Skip to main content

 

1

 

เป็นนักเขียนมีความสุขไหม

 

วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม”

ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5

ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้

ฉันตอบเด็กออกไปโดยทันใดอย่างไม่ได้คิดว่า มีความสุขค่ะ หลังจากหลุดคำพูดออกไปว่า มีความสุข ฉันรู้สึกมีความสุขจริงๆ ที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้ เพราะบ่อยครั้งจะถูกถามเรื่องรายได้จากการเขียนหนังสือ บางครั้งก็ถูกถามเรื่องชื่อเสียงที่จะได้มา ซึ่งฉันก็จะบอกเสมอว่า ทั้งสองอย่างนั้นไม่ใช่เรื่องจริง อาจจะดูเหมือนใช่เท่านั้น

 

หันไปมองเพื่อนนักเขียนรุ่นน้องที่ไปด้วยกัน เธอไม่ได้ตอบคำถามนี้ แต่ฉันเห็นยิ้มของเธอก็คิดว่าเธอก็คงตอบอย่างฉัน

 

เราอาจจะทุกข์อันเกิดจากเรื่องต่าง ๆ เหมือนอาชีพอื่นๆ แต่ไม่ทุกข์อันเกิดจากการงาน ไม่ได้ทุกข์จากการที่ต้องเขียนหนังสือ หรือไม่ได้ทุกข์ในระหว่างเขียน ไม่มีใครบังคับให้ต้องเขียน ไม่มีใครมาตะโกนใส่หน้าว่าเธอทำงานสิ

 

สำหรับฉันการเขียนหนังสือยังถือว่า เป็นการงานแห่งความสุข แม้ว่าจะเหนื่อยยากยิ่ง เพราะงานเขียนเป็นงานที่หนักและเหนื่อยมากทีเดียว โดยเฉพาะคนเขียนหนังสืออิสระ ทำงานหนักกว่าคนที่ไม่เป็นอิสระนัก ฉันพูดอย่างนี้ได้เต็มปากเต็มคำเพราะเคยผ่านมาแล้วทั้งสองอย่าง

 

ฉันบอกเด็กๆ ที่ฉันต้องไปพูดคุยด้วยเสมอว่า ถ้ารู้สึกทุกข์กับการเขียนก็อย่าเขียน ถ้าไม่อยากอย่าทำ ไม่ต้องกลัวใครแม้แต่ครู

 

เด็กส่งเสียงฮา หัวเราะกันสนุกสนาน ฉันไม่เชื่อว่าใครจะเขียนหนังสือด้วยความขลาดกลัวได้

 

ในระหว่างที่บอกเด็กเช่นนี้ ฉันพบสายตาแปลก ๆ ของครูที่มองมายังฉัน ครูคงวิตกกลัวว่าการงานจะไม่บรรลุผล จะไม่มีชิ้นงานออกมา แต่ฉันทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่สนใจสายตาของครู

 

 

2

 

นักเขียนมีความสุขไหม”

เด็กคนหนึ่งถามฉันว่า “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ในงานอบรมเชิงปฏิบัติการนักเขียนรุ่นเยาว์ โรงเรียนชุมชนบ้านวังดิน อยู่ที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติทุ่งกิ๊ก อุทยานแห่งชาติแม่ปิง

 

ในช่วงแรกที่ครูติดต่อมา ฉันไม่ได้ถามว่าเด็กชั้นไหน แต่ไม่คิดว่าจะเป็นเด็กเล็กชั้นประถมปีที่ 5 โครงการนี้เป็นการเพิ่มทักษะ การอ่าน การเรียนรุ้ การสื่อสาร และการเขียน มีกลุ่มนักจัดกิจกรรม จัดกระบวนการ ของเจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์เด็ก บรรณาธิการนิตยสารเพื่อนเด็ก ไปจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เด็ก ๆ เรียนรู้กันอย่างสนุกสนาน

 

เด็กๆ สนุก ร่าเริงแจ่มใส พวกเขากล้าพูด กล้าตะโกน และกล้าคิดนอกกรอบ ครูพี่เลี้ยงคนหนึ่งกังวลว่า เด็กๆ ไม่มีระเบียบ และเริ่มจัดระเบียบเด็กเป็นระยะๆ เราได้แต่บอกครูว่าดีแล้ว ไม่เป็นไร พวกเขาไม่จำเป็นต้องตอบตรงคำถามเหมือนอยู่ในโรงเรียน

 

เช่น พี่นักจัดกระบวนการถามว่า ทุ่งกิ๊กเป็นอยางไร ทำไมถึงเรียกทุ่งกิ๊ก เขาก็จะตอบว่าเพราะเป็นกิ๊กกัน เมื่อถามว่า ปลาทูอยู่ที่ไหน เขาก็ตอบว่า อยู่ในท้องผมเอง ผมกินเข้าไป เมื่อเล่านิทานพวกเขาก็เอาชื่อเพื่อนๆ มาเป็นพระธิดา พระราชา มีพระธิดามากขนาดยี่สิบคน คิดดูเถอะกว่าพวกเขาจะเล่าจบเมื่อไหร่

 

 

ในระหว่างที่ครูพยายามจัดเด็กให้อยู่ในระเบียบ เราก็พยายามปล่อยเด็ก และในที่สุดเด็กๆ ก็หลุดพ้นออกมาจากกรอบของระเบียบ แต่เมื่อหยุดพัก ครูก็จะเรียกเด็กเข้าแถว เดินเข้าห้องอบรมและค่อยเดินออกมาอย่างเป็นระเบียบ เรื่องราวเหล่านี้เป็นธรรมดาโรงเรียนที่ไหนก็จะเหมือนกัน บางค่ายครูมากำกับอยู่ข้าง ๆ คอยดุเด็กไปด้วย เมื่อเด็กเบื่อเด็กหันไปคุยกัน ครูจะฟาดด้วยหนังสือ แต่สำหรับค่ายทุ่งกิ๊กครั้งนี้ถือว่าดี เพราะถึงแม้ครูจะแสดงอาการห่วงใย กังวล แต่ครูก็ดูอยู่ห่างๆ อย่างเกรงใจพวกเรา

 

ช่วงสุดท้ายว่าด้วยการเขียนกันอย่างจริงจัง รวิวาร มีอุปกรณ์ คือมะขามคลุกเปรี้ยวๆ ดุเหมือนเธอจะเรียกว่า “เปิดตาที่สาม” มีการให้สัมผัส มีการชิม แล้วจึงเขียน

 

ฉันไม่มีอุปกรณ์ใดๆ นอกจากสมุดบันทึกของตัวเอง ฉันให้เด็กคนหนึ่งมาอ่านสมุดบันทึกของฉันให้พวกเขาฟัง พวกเขาสนใจเพราะฉันเขียนถึงเรื่องราวของที่นี่และพวกเขาอย่างตลกๆ

 

ข้างนอกอาคารมีแต่ฝน ในอาคารมีเด็กๆ สามสิบคน มีแต่สายฝนและวิวป่าเท่านั้น ฝนตกปรอยๆ ไม่มีใครออกไปไหนได้ ฉันบอกเด็กๆ ว่า ให้พวกเขาออกยืนดูวิวป่า ดูสายฝนที่ระเบียงรอบๆ อาคาร คิดอะไร เห็นอะไร แล้วนำมาเล่าให้คนอื่นฟัง เล่าแบบไม่มีเสียงนั่นคือ เล่าด้วยการเขียน เราจะเขียนเล่าแทนการพูด เขียนเล่าเท่าที่เห็นและรู้สึกนึกคิดได้ด้วยตัวเอง ลืมเรื่องที่เราเคยอ่านมาทั้งหมด ใครจะไปยืนมุมไหนของอาคารก็ได้

 

ปล่อยให้พวกเขายืนให้ฝนสาดอยู่อย่างนั้นจนเป็นที่พอใจแล้วกลับมาเขียน บางคนออกไปเดินตากฝน บางคนวิ่งไปห้องน้ำ

 

 

สายฝนที่โปรยลงมากับผืนป่าที่อยู่ข้างหน้า และทุ่งโล่งๆ อีกด้านหนึ่ง พวกเขามองสิ่งเดียวกัน แต่เด็กๆ เขียนออกต่างกัน บางคนเขียนถึงเรื่องราวที่เข้าป่ากับพ่อไปหาของป่า บางคนเขียนถึงต้นไม้ที่ดูแปลกๆ บางคนเขียนเรื่องต้นไม้น่ากลัว บางคนเขียนเรื่องนก บางคนเขียนเรื่องผี

 

แม้แต่บางคนที่ครูมาบอกก่อนหน้านี้ว่า “ยังหนังสือเป็นตัวแทบไมได้ บางคนยังอ่านไม่ออก” เราบอกครูว่าไม่เป็นไร และไม่ได้ดูตารางวัดผลการอ่านเขียนของเด็กๆ เพราะไม่ใช่เรื่องสำคัญ มันอยู่ที่หัวใจมากกว่า


การจัดกระบวนการเรียนรู้ของน้องๆ ทีมงานหนังสือเพื่อนเด็กเป็นประโยชน์มากทีเดียว ทำให้เด็กๆ ไม่รู้สึกว่าการมาอบรมการอ่านการเขียนเป็นภาระของพวกเขามากนัก


ลายมือหยุกหยิกสองบรรทัด และเขียนสะกดผิดๆ ถูก แต่เมื่อพยายามอ่านดูก็รู้ว่าเป็นเรื่องเป็นราว เป็นสิ่งที่เขาเขียนออกมาจากหัวใจและไมได้ทำมันขึ้นมาด้วยความทุกข์หรือความขลาดกลัว


ฉันจึงรู้สึกเป็นสุข เมื่อเด็กถามว่า “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม”

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
  แล้วฉันก็คิดว่าทุกอย่างยังเหมือนเดิน ฉันเดินทางไปหาเพื่อนที่กรุงเทพฯ  และบอกเธอว่า ฉันอยากจะไปเยี่ยมนักเขียนผู้ใหญ่รุ่นพี่คนหนึ่ง  เพื่อนบอกว่า ไม่ได้ไปนานแล้ว ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีใครไปหาใครกัน  เมื่อถามว่าทำไม
แพร จารุ
ป่าสนวัดจันทร์   หลังจากที่เขียนเรื่องป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นผืนป่าสนแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีชนเผ่าใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ
แพร จารุ
เมื่อเขียนเรื่อง “ป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นที่สุด”  ฉันก็ได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง เขียนถึงเรื่องอำเภอใหม่ส่งเข้ามา วันนี้จึงนำจดหมายฉบับนี้มาให้อ่านกันค่ะ  เธอเขียนมาว่า ลองเขียนเรื่องอำเภอใหม่มาให้อ่าน
แพร จารุ
ป่าสนผืนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มองขึ้นบนต้นสนเหมือนหนึ่งว่ามีนกเกาะอยู่บนนั้นเต็มไปหมด จนใครบางคนเผลอถามว่า นั่นนกอะไรเกาะอยู่เต็มไปหมด หลายคนหัวเราะ ไม่ใช่นกหรอกมันคือลูกสน ที่นี่มีชื่อว่า ป่าสนวัดจันทร์ เป็นครั้งที่สองที่ฉันเดินทางมาที่นี้ห่างจากครั้งแรกเกือบยี่สิบปี ฉันไม่กล้าเดินทางไปที่นั่นเพราะรู้สึกว่ามันลำบากยากเย็นเหลือเกิน เป็นการเดินทางที่โหด ๆ ในช่วงวัยเยาว์ เพราะต้องนั่งรถไฟชั้นสามมาจากกรุงเทพฯ นานกว่าสิบสองชั่วโมง ก็รู้กันอยู่ว่ารถไฟไทยเสียเวลาเสมอ ๆ ลงจากรถไฟมีนักเขียนจากเมืองเหนือรอรับอยู่
แพร จารุ
มุสโต๊ะ (มุส-สะ-โต๊ะ) อาหารมื้อไหน ๆ ก็ต้องมีมุสโต๊ะ มุสโต๊ะก็คือน้ำพริกนั่นเอง ฉันรู้จักมุสโต๊ะครั้งแรกเมื่อเที่ยวบ้านปกาเกอญอ และนับจากวันนั้นก็ชอบมุสโต๊ะแบบปกาเกอญอทันที่
แพร จารุ
คุณทำอะไรเมื่อเช้านี้  ส่วนฉันตื่นขึ้นมาพร้อมกับหยิบหนังสือเล่มเล็ก ๆ จากโต๊ะกินข้าวติดมือไปนอนอ่านในเปลใต้ต้นมะขามเล็ก  หนังสือชื่อ ไม่รักไม่บอก 5 เป็นของกลุ่มภาคีคนฮักเจียงใหม่  ฉันเป็นอาสาสมัครในกลุ่มนี้กับเขาด้วย แต่ฉันไม่ได้ทำหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นฉันจึงเพิ่งได้อ่านจริง ๆ ครูโรงเรียนอนุบาลเพิ่งให้มาสิบเอ็ดเล่ม วันนั้นมีน้อง ๆ หนุ่ม ๆ จากไหนก็ไม่รู้มาช่วยกันขนหนังสือหลายกล่องที่นำมาขายในงานอำลา ‘รงค์ วงษ์สวรรค์  ฉันไม่มีของอะไรตอบแทนน้องจึงแจกพวกเขาไปคนละเล่มเหลือเก็บไว้เล่มหนึ่ง ภาพปกเป็นแม่มดหน้าตาน่ารักถือไม้เท้าวิเศษ มีข้อเขียนว่า จงสุภาพกับโลกใบนี้ (คำจากสาร…
แพร จารุ
  เล่าเรื่องงาน อำลา ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เปิดงานไปเมื่อวันที่ 9 มกราคม ยามแดดร่มลมตก หน้าที่ของฉันในงานนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลงานขายหนังสือ ฉันรับปากไปว่า “ได้ค่ะ” ทั้งที่ไม่มีความชำนาญเรื่องการขาย หรือเรียกว่าไม่มีทักษะสักนิดเดียว และมักจะคิดตัวเลขผิด วิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่บวกลบคูณหารไม่เก่งเลย ยิ่งวิชาเลขคณิตคิดในใจนี้ไม่ได้เลย แต่ เพราะว่าในช่วงที่เขาประชุมเรื่องการดำเนินการจัดงานฉันไมได้เข้าร่วมประชุม…
แพร จารุ
ฤดูร้อนในเมืองเชียงใหม่ค่อนข้างน่าสยองค่ะ เพราะนอกจากความแห้งแล้งที่เริ่มขึ้นในปลายฤดูหนาวนี้แล้ว เมื่อฤดูร้อนมาถึงเราก็จะพบกับกลุ่มหมอกควันที่มีทั่วเมือง สำหรับประชาชนในชนชั้นเรา ๆ นั้น เตรียมอะไรได้บ้างคะ
แพร จารุ
สวัสดีนักท่องเที่ยว ระหว่างทางนักท่องเที่ยวเจออะไรมาบ้าง ฉันมาอยู่เชียงใหม่สิบกว่าปี แต่บ่อยครั้งที่รู้สึกว่า ตัวเองเหมือนนักท่องเที่ยว
แพร จารุ
  หญิงสาวมักจะกลัวอ้วนเพราะอยากสวย เราถูกทำให้เชื่อกันว่าคนอ้วนจะไม่สวย เป็นสาวเป็นนางต้องผอมเข้าไว้ ใครไม่ผอมเหมือนนางแบบ หรือนักแสดงหน้าจอโทรทัศน์ก็จะไมได้มาตรฐาน ซึ่งความจริงแล้วบางคนผอมจนเกินไป เรียกว่าแห้งแรงน้อยไม่แข็งแรง ขาแขนมีแต่กระดูก คอโปน ไหปลาร้าลึกขนาดน้ำขังยามเมื่ออาบน้ำ
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อค่ะ เพื่อนนักเขียนรุ่นน้องที่เชียงดาว เล่าว่าเธอปลูกข้าวไร่ที่บ้านของเธอ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ฉันคิดว่าแค่เธอเริ่มต้นปลูกข้าวความมั่นคงทางอาหารก็เริ่มมีแล้ว ต่อมาน้องนักเขียนที่เพิ่งรู้จักยังไม่ได้เห็นหน้ากันเลย เขียนมาบอกว่า เธอปลูกข้าวได้เจ็ดกระสอบ ฉันชื่นชมยินดีกับเธออย่างจริงจังและจริงใจยิ่ง เพราะฉันมีความฝันที่จะปลูกข้าวปลูกผักไว้กินเอง แต่ไม่ได้ทำ และคิดว่าคงไม่ได้ทำ เพราะอายุปูนนี้แล้ว กล้ามเนื้อเป็นไขมัน เรี่ยวแรงหมดไปแล้ว ที่ทำได้ก็คือปลูกกล้วย ซึ่งก็เหมาะสมอยู่เพราะกล้วยเป็นอาหารนิ่ม ๆ กินง่าย…
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อดีกว่า   คราวนี้กินถั่วงอกผัดเห็ดสามอย่างค่ะ ดูเป็นอาหารธรรมดา ๆ นะคะ แต่พิเศษก็ตรงที่ เป็นอาหารที่ประกอบด้วยเห็ดสามอย่างนะคะ ความจริงแล้วอาหารเห็ดสามอย่างที่กินเป็นยานี้ เขาว่าหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเป็นดีค่ะ แต่ไม่เป็นไรใช้น้อย ๆ เราเน้นความอร่อยด้วยค่ะ