Skip to main content

ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแล

เพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์ วงดนตรีจากกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกรมที่ร่วมกับกรมศิลปากร ผลิตเพลง Propaganda ให้กับรัฐบาล

ยุคสมัยผ่านเลยมาก็นานแล้ว เพลง ๆ นี้ก็ยังคงเปิดต่อมาพ้นผ่านยุคสมัยต่าง ๆ แม้จะเริ่มคลายความนิยมลงไป แต่มันก็ยังคงดำรงอยู่ในบ้านเรา เช่นเดียวกับระบอบศักดินาทหาร :P

หมายเหตุไว้เสียเล็กน้อยว่า ถึงแม้ "เนื้อหา" ของเพลงสุนทราภรณ์บางเพลงจะไปในเชิงเชิดชูผู้นำ จารีตนิยม และ โฆษณาชวนเชื่อ แต่ด้าน "รูปแบบ" ก้นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี ทำให้ดนตรีไทยมีความเป็นสมัยใหม่ (Modernize) และ ผสานกับความเป็นตะวันตก (Westernize) ได้ เพราะดนตรีแนวสุนทราภรณ์ได้หยิบยืมรูปแบบของแจ๊สซ์สายบิ๊กแบนด์ (ซึ่งตะวันตกในยุคนั้น แจ๊สซ์กำลังบูมมาก) เข้ามาผสานกับเนื้อร้องแบบบทกวีและการร้องเฉพาะแบบ (ส่วนตัวผมไม่ชอบเสียงร้องแบบนี้เอาซะเลย ถึงจะมีคนบอกว่าเป็นการร้องที่ต้องใช้ความสามารถมากแค่ไหนก็ตาม)

แต่นั่นแหละ เพราะการเปลี่ยนแปลงมันเป็นสิ่งที่เกิดจากชนชั้นนำ เปลี่ยนแปลงภายใต้โครงสร้างแบบ "บนลงล่าง" ทำให้อยู่ภายใต้การควบคุม เนื้อหามันจึงไม่เติบโตเท่าไหร่ หากเทียบกับยุคต่อ ๆ มาที่ดนตรีกลายเป็นวัฒนธรรมมวลชน (Popular Culture) อย่างแท้จริง และสำหรับคนที่เป็นโรค Western Allergy เกลียดกลัววัฒนธรรมตะวันตกขึ้นสมอง ผมก็มีข่าวดีมาบอกว่าดนตรีในทุก ๆ วันนี้ถ้าไม่นับดนตรีท้องถิ่น และ ดนตรีไทยเดิม แล้วละก็เพลงไทยทั้งหลายก็เป็นดนตรีที่รับอิทธิพลจากตะวันตกมาปรับใช้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นดนตรีป็อบในกระแส นอกกระแส ใต้ดิน เพื่อชีวิต แม้กระทั่งลูกทุ่ง

เอาล่ะ ขอกลับมาพูดถึงประวัติ โอลด์ แลงค์ ซายน์ ที่มีความซับซ้อนและน่าสนุกกว่า

Robert Burns

โรเบิร์ต เบิร์นส์

โดยต้นกำเนิด เพลงนี้แต่งขึ้นโดย โรเบิร์ต เบิร์นส์ ตั้งแต่สมัยปลายศตวรรษที่ 17 ซึ่งโรเบิร์ต เบิร์นส์ คนนี้เป็นกวี นักคิด นักประพันธ์เพลงคนสำคัญของสก็อตแลนด์ เพลงนี้เองเข้าก็หยิบยืมทำนองจากเพลงพื้นบ้านของสก็อตแลนด์มาดัดแปลง และในทีแรกนั้นเพลงนี้ยังไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับเทศกาลปีใหม่เลย

โอลด์ แลงค์ ซายน์ (Auld Lang Syne) เป็นภาษาสก็อตแลนด์ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "Old long Ago" หรือเป็นไทยคือ "เมื่อเนิ่นนานมา" เนื้อเพลง ๆ นี้ สามารถตีความได้ต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่ามันพูดถึงการให้ลืมสิ่งเก่าไปรับสิ่งใหม่ ๆ มา อีกฝ่ายที่ติดชาตินิยมหน่อยก็ว่าโรเบิร์ต เบิร์นส์ ผู้เป็นนักคิดคนสำคัญย่อมต้องแต่งเพลงนี้เพื่อพูดถึงอดีตอันเกรียงไกรของชาวสก็อตฯ ขณะที่ในปัจจุบัน คนที่ช่างสงสัยแบบ Skeptic ก็เริ่มเสนอว่า จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็นเนื้อหาส่วนตัวของอีตาเบิร์นส์เอง คือเพลงนี้เขาแต่งเพื่อระบายความรู้สึกหวนหาอดีต คิดถึงเพื่อนเก่า คนรักเก่า วันเวลาเก่า ๆ ของเขาก็เท่านั้น

อย่างไรก็ดีเพลงนี้กลายเป็นเป็นเพลงเฉลิมฉลองวันปีใหม่ของชาวสก็อตฯ (Hogmanay) และกลายเป็นเพลงปีใหม่ของอีกหลาย ๆ พื้นที่ในโลกเมื่อ Guy Lombardo นักดนตรีชาวแคนาดา เล่นเพลงนี้ในรายการวิทยุของอเมริกาช่วงรอยต่อระหว่างปี 1938-1939 แม้จนบัดนี้เพลงฉบับของ Guy ยังคงใช้เปิดเป็นเพลงแรกของปี เพื่อเฉลิมฉลองงานปีใหม่ที่ไทม์สแควร์

จริง ๆ แล้วอาจจะไม่ใช่เนื้อเพลง โอลด์ แลงค์ ซายน์ ที่แพร่หลาย แต่เป็นเมโลดี้สุดติดหู (และถึงขั้นหลอนหู) ของมันต่างหาก

ในหลาย ๆ ประเทศเอาทำนองเพลงนี้ไปใช้ต่างโอกาสกัน ในไต้หวันใช้ทำนองเพลงนี้เปิดในวันจบการศึกษาและในงานศพ ที่ญี่ปุ่นก็เอาเพลงนี้มาแปลงเป็นเพลง Hotaru no Hikari (แสงหิ่งห้อย) ใช้ในงานพิธีจบการศึกษาเช่นกัน ส่วน รพินทรนารถ ฐากูร ปราชญ์วรรณกรรมชาวอินเดียเอาทำนองเพลงนี้มาแต่งเป็น "About the Old Days" ในไทยเองเพลงนี้ก็กลายมาเป็นเพลงแบบขวา ๆ อย่าง "สามัคคีชุมนุม" ที่ไม่แค่เอาทำนองเขามา แม้แต่พิธีการไขว้มือจับกันก็เอามาจากพิธีกรรมของชาวสก็อตฯ ด้วย

Hogmanay

เทศกาล Hogmanay

และล่าสุด ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมานี้เอง ทำนองเพลง Auld Lang Syne ก็ถูกเปิดในพิธีสละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของผู้นำเผด็จการปากีสถาน เปอร์เวช มูชาร์ราฟ เพื่อที่เขาจะได้สืบทอดอำนาจทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ต่อไป ไม่รู้วิญญาณของตาโรเบิร์ต เบิร์นส์ รู้เข้าจะ "เซ็งสาดดด" ขนาดไหน เมื่อเพลงที่แต่งโดยนักคิดเสรีนิยม (Liberalism) เช่นเขาถูกเอาไปใช้ในพิธีกรรมของทหารเผด็จการซะแล้ว

จริง ๆ แล้ว ผมเห็นว่าเนื้อเพลงนี้แต่งได้ไพเราะมาก พอเห็นถูกเอาไปแปลงเป็นเพลงขวา ๆ มั่งล่ะ เอาไปใช่ในพิธีของเผด็จการบ้างล่ะ มันช่างฟังดูน่าหดหู่เหลือหลาย แม้จะแค่ชอบเนื้อเพลงต้นฉบับมันก็ยังชวนให้รู้สึกผิด

แต่ผมก็ได้ค้นพบว่าเพลง ๆ นี้มันไม่ได้มีแต่เอาไปใช้ในพิธีการ หรือเอาไปใช้อย่างขรึมขลังอย่างเดียว ในหมู่ศิลปินเพลงสมัยนิยมทั่ว ๆ ไปก็เอาเพลงนี้มาเล่นกันอย่างสนุกสนานบันเทิงใจ ซึ่งต้องขอบคุณพวกเขาที่ทำให้ผมฟังเพลงนี้ได้สนิทหูขึ้นมาหน่อย

นอกจาก Guy Lombardo ผู้ทำให้เพลง Auld Lang Syne กระฉ่อนไปทั่วโลกแล้ว ในช่วงรอยต่อของปี 1969-1970 มือกีต้าร์โลกันต์ Jimi Hendrix ได้เล่นเพลง Auld Lang Syne ในแบบฉบับ Blues-Rock ที่ The Fillmore East ซึ่งในช่วงนั้นดนตรี Rock กำลังเฟื่องฟู และรอยต่อของทศวรรษทั้งสองนี้ก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญของวงการดนตรี Rock เลยก็ว่าได้

นอกจากนี้ยังมีฉบับเสียงประสานของวงป็อบอย่าง Beach Boys มีฉบับ Rock กลิ่นพื้นบ้านอเมริกันของ Bruce Springsteen and the E Street Band รวมถึงฉบับกีต้าร์โซโล่แปลกหู ที่ Guns ‘n' Roses เล่นไว้ใน Live at Leeds เมื่อปี 2002 ซึ่งหลังจากนั้น Buckethead มือกีต้าร์จอมเพี้ยนก็ได้โซโล่ต่อเป็นทำนองเพลงธีมหลักของ Star Wars :)

ไม่เพียงแค่การเล่นแบบ (พยายามจะ) Cover เพลงนี้เท่านั้น บางทีเนื้อหาของเพลงนี้ก็ถูกนำไปใช้ในบริบทอื่น เช่นนักร้องโฟล์ค/ป็อบ Dan Fogelberg ที่เพิ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งไปเมื่อวันที่ 17 ธันวา ปีนี้เอง ก็เคยแต่งเพลงที่ชื่อ Same Old Lang Syne ขึ้น เนื้อเพลงพูดถึงการได้พบเจอคนรักเก่าโดยบังเอิญในคืนคริสต์มาส แล้วเรื่องราวเก่า ๆ ก็หวนย้อนกลับมา

Dan Fogelberg

Dan Fogelberg

สำหรับผมแล้ว สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นเสน่ห์ที่มาจากยุคเฟื่องฟูของศิลปะและวัฒนธรรมมวลชน ทำให้มีการนำสิ่งที่อยู่บนหิ้งมาตีความใหม่ มีทั้งการเล่นล้อและการแสดงความเคารพต้นฉบับอย่างเสรี

หลังจากวันที่ 31 ไป ปฏิทินเก่าจะหมดหน้าที่ปฏิทินใหม่มาแทน แต่ก็ยังเป็นเครื่องช่วยสมมุติเวลาเหมือนเดิม เพลง "สวัสดีปีใหม่" เพลงเดิมจะยังคงแว่วเสียงออกมาทางโทรทัศน์ให้ได้ยิน หลายที่ในโลกก็ร่วมบรรเลงท่วงทำนองเดิมของ Auld Lang Syne แต่ภายใต้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เราเห็นว่ามัน "เหมือนเดิม" ผมเชื่อว่ามันมี "การเติบโต" ของอะไรบางอย่างแฝงอยู่ และสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้และเติบโตนั้น มันคือศิลปะและวัฒนธรรมที่ไม่ได้ถูกแช่แข็ง ควบคุม หรือถูกกุมความหมายโดยคนเพียงบางกลุ่ม

มิเช่นนั้นแล้ว วันปีใหม่ที่ผู้คนเฝ้าฝันถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งเก่า ๆ ไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่ดีกว่า
ก็จะเหลือเพียงแค่การเปลี่ยนแปลง...ตัวเลขศักราชบนปฏิทินใหม่เท่านั้น

"Should auld acquaintance be forgot,
and never brought to mind ?
Should auld acquaintance be forgot,
and auld lang syne ?"

"ขอสิ่งเก่า ๆ จงถูกลืมเลือนไป
และไม่เก็บมาใส่ใจ
ขอสิ่งเก่า ๆ จงถูกลืมเลือนไป
และไหลไปสู่อดีตเนิ่นนาน"

- Auld Lang Syne

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…