Skip to main content

ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

จากข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง "รัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกนอกจากจะต้องยอมคืนดินแดนให้ฝรั่งเศสไป โดยฝากความหวังไว้กับคณะกรรมาธิการประนอมที่จะจัดตั้งขึ้นพิจารณาเขตแดน ระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีน สภาฯ ใช้เวลาอภิปรายถึงกว่า ๔ ชั่วโมง ไม่มีผู้แทนราษฎรผู้ใดสังกัดพรรครัฐบาลสนับสนุนการตัดสินใจของรัฐบาล พรรคฝ่ายค้านก็คัดค้านการคืนดินแดนอย่างหนักหน่วง ถือเป็นการปล่อยให้ประชากรกว่าล้านคนต้องตกอยู่ในชะตากรรมที่เขาไม่ต้องการ บางคนถึงกับกล่าวว่าน่าจะสู้รบกับฝรั่งเศสเพื่อรักษาเกียรติของชาติไทยดี กว่า รัฐบาลไม่กล้าเสนอให้มีการลงมติในวันนั้น ขอให้เลื่อนไปประชุมในวันที่ ๑๕ อีกตลอดวัน คุณชวลิต อภัยวงศ์ ญาติของคุณควง ซึ่งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระตะบอง โจมตีรัฐบาลอย่างรุนแรง...การ อภิปรายดำเนินมาจนกระทั่ง ๑๘.๐๐ นาฬิกา จึงมีการลงคะแนนเสียงลับ...มอบอำนาจให้รัฐบาลประกาศเลิกอนุสัญญาสันติภาพ ปี ๒๔๘๔ และคืนดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส"[เน้นข้อความ - พุฒิพงศ์] 

มีปัญหาให้พิเคราะห์ว่า คุณชวลิต อภัยวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระตะบอง ต้องพ้นสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะเหตุที่จังหวัดพระตะบองไม่มีอยู่ในแดนอำนาจอธิปไตยไทย หรือไม่? (ไม่ต้องพลิกตัวบทรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยเหตุสิ้นสุดสมาชิกภาพของ ส.ส.นะครับ เพราะไม่มีบัญญัติไว้ : และหากไม่มีบทบัญญัติใด ๆ ในรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยเหตุสิ้นสุดสมาชิกสภาของ ส.ส. ใดๆ ทั้งสิ้น ท่านจะพิเคราะห์อย่างไรในปัญหานี้)

เราพิจารณาดังนี้ โดยเหตุที่ "อำนาจอธิปไตยย่อม มาจาก/เป็นของ ปวงชนชาวไทย" (มาตรา ๒ รัฐธรรมนูญฯ ๒๔๘๙) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ใช้อำนาจอธิปไตยในทางนิติบัญญัติ (มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญฯ ๒๔๘๙) เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย (ผู้แทนของชาติ) เมื่อมีการเลือกตั้งไปแล้ว "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" ย่อมดำรงสถานะที่จะต้องแสดงเจตจำนงทั่วไปอันเป็นเจตจำนงของชาติ (ผู้แทนของปวงชน ; เป็นผู้แทนของประชาชนทั้งประเทศ มิใช่เป็นผู้แทนของจังหวัดที่ตนได้รับเลือกตั้ง) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมไม่ผูกพันกับประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งตนเข้าไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกต่อไป และไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติคำสั่งของบุคคลอื่นใด (รวมถึงประชาชนที่เลือกตั้งตนเข้ามาเป็นผู้แทนด้วย) (หลัก freies mandat) 

ด้วยเหตุนี้ เมื่อคราวยุติสงครามโลกครั้งที่ ๒ แม้ประเทศไทยต้องคืนดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดนครจำปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง ก็ตาม แต่ส.ส.จังหวัดพระตะบอง, ส.ส.จังหวัดพิบูลสงคราม, ส.ส.จังหวัดนครจำปาศักดิ์, ส.ส.จังหวัดลานช้าง เราก็ให้ดำรงสมาชิกภาพต่อไป เพราะพวกเขากลายสภาพเป็น "ผู้แทนของชาติ/ปวงชนชาวไทย" เสียแล้ว และในกรณียุบรวมจังหวัดก็น่าจะมีผลทำนองเดียวกันนี้

เราทราบฐานคิดทางทฤษฎีแล้ว ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น สภาผู้แทนราษฎรไทย ก็มีข้อยุติดังนี้ 

เมื่อจังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดนครจำปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง เป็นดินแดนที่ต้องคืนให้แก่ประเทศฝรั่งเศสไป โดย "ให้ ถือเสมือนว่าไม่มีการโอนดินแดน ๔ จังหวัดดังกล่าวแล้วให้แก่ประเทศไทยเลย... ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนที่ได้รับเลือกจากดินแดน ๔ จังหวัดที่ได้โอนคืนไปนั้นยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าสมาชิกภาพจะสิ้นสุด ลง (รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปี ๒๔๘๙ (วิสามัญ) ครั้งที่ ๑๙ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๙)"

________________________

เชิงอรรถ :

 กนต์ธีร์ ศุภมงคล, การวิเทโศบายของไทย : ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๔๘๓ ถึง ๒๔๙๕, พิมพ์ครั้งที่ ๒, สถาบันปรีดี พนมยงค์, ๒๕๓๗, หน้า ๓๐๗.

 ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์, รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (๒๔๗๕-๒๕๑๗), พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชุมนุมช่าง, ๒๕๑๗, หน้า ๕๕๙.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ