Skip to main content

1

ฉันได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า อาหารบ้านฉัน  เป็นสูตรอาหารพื้นถิ่น ของกินจากป่าหลังบ้าน และที่สำคัญกว่านั้น เขียนว่าอร่อยไปถึงหัวใจ

“ฉันเติบโตมาจากอาหารที่หลังบ้าน เธออยากรู้ไหมว่า อาหารบ้านฉันอร่อยแค่ไหน  เธอไม่ต้องกลัวหรอก บ้านฉันมีอาหารมากมาย กินกันอย่างไม่หมด”

หนังสือเล่มนี้ มีผู้ร่วมดูแลหรือผู้ร่วมทำงานด้วย เขาคือ ธนภูมิ อโศกตระกูล เป็นคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ การกินอยู่แบบง่าย ๆ เช่น จานอร่อยปลอดเนื้อ มหัศจรรย์แห่งเต้าหู้ เจไม่จำเจ เป็นต้น

4
ธนภูมิ อโศกตระกูล

เขาเล่าว่า

“ได้เข้ามาเที่ยวในแม่เหียะใน เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว หลังจากนั้นผมก็ได้ไปเที่ยวที่นั่นบ่อย ๆ และได้รู้จักกับปวีณา พรหมเมตจิต และได้ทำกับข้าวกินกัน มีความประทับใจในบรรยากาศของสถานที่และชีวิตผู้คน ผมเข้าไปบ่อยมาก ๆ

โดยส่วนตัวผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องอาหารอยู่แล้ว และรู้ว่าปวีณา เรียนคหกรรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ แล้วน้องเขาเป็นคนที่ชอบทำอาหารก็เลยชวนให้น้องรวบรวมสูตรอาหารของหมู่บ้านที่เกิดที่กินมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยและเขียนขึ้นมา

เราทดลองทำอาหารที่รวบรวมรายชื่อขึ้นมาได้ที่ละอย่างสองอย่าง แม่ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนในหมู่บ้านพวกป้า ๆ น้า ๆ มาชวนทำช่วยชิมและเล่าเรื่องอาหารต่าง ๆ เช่น กินไปคุยไป ป้าดวนบอกว่า ตำน้ำพริกแล้วไม่ละเอียดก็จะหาผัวไม่ได้ และยังมีเรื่องเล่าในอาหารอีกมากมาย  ดังนั้น นอกจากมีสูตรอาหารแล้วเราพบว่าในอาหารมีเรื่องราวมากมาย ผมได้ช่วยดูแลต้นฉบับน้อง และได้ติดต่อสำนักพิมพ์ แรกคิดว่าจะพิมพ์เป็นหนังสือตำราอาหารธรรมดา แต่เมื่อมาดูต้นฉบับแล้วพบว่า มันออกมาเป็นเชิงสารคดีมากกว่าตำราอาหารธรรมดา


อีกคนหนึ่งที่ชวนน้องทำงานคือ คำ ผกา นักเขียนหญิงคนเชียงใหม่คนหนึ่งที่อยู่ในวัฒนธรรมอาหารเดียวกับเธอ ได้ช่วยเขียนคำนิยมให้น้อง
เธอเขียนถึงวัฒนธรรมการกินอาหาร ตั้งแต่ปู่ย่าตายายที่กินอยู่ตามธรรมชาติ ทำอาหารจากมือแม่บ้าน จนถึงยุคที่ปัจจุบันที่ผู้คนต้องรู้จักอาหารเสริมกับวิตามิน กระเทียมอักเม็ด สารสกัดจากพืชผักต่าง ๆ รวมทั้งซุปสำเร็จรูป หรือน้ำมันปลาโอเมก้า 3 เป็นต้น และเธอยังเขียนถึงเพื่อนร่วมวัฒนธรรมของเธอที่ทำเป็นไม่รู้จักรังเกียจอาหารบ้าน ๆ เช่น ถั่วเน่า น้ำปู๋ และนำไปสู่ขบวนการที่ทำให้คนท้องถิ่นอ่อนแอ


ปวีณา ไม่เพียงแต่ยืนยันในศักดิ์ศรีและปัญญา เธอยังพยายามจะบอกว่าอาหารไม่ได้มาจากตลาดหรือซุปมาร์เกตและไม่ได้มาจากการเพาะปลูกเท่านั้นแต่เป็นของขวัญของธรรมชาติ
และบอกว่าแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์นี้อาจจะถูกทำลาย เพราะจะถูกแปรเป็นแหล่งท่องเที่ยว  การสูญเสียผืนดิน สูญเสียน้ำ เป็นเสียงเล็ก ๆ ของเด็กที่กำลังจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่

**************

3
คำ ผกา

สำหรับฉัน เคยเข้าหมู่บ้านแม่เหียะสองสามครั้ง ครั้งแรกถูกชวนไปปลูกป่ากับชาวบ้านแม่เหียะใน เป็นการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติในปี 2549 ช่วงนั้นดูเหมือนจะมีปัญหาเรื่องเมกะโปรเจ็กที่พ่วงมากับไนท์ซาฟารีคือมีการจะสร้างอุทยานช้างในพื้นที่

บ้านแม่เหียะในเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่เคยซุกตัวอยู่อย่างสงบและเดียวดาย แต่มีผืนป่าที่ดี  เป็นผืนป่าใกล้เมืองจริง ๆ นี่แหละหัวใจของเมืองเชียงใหม่

นั่นคือวันแรกที่ฉันรู้จักบ้านแม่เหียะใน และบ้านหลังหนึ่งที่กำลังปรุงอาหารเพื่อเลี้ยงคนในหมู่บ้านและแขกที่มาช่วยกันปลูกป่า

ฉันได้พบปวีณา พรหมเมตจิต ผู้นำเสนอสูตรอาหารพื้นบ้าน ของกินจากป่าหลังบ้าน  เธอเป็นผู้หญิงตัวเล็ก ๆ นิ่ง ๆ และพูดน้อย ยิ้มแทนคำพูด

2
ปวีณา  พรหมเมตจิต

ปวีณาอยู่ที่บ้านแม่เหียะในมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวด  บ้านเธออุดมสมบูรณ์ เธอเดินขึ้นเขาลงห้วยเก็บเห็ด เก็บหน่อไม้มาตั้งแต่เล็ก  การเขียนหนังสือเล่มนี้นอกจากเป็นคำบอกเล่าเรื่องอาหารของบ้านเธอแล้ว เธอยังร้องขออยู่กลาย ๆ ว่า ขอแหล่งอาหารไว้ให้บ้านฉันเถอะ

เพราะเมื่อสองปีที่ผ่านมา โครงการต่าง ๆ เข้ามาในหมู่บ้านแม่เหียะในซึ่งกระทบต่อแหล่งอาหารของหมู่บ้าน

เรื่องราวในสูตรอาหารของเธอ ควบคู่ไปกับเรื่องเล่าในสังคมหมู่บ้านที่เธออยู่ได้อย่างกลมกลืน  เช่น ชีวิตผู้คนผูกพันอยู่กับป่าหลังบ้าน การทำมาหากินของคนในชุมชน ความรักในท้องถิ่นของตัวเอง ความสุข ความทุกข์และความหวัง

ท้ายที่สุด เธอชวนเชิญไปกินข้าวที่บ้านและบอกว่า บ้านเธอนั้นกินอยู่อย่างไรก็ไม่หมด

มาเถอะมากินอาหารที่อร่อยไปถึงหัวใจ และช่วยฉันด้วยว่า ทำอย่างไรดีถ้าแหล่งอาหารบ้านฉันถูกทำลายไป

ปล. มาเที่ยวบ้านฉัน "งานเปิดตัวหนังสือ อาหารบ้านฉัน และคุยกันเรื่อง "กินอยู่อย่างไรไม่ให้หมด" โดย เทพศิริ สุข โสภา คำผกา และปวีณา พรหมเมตจิต ที่ศาลารวมใจ บ้านแม่เหียะใน อ.เมือง เชียงใหม่ สี่โมงเย็น

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
บทความที่พยายามนำพาผู้อ่านฝ่าม่านมายาคติว่าด้วยการจัดการทรัพยากรป่าไม้ด้วยการป้องกันไฟป่าสู่รูปแบบการจัดการแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพด้วยการ"ชิงเผา"  
แพร จารุ
บน ฟ้า มี เมฆ ลอย บน ดอย มี เมฆ บัง มี สาว งาม ชื่อ ดัง อยู่ หลัง แดน ดง ป่า     เนื้อเพลงมิดะค่ะ สองบรรทัด....เพราะเหลือเกิน และเข้าไปอยู่ในหัวใจใครต่อใครได้ไม่ยาก บนฟ้ามีเมฆลอยบนดอยมีเมฆบัง ฟังเพียงแค่นี้ก็จินตนาการได้กว้างไกล หัวใจก็ลอยไปถึงไหน ๆ แล้ว  
แพร จารุ
 ฉันเชื่อว่า หากคนเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทุกอย่างก็จะดีได้ไปกว่าครึ่ง บางคนบอกว่า ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เช่น เรื่องทัศนคติที่มีต่อคนอื่น และตัดสินอย่างช้า ๆ   สามีของฉันบอกว่า จงรวดเร็วในการฟัง แต่จงเชื่องช้าในการตอบ คือให้ความสำคัญในการฟังมากๆ ก่อนจะตอบจึงจะดี จริงของเขาเพราะเดี๋ยวนี้มีแต่คนพูดและพูด แต่ไม่ค่อยฟังคนอื่น ฉันเอาเรื่องนี้มาเขียนเพราะได้แรงบันดาลใจมาจากไปสังเกตการณ์เขาพูดคุยทบทวนประสบการณ์การทำงานกันของโครงการ (CHAMPION/MSM) และสมาคมฟ้าสีรุ้ง    
แพร จารุ
  1   เหมือนเมืองบาป ฉันบอกเพื่อน ๆ จากเมืองกรุงว่า มาเชียงใหม่ อย่าลืมไปกินข้าวที่สุดสะแนนนะ อาหารหลายอย่างอร่อย และพบใครๆ ที่สุดสะแนนได้ไม่ยาก นักเขียน นักข่าว นักดนตรี นักร้อง ศิลปินวาดภาพ งานปั้น และคนที่ยังไม่มีงานทำและไม่อยากทำงานอะไรเลย
แพร จารุ
เก็บดอกไม้สีขาวแล้วไปฟังดนตรีกันค่ะ ใครมาเชียงใหม่ช่วงนี้ มีดอกไม้สีขาวบานรับ เช่น ดอกปีบ มองขึ้นไปออกดอกพราวเต็มต้น สวยงาม หอม ชวนเด็ก ๆ ไปเก็บดอกปีบที่ร่วงอยู่ตามพื้นมาร้อยมาลัยเล่น ปีบเป็นต้นไม้ที่ทนความแห้งแล้งได้ดียิ่ง เรียกว่าแทบไม่ต้องดูแลกันเลยทีเดียว ต้นไม้แกร่งแต่ให้ดอกขาวสวยบอบบางและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เดินไปที่ไหนทั่วเชียงใหม่ก็พบดอกปีบได้ไม่ยากค่ะ คราวนี้ ก็มาถึงฟังดนตรีค่ะ ดนตรีในเมืองเชียงใหม่ก็มีฟังทุกแห่งเหมือนกันค่ะ เรียกว่าหาฟังกันไม่ยาก เพราะนักดนตรีในเมืองเชียงใหม่มีเยอะ ไม่ต้องจ่ายเงินก็ฟังได้ เรียกว่ามีดนตรีฟรีอยู่ทั่วไป…
แพร จารุ
    อย่าเชื่อว่าผู้คนต้องการความร่ำรวยมากกว่าอย่ในบ้านของตัวเองอย่างเป็นสุข แต่ขออภัยก่อนฉันมัวแต่ปลูกต้นไม้ หน้าบ้านของฉันเป็นผืนดินที่มีต้นไม้หนาแน่น เมื่อที่ดินถูกเปลี่ยนมือเป็นของธนาคารกสิกรไทย มันถูกไถจนหมดสิ้นภายในวันเดียว ฉันจึงเริ่มปลูกต้นไม้ใหม่เป็นรั้วแทนกำแพงบ้านอีกชั้นหนึ่ง เพื่อหวังว่ามันจะช่วยให้คลายร้อนได้บ้าง
แพร จารุ
    เปิดเมล์พบข้อความนี้ถูกส่งเข้ามา *** หนูเป็นคนกรุงเทพฯ เคยมีแฟนเป็นหนุ่มกลายสมัยที่เรียนด้วยกัน เขาเคยชวนไปเที่ยวบ้านกลาย หนูอ่านเรื่องบ้านกลายที่พี่เขียนในประชาไท รู้สึกเดือดร้อนแม้ว่าหนูจะไม่ไปที่นั่นแล้ว เพราะหนุ่มกลาย คนที่หนูรักไม่น่ารัก ไม่ดี แต่ทะเลกลายดีสวยงาม อาหารทะเลมีมาก คนอื่น ๆ ที่กลายที่หนูรู้จักก็ดีค่ะ เขาดีกับหนูมาก คนใจดี หนูจึงอยาจะร่วมปกป้องด้วย หนูอ่านพบเรื่อง SSB และลองเขียนสรุปมาให้พี่ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือในชื่อเต็มว่า การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard : SSB)…
แพร จารุ
  งานชั้นนี้ “แพรจารุ” ไม่ได้เขียนเองค่ะ เป็นของคุณวิชัย จันทวาโร ถือโอกาสเอามาลงที่นี่ เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงเผยแพร่ให้ผู้อ่านรู้จักทะเลกลาย ทะเลไทย ที่กำลังถูกมือร้ายอย่างเซฟรอนบริษัทขุดเจาะน้ำมันข้ามชาติทำลาย ภายใต้นโยบายของรัฐไทย ***************
แพร จารุ
  บ้านกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 30 สิงหาคม 2553              คุณหญิงที่รัก  
แพร จารุ
โลกนี้คนชั่วมากเหลือเกิน และบรรดาคนชั่ว ๆ ก็ล้วนเป็นผู้มีอำนาจ พวกเขามีอำนาจที่จะอนุมัติโครงการใหญ่ ๆ ทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งอาหารที่คนพอจะทำมาหากินได้ พวก เขาขุดภูเขา ถมทะเล โดยไม่สนใจว่าเจ้าของเขาอยู่กันอย่างไร ต่อไปกะปิอร่อยๆ ที่ฉันเอามาฝากคุณก็จะไม่มีแล้ว เพราะที่บ้านฉันจะมี เซฟรอน คุณรู้ไหมมันคืออะไร คือบริษัทยักษ์ใหญ่ของต่างชาติ ที่เข้ามาถมทะเลสร้างท่าเรือ เพื่อขุดเจาะหาพลังงานไปขาย โดยไม่สนใจว่าเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ป้าของฉัน แกบอกว่า นอนไม่หลับมานานแล้ว แกกังวลว่าจะอยู่อย่างไร แม่ของฉันอายุเก้าสิบปี ฉันไม่กลับบ้านมาสองปี แม่เก็บกระดาษไว้ให้ฉันสามแผ่น…