Skip to main content

ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

จากข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง "รัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกนอกจากจะต้องยอมคืนดินแดนให้ฝรั่งเศสไป โดยฝากความหวังไว้กับคณะกรรมาธิการประนอมที่จะจัดตั้งขึ้นพิจารณาเขตแดน ระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีน สภาฯ ใช้เวลาอภิปรายถึงกว่า ๔ ชั่วโมง ไม่มีผู้แทนราษฎรผู้ใดสังกัดพรรครัฐบาลสนับสนุนการตัดสินใจของรัฐบาล พรรคฝ่ายค้านก็คัดค้านการคืนดินแดนอย่างหนักหน่วง ถือเป็นการปล่อยให้ประชากรกว่าล้านคนต้องตกอยู่ในชะตากรรมที่เขาไม่ต้องการ บางคนถึงกับกล่าวว่าน่าจะสู้รบกับฝรั่งเศสเพื่อรักษาเกียรติของชาติไทยดี กว่า รัฐบาลไม่กล้าเสนอให้มีการลงมติในวันนั้น ขอให้เลื่อนไปประชุมในวันที่ ๑๕ อีกตลอดวัน คุณชวลิต อภัยวงศ์ ญาติของคุณควง ซึ่งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระตะบอง โจมตีรัฐบาลอย่างรุนแรง...การ อภิปรายดำเนินมาจนกระทั่ง ๑๘.๐๐ นาฬิกา จึงมีการลงคะแนนเสียงลับ...มอบอำนาจให้รัฐบาลประกาศเลิกอนุสัญญาสันติภาพ ปี ๒๔๘๔ และคืนดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส"[เน้นข้อความ - พุฒิพงศ์] 

มีปัญหาให้พิเคราะห์ว่า คุณชวลิต อภัยวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระตะบอง ต้องพ้นสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะเหตุที่จังหวัดพระตะบองไม่มีอยู่ในแดนอำนาจอธิปไตยไทย หรือไม่? (ไม่ต้องพลิกตัวบทรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยเหตุสิ้นสุดสมาชิกภาพของ ส.ส.นะครับ เพราะไม่มีบัญญัติไว้ : และหากไม่มีบทบัญญัติใด ๆ ในรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยเหตุสิ้นสุดสมาชิกสภาของ ส.ส. ใดๆ ทั้งสิ้น ท่านจะพิเคราะห์อย่างไรในปัญหานี้)

เราพิจารณาดังนี้ โดยเหตุที่ "อำนาจอธิปไตยย่อม มาจาก/เป็นของ ปวงชนชาวไทย" (มาตรา ๒ รัฐธรรมนูญฯ ๒๔๘๙) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ใช้อำนาจอธิปไตยในทางนิติบัญญัติ (มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญฯ ๒๔๘๙) เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย (ผู้แทนของชาติ) เมื่อมีการเลือกตั้งไปแล้ว "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" ย่อมดำรงสถานะที่จะต้องแสดงเจตจำนงทั่วไปอันเป็นเจตจำนงของชาติ (ผู้แทนของปวงชน ; เป็นผู้แทนของประชาชนทั้งประเทศ มิใช่เป็นผู้แทนของจังหวัดที่ตนได้รับเลือกตั้ง) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมไม่ผูกพันกับประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งตนเข้าไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกต่อไป และไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติคำสั่งของบุคคลอื่นใด (รวมถึงประชาชนที่เลือกตั้งตนเข้ามาเป็นผู้แทนด้วย) (หลัก freies mandat) 

ด้วยเหตุนี้ เมื่อคราวยุติสงครามโลกครั้งที่ ๒ แม้ประเทศไทยต้องคืนดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดนครจำปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง ก็ตาม แต่ส.ส.จังหวัดพระตะบอง, ส.ส.จังหวัดพิบูลสงคราม, ส.ส.จังหวัดนครจำปาศักดิ์, ส.ส.จังหวัดลานช้าง เราก็ให้ดำรงสมาชิกภาพต่อไป เพราะพวกเขากลายสภาพเป็น "ผู้แทนของชาติ/ปวงชนชาวไทย" เสียแล้ว และในกรณียุบรวมจังหวัดก็น่าจะมีผลทำนองเดียวกันนี้

เราทราบฐานคิดทางทฤษฎีแล้ว ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น สภาผู้แทนราษฎรไทย ก็มีข้อยุติดังนี้ 

เมื่อจังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดนครจำปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง เป็นดินแดนที่ต้องคืนให้แก่ประเทศฝรั่งเศสไป โดย "ให้ ถือเสมือนว่าไม่มีการโอนดินแดน ๔ จังหวัดดังกล่าวแล้วให้แก่ประเทศไทยเลย... ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนที่ได้รับเลือกจากดินแดน ๔ จังหวัดที่ได้โอนคืนไปนั้นยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าสมาชิกภาพจะสิ้นสุด ลง (รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปี ๒๔๘๙ (วิสามัญ) ครั้งที่ ๑๙ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๙)"

________________________

เชิงอรรถ :

 กนต์ธีร์ ศุภมงคล, การวิเทโศบายของไทย : ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๔๘๓ ถึง ๒๔๙๕, พิมพ์ครั้งที่ ๒, สถาบันปรีดี พนมยงค์, ๒๕๓๗, หน้า ๓๐๗.

 ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์, รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (๒๔๗๕-๒๕๑๗), พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชุมนุมช่าง, ๒๕๑๗, หน้า ๕๕๙.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ) เรื่องหลักความมีส่วนได้เสียและข้อห้ามนั่งพิจารณาคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดี "ที่มา สว."พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 การนิรโทษกรรมประชาชนตามกรอบร่างพรบ.ฉบับวรชัยฯ ไม่ขัดหลักเสมอภาค พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล กรรมาธิการวิสามัญพิจาร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัยพระเจ้าท้ายสระ คดี Oia Sennerat v. Alexander Hamilton (ค.ศ. ๑๗๑๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ความชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ :กรณี ร.๙ พิพากษาคดีในศาล?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รวบรวมข้อมูลการเดินทางเยือนต่างประเทศของพระบรมวงศานุวงศ์ (๑ ม.ค.-๑๒ ก.ย.๒๕๕๖)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กรณีบอย โกสิยพงษ์ เรื่องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ประธานรัฐสภากับการประท้วงของประชาธิปัตย์ชกต่อยตำรวจสภาพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ แคเธอรีน บาววี เรื่องสิทธิเลือกตั้งสตรี ร.ศ.๑๑๖พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ต้นตอของคำอธิบายเรื่องมิให้นำ "บทยกเว้นความผิด" มาใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยการดูหมิ่น พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ศาลไทยในยุคก่อนทำสนธิสัญญาเบาว์ริงพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล