Skip to main content

ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 

[คัดข้อความมาจากส่วนที่ผม (พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล) ได้เข้าไป "ตอบ" ใน คอมเม้นท์ท้ายกระทู้ของคุณ ธนาพล อิ๋วสกุล : http://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/438314142909831  ขออนุญาตใช้นามสมมติผู้ตั้งประเด็น (ตัวเอียง) โดยจะสมมติให้ผู้นั้นชื่อ นายเขียว]

๑."กฎมณเฑียรบาล เป็นราชประเพณี ที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ

ตอบ กฎมณเฑียรบาลเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร จึงไม่ถือเป็น ราชประเพณี (Constitutional convention) และเคยถูกแก้ไขมาแล้วครั้งนึงในปี ๒๔๗๕ โดยมติของสภาผู้แทนราษฎร.

๒."รัฐธรรมนูญแม้เป็นกฎหมายสูงสุด แต่หากกำหนดให้ถือตามกฎหมายพิเศษแล้ว กฎหมายพิเศษนั้นย่อมมาก่อนรัฐธรรมนูญ ก็คือกล่าวในทางกลับนั่นเอง เพราะรัฐธรรมนูญสูงสุด รัฐธรรมนูญจึงสามารถสั่งให้ใช้กฎหมายพิเศษแทนที่รัฐธรรมนูญในเรื่องนั้นๆได้ ในกรณี กฎมณเฑียรบาลก็เช่นกัน ต้องถือตามกฎมณเฑียรบาลก่อน ส่วนรัฐธรรมนูญนั้นใช้ในชั้นรองต่อจากกฎฯแล้ว"

ตอบ การกล่าวว่า มีกฎเกณฑ์อื่นที่มา "ขจัด" ผลบังคับใช้ของรัฐธรรมนูญ (ปะทะกับรัฐธรรมนูญ แล้วสามารถก่อให้เกิดผลในระบบกฎหมาย) เช่น นายเขียว กล่าวนัยว่า กฎมณเฑียรบาลเป็น"รัฐธรรมนูญพิเศษ"(กฎหมายพิเศษ) นั้น เป็นสิ่งที่ absurd ครับบอกตรงๆ ไปพูดแบบนี้ในแวดวงวิชาการสากลอายเขาเปล่าๆ คือคุณถือว่า กฎมณเฑียรบาล เป็น supra-constitutionnelle ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ "พัฒนาการของหลักนิติรัฐ" ที่โบราณคร่ำครึ(ถูกทะลวงจนพรุนไปหมดแล้ว) ประมาณในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ (แม้ในยุคศควรรษที่ ๒๑ จะมีกระแสคิดสัจนิยม กับกระหลังโครงสร้างนิยมทางกฎหมาย แต่ก็มีวิธีวิทยาที่แตกต่างออกไปจากกรอบคิดของนายเขียว โดยสิ้นเชิง - ซึ่งจะไม่อธิบายในที่นี) 

โดยปกติ การจะยอมรับกฎเกณฑ์อื่นให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในกระแสคิดแบบนิติรัฐ จะอธิบายว่า รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรนั่นเองแหละที่ "ได้ยอมตน" ให้กฎเกณฑ์เหล่านั้นมีค่าบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ต่างหากเล่า - จะเห็นได้ว่า การอธิบายเช่นนี้เป็นการยืนยันคุณค่าพื้นฐานของระบบกฎหมายและประกันความสูง สุดของรัฐธรรมนูญ ( "...is entrusted with the task of testing whether a law is constitutional" ดู Hans Kelsen, General theory of law and state, ( translated by Anders Wedberg,) New York : Russell & Russell, 1973, p. 157) หลังเผชิญความเลวร้ายในการสร้าง supra-constitutionnelle ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ในช่วงคลื่นของระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ครับ.

___________________________

หมายเหตุ : สำหรับผู้สนใจรายละเอียดโปรดดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" ใน http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4048

 

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ