Skip to main content

สำรวจข้อมูล : เรียน 'สาขาใด' มีโอกาสเป็น 'องคมนตรี' มากที่สุด

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม.

การสำรวจข้อมูลนี้ อาศัยฐานข้อมูลจาก "คณะองคมนตรี" ชุดปัจจุบัน โดยอ้างอิงตามฐานข้อมูลของเว็บไซต์สำนักพระราชวัง (รายชื่อและประวัติองคมนตรีบางส่วน) และเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (รายละเอียดการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง) จะพบว่า คณะนิติศาสตร์ ถือเป็นสาขาวิชาชีพที่มีองคมนตรีสำเร็จการศึกษาจำนวน ๗ คน (๕ ใน ๗ จบ นิติฯ มธ.) มากที่สุดในสัดส่วนปัจจุบัน (หมายเหตุ กรณี มล.อัศนี ปราโมช แม้มียศ พลเรือเอก แต่ มล.อัศนี มิได้สำเร็จการศึกษาโรงเรียนทหาร แต่ได้ยศมาด้วยการสมัครรับราชการ) หลังรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ มีการแต่งตั้งองคมนตรีซึ่งสำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์จำนวน ๓ รายด้วยกัน รองลงมาคือ ทหาร (หลัง ๑๙ ก.ย. มีองคมนตรีสาขาทหาร เพิ่มเข้ามา ๒ ราย คือ รวมสุรยุทธ์ ซึ่งออกมาเป็นนายกรัฐมนตรีพระราชทานและคืนตำแหน่งองคมนตรีหลังเลือกตั้ง) ส่วนสาขาวิศวะ แต่งตั้ง ๓ คน (๒๕๑๘, ๒๕๓๐, ๒๕๓๔) สำหรับสาขา กสิกรรม (๒๕๓๗) สาขาแพทย์ (๒๕๔๔) สาขารัฐศาสตร์ (๒๕๔๔) สาขาละ ๑ คน สำหรับรายละเอียด ดังนี้

อันดับหนึ่ง. คณะนิติศาสตร์ (๗ คน)
๑.นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๒๐) - คณะนิติศาสตร์ มธ.
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (องคมนตรี), ใน  http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Mr.Thanin.pdf )
๒.นายจำรัส เขมะจารุ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๗) - คณะนิติศาสตร์ มธ.
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๑ ตอนพิเศษ ๕๕ ง, ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/E/055/1.PDF )
๓.พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๒๗) - คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๒๘ ฉบับพิเศษ, ลงวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/A/028/1.PDF )
๔.หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๐) - คณะนิติศาสตร์, Barrister-at-Law จากสถาบัน Middle Temple ประเทศอังกฤษ
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๔ ตอนพิเศษ ๗๓ ง, ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/073/1.PDF )
๕.นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๐) - คณะนิติศาสตร์ มธ.
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง, ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/101/1.PDF )
๖.นายศุภชัย ภู่งาม (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑) - คณะนิติศาสตร์ มธ.
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๗๑ ง, ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/071/1.PDF )
๗.นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑) - คณะนิติศาสตร์ มธ.
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๗๑ ง, ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/071/1.PDF )

อันดับสอง. ทหาร (๕ คน)
๘.พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๑) - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี), ใน  http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Prem_Thai.pdf )
๙.พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑) - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (องคมนตรี), ใน  http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Surayud_thai.pdf )
๑๐.พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๖) - U.S. Military Academy, U.S.A.
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ (องคมนตรี) ใน http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/General-Pichitr-Kullavanijaya_th.pdf )
๑๑.พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๘) - โรงเรียนนายเรือ
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ (องคมนตรี) ใน http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Chumpol_Thai.pdf )
๑๒.พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๔) - โรงเรียนเตรียมทหาร
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๕๗ ง, ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/057/1.PDF )

อันดับสาม. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (๓ คน)
๑๓.นายเชาวน์ ณศีลวันต์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๑๘) - วิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : นายเชาวน์ ณศีลวันต์ (องคมนตรี) , ใน http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Chaovana_Thai.pdf )
๑๔.พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๔) - วิศวกรรมโลหการ - S.B. (Metalurgy) Massachusetts Institute of Technology (M.I.T.), U.S.A.
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา (องคมนตรี), ใน http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Siddhi_Thai.pdf )
๑๕.พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๐) - วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาฯ
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ (องคมนตรี) ใน http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Kamthon_Thai.pdf )

อันดับสี่. คณะกสิกรรม
๑๖.นายอำพล เสนาณรงค์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๗) - คณะกสิกรรมและสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๑ ตอนพิเศษ ๓๘ ง, ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/E/038/1.PDF )

อันดับสี่. คณะแพทยศาสตร์
๑๗.นายเกษม วัฒนชัย (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๔) - แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๖๗ ง, ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/067/1.PDF )

อันดับสี่. คณะรัฐศาสตร์
๑๘.นายพลากร สุวรรณรัฐ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๔) - คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๖๗ ง, ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/067/1.PDF )

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"