Skip to main content

 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ

 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล.
 
นับแต่ปลายปี ๒๕๓๔ เหตุการณ์แตกแยกกันอย่างรุนแรงระหว่างในหมู่ผู้พิพากษา และความสกปรกของ "คณะกรรมการตุลาการ" (ก.ต.) ที่ถูกขุดคุ้ยกันเองโดยบรรดาตุลาการ ตลอดจนอัยการในยุคนั้น [คล้ายการถล่มกันระหว่างครอบครัวมาเฟียในนิวยอร์คยุค ๑๙๒๐] เป็นศึกหลายขั้วระหว่าง ประภาศ อวยชัย, ประมาณ ชันซื่อ, โสภณ รัตนากร, สวัสดิ โชติพานิช
 
ผู้พิพากษาสายประมาณ ชันซื่อ [ความเกี่ยวข้องกับ "ราชสำนัก" อย่างไร อาจสืบค้นกันดูนะครับ หลายๆท่านคงจำได้ดี] คุมกองกำลังใน ก.ต. ได้เกือบทั้งหมด แต่ ผู้พิพากษาฝ่ายตรงข้ามประมาณ ชันซื่อ "ยกทีม" ไม่ยอมรับอำนาจคณะกรรมการตุลาการ
 
ผู้พิพากษาจำนวนมากในปี ๒๕๓๕ จับกลุ่มชุมนุมประท้วงหน้าศาลฎีกา นานราวปี
 
อาทิตย์ ปีที่ ๑๕ , ๗๙๙ (๙๐) , ๒ ต.ค. - ๘ ต.ค.๒๕๓๕ , ข่าวพิเศษ. หน้า ๑๒.
 
ความแตกแยกในศาลยุติธรรมรุนแรงขึ้น ในที่สุด รัฐบาลอานันท์ คิดอะไรไม่ออก ก็ตราพระราชกำหนดยุบ ก.ต. แต่กระนั้น สภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด
 
ช่วงนั้นเอง นายปรีดี เกษมทรัพย์ [ปีกอนุรักษ์นิยมในคณะนิติศาสตร์ - ครอบงำแนวคิดมูลฐานของ นศ. หลายประการ ฯลฯ] ได้เผยแพร่บทความลงวารสาร (วันรพี คณะนิติฯมธ.)และหนังสือพิมพ์ เช่น อาทิตย์ รายสัปดาห์ ซึ่งอาจมีนัยะทางการเมืองผ่านบทความ "เมื่อประมุขตุลาการเผชิญหน้ากับกษัตริย์"(เป็น เรื่อง Edward Coke กับ พระเจ้าเจมส์ -- ในแง่หนึ่งสะท้อนว่า กษัตริย์ไม่เรียนกฎหมาย ก็อย่าสู่รู้ไปมากนัก (ท่านคุ๊กกล่าว) , แต่อีกแง่หนึ่ง ก็อาจเสียดสีอย่างเร้น เพราะ Edward Coke ภายหลังก็หนีไปเล่นการเมือง - ขณะนั้น ประภาศ อวยชัย เป็นรัฐมนตรี)
 
ทั้งนี้ ผมพบประเด็นน่าสนใจจากคำสัมภาษณ์ของ นาย รังสรรค์ ต่อสุวรรณ [ภายหลังตกเป็นจำเลยคดีลอบฆ่าประธานศาลฎีกา ช่างน่าเห็นใจนัก] เรามาดูกัน
 
อาทิตย์ ปีที่ ๑๕ , ๘๐๒ (๙๓) , ๒๓ ต.ค. - ๒๙ ต.ค.๒๕๓๕ , ข่าวพิเศษ. หน้า ๑๙.
 
อาทิตย์ ปีที่ ๑๕ , ๘๐๒ (๙๓) , ๒๓ ต.ค. - ๒๙ ต.ค.๒๕๓๕ , ข่าวพิเศษ. หน้า ๑๘.
 
อาทิตย์ ปีที่ ๑๕ , ๘๐๒ (๙๓) , ๒๓ ต.ค. - ๒๙ ต.ค.๒๕๓๕ , ข่าวพิเศษ. หน้า ๑๙.
 
อาทิตย์ ปีที่ ๑๕ , ๘๐๒ (๙๓) , ๒๓ ต.ค. - ๒๙ ต.ค.๒๕๓๕ , ข่าวพิเศษ. หน้า ๑๙.
 
อาทิตย์ ปีที่ ๑๕ , ๘๐๒ (๙๓) , ๒๓ ต.ค. - ๒๙ ต.ค.๒๕๓๕ , ข่าวพิเศษ. หน้า ๑๙.
 
อาทิตย์ ปีที่ ๑๕ , ๘๐๒ (๙๓) , ๒๓ ต.ค. - ๒๙ ต.ค.๒๕๓๕ , ข่าวพิเศษ. หน้า ๒๐.
 
 
ถัดจากนี้
 
ข้ามปีถัดไป เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อมวลชนต่อองค์กรตุลาการ และที่เกี่ยวข้อง ระคายเคือง "ผู้ถูกวิจารณ์" เป็นอย่างยิ่ง ปรากฎในคำสัมภาษณ์นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ กล่าวกับนักข่าวว่า ถ้ายังโจมตีผู้พิพากษาไม่เลิก ได้ประชุมตกลงกันแล้วว่า ถ้ามีอีกจะฟ้อง และจะลงโทษจำคุกสูงสุดสถานเดียว
 
นับจากนั้นมา ข่าวในเรื่องนี้ก็ลงอย่างปะปราย และเรื่องราวได้สาบสูญไปในที่สุด
 
ภายหลัง ทุกท่านที่บาดหมางกันก็ได้เวียนกันนั่งแท่นประธานศาลฎีกาทุกคน เรื่องราวจึงจบได้ด้วยดี
 
อาทิตย์ ปีที่ ๑๕ , ๗๙๙ (๙๐) , ๒ ต.ค. - ๘ ต.ค.๒๕๓๕ , ข่าวพิเศษ. หน้า ๑๒.
 
 
ใคร? ได้ถูกห้ามนำเสนอข่าวอีกต่อไป (ด้วยการขู่ จะพิพากษา "จำคุก" ดังกล่าว และท่าทีที่จะเอาจริง) แต่เรื่องก็ปะทุอีกคราในการขอขึ้นเงินเดือนเมื่อปี ๓๙ ความชุลมุนยุติเมื่ออนุมัติปรับเงินเดือนขึ้นให้ท่านผู้พิพากษา
 
พาดหัวข่าวแบบนี้คงไม่ได้เห็นกันในยุคนี้...
 
 
"มาเฟีย ในวงการตุลาการ" หรือความสกปรกต่างๆ เมื่อปี ๓๔ - ๓๗ ก็มีมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว และในปัจจุบันก็ใช่จะหมดสิ้น อดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็ยิ่งเสียกว่า หากแต่มันกวาดเก็บไว้อยู่ใต้พรม พูดคุยกันในวง เนื่องจากขั้วอำนาจในศาลลงพวกกันได้ดี, ภายใต้อำนาจของ Boss of all Bosses ที่มีสภาพเสถียรยิ่งกว่าเดิม(?).
 
 
หมายเหตุ : ลำดับความในรายละเอียด (หรือฐานอำนาจแต่ละก๊ก) ผมคงรับทราบจากข่าว(ที่ไม่ต่อเนื่องจากฐานข้อมูลที่มีน้อย) ได้ดีเท่า คนในวงการกฎหมายที่เกิดทันในเหตุการณ์นั้น.

 

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ