Skip to main content

สำรวจข้อมูล : เรียน 'สาขาใด' มีโอกาสเป็น 'องคมนตรี' มากที่สุด

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม.

การสำรวจข้อมูลนี้ อาศัยฐานข้อมูลจาก "คณะองคมนตรี" ชุดปัจจุบัน โดยอ้างอิงตามฐานข้อมูลของเว็บไซต์สำนักพระราชวัง (รายชื่อและประวัติองคมนตรีบางส่วน) และเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (รายละเอียดการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง) จะพบว่า คณะนิติศาสตร์ ถือเป็นสาขาวิชาชีพที่มีองคมนตรีสำเร็จการศึกษาจำนวน ๗ คน (๕ ใน ๗ จบ นิติฯ มธ.) มากที่สุดในสัดส่วนปัจจุบัน (หมายเหตุ กรณี มล.อัศนี ปราโมช แม้มียศ พลเรือเอก แต่ มล.อัศนี มิได้สำเร็จการศึกษาโรงเรียนทหาร แต่ได้ยศมาด้วยการสมัครรับราชการ) หลังรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ มีการแต่งตั้งองคมนตรีซึ่งสำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์จำนวน ๓ รายด้วยกัน รองลงมาคือ ทหาร (หลัง ๑๙ ก.ย. มีองคมนตรีสาขาทหาร เพิ่มเข้ามา ๒ ราย คือ รวมสุรยุทธ์ ซึ่งออกมาเป็นนายกรัฐมนตรีพระราชทานและคืนตำแหน่งองคมนตรีหลังเลือกตั้ง) ส่วนสาขาวิศวะ แต่งตั้ง ๓ คน (๒๕๑๘, ๒๕๓๐, ๒๕๓๔) สำหรับสาขา กสิกรรม (๒๕๓๗) สาขาแพทย์ (๒๕๔๔) สาขารัฐศาสตร์ (๒๕๔๔) สาขาละ ๑ คน สำหรับรายละเอียด ดังนี้

อันดับหนึ่ง. คณะนิติศาสตร์ (๗ คน)
๑.นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๒๐) - คณะนิติศาสตร์ มธ.
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (องคมนตรี), ใน  http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Mr.Thanin.pdf )
๒.นายจำรัส เขมะจารุ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๗) - คณะนิติศาสตร์ มธ.
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๑ ตอนพิเศษ ๕๕ ง, ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/E/055/1.PDF )
๓.พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๒๗) - คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๒๘ ฉบับพิเศษ, ลงวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/A/028/1.PDF )
๔.หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๐) - คณะนิติศาสตร์, Barrister-at-Law จากสถาบัน Middle Temple ประเทศอังกฤษ
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๔ ตอนพิเศษ ๗๓ ง, ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/073/1.PDF )
๕.นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๐) - คณะนิติศาสตร์ มธ.
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง, ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/101/1.PDF )
๖.นายศุภชัย ภู่งาม (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑) - คณะนิติศาสตร์ มธ.
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๗๑ ง, ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/071/1.PDF )
๗.นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑) - คณะนิติศาสตร์ มธ.
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๗๑ ง, ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/071/1.PDF )

อันดับสอง. ทหาร (๕ คน)
๘.พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๑) - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี), ใน  http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Prem_Thai.pdf )
๙.พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑) - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (องคมนตรี), ใน  http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Surayud_thai.pdf )
๑๐.พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๖) - U.S. Military Academy, U.S.A.
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ (องคมนตรี) ใน http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/General-Pichitr-Kullavanijaya_th.pdf )
๑๑.พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๘) - โรงเรียนนายเรือ
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ (องคมนตรี) ใน http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Chumpol_Thai.pdf )
๑๒.พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๔) - โรงเรียนเตรียมทหาร
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๕๗ ง, ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/057/1.PDF )

อันดับสาม. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (๓ คน)
๑๓.นายเชาวน์ ณศีลวันต์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๑๘) - วิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : นายเชาวน์ ณศีลวันต์ (องคมนตรี) , ใน http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Chaovana_Thai.pdf )
๑๔.พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๔) - วิศวกรรมโลหการ - S.B. (Metalurgy) Massachusetts Institute of Technology (M.I.T.), U.S.A.
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา (องคมนตรี), ใน http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Siddhi_Thai.pdf )
๑๕.พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๐) - วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาฯ
(เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ, รายนามคณะองคมนตรี : พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ (องคมนตรี) ใน http://www.ohm.go.th//asset/lib/kcfinder/upload/files/Privy/member/Kamthon_Thai.pdf )

อันดับสี่. คณะกสิกรรม
๑๖.นายอำพล เสนาณรงค์ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๗) - คณะกสิกรรมและสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๑ ตอนพิเศษ ๓๘ ง, ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/E/038/1.PDF )

อันดับสี่. คณะแพทยศาสตร์
๑๗.นายเกษม วัฒนชัย (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๔) - แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๖๗ ง, ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/067/1.PDF )

อันดับสี่. คณะรัฐศาสตร์
๑๘.นายพลากร สุวรรณรัฐ (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๔) - คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๖๗ ง, ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/067/1.PDF )

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ