Skip to main content

ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 

[คัดข้อความมาจากส่วนที่ผม (พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล) ได้เข้าไป "ตอบ" ใน คอมเม้นท์ท้ายกระทู้ของคุณ ธนาพล อิ๋วสกุล : http://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/438314142909831  ขออนุญาตใช้นามสมมติผู้ตั้งประเด็น (ตัวเอียง) โดยจะสมมติให้ผู้นั้นชื่อ นายเขียว]

๑."กฎมณเฑียรบาล เป็นราชประเพณี ที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ

ตอบ กฎมณเฑียรบาลเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร จึงไม่ถือเป็น ราชประเพณี (Constitutional convention) และเคยถูกแก้ไขมาแล้วครั้งนึงในปี ๒๔๗๕ โดยมติของสภาผู้แทนราษฎร.

๒."รัฐธรรมนูญแม้เป็นกฎหมายสูงสุด แต่หากกำหนดให้ถือตามกฎหมายพิเศษแล้ว กฎหมายพิเศษนั้นย่อมมาก่อนรัฐธรรมนูญ ก็คือกล่าวในทางกลับนั่นเอง เพราะรัฐธรรมนูญสูงสุด รัฐธรรมนูญจึงสามารถสั่งให้ใช้กฎหมายพิเศษแทนที่รัฐธรรมนูญในเรื่องนั้นๆได้ ในกรณี กฎมณเฑียรบาลก็เช่นกัน ต้องถือตามกฎมณเฑียรบาลก่อน ส่วนรัฐธรรมนูญนั้นใช้ในชั้นรองต่อจากกฎฯแล้ว"

ตอบ การกล่าวว่า มีกฎเกณฑ์อื่นที่มา "ขจัด" ผลบังคับใช้ของรัฐธรรมนูญ (ปะทะกับรัฐธรรมนูญ แล้วสามารถก่อให้เกิดผลในระบบกฎหมาย) เช่น นายเขียว กล่าวนัยว่า กฎมณเฑียรบาลเป็น"รัฐธรรมนูญพิเศษ"(กฎหมายพิเศษ) นั้น เป็นสิ่งที่ absurd ครับบอกตรงๆ ไปพูดแบบนี้ในแวดวงวิชาการสากลอายเขาเปล่าๆ คือคุณถือว่า กฎมณเฑียรบาล เป็น supra-constitutionnelle ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ "พัฒนาการของหลักนิติรัฐ" ที่โบราณคร่ำครึ(ถูกทะลวงจนพรุนไปหมดแล้ว) ประมาณในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ (แม้ในยุคศควรรษที่ ๒๑ จะมีกระแสคิดสัจนิยม กับกระหลังโครงสร้างนิยมทางกฎหมาย แต่ก็มีวิธีวิทยาที่แตกต่างออกไปจากกรอบคิดของนายเขียว โดยสิ้นเชิง - ซึ่งจะไม่อธิบายในที่นี) 

โดยปกติ การจะยอมรับกฎเกณฑ์อื่นให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในกระแสคิดแบบนิติรัฐ จะอธิบายว่า รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรนั่นเองแหละที่ "ได้ยอมตน" ให้กฎเกณฑ์เหล่านั้นมีค่าบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ต่างหากเล่า - จะเห็นได้ว่า การอธิบายเช่นนี้เป็นการยืนยันคุณค่าพื้นฐานของระบบกฎหมายและประกันความสูง สุดของรัฐธรรมนูญ ( "...is entrusted with the task of testing whether a law is constitutional" ดู Hans Kelsen, General theory of law and state, ( translated by Anders Wedberg,) New York : Russell & Russell, 1973, p. 157) หลังเผชิญความเลวร้ายในการสร้าง supra-constitutionnelle ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ในช่วงคลื่นของระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ครับ.

___________________________

หมายเหตุ : สำหรับผู้สนใจรายละเอียดโปรดดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" ใน http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4048

 

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ) เรื่องหลักความมีส่วนได้เสียและข้อห้ามนั่งพิจารณาคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดี "ที่มา สว."พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 การนิรโทษกรรมประชาชนตามกรอบร่างพรบ.ฉบับวรชัยฯ ไม่ขัดหลักเสมอภาค พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล กรรมาธิการวิสามัญพิจาร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัยพระเจ้าท้ายสระ คดี Oia Sennerat v. Alexander Hamilton (ค.ศ. ๑๗๑๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ความชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ :กรณี ร.๙ พิพากษาคดีในศาล?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รวบรวมข้อมูลการเดินทางเยือนต่างประเทศของพระบรมวงศานุวงศ์ (๑ ม.ค.-๑๒ ก.ย.๒๕๕๖)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กรณีบอย โกสิยพงษ์ เรื่องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ประธานรัฐสภากับการประท้วงของประชาธิปัตย์ชกต่อยตำรวจสภาพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ แคเธอรีน บาววี เรื่องสิทธิเลือกตั้งสตรี ร.ศ.๑๑๖พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ต้นตอของคำอธิบายเรื่องมิให้นำ "บทยกเว้นความผิด" มาใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยการดูหมิ่น พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ศาลไทยในยุคก่อนทำสนธิสัญญาเบาว์ริงพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล