Skip to main content

 

1

 

เป็นนักเขียนมีความสุขไหม

 

วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม”

ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5

ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้

ฉันตอบเด็กออกไปโดยทันใดอย่างไม่ได้คิดว่า มีความสุขค่ะ หลังจากหลุดคำพูดออกไปว่า มีความสุข ฉันรู้สึกมีความสุขจริงๆ ที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้ เพราะบ่อยครั้งจะถูกถามเรื่องรายได้จากการเขียนหนังสือ บางครั้งก็ถูกถามเรื่องชื่อเสียงที่จะได้มา ซึ่งฉันก็จะบอกเสมอว่า ทั้งสองอย่างนั้นไม่ใช่เรื่องจริง อาจจะดูเหมือนใช่เท่านั้น

 

หันไปมองเพื่อนนักเขียนรุ่นน้องที่ไปด้วยกัน เธอไม่ได้ตอบคำถามนี้ แต่ฉันเห็นยิ้มของเธอก็คิดว่าเธอก็คงตอบอย่างฉัน

 

เราอาจจะทุกข์อันเกิดจากเรื่องต่าง ๆ เหมือนอาชีพอื่นๆ แต่ไม่ทุกข์อันเกิดจากการงาน ไม่ได้ทุกข์จากการที่ต้องเขียนหนังสือ หรือไม่ได้ทุกข์ในระหว่างเขียน ไม่มีใครบังคับให้ต้องเขียน ไม่มีใครมาตะโกนใส่หน้าว่าเธอทำงานสิ

 

สำหรับฉันการเขียนหนังสือยังถือว่า เป็นการงานแห่งความสุข แม้ว่าจะเหนื่อยยากยิ่ง เพราะงานเขียนเป็นงานที่หนักและเหนื่อยมากทีเดียว โดยเฉพาะคนเขียนหนังสืออิสระ ทำงานหนักกว่าคนที่ไม่เป็นอิสระนัก ฉันพูดอย่างนี้ได้เต็มปากเต็มคำเพราะเคยผ่านมาแล้วทั้งสองอย่าง

 

ฉันบอกเด็กๆ ที่ฉันต้องไปพูดคุยด้วยเสมอว่า ถ้ารู้สึกทุกข์กับการเขียนก็อย่าเขียน ถ้าไม่อยากอย่าทำ ไม่ต้องกลัวใครแม้แต่ครู

 

เด็กส่งเสียงฮา หัวเราะกันสนุกสนาน ฉันไม่เชื่อว่าใครจะเขียนหนังสือด้วยความขลาดกลัวได้

 

ในระหว่างที่บอกเด็กเช่นนี้ ฉันพบสายตาแปลก ๆ ของครูที่มองมายังฉัน ครูคงวิตกกลัวว่าการงานจะไม่บรรลุผล จะไม่มีชิ้นงานออกมา แต่ฉันทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่สนใจสายตาของครู

 

 

2

 

นักเขียนมีความสุขไหม”

เด็กคนหนึ่งถามฉันว่า “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ในงานอบรมเชิงปฏิบัติการนักเขียนรุ่นเยาว์ โรงเรียนชุมชนบ้านวังดิน อยู่ที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติทุ่งกิ๊ก อุทยานแห่งชาติแม่ปิง

 

ในช่วงแรกที่ครูติดต่อมา ฉันไม่ได้ถามว่าเด็กชั้นไหน แต่ไม่คิดว่าจะเป็นเด็กเล็กชั้นประถมปีที่ 5 โครงการนี้เป็นการเพิ่มทักษะ การอ่าน การเรียนรุ้ การสื่อสาร และการเขียน มีกลุ่มนักจัดกิจกรรม จัดกระบวนการ ของเจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์เด็ก บรรณาธิการนิตยสารเพื่อนเด็ก ไปจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เด็ก ๆ เรียนรู้กันอย่างสนุกสนาน

 

เด็กๆ สนุก ร่าเริงแจ่มใส พวกเขากล้าพูด กล้าตะโกน และกล้าคิดนอกกรอบ ครูพี่เลี้ยงคนหนึ่งกังวลว่า เด็กๆ ไม่มีระเบียบ และเริ่มจัดระเบียบเด็กเป็นระยะๆ เราได้แต่บอกครูว่าดีแล้ว ไม่เป็นไร พวกเขาไม่จำเป็นต้องตอบตรงคำถามเหมือนอยู่ในโรงเรียน

 

เช่น พี่นักจัดกระบวนการถามว่า ทุ่งกิ๊กเป็นอยางไร ทำไมถึงเรียกทุ่งกิ๊ก เขาก็จะตอบว่าเพราะเป็นกิ๊กกัน เมื่อถามว่า ปลาทูอยู่ที่ไหน เขาก็ตอบว่า อยู่ในท้องผมเอง ผมกินเข้าไป เมื่อเล่านิทานพวกเขาก็เอาชื่อเพื่อนๆ มาเป็นพระธิดา พระราชา มีพระธิดามากขนาดยี่สิบคน คิดดูเถอะกว่าพวกเขาจะเล่าจบเมื่อไหร่

 

 

ในระหว่างที่ครูพยายามจัดเด็กให้อยู่ในระเบียบ เราก็พยายามปล่อยเด็ก และในที่สุดเด็กๆ ก็หลุดพ้นออกมาจากกรอบของระเบียบ แต่เมื่อหยุดพัก ครูก็จะเรียกเด็กเข้าแถว เดินเข้าห้องอบรมและค่อยเดินออกมาอย่างเป็นระเบียบ เรื่องราวเหล่านี้เป็นธรรมดาโรงเรียนที่ไหนก็จะเหมือนกัน บางค่ายครูมากำกับอยู่ข้าง ๆ คอยดุเด็กไปด้วย เมื่อเด็กเบื่อเด็กหันไปคุยกัน ครูจะฟาดด้วยหนังสือ แต่สำหรับค่ายทุ่งกิ๊กครั้งนี้ถือว่าดี เพราะถึงแม้ครูจะแสดงอาการห่วงใย กังวล แต่ครูก็ดูอยู่ห่างๆ อย่างเกรงใจพวกเรา

 

ช่วงสุดท้ายว่าด้วยการเขียนกันอย่างจริงจัง รวิวาร มีอุปกรณ์ คือมะขามคลุกเปรี้ยวๆ ดุเหมือนเธอจะเรียกว่า “เปิดตาที่สาม” มีการให้สัมผัส มีการชิม แล้วจึงเขียน

 

ฉันไม่มีอุปกรณ์ใดๆ นอกจากสมุดบันทึกของตัวเอง ฉันให้เด็กคนหนึ่งมาอ่านสมุดบันทึกของฉันให้พวกเขาฟัง พวกเขาสนใจเพราะฉันเขียนถึงเรื่องราวของที่นี่และพวกเขาอย่างตลกๆ

 

ข้างนอกอาคารมีแต่ฝน ในอาคารมีเด็กๆ สามสิบคน มีแต่สายฝนและวิวป่าเท่านั้น ฝนตกปรอยๆ ไม่มีใครออกไปไหนได้ ฉันบอกเด็กๆ ว่า ให้พวกเขาออกยืนดูวิวป่า ดูสายฝนที่ระเบียงรอบๆ อาคาร คิดอะไร เห็นอะไร แล้วนำมาเล่าให้คนอื่นฟัง เล่าแบบไม่มีเสียงนั่นคือ เล่าด้วยการเขียน เราจะเขียนเล่าแทนการพูด เขียนเล่าเท่าที่เห็นและรู้สึกนึกคิดได้ด้วยตัวเอง ลืมเรื่องที่เราเคยอ่านมาทั้งหมด ใครจะไปยืนมุมไหนของอาคารก็ได้

 

ปล่อยให้พวกเขายืนให้ฝนสาดอยู่อย่างนั้นจนเป็นที่พอใจแล้วกลับมาเขียน บางคนออกไปเดินตากฝน บางคนวิ่งไปห้องน้ำ

 

 

สายฝนที่โปรยลงมากับผืนป่าที่อยู่ข้างหน้า และทุ่งโล่งๆ อีกด้านหนึ่ง พวกเขามองสิ่งเดียวกัน แต่เด็กๆ เขียนออกต่างกัน บางคนเขียนถึงเรื่องราวที่เข้าป่ากับพ่อไปหาของป่า บางคนเขียนถึงต้นไม้ที่ดูแปลกๆ บางคนเขียนเรื่องต้นไม้น่ากลัว บางคนเขียนเรื่องนก บางคนเขียนเรื่องผี

 

แม้แต่บางคนที่ครูมาบอกก่อนหน้านี้ว่า “ยังหนังสือเป็นตัวแทบไมได้ บางคนยังอ่านไม่ออก” เราบอกครูว่าไม่เป็นไร และไม่ได้ดูตารางวัดผลการอ่านเขียนของเด็กๆ เพราะไม่ใช่เรื่องสำคัญ มันอยู่ที่หัวใจมากกว่า


การจัดกระบวนการเรียนรู้ของน้องๆ ทีมงานหนังสือเพื่อนเด็กเป็นประโยชน์มากทีเดียว ทำให้เด็กๆ ไม่รู้สึกว่าการมาอบรมการอ่านการเขียนเป็นภาระของพวกเขามากนัก


ลายมือหยุกหยิกสองบรรทัด และเขียนสะกดผิดๆ ถูก แต่เมื่อพยายามอ่านดูก็รู้ว่าเป็นเรื่องเป็นราว เป็นสิ่งที่เขาเขียนออกมาจากหัวใจและไมได้ทำมันขึ้นมาด้วยความทุกข์หรือความขลาดกลัว


ฉันจึงรู้สึกเป็นสุข เมื่อเด็กถามว่า “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม”

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“รู้สึกว่า ปีนี้ ไม่ค่อยจะมีความสดชื่น รื่นเริง  ความรื่นเริงและความสุขดูเหมือนจะหายไป ลุงรู้สึกเช่นนั้นไหม”ลุงว่า ใครมันจะมารื่นเริงอยู่ได้ในสถานการณ์เมืองไทยเป็นเช่นนี้ หมายความว่า น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ โดยเฉพาะการเมืองที่สับสนและดูไม่กระจ่างใส  เป็นความเครียดทางสังคม เครียดจากการปกครองโดยทหารที่ลึกลงไป และเข้าใจว่า แม้จะยอมรับก็ยอมรับแบบหวานอมขมกลืน และยิ่งเครียดเข้าไปอีกเมื่อมีการเลือกตั้งในช่วงใกล้ปีใหม่ ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นของฝ่ายไหนก็ไม่น่าจะทำให้ใครสบายใจได้ เมื่อประชาชนถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจนมากขึ้น…
แพร จารุ
  ฉันรู้สึกว่ามันเป็นช่วงปีใหม่ที่ไม่รู้สึกสดชื่นนัก ดูเหงา ๆ วังเวง ในท่ามกลางงานเลี้ยงรื่นเริงที่มีอยู่และเป็นไปตามวาระของมัน ความรู้สึกอย่างนี้มันอยู่ลึกลงไปแต่ฉันสัมผัสได้อย่างเย็นเยียบจริง ๆ ฉันไม่รู้ว่าคนอื่นจะรู้สึกหรือไม่ หรือว่าฉันรู้สึกอยู่คนเดียว ว่าเป็นปีใหม่ที่ไม่มีความรื่นเริงอยู่จริง มันหดหู่อยู่ภายในหัวใจอย่างไรไม่รู้ คล้ายรู้สึกว่า ความเศร้ามารอคอยเคาะประตูอยู่หลังบ้าน... หลังจากงานรื่นเริงจบลงฉันถามตัวเองหลายครั้งว่าความรู้สึกนี้เป็นจริง หรือว่าฉันกำลังจะป่วยด้วยอาการกลัวหรือกำลังจะเป็นโรคซึมเศร้า อะไรทำให้ฉันคิดอย่างนั้น หรือเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจของตัวเอง…
แพร จารุ
ฉันได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า อาหารบ้านฉัน  เป็นสูตรอาหารพื้นถิ่น ของกินจากป่าหลังบ้าน และที่สำคัญกว่านั้น เขียนว่าอร่อยไปถึงหัวใจ “ฉันเติบโตมาจากอาหารที่หลังบ้าน เธออยากรู้ไหมว่า อาหารบ้านฉันอร่อยแค่ไหน  เธอไม่ต้องกลัวหรอก บ้านฉันมีอาหารมากมาย กินกันอย่างไม่หมด” หนังสือเล่มนี้ มีผู้ร่วมดูแลหรือผู้ร่วมทำงานด้วย เขาคือ ธนภูมิ อโศกตระกูล เป็นคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ การกินอยู่แบบง่าย ๆ เช่น จานอร่อยปลอดเนื้อ มหัศจรรย์แห่งเต้าหู้ เจไม่จำเจ เป็นต้นธนภูมิ อโศกตระกูลเขาเล่าว่า “ได้เข้ามาเที่ยวในแม่เหียะใน เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว…
แพร จารุ
“หนาวไหม หนาวหรือยัง”“หนาวแล้ว เชียงไหมหนาวแล้ว”“ฉันจะไปเชียงใหม่”บทสนทนาหนึ่ง ที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ รายงานข่าว ขณะนี้ยอดดอยอากาศหนาวมาก โดยเฉพาะดอยสูงอุณหภูมิติดลบแล้ว เกิดน้ำค้างแข็ง มีคำถามว่า นักท่องเที่ยวหรือคนที่จะมาเชียงใหม่ควรได้รับรู้ข่าวคราวอะไรบ้างนอกจากว่า หนาวแล้วหรือหนาวกี่องศา ชายคนหนึ่งพูดขึ้นในยามบ่าย เขาพูดต่อว่า ถ้าอยากให้คนอื่นที่มาเที่ยวเชียงใหม่ รู้ว่าเขาควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเมืองและรักเมืองนี้ เราต้องให้ข่าวสารเขามากกว่านี้  เราควรต้องทำงานกับสื่อให้มากว่านี้  เขาเป็นหนึ่งในคนทำงานภาคีฯการมุ่งเน้นให้คนเชียงใหม่ดูแลเมืองเชียงใหม่…
แพร จารุ
มีเพื่อนผู้หวังดีส่งเมลมาว่า ให้เขียนเรื่องดี ๆ เพื่อเมืองเชียงใหม่บ้าง ทำไมถึงมองไม่เห็นความงามของเมืองบ้าง  ฉันจึงเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา               1ถ้ามองลงมาจากฟ้า เราจะเห็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ตรงกลาง มีป่าดอยสุเทพอยู่ทางตะวันตก มีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางตะวันออก  ช่างเป็นเมืองงดงามที่สมบูรณ์ เล่ากันว่า เดิมทีผู้คนในเมืองนี้อยู่กันอย่างสงบสันติ แต่แน่นอนเมืองที่ดีงามเช่นนี้ ย่อมมีผู้คนต้องการ เข้ามาอยู่มาครอบครอง โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติบนดอยสูง หลายร้อยปีต่อมา เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว…
แพร จารุ
ขอบอกก่อนว่า เป็นเรื่องเล่าที่ไม่มีสาระอะไรเลย เล่าเรื่องนี้ เพราะวันพิเศษเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ถือว่า เป็นการผจญภัยในดินแดนที่รื่นรมย์เลยทีเดียวฉันจะเรียกเขาว่า แขกพิเศษ เพราะเป็นการมาเยือนแบบไม่คาดคิดมาก่อน และต่างมาในวันเดียวกันด้วย อีกทั้งไม่ได้นัดหมายมาล่วงหน้า ต่างมาแบบตั้งตัวไม่ติดทั้งนั้น แขกคนที่หนึ่ง เขาเดินทางมาด้วยรถมอเตอร์ไชค์ มาถึงก่อนที่เจ้าของบ้านจะทันตื่น ได้ยินเขาส่งเสียงตะคอก เจ้าสองตัวแม่ลูก ที่ทำหน้าที่เฝ้าบ้าน มันเห่าเสียงแหลมเล็กตามแบบของหมาเล็ก และยังเยาว์ ฉันว่าคนเลี้ยงหมาทุกคนไม่ชอบให้ใครตะคอกหมา และยินดีที่มีคนรักหมาของตัวเอง…
แพร จารุ
ไม่รักไม่บอก  เออ...เหมือนมีใครมาพูดอยู่ข้างหู บอกว่า ฉันรักเธอนะจึงบอก แต่ว่าเรื่องที่ฉันจะบอกนั้น เธออาจไม่ชอบ เธออาจจะโกรธฉัน  แต่ที่ฉันต้องบอกเพราะว่า ฉันรักเธอและปรารถนาดีต่อเธอจริง ๆ “ฉันไม่บอกไม่ได้แล้ว”ถึงตอนนี้คุณอาจจะรู้สึกรำคาญใจ พูดพร่ำอยู่ทำไม อยากบอกอะไรก็บอกมาเถอะ ใช่...ไม่รักไม่บอกค่ะ เป็นชื่อหนังสือเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ มีการ์ตูนน่ารักๆ เปิดไปหน้าแรก ผู้เขียนบอกว่า ที่ทำหนังสือเล่มนี้ เพราะว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเรื่องน่ารัก มีเรื่องดีงามที่เขาค้นพบอยู่มากมาย เขาเล่าถึงเรื่อง เด็กชายคนหนึ่ง ตามแม่ไปซื้อของที่ร้านเกษมสโตร์ เขากินไอศกรีมรอแม่…
แพร จารุ
เรื่องขยะ ๆ มันโดนใจใครต่อใครหลายคน หลังจากที่เขียนเรื่อง แปดสิบบาทกับผู้ชายริมทางรถไฟ และในเรื่องมีขยะ ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แพร จารุ
“สุชาติ สวัสดิ์ศรี” ยืนล้วงกระเป๋าเสื้ออยู่ริมทางรถไฟ ในขณะที่รถไฟกำลังมา  เป็นภาพปกหนังสือ ฅ คน ที่ทำให้ฉันต้องนับเงินในกระเป๋าให้ครบแปดสิบบาท ความจริงหนังสือเขาไม่แพงหรอก เพียงแต่ว่า เงินสำหรับบ้านฉันมันหายากมาก หรือจะเรียกให้ถูกก็คือฉันไม่ค่อยหาเงิน ดังนั้นเมื่อไม่หาเงินก็ต้องใช้เงินน้อย ๆ หรือไม่ใช้ไปเลยถ้าไม่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ แม้ว่าการจะซื้อหนังสือถือเป็นความจำเป็นหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกอย่างพิถีพิถันในเนื้อหา ดังนั้น ถ้าร้านไหนห่อพลาสติกอย่างดีเปิดไม่ได้ ก็ผ่านเลย หนังสือเล่มนี้ก็ห่อพลาสติกอย่างดีเหมือนกัน แต่ก็รีบซื้อ  เพราะทั้งรถไฟและคุณสุชาติ  สวัสดิ์ศรี…