุกคนนะครับ อย่าเจ็บ อย่าจนเป็นดีที่สุดครับผม

                และเมื่อมองย้อนกลับมายังวงการภาพยนตร์ไทยในบ้านเราปีนี้จะเรียกว่าเป็นปีที่ค่อนข้างเงียบอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะ มีภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินถึง 100 ล้านบาทเพียงเรื่องเดียวเท่านั่น ท่ามกลางภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ที่ต่างทำเงินกันไม่มากนักสวนทางกับจำนวนหนังที่ออกมาฉายกันอย่างมากมายในปีนี้

 
                และที่น่าตลกก็คือ การมีภาพยนตร์รักเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว ในขณะที่ภาพยนตร์แนวอื่นอย่าง ผี ตลก เริ่มลดลงไปตามกาลเวลา ด้วยเหตุนี้ผมจึงจะพาทุกท่านย้อนไปดูว่า ใน 1 ปีที่ผ่านมานั่นในวงการภาพยนตร์ไทยนั่นมีอะไรน่าสนใจเกิดขึ้นบ้าง
 
 
                1. 2012  เมื่อหนังรักครองเมือง
 
                สิ่งที่น่าบันทึกเอาไว้เป็นประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์ไทยก็คือ การที่มีหนังที่มีคำว่า รัก ไว้ในเรื่องถึง 20 เรื่องทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์แปลกที่หาดูได้ยากในประเทศไทยที่จะมีภาพยนตร์ที่มีชื่อคำว่า รัก มากมายเช่นนี้จนคนดูที่เห็นชื่อเรื่องโปสเตอร์ต้องพากันถึงกับยี้ว่า อะไรกันว่ะ หนังรักอีกแล้วเหรอ ขึ้นมากันเลยทีเดียว
 
                ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า เหตุใดหนังไทยถึงได้นิยมทำหนังรักกันจังในช่วงนี้ อย่างแรกก็เพราะความสำเร็จของหนังรักหลาย ๆ เรื่องโดยเฉพาะของค่าย GTH ที่ทำเงินไปได้เป็นล่ำเป็นสันในหลายปีที่ผ่านโดยเฉพาะพวกหนังเลิฟคอมเมดี้ทั้งหลายที่พาเหรดกันออกมาทำเงินมากมายด้วยทุนอันน้อยนิด
 
                นั้นเองที่ทำให้ค่ายหนังต่าง ๆ พากันเฮโลไปทำหนังแนวกันมากมาย ซึ่งประสบความสำเร็จบ้าง น้อยบ้างตามแต่คุณภาพหนังและหน้าหนังที่จะชวนคนไปดูครับ
 
                 หนังรักที่น่าสนใจปีนี้สำหรับผมก็คงเป็นหนังอย่าง ไม่ได้ขอให้มารัก , Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ ที่เป็นหนังรักที่พูดถึงความรักในมุมมองที่ออกมาในแนวความจริงมากกว่า หนังรักไทยหลายเรื่องที่เน้นเรื่องราวของวัยรุ่น คนทำงานที่ล้วนแล้วแต่เป็นความรักที่ถูกสรรสร้างออกมาเพื่อสร้างทัศนคติว่า จงรักกันเอาไว้ รักกันเยอะ อย่าไปคิดอะไร รักกันเข้าไป 
 
 
                 จนบางครั้งมันก็มากเกินไปครับ เราจึงเห็นหนังรักเจ๊งในระดับต่ำล้านหลายเรื่องมาก ๆ อาทิ รักเลี้ยวเฟี้ยวอ่ะ ที่ทำเงินไปเพียง 80000 บาท หรือ รัก ที่ทำเงินไปไม่ถึง 1 ล้านบาทด้วยซ้ำ
 
                และปีนี้ดัชนีเฉลี่ยของหนังที่ทำเงินปีนี้ก็ตกอยู่ที่ 20 – 30 ล้านเท่านั่นเอง
 
                อาจจะดูน้อย แต่ด้วยทุนที่น้อยขายได้กำไรงามก็เพียงพอแล้ว
 
                และที่สำคัญหนังพวกนี้มักจะได้ใจชาวเมืองกรุงที่เป็นแหล่งใหญ่ในการเข้าถึงหนังพวกนี้จากโรงภาพยนตร์จำนวนมากที่มีเป็นล่ำเป็นสัน จึงไม่แปลกใจที่ตัวละครในหนังพวกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นคนชนชั้นกลาง วัยรุ่น ที่เป็นภาพสะท้อนของคนกรุง
 
                 และเป็นจุดร่วมของคนดูที่เมื่อเห็นตัวละครในเรื่องนี้แล้วต้องรู้สึกว่า ช่างตรงกับตัวของพวกเขาเสียจริง ๆ
 
                  2. GTH ทำเงินและทำใจ
 
 
                  อย่างที่กล่าวเอาไว้ตอนต้นว่า ปีนี้มีหนังทำเงินสูงสุดถึง 152 ล้านบาทเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ซึ่งก็คือเรื่อง ATM เออรัก เออเร่อของ เมธ ธราธร ที่ทำเงินได้อย่างเซอร์ไพส์สวนทางกับคำวิจารณ์ที่หลายคนมองว่า หนังเรื่องนี้น่าผิดหวังที่สุดของค่ายนี้ แต่นั้นยังไม่เท่าหนังที่ตามมาอย่าง รัก 7 ปี ดี 7 หน ที่ทำขึ้นเพื่อฉลองการครบ 7 ปีของค่ายหนังคุณภาพในสายตาใครหลายคนค่ายนี้แถมยังค้นดารามามากมายบวกกับเรื่องราวรัก ๆ ในเมืองหลวงที่น่าจะทำเงินไปไม่น้อยกว่า ATM แน่ ๆ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นผลงานน่าผิดหวังอีกเรื่อง (เช่นเดียวกับ Countdown ที่มีกระแสวิจารณ์ไม่ดีนัก) 
 
                 ผมเคยเขียนวิพากษ์เรื่องนี้เอาไว้ในบทความก่อนหน้านี้แล้ว แต่สิ่งที่ต้องเพิ่มมาก็คือ ประเด็นในการตั้งธงทำหนังสักเรื่องของ GTH ที่มุ่งเน้นเพลย์เซฟทำเงินเอาไว้ก่อนกับคนชนชั้นกลาง ดังนั่นจึงไม่น่าแปลกใจที่หนังของค่ายนี้จะมุ่งเน้นกับประเด็นของคนชั้นกลางที่วัน ๆ ไม่มีอะไรต้องปวดหัวนอกจากรถติด ค่าคอนโด ขับรถ อกหัก จีบสาว แค่นั่น และประเด็นของหนังค่ายนี้ก็ไม่เคยพ้นไปกว่านี้อีกเลย
 
                  ถามว่า เราจะมีโอกาสได้เห็นหนังของค่ายนี้ที่พูดถึงประเด็นอย่าง โลกด้านมืดที่แตกต่างออกไปบ้างไหมเช่น การค้าประเวณี ศาสนา ฆาตกรรม หรืออื่น ๆ 
 
                  คำตอบคือ ผมไม่รู้
 
                  3. หนังของยอร์ช ฤกษ์ชัยกับความบันเทิงย่อยง่าย
 
 
                  ย้อนเวลากลับไปก่อนหน้านี้สักประมาณปี 2548 ได้มีหนังเรื่อง พยัคฆ์ร้ายส่ายหน้าพร้อมกับการมาของผู้กำกับหน้าใหม่อย่าง ยอร์ช ฤกษ์ชัย ที่กำกับหนังตลกเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจเพราะเป็นการพูดถึงคนชายขอบที่มาเจอเรื่องวุ่น ๆ กันในโรงพยาบาลบ้า ทั้ง ตำรวจ โจร กระเหรี่ยง ผี หมอผี คนบ้า และ สายลับ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่มักจะไม้ได้ถูกเล่าในหนังไทยสักเท่าไหร่นักก่อนที่หนังเรื่องต่อ ๆ มาของเขานั้นเริ่มมีลายเซ็นท์เป็นของเขาชัดเจน โดยเฉพาะการพูดถึงคนชนชั้นล่างที่พยายามปากกัดตีนถีบสร้างชีวิตตัวเองขึ้นมาใหม่ ซึ่งเรื่องราวนี้ถูกบอกเล่า ในหนังตลกร้อยล้านอย่าง แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า และ โปงลางสะดิ้ง ลำซิ่งส่ายหน้า ก่อนจะมาถึงโหดหน้าเหี่ยวที่ทำให้เรารู้ว่า ผู้กำกับคนนี้น่าจับตามองว่า เขามีอะไรดี
 
                   กระทั่งการมาของหนังยุคหลังจากย้ายไปอยู่ M39 ค่ายใหม่ที่เขาเริ่มมีการทำหนังเปลี่ยนไป โดยเลือกละทิ้งตัวละครคนชั้นล่างปากกัดตีนถีบไปเป็น ตัวละครคนชนชั้นกลางที่มีชีวิตแสนสุขสบายและสนใจแต่เรื่องรักเรื่องใคร่แทน หนังในยุคนี้เรียกได้ว่า เป็นหนังยุคใหม่ของเขาอันได้แก่ 32 ธันวา  , สุดเขตเสลดเป็ด , สคส สวีทตี้ , วาเลนไทน์ สวีทตี้  ที่แต่ล่ะเรื่องทำเงินไปไม่ต่ำกว่า 50 ล้านแทบทั้งสิ้นด้วยแรงสนับสนุนจากกลุ่มคนชนชั้นกลางที่พากันเข้ามาดูหนังเรื่องนี้กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
 
                    ถามว่า  ผู้กำกับผิดไหมที่ทำหนังแบบนี้ 
 
                    คำตอบคือ ไม่ครับ 
 
                    แต่ถามว่า น่าเบื่อไหม คำตอบคือ ใช่เลยครับ
 
                    สิ่งที่หนังของยอร์ช ฤกษ์ชัยเป็น คือการสะท้อนตัวตนของคนเมืองออกมาผ่านหนังในยุคหลัง ๆ ที่โครงสร้างบทหนังของเรื่องนั่นแทบจะไม่มีความสลักสำคัญอะไรอีกแล้ว นอกจากการยัดมุข ยัดตัวละครเข้าไปเยอะ ๆ แล้วเรื่องมันจะตลกเอง
 
                    แต่ที่เป็นส่วนที่ทำให้หนังน่าเบื่อก็คือ ไดอะล็อคของหนังที่ทำหน้าที่เสมอทวิตเตอร์หรือเฟสบุ๊คที่คนดูชอบพิมพ์นั้นเอง แม้จะฟังดูคมหรืออะไรก็ตาม แต่สิ่งที่ขาดไปคือ การที่หนังมีสภาพคล้ายกับหนังสือรวมคำคมที่เรามักจะเห็นตามร้านหนังสือ ซึ่งสะท้อนภาพของคนเมืองที่ไม่ต้องการจะใช้สมองในการคิดอะไรเยอะ ๆ แต่ชอบการรับประทานของด่วนอย่าง Fast Food ชุดความคิดนั่นเอง
 
                    นั่นทำให้หนังของยอร์ช ฤกษ์ชัยนั้นสามารถทำงานได้ดีกับคนเมืองหรือคนเมืองหลวง ในขณะที่คนชนชั้นล่างนั่นคงพากันงงหรือรู้สึกถึงความฝืดครั้งใหญ่ในหนังของเขาไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว
 
                     แอบหวังว่า คุณนายโฮจะมีอะไรน่าสนใจกว่านี้ (แต่คงไม่คาดหวังอะไรอีกแล้ว)
 
                     4. ยุคทองของหนังอิสระ
 
                      หนังอิสระ คืออะไร 
 
                      หากจะให้อธิบายอย่างง่ายดายมันก็คือ หนังที่ถูกสร้างขึ้นโดยไม่จำกัดกับสตูดิโอใหญ่ ๆ ในประเทศ โดยใช้เงินทุนของผู้กำกับเองบ้าง เงินจากกองทุนต่าง ๆ บ้างที่เป็นทุนให้หนังเหล่านี้ที่นอกจากจะไม่ใช่หนังกระแสหลักทั่ว ๆ ไปแล้วยังเป็นหนังที่ไม่มีโอกาสเป็นรูปร่าง ๆ แน่ ๆ หากทำกับสตูดิโอใหญ่หรืออาจจะถูกดัดแปลงต่อเติมจากเจ้าของเงินทุนอีกด้วย ดั่งนั้นผู้กำกับหลายคนจึงหันมาสร้างหนังอิสระกันมากมายในปีที่ผ่านมา
 
 
                      หลังอภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล ได้รับรางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลหนังเมืองคานส์เมื่อสองสามปีก่อนก็เสมือนกับการเปิดโอกาสให้กับหนังอิสระต่าง ๆ ได้มีที่หายใจในวงการนี้บ้างหลังจากลุงบุญมีฉายเพียงโรงเดียวและทำเงินไปพอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงได้เห็นผู้กำกับทั้งหน้าเก่าและใหม่หันมาหนังอิสระนี้บ้างเช่น คงเดช จตุรันต์รัสมี กับ แต่เพียงผู้เดียว , 36 ของเต๋อ นวพล , สถานีสี่ภาค ของ บุญส่ง นาคภู่ ,ปาดังเบซาร์ ของ ต้องปอง จันทรากูร , สิ้นเมษาฝนตกมาปรอยปรอย และ นมัสเต ส่งเกรียนไปอินเดีย
 
                      เมื่อดูจากชื่อหนังและองค์ประกอบอื่น ๆ แล้วหากเป็นหนังในระบบนั้นอาจจะไม่มีสิทธิคลอดออกมาเลยก็เป็นได้ หรือไม่อาจจะถูกรื้อจนไม่เหลือสภาพด้วยซ้ำไป
 
                      นั่นทำให้ผู้กำกับที่อยากจะทำหนังที่ไม่อิงกับกระแสเหล่านี้หันไปทำหนังอิสระกันมากในปีนี้และแน่นอนว่าพวกเขาได้รับตอบรับที่ดีเอามาก ๆ เพราะหลายเรื่องฉายไม่กี่รอบก็ทำเงินคืนให้ผู้กำกับไปแล้ว
 
                      แต่ที่แน่นอนก็คือ การดำเนินเรื่องที่แตกต่างไปจากหนังในกระแสหลายเรื่องทำให้หนังเหล่านี้ได้รับการพูดถึงในฐานะหนังทางเลือกใหม่สำหรับคนที่เบื่อหนังไทยในกระแส 
 
                      และมีทีท่าว่าจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปีหน้าสำหรับหนังนอกกระแสเหล่านี้
 
                      Father Land ของ ยุทธเลิศที่บอกเล่าเรื่องราวของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กระทั่งหนังอย่าง นวมทองเองก็เช่นกัน ซึ่งน่าจะเป็นหนังอิสระที่น่าสนใจปี 2013 ที่กำลังจะมาถึงนี้
 
                      5. ผี วิพากษ์สังคมไทยผ่านหนังสยองขวัญ
 
 
                      ผี เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานานพอสมควร และหนังผีมักสะท้อนภาพของมนุษย์ในยุคสมัยนั่น ๆ ได้เป็นอย่างดีและครั้งหนึ่งวงการภาพยนตร์ไทยก็มีหนังผีออกมาฉายอย่างมากมายเหมือนกับหนังรักสมัยนี้จนหลายคนรู้สึกเอียนกันไปตาม ๆ กันแล้วด้วยซ้ำไป เหมือนหนังรักที่เข้าฉายกันเป็นแถบ ๆ นี่ล่ะครับ
 
                    และปีนี้ก็มีหนังผีฉายไม่กี่เรื่องเท่านั่นเองครับ และทำเงินไม่มากเท่าไหร่ แต่เชื่อว่า ยังมีหนังผีอีกหลายจะตามในปีหน้านี้แน่ ๆ
 
                       ถึงจะหนังผีจะดูเป็นหนังเกรดบีในสายตาของคนทั่วไป แต่เอาจริง ๆ แล้วหนังผีนั่นสะท้อนภาพของสังคมได้น่าสนใจมาตลอดในปีที่แล้วเราก็มี ลัดดาแลนด์ ที่พูดถึงสังคมคนชนชั้นกลางได้อย่างน่าสะพรึงจนน่ากลัวยิ่งกว่าผีในเรื่องเสียอีก
 
                       ในปีนี้ก็มีหนังผีที่น่าสนใจอยู่ได้แก่ วงจรปิด ของยุทธเลิศ และ บอกเล่าเก้าศพ
 
                        วงจรปิดเป็นหนังสั้นสามเรื่องที่กำกับโดยยุทธเลิศและทิวา เมไธสง ที่บอกเล่าเรื่องราวสยองขวัญโดยมีกล้องวงจรปิดเป็นส่วนหนึ่งของการบอกเล่า ซึ่งเรื่องแรกอย่างมรดกผีที่กำกับโดยธิวา เมไธสงก็บอกเล่าเรื่องความโลภที่นำพาตัวละครหลายคนมาตายในบ้านหลังหนึ่ง แต่ที่น่าสนใจย่อมไม่พ้นหนังเรื่องสองและสามที่แสดงภาพของความรักที่ควบคู่ไปกับความมืดมิดที่แตกต่างกับหนังรักหลายเรื่องที่มีแง่มุมในเชิงสดใสและให้เห็นว่า ความรักนั้นเป็นสิ่งที่น่าค้นและน่าหลงใหลจนลืมไปว่า ความรักมีทั้งด้านดีและด้านลบเหมือนเช่นทุกสิ่ง
 
                        บอกเล่าเก้าศพเองก็เป็นอีกเรื่องที่บอกเล่าเกี่ยวกับความตาย วิญญาณและความรักได้น่าสนใจและน่าสนใจยิ่งในหนังหลายเรื่อง เพราะมันยิ่งเป็นการบอกเล่าว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีด้านลบและบวกไม่ต่างกันแม้กระทั่งความรักที่ย่อมนำความตายมาสู่ใครก็ได้
 
                        รักฉันอย่าคิดถึงฉัน เองก็เป็นหนังที่บอกเล่าถึงความรักในมุมมองที่แตกต่างออกไปได้ โดยสิ่งที่มันพูดถึงปรัชญาหนึ่งได้อย่างเข้าใจว่า
 
                        ที่ใดมีรักที่นั่นย่อมมีความทุกข์เสมอ
               
                        หนังสยองขวัญเหล่านี้จึงเป็นเหมือนกระจกสะท้อนค่านิยมหนังรักฝันหวานฝันดี Feel Good ยุคนี้ว่า 
 
                         ไม่มีอะไรมีด้านเดียวเสมอไป
 
                         6. เพศทางเลือก ความเปลี่ยนแปลงของมุมมองเพศที่สาม
 
 
                       ในวงการหนังไทยย่อมขาดไม่ได้เลยกับเหล่าเพศทางเลือก หรือ เพศที่สามที่มักจะถูกบอกเล่าในหนังหลาย ๆ เรื่องในหลายปีที่ผ่านมาในเชิงตัวตลก หรือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งในหนังปีนี้เราก็มีหนังของพจน์ อานนท์ที่มุ่งเน้นสร้างความบันเทิงโดยไม่สนใจอะไรเช่นเคยอย่าง ปล้นนะยะ 2 หรือ หอแต๋วแตกภาค 4 ที่ยังคงนำเสนอมุมมองทางเพศเดิม ๆ ไม่ต่างไปจากเมื่อหลายปีก่อน
 
                        ทว่าปีนี้ก็หนังเพศทางเลือกที่น่าสนใจออกมาอย่าง ไม่ได้ขอให้มารัก ของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ที่นำเสนอมุมมองของเพศทางเลือกอย่าง กระเทย เกย์ ได้อย่างน่าสนใจและดูมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด นอกจากนี้หนังอย่าง Yes or no 2 ก็เป็นหนังที่สะท้อนภาพของเพศทางเลือกอย่าง เลสเบี้ยน ทอม ได้อย่างเป็นธรรมชาติพร้อมกับสร้างมุมมองใหม่ต่อคนที่ชมว่า
 
                         พวกเขาไม่ได้ผิดปกติอะไรทั้งนั้น
 
                         ตรงนี้กลายเป็นพื้นที่ให้เราเห็นภาพมุมมองทางเพศของผู้คนในสังคมได้ว่า พวกเขามองมุมมองทางเพศโดยเฉพาะทางเลือกเหล่านี้อย่างไร
 
                         บางคนก็อาจจะตั้งแง่รังเกียจ บางคนอาจจะมองว่าเพศทางเลือกเหล่านี้คือ พวกผิดปกติธรรมชาติ ขัดหลักศาสนาและไม่ควรสร้างหนังแบบนี้ออกมาเยอะ ๆ เพราะกลัวเด็กจะเลียนแบบหรือกลายเป็นแบบนี้ ทั้ง ๆ ที่การเป็นเพศทางเลือกนั้นไม่ได้มีความผิดอะไรเลย มันเป็นเรื่องของธรรมชาติมิใช่หรือ
 
                          การมีหนังเพศทางเลือกย่อมสะท้อนว่า พวกเขาเองก็เป็นมนุษย์แบบเดียวกับเราจะไปตั้งแง่รังเกียจพวกเขาทำไมกันเล่า
 
                          7. CensorShip 
 
 
                         สิ่งที่ทำให้ต้องฤกษ์คิ้วขึ้นด้วยความสงสัยก็คือ การที่นาย สมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมสั่งตรวจบัตรผู้ชม จันดารา ภาคปฐมบท ซึ่งได้เรต 18+ อย่างเข้มงวด ซึ่งสะท้อนถึงความเข้าใจในตัวบทกฎหมายเรตติ้งของคนในประเทศได้อย่างดีเพราะ จันดาราได้เรต 18+ ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจบัตรผู้ชมก่อน ในขณะที่ 20- นั่นจะต้องตรวจก่อน และนี่เองที่ทำให้เราต้องมาดูว่า ในปีที่ผ่านมาระบบการเซ็นเซอร์ได้พัฒนาไปบ้างหรือไม่
 
                        คำตอบคือ ไม่
 
 
                        ในหนึ่งปีที่ผ่านมามีหนังถูกแบนไปหนึ่งเรื่องได้แก่ เช็คสเปียร์ต้องตาย ของ สมานรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ ด้วยเหตุผลคล้ายคลึงกันคือ มีเนื้อหาก่อให้เกิดการแตกสามัคคีในชาติ ซึ่งหากมองย้อนไปก่อนหน้านี้ Insect in the Backyard ของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ก็ถูกแบนด้วยข้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดีมาแล้วเช่นกัน
 
                        ถามว่า การเซ็นเซอร์นั่นมีผลอย่างไรกับประเทศไทย แน่นอนว่ามันคือการละเมิดสิทธิที่จะพูดอะไรสักเรื่องหนึ่งแต่ไม่สามารถที่จะพูดได้เพราะต้องมานั่งกังวลว่าจะถูกจัดเรตไปในแบบไหน บางเรื่องถูกจัดเรตไปอยู่ในเรตอย่าง 20- หรือ 18+ ซึ่งอาจจะส่งผลให้รายได้ต่ำลงเพราะ เด็กหรือวัยรุ่นที่อายุไม่ถึงไม่สามารถดูได้ แต่บางคนก็ไม่ได้สนใจเพราะหนังทำออกมาให้ดูในระดับวัยนี้อยู่แล้วนั่นเอง 
 
                         และด้วยการเซ็นเซอร์หรือการจัดเรตที่เข้มงวดนี่เองที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนังไทยไม่สามารถเล่าเรื่องที่นอกเหนือจากตรงนี้ได้ บางคนยอมทำหนังรักเพราะมันเสี่ยงน้อยที่สุดที่จะโดนแบนนั่นเอง ทำให้เราเห็นสภาพของการโอนอ่อนต่ออำนาจของวงการภาพยนตร์นี้ได้อย่างชัดแจ้งยิ่ง 
 
                         ซึ่งตรงนี้ได้สะท้อนภาพของสังคมไทยที่นิยมโอนอ่อนต่ออำนาจเพื่อเอาตัวรอด โดยไม่คิดจะสู้ใด ๆ ทั้งสิ้น (ซึ่งมีการยื่นต่อศาลปกครองไปแล้วโดย คุณธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ว่า กฎหมายเรตติ้งตัวนี้ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ก่อนจะมีการบอกว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้ต้องมานั่งตั้งคำถามถึงตัวบทรัฐธรรมนูญกันว่า สิทธิเสรีภาพของประชาชนและศีลธรรมอันดีคืออะไรกันแน่)
 
                         เราจึงเห็นได้กับการทำหนังอย่างอื่นที่แสดงถึงการเลี่ยงไม่มีปัญหากับกองเซ็นเซอร์ออกมามากมายในยุคหลัง
 
                         นั่นแสดงถึงความกลัวของเราต่ออำนาจหรือเปล่า 
 
                          ถามว่า พวกเขาผิดหรือเปล่าที่ทำหนังพวกนี้ คำตอบคือไม่ผิด อาชีพผู้กำกับคนทำหนังนั่นเป็นเรื่องปากท้อง ทำอะไรได้ทำไปก่อนทั้งนั้นแหละครับ
 
                         เพียงแต่ ต้องถามว่าจะต้องยอมไปอีกนานเท่าไหร่กัน ถึงจะได้รับเสรีภาพ
 
.....
 
                          ผมก็ได้หวังว่า ในปีหน้า ปี 2013 ที่จะถึงนี้ วงการภาพยนตร์ไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้น ในด้านตัวบทภาพยนตร์ ประเภทของภาพยนตร์ และมีความกล้าหาญมากขึ้นในการบอกเล่าประเด็นต่าง ๆ มากกว่าที่เราจะต้องมาทนดูหนังรักซ้ำไปมาราวกับโลกนี้เป็นสีชมพู 
 
                         ขอให้กำลังใจคนทำหนังทุกคนให้สู้กันต่อไปในวงการภาพยนตร์แห่งนี้ครับ
 
บันทึกความทรงจำภาพยนตร์ไทยที่ควรพูดถึงในปี 2012 
คน-โลก-จิต  
อันธพาล
วงจรปิด
407 เที่ยวบินผี
ไม่ได้ขอให้มารัก
Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ
แม่โขงโฮเต็ล
8-8-81 บอกเล่าเก้าศพ
 
                             สวัสดีปีใหม่ครับ

บล็อกของ Mister American

Mister American
ปี 2515 ณ หมู่บ้านห่างไกลผู้คนในจังหวัดกาญจนบุรี แย้ม เด็กสาวผู้เคยป่วยหนักจนเกือบตายได้มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น เธอเริ่มพูดจาด้วยคำหยาบคายกับคนในครอบครัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เริ่มโกหกและยุแยงให้คนในบ้านแตกคอกัน รวมทั้งลุกขึ้นมาตอนกลางคืนเพื่อนกินของสดทำให้คนในครอบครัวโดยเฉพาะ หยาด เกิดความสงสัยขึ
Mister American
สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน           “ความตาย...มันฆ่าเฮาได้แค่ครั้งเดียว แต่ความฮัก มันฆ่าเฉาไปเรื่อยๆๆ จนกว่าเฮาสิตายพุ่นเด้”บักมืด 
Mister American
                ระหว่างที่เขียนต้นฉบับบทความนี้อยู่นั้น การโหวตประธานรัฐสภาและรองประธานสองคนการประชุมสภาวันแรกได้จบลงแล้ว และ ผลคือ คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนใหม่ ร่วมกับ รองประธานสภาสองท่านจากพรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อ
Mister American
            คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดในซีซั่นนี้ที่เรียกว่า สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับบรรดาคนดูอนิเมชั่น และ คนดูหนังหลายคนได้เท่ากับ อนิเมชั่นซีรีย์เรื่อง Oshi no Ko หรือ ชื่อไทยว่า เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ผลงานดัดแปลงจากมังงะขายดีของ อากะ อาคาซากะ ที่ได้ฤกษ์ออกฉายไปเมื่อ
Mister American
                "พรมนิ้วลงไป หวังให้อัสนีกึกก้องด้วยละอองแสง                   กระหน่ำตีเข้าไปให้ถึงปลายทางของความเจ็บปวด
Mister American
                พอ Hellraiser ภาคใหม่จะลงฉายใน Hulu กันในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ (ซึ่งไทยจะได้ดูกันใน Disney Plus) นับว่าเป็นการกลับมาอีกครั้งของพินเฮดและเหล่าซีโนไบร์ต หนึ่งในไอค่อนของโลกสยองขวัญที่โด่งดังไม่แพ้ เฟรดดี้ ครูเกอร์ แห่ง Nightmare of elm street , เ
Mister American
พึ่งจบกันไปหมาด ๆ สำหรับอนิเมชั่นเรื่องดังประจำซีซั่นนี้อย่าง Lycoris  Recoli จากค่าย A-1 Picture ที่นอกจากจะเป็นม้ามืดประจำซีซั่นนี้ที่ได้รับความนิยมแบบถล่มทลายจนแซงหน้าบรรดาอนิเมชั่นฟอร์มยักษ์เรื่องอื่น ๆ ไปแบบไม่มีกังขา โดผลโหวตจากสำนักอนิเมชั่นต่าง ๆ โหวตให้เรื่องนี้อยู่
Mister American
“ทำไมถึงไม่มีหนังสัตว์ประหลาดไทยดี ๆ ออกมาสักทีวะ ?”
Mister American
คงไม่ต้องบอกว่า ณ ช่วงเวลานี้ หลาย ๆ คนคงให้ความสนใจกับการชุมนุมของบรรดาหนุ่มสาววัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษาคนรุ่นใหม่ที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ขับไล่เผด็จการ และ เปลี่ยนแปลงประเทศใหม่ กันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะปรากฏการณ์ของการชุมนุมที่เกิ
Mister American
               “จูออน คือ คำสาปของผู้ที่ตายด้วยความเคียดแค้น ณ สถานที่ที่ตาย ผู้ที่เผชิญหน้ากับมันจะต้องตาย และ คำสาปแช่งใหม่จะถือกำเนิด”
Mister American
“เสียงปืนที่ดังขึ้นภายในงานเลี้ยงของกำนันผู้มีอิทธิพลในจังหวัดเชียงรายดังขึ้น ร่างของกำนันคนดังล้มลงกองกับพื้น หลังจากพึ่งรับตำแหน่งได้ไม่นาน เสียงหวีดร้องของผู้คนในงาน เสียงร่ำไห้ และ ความตื่นตะลึงเกิดขึ้น มือปืนยืนนิ่งอยู่ตรงหน้าของศพที่แน่นิ่งจมกองเลือดอย่างไร้ซึ่งอารมณ์ ข