Skip to main content

 

งานชั้นนี้ “แพรจารุ” ไม่ได้เขียนเองค่ะ เป็นของคุณวิชัย จันทวาโร ถือโอกาสเอามาลงที่นี่ เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงเผยแพร่ให้ผู้อ่านรู้จักทะเลกลาย ทะเลไทย ที่กำลังถูกมือร้ายอย่างเซฟรอนบริษัทขุดเจาะน้ำมันข้ามชาติทำลาย ภายใต้นโยบายของรัฐไทย

***************
อา ออ ออ ออ หอ ออ อ้า
พอฤกษ์งามยามดี ป่านนี้ชอบยามพระเวลา
ออว่าจำเพาะ เจาะจงเรียกหาหลวงรองคนกล้า ถ้าว่าหลวงรองไม่มา ลูกยาจะเห็นหน้าใคร
ออว่ามาทางสายด้าย หรือไล่มาทางสายไหม
หรือว่าคนทรงไม่ชอบเนื้อหรือว่าคนเชื้อไม่ชอบใจ
ว่าจับให้แข็งๆ ขาดเรี่ยวขาดเรี่ยวสักเท่าไร
มาตะ มาตะ ขอให้พ่อมาสักเดียวใจ
ว่างานนี้มันกวดขันไม่ใช่ผลัดวันประกันพรุ่ง
อย่าให้ผีขี้ร้ายมันดูถูก เราลูกผู้ชายเดียวกัน
หรือว่าหลวงรองพ่อหนา มันตายโหง ไม่สู้เข้าโรงมโนราห์..........
ฯลฯ
 
ด้วยถ้อยคำขับขานอันสอดคล้องกังวานกับเสียงปี่มโนราห์ที่รัวถี่และเล็กแหลม อาจเป็นแรงขับส่งให้สถานที่ซึ่งยกเป็นปะรำพิธีชั่วคราวนี้ศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลังยิ่งขึ้น  งานเชื้อท่านกลายปีนี้ จึงเนืองแน่นไปด้วยลูกหลานบ้านกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ตลอดจนศรัทธาในพื้นที่ทั้งใกล้เคียงและห่างไกลที่ทราบข่าว จนทำให้บริเวณสถานที่ตั้งศาลท่านกลาย ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ศาลาล่าง” ดูคับแคบไปถนัดตา

 
โรงมโนราห์โรงครู เป็นอาคารชั่วคราวติดพื้นดิน หลังคามุงจาก ด้านหนึ่งยกแท่นสูงขึ้นสำหรับตั้งของเซ่นไหว้ และแทนที่นั่งสำหรับคนทรง พื้นที่ส่วนอื่นปูเสื่อกับพื้นดินสำหรับเครื่องดนตรีและมโนราห์ ที่เหลือพอให้ผู้เฒ่าผู้แก่ได้อาศัยนั่งร่วมในพิธี

เสียงปี่ถี่กระชั้น สำทับด้วยเสียงทับกับตะโพนที่หนักแน่นทรงพลัง มีเสียงโหม่งและฉิ่งคอยขับขานเพิ่มความหวานอย่างมีมนต์เสน่ห์
   เมื่อบรรเลงเป็นจังหวะจะโคนลงตัว มโนราห์สูงวัยที่ดูท่าทางไร้เรี่ยวแรงเมื่อตอนกลางวัน บัดนี้น้ำเสียงดุดันทรงพลังเริ่มขับบทไหว้ครู ลูกคู่รับเป็นจังหวะ พาให้หัวใจคนชมฮึกเหิมระคนประหวั่นพรั่นพรึงในที  ผู้คนรอบข้างเริ่มเบียดชิดเข้ามาติดโรงจนแน่นขนัดแบบไม่เสียชื่อเวทีบ้านๆ

งานเชื้อท่านกลายเปรียบได้ดังพิธีบวงสรวง ที่เชิญท่านกลายมาเข้าทรงคนทรงซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่ศาลซึ่งมีอยู่ตลอดลำน้ำ โดยมีศาลที่ปากคลองกลายจะทำพิธีเป็นจุดสุดท้าย
 

ท่านกลาย หรือ ทวดกลาย หรือ พ่อท่านกลาย ที่ชาวบ้านเรียกขานกัน เปรียบเสมือนเทพผู้ปกปักรักษาลำน้ำคลองกลายมายาวนาน ตามประวัติซึ่งเล่าสืบทอดกันมา ท่านกลาย คือบุตรชายคนสุดท้องของพระยารามเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
  ในยุคที่เป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา คราวหนึ่งเมื่อมีศึกสงครามมาประชิดเมือง ท่านได้ออกรบและเสียชีวิตลงแต่ไม่มีผู้ใดพบศพ จนผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ ศพได้ลอยทวนน้ำขึ้นมาจากปากน้ำคลองกลายโดยไม่เน่าเปื่อย ผู้คนจึงพากันฝังศพท่านไว้ทางทิศเหนือของคลองกลายใกล้ๆ ปากแม่น้ำ น่าเสียดายที่กว่า 50 ปีที่ผ่านมา บริเวณนั้นได้ถูกน้ำกัดเซาะพังทลายไปเสียแล้ว 

ข้อห้ามหลักๆ ของการใช้ลำน้ำคลองกลายที่ชาวบ้านต่างทราบกันคือ ห้ามซักมุ้ง ห้ามล้างเนื้อหมู และทำความสกปรกลงคลองกลายโดยเด็ดขาด ใครไม่ทำตามหรือลบหลู่ดูหมิ่นจะได้รับโทษต่างๆ นานา
   แต่ไม่ว่าแท้จริงแล้วสิ่งใดจะดลบันดาลให้เกิดความวิบัติต่อผู้ไม่เคารพ ความเชื่อนี้คือกุศโลบายที่ช่วยรักษาลำน้ำคลองกลายให้ยังเป็นคลองกลายจนกระทั่งปัจจุบัน

การบวงสรวงในปีนี้ก็เป็นเช่นทุกปี ที่มีการเชิญครูหมอมโนราห์ เรียกว่า
  “มโนราห์เชื้อ”  มาเป็นประธานในการพิธี เป็นผู้ส่งสารเชื้อเชิญ เริ่มต้นด้วยร้องเรียก “หลวงรอง” อดีตคือผู้รับใช้ของท่าน เป็นที่ทราบกันว่าหากหลวงรองไม่ลงทรงแล้ว เจ้าองค์อื่นๆ ก็จะไม่มาลงทรงเช่นกัน เนื่องจากไม่มีคนคอยรับใช้ ที่จะถ่ายทอดความต้องการต่างๆ

บนพื้นฐานความเชื่อเรื่องท่านกลายนี้เอง เป็นส่วนหนึ่งที่หลอมรวมชุมชนพุทธและมุสลิมไว้ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น ซึ่งต่างให้เกียรติในศาสนาและความเชื่อซึ่งกันและกัน ชาวมุสลิมไม่ได้ถือท่านกลายเป็นเทพเช่นชาวพุทธเพราะผิดหลักศาสนา แต่ก็มิได้ลบหลู่
  กลับให้ความนับถือเป็นหนึ่งบรรพชนที่คนรุ่นต่อมาควรค่าเคารพ ชาวพุทธเองก็ยึดมั่นหนักแน่นว่าในงานท่านกลาย อาหารคาวหวานจะต้องทำให้เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม ให้ทุกคนได้แบ่งปันกันกินเช่นพี่น้องร่วมหมู่บ้าน

พิธีภาคค่ำจบสิ้นไป จนรุ่งสางของอีกวันมีการเลี้ยงพระและการเข้าทรงอีกครั้งด้วยขั้นตอนเดียวกับช่วงค่ำ หากแต่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้สอบถามข้อข้องใจ ทั้งความเป็นไปของบ้านเมืองและเรื่องส่วนตัว
 

ทะเลกลายที่หากินหาอยู่ของผู้คน
ในโมงยามที่ทั้งหมู่บ้านกำลังพบกับระลอกคลื่นของความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นเกลียวคลื่นในนามของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการมาของท่าเรือบริษัทขุดเจาะน้ำมัน (เป็นสร้างฐานปฏิบัติการเพื่อการขุดเจาะน้ำมัน) และตามมาด้วยนิคมอุตสาหกรรม อันดับแรก โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่หลายคนรู้สึกหวั่นกลัวยิ่งกว่าคลื่นมรสุมกลางทะเล   จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่มีลูกหลานจำนวนมากเฝ้ารอเพื่อสอบถามความเป็นไป ในอนาคตของหมู่บ้านต่อผู้ซึ่งเปรียบเสมือนญาติผู้ใหญ่ที่คอยดูแลลูกหลานมา อย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือบูชาย่อมฟังเสียงร้องของลูกหลาน ทุกอย่างจึงต้องขึ้นอยู่กับคนกลาย รวมถึงคนเมืองคอน และคนไทยทั้งหมด ว่าเราจะร่วมกันกำหนดอนาคตของบ้านเมือง และลูกหลานเราไว้เช่นไร ก็คงย่อมเป็นไปเช่นนั้น
 

นี่คือสิ่งแปลกปลอมกลางทะเลที่จะมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงและความล่มสลายของชุมชน

ประวัติศาสตร์ยาวนานของบ้านกลาย อยู่คู่กับการ
เปลี่ยนแปลงเหมือนคำว่า “กลาย” หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งก็ภาวนาให้มันเป็นไปในทางที่ดีที่งาม และชาวบ้านกลายทุกคนได้มีส่วนรับรู้และเห็นพ้องตรงกัน เชื่อว่าเมื่อนั้นจะไม่มีพายุหรือคลื่นลมระลอกใดให้เป็นสิ่งน่ากลัวสำหรับลูกหลานชาวเลอย่างคนกลายแน่นอน

การเชื้อท่านกลายที่มีทุกปีถือเป็นหลักยึดที่น่ายินดีที่ชาวบ้านมาร่วมกันเนืองแน่น และหากทุกผู้คนแข็งขันแบบนี้ในการต่อต้านการรังแกของกลุ่มทุนที่จะมาใช้ทะเล เพื่อสิ่งอื่นที่มิใช่เพื่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทั้งคนและสัตว์ เชื่อว่าประชาชนจะมีชัยแน่นอน

และเมื่อนั้น คำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรม คืออีกเกราะป้องปกชุมชน จะเกิดขึ้นให้เห็นเป็นประจักษ์ที่บ้านกลาย

**พิมพ์ครั้งแรก คมชัดลึก
 
 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“จึงขอตั้งจิตมั่นว่าจะพูดแต่ความจริงด้วยถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความมั่นใจ ความเบิกบาน และความหวัง โดยไม่กระพือข่าวที่ตัวเองไม่รู้แน่ชัด รวมทั้งไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือกล่าวโทษในสิ่งที่ตัวเองไม่แน่ใจ” ฉันชอบถ้อยคำนี้มาก เป็นถ้อยคำ ที่เพื่อนนำมาฝากหลังจากที่เธอกลับมาจากภาวนา เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ... เพื่อนของฉันกลับมาจาก “ภาวนา” แบบหมู่บ้านพลัม เธอว่าดีงามมาก ใช้กับชีวิตได้ เธอพูดถึง ข้ออบรมสติ 5 ประการ แต่เธอเน้นข้อฝึกอบรม ข้อที่ 4 เธอเขียนส่งมาให้ฉันอ่าน ฉันคิดว่าเธอคงอยากให้ฉันตระหนักรู้ หรือไม่เธอก็บอกอ้อม ๆ ว่า ฉันเป็นคนที่ควรจะปฏิบัติเพราะฉันมีปัญหาในข้อนี้…
แพร จารุ
ระหว่างการพูดคุยกับเพื่อน เพื่อนนักเขียนของฉัน ไปอยู่ไกลถึงลอนดอน ช่วงที่ผ่านมาเธอกลับบ้านเพื่อมาส่งแม่เดินทางไกล เพราะครั้งนี้แม่ไปแล้วจะไม่กลับมาอีกเลย และไม่รู้ว่าเส้นทางสายยาวไกลของแม่อยู่ที่ไหน แต่สำหรับเธอ เชื่อว่า จะไปพบกันที่พระเจ้า เราไม่ได้พบหน้ากันมานาน ได้แต่คุยโทรศัพท์กัน ช่วงแรกเพื่อนนักเขียนของฉันนั่งทำงานเขียน นั่งวาดภาพ และปลูกต้นไม้อยู่ในเรือนกระจกอยู่ที่บ้าน ต่อมาเธอไม่เลือกที่จะนั่งเขียนหนังสืออยู่ที่บ้านแล้ว เธอไปทำงานที่พักคนชรา ทำงานอยู่กับคนแก่ ไม่ใช่เรื่องโรแมนติกแต่เป็นเรื่องจริงของชีวิต เธอมีการงานที่มีความเศร้า ความตายของคนแก่ที่นั่นอยู่เสมอ
แพร จารุ
ยามเช้าได้อ่านงานของดอกสตาร์ เธอเขียนจั่วหัวว่า เชียงใหม่แพ้ซ้ำซาก Chiangmai lost her beauties. ข้อเขียนของเธอบอกว่า ผังเมืองฉบับใหม่ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วง ๙๐ วัน ที่คนได้รับความเดือดร้อนจากผังเมืองฉบับนี้จะยื่นคำร้องเพื่อคัดค้าน ถ้ารัฐบาลไม่รับฟังและผังเมืองฉบับนี้ผ่าน โฉมหน้าเมืองเชียงใหม่คงจะอัปลักษณ์สุด ๆ รอวันตายลูกเดียว มีเรื่องฝายทั้งสามแห่งคือ ฝายพญาคำ ฝายหนองผึ้งและฝ่ายท่าศาลาอีก ของเก่าแก่ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสร้างไว้ให้ลูกหลานชาวล้านนาได้ประโยชน์กลับจะรื้อทิ้งโดยเห็นแก่ประโยชน์เล็กน้อยที่เทียบไม่ได้เลยกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองกับลูกหลานในอนาคต“…
แพร จารุ
พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 น. ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว
แพร จารุ
ฉันได้เดินทางมายังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งใจจะมาเที่ยวตามป่าเขาแค่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ   รัฐบาล โดยนายอำเภอ และอุทยานแห่งชาติ จัดให้มีงานบวชป่า และส่งมอบอาวุธปืน มีหนังสือจากหน่วยงานของรัฐมาถึงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเย็นวันหนึ่ง มีเสียงพูดกันเบา จับใจความได้ว่า พวกเขากังวล เพราะพวกเขาไม่มีปืนจะไปมอบ ฉันฟังอย่างไม่เข้าใจ ไม่รู้พวกเขาว่าจะกังวลทำไม ไม่มีก็ไม่ต้องมอบ บอกไปว่าเราไม่มีก็จบ ก็ไม่มีจะเอามาจากไหน
แพร จารุ
 “ไม่นานคนก็ตายกันหมดโลกแน่ ๆ”หญิงสาววัยเพิ่งผ่านเลขสามพูดขึ้นก่อนล้มตัวลงนอน “พี่เชื่อไหม ไม่นานผู้คนจะตายหมดโลก” เธอพูดอีกครั้ง “อะไรทำให้เธอคิดเช่นนั้น” ฉันถามออกไปด้วยความขลาดกลัว มานอนกลางป่ากลางเขาแล้วพูดถึง เรื่องความตาย  ไม่อยากจะฟังคำตอบจากเธอ รีบเตรียมถุงนอน พร้อมที่จะล้มตัวลงนอนใกล้ ๆ เธอ คืนนี้เราเลือกที่จะไม่นอนในบ้านสบาย ๆ แต่เลือกที่จะมานอนกันในป่าเปลี่ยนบรรยากาศ   เธออธิบายต่อว่า เมื่อกลางวันได้ยินข่าวแผ่นดินไหวที่เชียงราย 3.5 ริกเตอร์  เมื่อแผ่นดินไหวที่เชียงรายได้ ก็ไหวที่เชียงใหม่ได้ หรือที่อื่น ๆ ได้ และมันคงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ “อือ...ก็น่าจะจริง…
แพร จารุ
 เธอได้ยินไหม  คนบ้านฉันเขาตัดไม้กันอยู่ เสียงดังกรูด ๆ ๆ แล้วไม่นานก็ได้ยินเสียงไม่ล้ม ฉันฟังจนแยกออกแล้วว่า เสียงที่ล้มลงมาต้นเล็กต้นใหญ่ขนาดไหน ฉันบอกเพื่อนไปเช่นนั้น ด้วยเราพูดกันอย่างไม่เห็นหน้าจึงไม่รู้ว่า เพื่อนทำหน้าตาอย่างไร เธอคงคาดไม่ถึงว่าได้ยินเสียงตอบเช่นนี้ เธอคงผิดหวังมากทีเดียวเพื่อนโทร.มาบอกให้ฉันช่วยเขียนเรื่องการปลูกต้นไม้ เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิที่เธอทำงานอยู่ ชื่อว่า โครงการป่าเมือง หรือการปลูกต้นไม้ในเมืองนั่นเอง
แพร จารุ
ขอคั่นรายการหน้าโฆษณาหน่อยนะคะ บอกจริง ๆ ว่า ช่วงนี้รู้สึกโหวงเหวงอย่างบอกไม่ถูก คุณผู้อ่านรู้จักคำว่า โหวงเหวงไหม มันเป็นอาการซึม ๆ เศร้า ๆ และรู้สึกเบา ๆ ในหัวใจ  เมื่อทบทวนดูอาการแล้ว พบว่าน่าจะมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งน่าจะเป็นอาการผิดปกติจากข่าว ช่วงนี้มีข่าวมีคนตายเป็นหมื่นเป็นแสน และยังหายสาบสูญไปอีกเท่าไหร่ไม่รู้ อีกทั้งยังบาดเจ็บรอคอยอยู่อีกมาก
แพร จารุ
“พี่มันน่ากลัวจริง ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ไม้พี่ไม้ ไม้เป็นหมื่น ๆ” เธอส่งเสียงมาเหมือนถูกผีหลอกกลางวัน“อยู่แดนสนธยาที่ไหน” ฉันถามกลับไปเพื่อให้ตัวเองตั้งสติหากมีเรื่องร้าย “ไม่ใช่ต้นไม้แต่เป็นไม้เป็นหมื่น ๆ ท่อนพี่ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย มันเยอะจริง เดี๋ยวจะถ่ายรูปส่งไปให้ดู บางต้นมีผ้าเหลืองผ้าแดงผูกโคนต้นด้วย” “ที่ไหน” “กิ่วคอหมาพี่ เขากำลังสร้างเขื่อนกิ่วคอหมา พี่รู้เรื่องนี้ไหม พูดแล้วขนลุกพี่ รอเดี๋ยว ๆ นะพี่นะจะส่งรูปไปให้ดู”“จ๊ะ แล้วเธอไปทำไม”“ขับรถผ่านมานะพี่  กลับมาจากลำปาง”เธอพูดหลายครั้งว่าเธอไม่เคยเห็นไม้เยอะขนาดนี้มาก่อนจริง ๆ และสงสัยว่าทำไมเขายังตัดไม้กันขนาดนี้…
แพร จารุ
เขาว่ากันว่า  เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งธรรมชาติงดงาม เมืองวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ จอดดูสักหน่อยซิเขาเล่ากันต่อว่า ช่วงสิบปีที่ผ่านมา เชียงใหม่เติบโตด้านการท่องเที่ยวสูงสุด ปีหนึ่งๆ มีคนมาเที่ยวเชียงใหม่มากมาย เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่ต้องรับภาระหาเงินทอง เมกกะโปรเจคขนาดใหญ่จึงเกิดขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ว้าว! แล้วคนเชียงใหม่ คิดอย่างไรกับเมืองเชียงใหม่ หากไปถามคำถามนี้ ร้อยทั้งร้อยคนเชียงใหม่ต่างวิตกกังวล คนเชียงใหม่บอกว่า เมืองน่าอยู่นั้นคือเมื่อก่อน เมื่อก่อนซึ่งไม่นานเท่าไหร่ แต่เดี๋ยวนี้ คนเชียงใหม่ลำบากกับรถติดในเมือง คนเชียงใหม่กลัวน้ำท่วมเหมือนปี 2548 ฤดูร้อน…
แพร จารุ
เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปร่วมงาน เปิดตัวหนังสืออาหารบ้านฉัน ที่บ้านแม่เหียะใน หัวหน้าอุทยานดอยสุเทพ มาเปิดงาน ฉันฟังเสียงของท่านไม่ค่อยได้ยิน เพราะว่ายืนไกลและที่บ้านแม่เหียะใน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้เครื่องปั่นไฟ เสียงเครื่องปั่นไฟดังมาก จึงไปถามชาวบ้านที่ตั้งใจไปฟังใกล้ ๆ ว่าท่านพูดอะไร แน่นอนชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อุทยานเขาต้องตั้งใจฟังทุกอย่างที่เจ้าหน้าที่อุทยานพูด เพราะว่าชีวิตขึ้นอยู่กับอุทยานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือเรียกว่าอยู่ภายใต้กฎหมายอุทยาน “ท่านพูดว่า ท่านเข้าใจว่าที่ทำหนังสือเล่มนี้ทำขึ้นมาเพราะต้องการที่อยู่ที่กิน” หญิงสาวคนหนึ่งบอกว่าท่านพูดเช่นนั้น และเธอรู้สึกดีใจมาก“…
แพร จารุ
ป้าของฉันเป็นผู้หญิงธรรมดามาก ไม่เป็นที่รู้จักของใคร  ฉันคิดว่าคนที่ป้ารู้จักมีแต่หลาน ๆ กับคนข้างบ้านเท่านั้น และคนที่รู้จักป้าก็เช่นกัน ป้าเป็นผู้หญิงธรรมดาจริง ๆ แต่ฉันอยากเขียนถึงป้า เพราะน่าจะมีแต่ฉันที่จะเขียนถึงป้า และฉันก็น่าจะเป็นหลานคนเดียวที่ไม่เคยได้ทำอะไรให้ป้าเลยนอกจากเขียนถึงป้า ใจหายเหมือนกันเมื่อคิดว่า นี่คือสิ่งแรกที่ฉันจะทำให้ป้า ป้าฉันไม่มีอะไรพิเศษเลยนอกจากเป็นคนดี มีจิตใจที่ดีงาม ตั้งแต่ฉันรู้จักเป็นป้าหลานมา ฉันไม่เคยเห็นป้าทำอะไรไม่ดีเลย ไม่ใช่แกเป็นป้าที่ดีของพวกหลาน ๆ แกเท่านั้น แต่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีของเพื่อนบ้าน ชีวิตป้ามีความสุขมาก ฉันคิดว่าป้ามีความสุขทุกวัน…